ASTVผู้จัดการรายวัน- บอร์ดบีโอไอไฟเขียว “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (2558-2564) เริ่มใช้กับโครงการที่ขอรับส่งเสริมตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป พร้อมไฟเขียวส่งเสริมฯ 23 โครงการลงทุนเกือบ 8 หมื่นล้านบาทอีโคคาร์เฟส 2 จำนวน 4 ราย
นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (พ.ศ. 2558 – 2564)
ตามที่บีโอไอนำเสนอโดยมีผลบังคับใช้สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
สำหรับนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะให้ความสำคัญกับประเภทกิจการที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อภาคอุตสาหกรรมและต่อประเทศเป็นหลัก เช่น กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กิจการเชิงสร้างสรรค์ กิจการหรือบริการเพื่อรองรับการพัฒนา Digital Economy กิจการที่พัฒนาจากทรัพยากรในประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ตามเขตที่ตั้ง เหลือเฉพาะพื้นที่ทีมีรายได้ต่อหัวต่ำใน 20 จังหวัดเท่านั้น และการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มจากสิทธิพื้นฐานตามประเภทอุตสาหกรรม
“ ประเภทกิจการที่จะให้ส่งเสริมยังมีจำนวนใกล้เคียงกับประเภทกิจการที่ให้ส่งเสริมในปัจจุบัน ประมาณ 200 กว่าประเภทกิจการ แต่จะแบ่งออกเป็นกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมาณ 180 กิจการ อีกประมาณ 50 กิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี
โดยจะมีการประกาศรายชื่อประเภทกิจการที่จะให้ส่งเสริมในเว็บไซต์บีโอไอต่อไป” นางหิรัญญากล่าว
ทั้งนี้ กิจการที่จะได้รับส่งเสริม จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเอ เป็นกิจการที่มีความสำคัญสูงต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและมีความจำเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ขณะที่กลุ่มบี เป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุนที่มีการใช้เทคโนโลยีไม่สูงนักแต่ยังมีความสำคัญต่อห่วงโซ่มูลค่า โดยจะไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะอำนวยความสะดวกผ่านสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาพที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยโครงการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (จ.ตาก จ.ตราด จ.สระแก้ว จ.สงขลา จ.มุกดาหาร) หากเป็นกิจการที่ได้รับส่งเสริมภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปีจากเกณฑ์ปกติ
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบอนุมัติให้การส่งเสริมฯ 23 โครงการมูลค่าเกือบ 8 หมื่นล้านบาทซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ที่ได้รับอนุมัติ 4 รายได้แก่ โตโยต้า ซูซูกิ ฮอนด้า และนิสสัน ที่ขอเพิ่มกำลังการผลิต
นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนในระยะ 7 ปี” (พ.ศ. 2558 – 2564)
ตามที่บีโอไอนำเสนอโดยมีผลบังคับใช้สำหรับโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
สำหรับนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะให้ความสำคัญกับประเภทกิจการที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อภาคอุตสาหกรรมและต่อประเทศเป็นหลัก เช่น กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง กิจการเชิงสร้างสรรค์ กิจการหรือบริการเพื่อรองรับการพัฒนา Digital Economy กิจการที่พัฒนาจากทรัพยากรในประเทศ ดังนั้นการส่งเสริมการลงทุนภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ตามเขตที่ตั้ง เหลือเฉพาะพื้นที่ทีมีรายได้ต่อหัวต่ำใน 20 จังหวัดเท่านั้น และการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มจากสิทธิพื้นฐานตามประเภทอุตสาหกรรม
“ ประเภทกิจการที่จะให้ส่งเสริมยังมีจำนวนใกล้เคียงกับประเภทกิจการที่ให้ส่งเสริมในปัจจุบัน ประมาณ 200 กว่าประเภทกิจการ แต่จะแบ่งออกเป็นกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประมาณ 180 กิจการ อีกประมาณ 50 กิจการจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษี
โดยจะมีการประกาศรายชื่อประเภทกิจการที่จะให้ส่งเสริมในเว็บไซต์บีโอไอต่อไป” นางหิรัญญากล่าว
ทั้งนี้ กิจการที่จะได้รับส่งเสริม จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเอ เป็นกิจการที่มีความสำคัญสูงต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและมีความจำเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ขณะที่กลุ่มบี เป็นกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุนที่มีการใช้เทคโนโลยีไม่สูงนักแต่ยังมีความสำคัญต่อห่วงโซ่มูลค่า โดยจะไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่จะอำนวยความสะดวกผ่านสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาพที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยโครงการที่ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่ (จ.ตาก จ.ตราด จ.สระแก้ว จ.สงขลา จ.มุกดาหาร) หากเป็นกิจการที่ได้รับส่งเสริมภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปีจากเกณฑ์ปกติ
นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบอนุมัติให้การส่งเสริมฯ 23 โครงการมูลค่าเกือบ 8 หมื่นล้านบาทซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีโครงการอีโคคาร์เฟส 2 ที่ได้รับอนุมัติ 4 รายได้แก่ โตโยต้า ซูซูกิ ฮอนด้า และนิสสัน ที่ขอเพิ่มกำลังการผลิต