นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถา เรื่อง การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ตามแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าโจทย์ใหญ่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คือ เราจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย เพื่อให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง คือการปฏิรูป ซึ่งไม่ใช่โจทย์ที่คสช.ให้ แต่เป็นโจทย์ที่คนไทยทั้ง 62 ล้านคนเห็นร่วมกัน
ทั้งนี้ ในปี 58 ประเทศไทย จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ เราก็จะอยู่ในลำดับท้ายของประชาคมอาเซียน คงไม่ใช่ความปรารถนาของคนไทยทั้งหมด ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีการปรองดอง และการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ต้องติดกับดักความขัดแย้ง ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทางออกคือ ต้องปฏิรูปให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะเป็นรากฐานของความขัดแย้งระหว่างคนมีมหาศาล ความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจน จึงต้องแก้ปัญหาที่เชิงโครงสร้าง โดยต้องยกเลิกนโยบายประชานิยม จัดสรรความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรใหม่
"การปฏิรูปครั้งนี้ จะพิสูจน์ว่าที่พระพุทธเจ้าเคยบอกว่า ดอกบัวที่แทนความบริสุทธิ์เกิดจากโคลนตมได้ฉันท์ใด การปฏิรูปประเทศก็เกิดจากกระบวนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้ฉันท์นั้น ตอนนี้ สปช.- สนช.-รัฐบาล- คณะรัฐมนตรี-กรรมาธิการยกร่าง มีหน้าที่ใหญ่คือ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทำในสิ่งที่ผู้มีทุนมากมายมหาศาลจากพรรคการเมืองไม่ทำ" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า การปรองดอง ต้องให้ผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย มาคุยกัน ซึ่งถือเป็นหน้าที่หนึ่ง ที่ต้องทำอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ทำ ก็จะเกิดปัญหาซ้ำอีก ส่วนการนิรโทษกรรม จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปรองดอง ถ้ารัฐธรรมนูญไม่วางโครงสร้างกระบวนการที่ดี ก็จะมีการทำลัดขั้นตอน ไปเริ่มที่ 100 แทนที่จะทำจาก 1 อาจจะมีการทำนิรโทษกรรม ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก และในรัฐธรรมนูญจะไม่พูดถึงเรื่องการปรองดองก็ไม่ได้ ถ้าไม่มี ก็แสดงว่าเราไม่เอาปัญหาของบ้านเมืองมาพูดเป็นเรื่อง เป็นราว
ดังนั้น จะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการสร้างความปรองดองได้ ทั้งนี้ ก็มีสัญลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแล้ว เพราะแม้ คสช. จะห้ามพรรคการเมืองประชุมกัน แต่หลายพรรคก็พยายามเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ตาม โจทย์ใหญ่ทั้ง 2 เรื่อง ตนยังไม่มีคำตอบ แต่หากเราหาคำตอบให้โจทย์เหล่านี้ไม่ได้ กระบวนการที่ทำอยู่ใน สปช. กมธ.ยกร่าง หรือการยึดอำนาจของ คสช. ก็จะเสียของ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันเสนอความเห็น มองอนาคตไปด้วยกัน อย่ามองไปในอดีต แม้จะประกาศกฎอัยการศึก แต่ความเห็นของกลุ่มต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปฏิรูปไม่กี่คน และท้ายที่สุด ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ยืนยันว่าหากมีข้อเสนอดีๆ เราก็ยินดีจะรับฟัง
** สปช.อภิปรายแต่ไม่มีการลงมติ
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช เลขานุการคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ว่า ในวันดังกล่าวสปช. จากกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ จะได้มีการอภิปรายนำเสนอประเด็น หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ โดยจะมีการอธิบายเหตุผล เพื่อให้กรรมาธิการยกร่างนำไปพิจารณาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อกรรมาธิการทั้ง 18 คณะได้นำเสนอประเด็นแล้ว ก็จะมีการเปิดโอกาสให้ สปช.ได้อภิปราย รวมทั้งอาจจะมีการอภิปรายของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย แต่ก็จะเป็นอย่างกระชับ สร้างสรรค์ ไม่เยิ่นเย้อ ทั้งนี้ในการอภิปราย จะไม่มีการโหวตเพื่อลงมติในประเด็นหรือหัวข้อใด ๆ เพราะอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นของคณะกรรมาธิการยกร่าง สปช. เป็นแต่เพียงอภิปราย เพื่อให้ความเห็นเท่านั้น
"การอภิปราย 3 วัน สปช.เราเรียกว่า เป็นวันเสียงประชาชน ที่ สปช. จะได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่เขาได้ไปรับฟังมา ซึ่งประชาชนก็สามารถติดตามการอภิปรายได้ เพราะจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เอ็นบีที สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการปฎิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และกรรมาธิการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน จะได้เวลาในการอภิปรายมากกว่า กรรมาธิการชุดอื่นๆและจะอภิปรายในวันสุดท้ายคือวันที่ 17 ธ.ค.” นายบุญเลิศ กล่าวและว่า วิปสปช. จะมีการประชุมในรายละเอียด เพื่อวางกรอบการอภิปรายของสปช.อีกครั้งในวันนี้ ( 12 ธ.ค.) เวลา 13.00 น.
ทั้งนี้ ในปี 58 ประเทศไทย จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ เราก็จะอยู่ในลำดับท้ายของประชาคมอาเซียน คงไม่ใช่ความปรารถนาของคนไทยทั้งหมด ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีการปรองดอง และการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ไม่ต้องติดกับดักความขัดแย้ง ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทางออกคือ ต้องปฏิรูปให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะเป็นรากฐานของความขัดแย้งระหว่างคนมีมหาศาล ความขัดแย้งระหว่างคนรวยกับคนจน จึงต้องแก้ปัญหาที่เชิงโครงสร้าง โดยต้องยกเลิกนโยบายประชานิยม จัดสรรความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และทรัพยากรใหม่
"การปฏิรูปครั้งนี้ จะพิสูจน์ว่าที่พระพุทธเจ้าเคยบอกว่า ดอกบัวที่แทนความบริสุทธิ์เกิดจากโคลนตมได้ฉันท์ใด การปฏิรูปประเทศก็เกิดจากกระบวนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยได้ฉันท์นั้น ตอนนี้ สปช.- สนช.-รัฐบาล- คณะรัฐมนตรี-กรรมาธิการยกร่าง มีหน้าที่ใหญ่คือ การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ทำในสิ่งที่ผู้มีทุนมากมายมหาศาลจากพรรคการเมืองไม่ทำ" นายบวรศักดิ์ กล่าว
ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวอีกว่า การปรองดอง ต้องให้ผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย มาคุยกัน ซึ่งถือเป็นหน้าที่หนึ่ง ที่ต้องทำอย่างจริงจัง เพราะหากไม่ทำ ก็จะเกิดปัญหาซ้ำอีก ส่วนการนิรโทษกรรม จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปรองดอง ถ้ารัฐธรรมนูญไม่วางโครงสร้างกระบวนการที่ดี ก็จะมีการทำลัดขั้นตอน ไปเริ่มที่ 100 แทนที่จะทำจาก 1 อาจจะมีการทำนิรโทษกรรม ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรองดอง ซึ่งก็จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นอีก และในรัฐธรรมนูญจะไม่พูดถึงเรื่องการปรองดองก็ไม่ได้ ถ้าไม่มี ก็แสดงว่าเราไม่เอาปัญหาของบ้านเมืองมาพูดเป็นเรื่อง เป็นราว
ดังนั้น จะทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการสร้างความปรองดองได้ ทั้งนี้ ก็มีสัญลักษณ์ที่ดีเกิดขึ้นแล้ว เพราะแม้ คสช. จะห้ามพรรคการเมืองประชุมกัน แต่หลายพรรคก็พยายามเข้ามาพูดคุย อย่างไรก็ตาม โจทย์ใหญ่ทั้ง 2 เรื่อง ตนยังไม่มีคำตอบ แต่หากเราหาคำตอบให้โจทย์เหล่านี้ไม่ได้ กระบวนการที่ทำอยู่ใน สปช. กมธ.ยกร่าง หรือการยึดอำนาจของ คสช. ก็จะเสียของ ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ช่วยกันเสนอความเห็น มองอนาคตไปด้วยกัน อย่ามองไปในอดีต แม้จะประกาศกฎอัยการศึก แต่ความเห็นของกลุ่มต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการปฏิรูปไม่กี่คน และท้ายที่สุด ก็อาจจะไม่ได้รับการยอมรับ ทั้งนี้ยืนยันว่าหากมีข้อเสนอดีๆ เราก็ยินดีจะรับฟัง
** สปช.อภิปรายแต่ไม่มีการลงมติ
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช เลขานุการคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป ในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 15-17 ธ.ค.นี้ ว่า ในวันดังกล่าวสปช. จากกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ จะได้มีการอภิปรายนำเสนอประเด็น หลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ โดยจะมีการอธิบายเหตุผล เพื่อให้กรรมาธิการยกร่างนำไปพิจารณาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อกรรมาธิการทั้ง 18 คณะได้นำเสนอประเด็นแล้ว ก็จะมีการเปิดโอกาสให้ สปช.ได้อภิปราย รวมทั้งอาจจะมีการอภิปรายของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย แต่ก็จะเป็นอย่างกระชับ สร้างสรรค์ ไม่เยิ่นเย้อ ทั้งนี้ในการอภิปราย จะไม่มีการโหวตเพื่อลงมติในประเด็นหรือหัวข้อใด ๆ เพราะอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นของคณะกรรมาธิการยกร่าง สปช. เป็นแต่เพียงอภิปราย เพื่อให้ความเห็นเท่านั้น
"การอภิปราย 3 วัน สปช.เราเรียกว่า เป็นวันเสียงประชาชน ที่ สปช. จะได้สะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่เขาได้ไปรับฟังมา ซึ่งประชาชนก็สามารถติดตามการอภิปรายได้ เพราะจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เอ็นบีที สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ โดยกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กรรมาธิการปฎิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และกรรมาธิการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน จะได้เวลาในการอภิปรายมากกว่า กรรมาธิการชุดอื่นๆและจะอภิปรายในวันสุดท้ายคือวันที่ 17 ธ.ค.” นายบุญเลิศ กล่าวและว่า วิปสปช. จะมีการประชุมในรายละเอียด เพื่อวางกรอบการอภิปรายของสปช.อีกครั้งในวันนี้ ( 12 ธ.ค.) เวลา 13.00 น.