นางอัมพวัน พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรืออัตราเงินเฟ้อ ในเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 107.19 สูงขึ้นร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 และชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 แต่ยืนยันว่า ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะยังไม่เข้าสู่ภาวะติดลบที่ต้องติดลบต่อเนื่องเกิน 6 เดือน
ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับลดลง ตามราคาในตลาดโลกที่มีแน้มโน้มลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งราคาอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้สด และไข่ไก่ ลดลง จากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่ความต้องการในประเทศยังทรงตัว ส่งผลให้แรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลง โดยจากการตรวจสอบสินค้าที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อ 450 รายการ พบว่าสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมี 197 รายการ และอีก 157 รายการราคาเท่าเดิม ส่วนรายการที่ปรับลดลง มี 96 รายการ ส่งผลให้ในระยะ 11 เดือนแรกของปีนี้ เงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 2.02 ยังอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้
โดยคาดว่า ในไตรมาสที่ 4 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ทำให้ครึ่งปีหลังจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ส่งผลให้ตลอดทั้งปีอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวร้อยละ 2 ซึ่งยังอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2 – 2.8 เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน รวมทั้งมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง และยังมีผลต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีหน้า จะเฉลี่ยในกรอบร้อยละ 1.80-2.50 ภายใต้สมมติฐานจากภาวะเศรษฐกิจไทย ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ย 90-110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในกรอบ 31-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับลดลง ตามราคาในตลาดโลกที่มีแน้มโน้มลดลงต่อเนื่อง รวมทั้งราคาอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผลไม้สด และไข่ไก่ ลดลง จากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แต่ความต้องการในประเทศยังทรงตัว ส่งผลให้แรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลง โดยจากการตรวจสอบสินค้าที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อ 450 รายการ พบว่าสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมี 197 รายการ และอีก 157 รายการราคาเท่าเดิม ส่วนรายการที่ปรับลดลง มี 96 รายการ ส่งผลให้ในระยะ 11 เดือนแรกของปีนี้ เงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 2.02 ยังอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้
โดยคาดว่า ในไตรมาสที่ 4 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ทำให้ครึ่งปีหลังจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ส่งผลให้ตลอดทั้งปีอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวร้อยละ 2 ซึ่งยังอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2 – 2.8 เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน รวมทั้งมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาล ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง และยังมีผลต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ซึ่งคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีหน้า จะเฉลี่ยในกรอบร้อยละ 1.80-2.50 ภายใต้สมมติฐานจากภาวะเศรษฐกิจไทย ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 4-5 ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ย 90-110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในกรอบ 31-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ