ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อพ.ย.เพิ่มขึ้น 1.26% สูงขึ้นในอัตราชะลอตัวลง และต่ำสุดในรอบ 5 ปี เหตุได้รับผลดีจากราคาน้ำมันลดลงแรง แต่หมวดอาหารยังคงพุ่งไม่หยุด ทั้งในบ้านนอกบ้าน “พาณิชย์”คาดทั้งปีโต 2% เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำ ส่วนปีหน้าตั้งเป้า 1.8-2.5% จับตาน้ำมันตัวกดดันเงินเฟ้อ
นางอัมพวัน พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ย. เท่ากับ 107.19 เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2557 ลดลง 0.12% เทียบกับเดือนพ.ย.2556 สูงขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือเพียง 1.26% ซึ่งเป็นอัตราการสูงขึ้นที่ต่ำสุดในรอบ 60 เดือนหรือ 5 ปี นับจากเดือนพ.ย.2552 ที่เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.4% และเมื่อเทียบเฉลี่ย 11 เดือนของปี 2557 (ม.ค.-พ.ย.) สูงขึ้น 2.02%
สาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.สูงขึ้น 1.26% เนื่องจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.14% โดยมีสินค้าที่ราคาลดลงมาก คือ น้ำมันเชื้อเพลิง ลด 6.04% ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ยังคงมีราคาสูงขึ้น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก 1.45% ค่าเหล้า เบียร์ บุหรี่ 2.86% ค่ารักษาพยาบาล 1.13% แต่เมื่อเทียบกับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนียังราคาสูงขึ้น 3.38% สินค้าสำคัญที่ราคาแพงขึ้น เช่น อาหารบริโภคนอกบ้าน (อาหารปรุงสำเร็จ) 5.09% อาหารบริโภคในบ้าน 4.76% เครื่องประกอบอาหาร 3.66% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ 4.94%
นางอัมพวันกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาส 4 ปีนี้ จะสูงขึ้น 1.6% ทำให้อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังสูงขึ้น 1.8% และทั้งปีจะสูงขึ้น 2% ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะขยายตัวในช่วง 2-2.8% โดยอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงมาก ไม่ได้มีสัญญาณภาวะเงินฝืด แต่เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจปีนี้ที่ขยายตัวต่ำ ประกอบกับการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับลดลง อีกทั้งแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับลดลงมาก จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมามาก
ส่วนการคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2558 คาดว่าจะเติบโตในกรอบ 1.8-2.5% ภายใต้สมมุติฐาน คือ การขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ 4-5% ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ 90-110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31-34 บาท/เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ แต่จะต้องจับตาทิศทางระดับราคาน้ำมันตลาดโลกในปีหน้าว่าจะลดต่ำลงจนมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงอีกหรือไม่เพราะในไตรมาสแรก ราคาน้ำมันน่าจะปรับตัวลดลง แต่หลังจากนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่ำสุดรอบ 60 เดือน เป็นผลมาจากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ แต่สินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะหมวดอาหาร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เดือนพ.ย.สูงขึ้น 3.38%สะท้อนให้เห็นว่าราคาอาหารสูงขึ้นกว่าเดือนต.ค. ที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.25% โดยเฉลี่ยหมวดอาหารและเครื่องดื่มตลอด 11 เดือนปี 2557 สูงขึ้นเกือบ 4%
นางอัมพวัน พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือนพ.ย. เท่ากับ 107.19 เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.2557 ลดลง 0.12% เทียบกับเดือนพ.ย.2556 สูงขึ้นในอัตราที่ลดลงเหลือเพียง 1.26% ซึ่งเป็นอัตราการสูงขึ้นที่ต่ำสุดในรอบ 60 เดือนหรือ 5 ปี นับจากเดือนพ.ย.2552 ที่เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.4% และเมื่อเทียบเฉลี่ย 11 เดือนของปี 2557 (ม.ค.-พ.ย.) สูงขึ้น 2.02%
สาเหตุที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย.สูงขึ้น 1.26% เนื่องจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.14% โดยมีสินค้าที่ราคาลดลงมาก คือ น้ำมันเชื้อเพลิง ลด 6.04% ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่ยังคงมีราคาสูงขึ้น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก 1.45% ค่าเหล้า เบียร์ บุหรี่ 2.86% ค่ารักษาพยาบาล 1.13% แต่เมื่อเทียบกับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนียังราคาสูงขึ้น 3.38% สินค้าสำคัญที่ราคาแพงขึ้น เช่น อาหารบริโภคนอกบ้าน (อาหารปรุงสำเร็จ) 5.09% อาหารบริโภคในบ้าน 4.76% เครื่องประกอบอาหาร 3.66% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ 4.94%
นางอัมพวันกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาส 4 ปีนี้ จะสูงขึ้น 1.6% ทำให้อัตราเงินเฟ้อครึ่งปีหลังสูงขึ้น 1.8% และทั้งปีจะสูงขึ้น 2% ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั้งปีจะขยายตัวในช่วง 2-2.8% โดยอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงมาก ไม่ได้มีสัญญาณภาวะเงินฝืด แต่เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจปีนี้ที่ขยายตัวต่ำ ประกอบกับการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับลดลง อีกทั้งแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับลดลงมาก จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงมามาก
ส่วนการคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2558 คาดว่าจะเติบโตในกรอบ 1.8-2.5% ภายใต้สมมุติฐาน คือ การขยายตัวเศรษฐกิจของประเทศ 4-5% ราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบ 90-110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 31-34 บาท/เหรียญสหรัฐ และรัฐบาลยังคงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ แต่จะต้องจับตาทิศทางระดับราคาน้ำมันตลาดโลกในปีหน้าว่าจะลดต่ำลงจนมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงอีกหรือไม่เพราะในไตรมาสแรก ราคาน้ำมันน่าจะปรับตัวลดลง แต่หลังจากนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่ำสุดรอบ 60 เดือน เป็นผลมาจากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ แต่สินค้าอื่นๆ โดยเฉพาะหมวดอาหาร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชนยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เดือนพ.ย.สูงขึ้น 3.38%สะท้อนให้เห็นว่าราคาอาหารสูงขึ้นกว่าเดือนต.ค. ที่ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.25% โดยเฉลี่ยหมวดอาหารและเครื่องดื่มตลอด 11 เดือนปี 2557 สูงขึ้นเกือบ 4%