หอการค้าสรุปเศรษฐกิจปีหน้าโต 3-5% ส่งออกโต 4.1% คาดเศรษฐกิจปีหน้าเริ่มฟื้นตั้งแต่ไตรมาส 1 ด้านภูมิภาคหวังค้าชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจหอการค้าทั่วประเทศสรุปภาวะเศรษฐกิจปี 2558 และแนวโน้มเศรษฐกิจ 5 ภาค จากความคิดเห็นของผู้เข้ามาร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศจำนวน 700 ราย ว่า ในปี 2558 คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) มีโอกาสเติบโต 3-5% การส่งออกเติบโต 4.1% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2-2.5%
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวจะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเติบโต 8.6% หรือมีจำนวน 26.6 ล้านคน รายได้จากนักท่องเที่ยวเติบโต 4.3% หรือมีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท การลงทุนจะเติบโตได้ 6.9% การบริโภคของภาคเอกชน 2.7% ขณะที่ภาคการเกษตรเติบโต 1.6%
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในปี 2558 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในภาคกลางจะขยายตัว 5.3% จากปี 2557 ที่จะเติบโต 1.3% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัว 3.3% จากปี 2557 ที่ขยายตัว 0.3% ภาคเหนือขยายตัว 3.4%จาก0.6% ภาคใต้ขยายตัว 3.2% จาก0.5%และกรุงเทพและปริมณฑลขยายตัว 4.6%จาด 1.1%
สำหรับปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจปีหน้า ได้แก่ การเมืองมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นโยบายการคลังผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน การลงทุนมีการปรับตัวข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของรัฐและเอกชน และการส่งออกโดยเฉพาะการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
ขณะที่ปัจจัยลบสำหรับเศรษฐกิจ ได้แก่ ความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ราคราพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น เช่น ค่าแรง ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่ากนส่ง เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ในปีหน้าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 แต่จะมีปัจจัยบั่นทอนการเติบโต คือ รัฐบาลขับเคลื่อนเม็ดเงินลงทุนล่าช้า และราคาพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นและเร่งรัดการลงทุนให้ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว อีกทั้งต้องดูแลปัญหาคนมีรายได้น้อย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และชาวนา ที่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันนออกยังคงทรงตัว เนื่องจากชาวสวนผลไม้ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาตกต่ำ ขณะที่การค้าชายแดนเติบโตประมาณ 11% ซึ่งในช่วงไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 2 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจน เพราะมีการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวชัดเจน นโยบานการขยายท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่งในภาคตะวันออก และโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมโยงจากภาคอีสานมายังมาบตาพุด
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมายังชะลอตัวจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และการท่องเที่ยวฝั่งชะลอตัว ซึ่งจากผลสำรวจของหอการค้าในภาคใต้ส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจภาคใต้จจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2 ของปี 2558 จากการลงทุนของภาครัฐ และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะส่งผลให้การค้าขยายตัว
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคกลางอยู่ในภาวะชะลอตัวลง การบริโภคไม่ฟื้นตัว ซึ่งหอการค้าภาคกลางเชื่อว่าเศรษฐกิขจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ทั้งในภาคการเกษตรและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
นายประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคอีสานอยู่ในระดับปานกลางถึงแย่ลง ซึ่งคาดว่าจะเริมฟื้นตัวในไตรมาส 2 ของปี 2558 โดยเชื่อว่าการค้าชายแดนที่เติบโตขึ้นจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งขยายโอกาสด้านการค้า การลงทุน
นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคเหนือมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัว และการค้าชายแดนเติบโตต่อเนื่อง โยเฉพาะในพื้นที่แม่สอด จ.ตาก ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีการทำยุทธศาสตร์ภาคปี 2563 โดยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) และคาดว่าจะดันให้จีดีพีเติบโตได้เฉลี่ยปีละ 5%.
นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจหอการค้าทั่วประเทศสรุปภาวะเศรษฐกิจปี 2558 และแนวโน้มเศรษฐกิจ 5 ภาค จากความคิดเห็นของผู้เข้ามาร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศจำนวน 700 ราย ว่า ในปี 2558 คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) มีโอกาสเติบโต 3-5% การส่งออกเติบโต 4.1% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2-2.5%
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวจะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเติบโต 8.6% หรือมีจำนวน 26.6 ล้านคน รายได้จากนักท่องเที่ยวเติบโต 4.3% หรือมีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท การลงทุนจะเติบโตได้ 6.9% การบริโภคของภาคเอกชน 2.7% ขณะที่ภาคการเกษตรเติบโต 1.6%
ด้านแนวโน้มเศรษฐกิจภูมิภาคในปี 2558 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในภาคกลางจะขยายตัว 5.3% จากปี 2557 ที่จะเติบโต 1.3% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัว 3.3% จากปี 2557 ที่ขยายตัว 0.3% ภาคเหนือขยายตัว 3.4%จาก0.6% ภาคใต้ขยายตัว 3.2% จาก0.5%และกรุงเทพและปริมณฑลขยายตัว 4.6%จาด 1.1%
สำหรับปัจจัยบวกสำหรับเศรษฐกิจปีหน้า ได้แก่ การเมืองมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น นโยบายการคลังผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน การลงทุนมีการปรับตัวข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของรัฐและเอกชน และการส่งออกโดยเฉพาะการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
ขณะที่ปัจจัยลบสำหรับเศรษฐกิจ ได้แก่ ความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ราคราพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น เช่น ค่าแรง ราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ค่ากนส่ง เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ในปีหน้าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1 แต่จะมีปัจจัยบั่นทอนการเติบโต คือ รัฐบาลขับเคลื่อนเม็ดเงินลงทุนล่าช้า และราคาพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นและเร่งรัดการลงทุนให้ขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว อีกทั้งต้องดูแลปัญหาคนมีรายได้น้อย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และชาวนา ที่มีสถานการณ์น่าเป็นห่วงหากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล
นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันนออกยังคงทรงตัว เนื่องจากชาวสวนผลไม้ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาตกต่ำ ขณะที่การค้าชายแดนเติบโตประมาณ 11% ซึ่งในช่วงไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 2 เศรษฐกิจจะฟื้นตัวชัดเจน เพราะมีการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวชัดเจน นโยบานการขยายท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2 แห่งในภาคตะวันออก และโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมโยงจากภาคอีสานมายังมาบตาพุด
นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมายังชะลอตัวจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และการท่องเที่ยวฝั่งชะลอตัว ซึ่งจากผลสำรวจของหอการค้าในภาคใต้ส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจภาคใต้จจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2 ของปี 2558 จากการลงทุนของภาครัฐ และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะส่งผลให้การค้าขยายตัว
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคกลาง กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคกลางอยู่ในภาวะชะลอตัวลง การบริโภคไม่ฟื้นตัว ซึ่งหอการค้าภาคกลางเชื่อว่าเศรษฐกิขจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ทั้งในภาคการเกษตรและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
นายประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคอีสานอยู่ในระดับปานกลางถึงแย่ลง ซึ่งคาดว่าจะเริมฟื้นตัวในไตรมาส 2 ของปี 2558 โดยเชื่อว่าการค้าชายแดนที่เติบโตขึ้นจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งขยายโอกาสด้านการค้า การลงทุน
นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กล่าวว่า เศรษฐกิจภาคเหนือมีสัญญาณดีขึ้นในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2558 เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัว และการค้าชายแดนเติบโตต่อเนื่อง โยเฉพาะในพื้นที่แม่สอด จ.ตาก ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านบวกต่อเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ภาคเหนือยังมีการทำยุทธศาสตร์ภาคปี 2563 โดยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (จีเอ็มเอส) และคาดว่าจะดันให้จีดีพีเติบโตได้เฉลี่ยปีละ 5%.