เมื่อเวลา 13.00น. วานนี้ (15ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายยงยุทธ์ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลงานด้านสังคม ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมแถลงผลงานรัฐบาล ในมิติของสังคมในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ว่า จะแถลงในผลงานของ 4 กระทรวงที่กำกับดูแลคือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงสาธารณสุข โดยหน่วยงานในสังกัดที่มีการรวบรวมข้อมูล และส่งร่างคำแถลงมาที่ตน เป็นร่างที่ 6 แล้ว แต่ยังไม่ได้ร่างฯ สุดท้าย ซึ่งเป็นผลงานที่เพิ่งทำงานมา 3 เดือน ได้ทำอย่างจริงจัง ทำทันทีและทำให้ยั่งยืนตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับครม.ไว้
ทั้งนี้แนวคิดของการทำโครงการพัฒนาคนไทยตลอดช่วงชีวิต ที่เป็นหนึ่งในงานที่กำลังจะดำเนินการนั้น รองนายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแนวความคิดของรัฐบาลที่เป็นโครงการบูรณาการงบประมาณ 1 ใน 19 โครงการ ที่จะดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นไป คือวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป ส่วนแนวคิดการพัฒนาคนตลอดชีวิต จะต้องพิจารณาตั้งแต่ระยะต้น คือ อายุ 0-5 ปี ที่ยังไม่มีการดูแล และคุ้มครองทั้งที่งานวิจัยพบว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุดของชีวิต ในเรื่องของการพัฒนาการ สมอง ร่างกาย การเรียนรู้ ที่ความจำเป็นจะต้องดูแลเด็กในช่วงนี้ แต่ขณะนี้มีการดูแลเด็กตั้งแต่วัยเรียน จนถึงวัยทำงาน และวัยสูงอายุ ที่ดูแลครบแล้ว แต่ช่วงปฐมวัยยังไม่มีการคุ้มครองและส่งเสริม จึงต้องมีการดูแลในส่วนนี้ด้วย
"โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เป็นแนวคิดที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2558 ก็อาจจะเป็นของขวัญปลายปีหน้า แต่ก็ถือว่าเป็นของชวัญปีใหม่ปีนี้ได้ ในแง่ของขวัญเชิงโครงการ ที่แนวคิดนำมาจากหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งงานวิจัยของยูนิเซฟด้วย ที่บอกว่าควรจะมีการสนับสนุนผู้ปกครองของเด็ก ที่มีการศึกษาว่าของไทยน่าจะใช้เงิน 400 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ใช่แนวการศึกษาของเรา แต่เป็นการนำผลการศึกษาที่อื่นมาเสนอให้พิจารณาว่าหากรับแนวทางนี้ไปจะปฏิบัติได้หรือไม่ ทั้งนี้ลองคิดง่ายว่า หาก 400 บาท/เดือน คูณ 12 เดือน ก็ 4,800 บาท/ปี ต่อครอบครัว ในระยะเวลา 5 ปีก็ประมาณ 25,000 บาท และจะมีเด็กเกิดปีละ 5 แสนคน ก็เป็นเงินงบประมาณประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งไม่ใช่น้อย ดังนั้นจะต้องดูว่าควรจะทำอย่างไร" รองนายกฯ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องสนับสนุนเป็นเงิน ก็ต้องหารือกันอีกว่าจะให้อย่างไร ให้ใครบ้าง ถ้าให้ทั้งหมดจะไหวหรือไม่ จะเหมือนกับกรณีเบี้ยผู้สูงอายุหรือไม่ ที่มีหลายคนเขาไม่ต้องการแต่เขาก็มารับไป หรือจะให้เป็นสิ่งของแทน เช่น คูปองสำหรับซื้อนม อาหารหรือธาตุไอโอดีนที่เด็กไทยยังขาด และกระทบต่อสติปัญญาการพัฒนาการของเด็ก ก็ต้องมาคิดว่าจะให้อย่างไร และจะเชิญภาคเอกชนมามีส่วนร่วมได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของธรรมาภิบาลของภาคเอกชนที่เขาต้องการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว
"ส่วนจะคุ้มครอง และส่งเสริมอย่างไร การให้เงินหรือให้คูปองหรืออย่างไร จำเป็นที่จะต้องหารือกันต่อไป โดยจะมีการประชุมของคณะกรรมการเพื่อจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการฯ ในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ เพื่อจัดเตรียมก่อนนำเสนอในที่ประชุมครม.ในวันที่ 13 ม.ค.ปีหน้า แล้วจะตัดสินใจอีกครั้ง จึงเป็นคำถามปลายเปิดอยู่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ในช่วงต้นปี 58 จะมีการประชุมของยูนิเซฟ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ จะไปพูดเรื่องเด็กปฐมวัยที่ผมอยากจะไปฟังด้วย" นายยงยุทธ์ กล่าว
ทั้งนี้แนวคิดของการทำโครงการพัฒนาคนไทยตลอดช่วงชีวิต ที่เป็นหนึ่งในงานที่กำลังจะดำเนินการนั้น รองนายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแนวความคิดของรัฐบาลที่เป็นโครงการบูรณาการงบประมาณ 1 ใน 19 โครงการ ที่จะดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นไป คือวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป ส่วนแนวคิดการพัฒนาคนตลอดชีวิต จะต้องพิจารณาตั้งแต่ระยะต้น คือ อายุ 0-5 ปี ที่ยังไม่มีการดูแล และคุ้มครองทั้งที่งานวิจัยพบว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุดของชีวิต ในเรื่องของการพัฒนาการ สมอง ร่างกาย การเรียนรู้ ที่ความจำเป็นจะต้องดูแลเด็กในช่วงนี้ แต่ขณะนี้มีการดูแลเด็กตั้งแต่วัยเรียน จนถึงวัยทำงาน และวัยสูงอายุ ที่ดูแลครบแล้ว แต่ช่วงปฐมวัยยังไม่มีการคุ้มครองและส่งเสริม จึงต้องมีการดูแลในส่วนนี้ด้วย
"โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เป็นแนวคิดที่จะเกิดขึ้นปลายปี 2558 ก็อาจจะเป็นของขวัญปลายปีหน้า แต่ก็ถือว่าเป็นของชวัญปีใหม่ปีนี้ได้ ในแง่ของขวัญเชิงโครงการ ที่แนวคิดนำมาจากหลายประเทศในยุโรป รวมทั้งงานวิจัยของยูนิเซฟด้วย ที่บอกว่าควรจะมีการสนับสนุนผู้ปกครองของเด็ก ที่มีการศึกษาว่าของไทยน่าจะใช้เงิน 400 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ใช่แนวการศึกษาของเรา แต่เป็นการนำผลการศึกษาที่อื่นมาเสนอให้พิจารณาว่าหากรับแนวทางนี้ไปจะปฏิบัติได้หรือไม่ ทั้งนี้ลองคิดง่ายว่า หาก 400 บาท/เดือน คูณ 12 เดือน ก็ 4,800 บาท/ปี ต่อครอบครัว ในระยะเวลา 5 ปีก็ประมาณ 25,000 บาท และจะมีเด็กเกิดปีละ 5 แสนคน ก็เป็นเงินงบประมาณประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ซึ่งไม่ใช่น้อย ดังนั้นจะต้องดูว่าควรจะทำอย่างไร" รองนายกฯ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นจะต้องสนับสนุนเป็นเงิน ก็ต้องหารือกันอีกว่าจะให้อย่างไร ให้ใครบ้าง ถ้าให้ทั้งหมดจะไหวหรือไม่ จะเหมือนกับกรณีเบี้ยผู้สูงอายุหรือไม่ ที่มีหลายคนเขาไม่ต้องการแต่เขาก็มารับไป หรือจะให้เป็นสิ่งของแทน เช่น คูปองสำหรับซื้อนม อาหารหรือธาตุไอโอดีนที่เด็กไทยยังขาด และกระทบต่อสติปัญญาการพัฒนาการของเด็ก ก็ต้องมาคิดว่าจะให้อย่างไร และจะเชิญภาคเอกชนมามีส่วนร่วมได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของธรรมาภิบาลของภาคเอกชนที่เขาต้องการมีส่วนร่วมอยู่แล้ว
"ส่วนจะคุ้มครอง และส่งเสริมอย่างไร การให้เงินหรือให้คูปองหรืออย่างไร จำเป็นที่จะต้องหารือกันต่อไป โดยจะมีการประชุมของคณะกรรมการเพื่อจัดทำงบประมาณเชิงบูรณาการฯ ในวันที่ 29 ธ.ค.นี้ เพื่อจัดเตรียมก่อนนำเสนอในที่ประชุมครม.ในวันที่ 13 ม.ค.ปีหน้า แล้วจะตัดสินใจอีกครั้ง จึงเป็นคำถามปลายเปิดอยู่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ในช่วงต้นปี 58 จะมีการประชุมของยูนิเซฟ ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ จะไปพูดเรื่องเด็กปฐมวัยที่ผมอยากจะไปฟังด้วย" นายยงยุทธ์ กล่าว