1. กล่าวนำ : ความเป็นมา
แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์ที่เจริญกว่าสัตว์อื่นๆ ก็จริง แต่พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์บางคนก็อาจเลวทรามต่ำช้ากว่าสัตว์อื่นใดบนโลกนี้เสียอีก นอกจากคดีน้องแก้มที่ถูกฆาตกรรมอย่างทารุณโหดร้ายโดยฆาตกรที่มีจิตใจโหดเหี้ยมต่ำช้ากว่าสัตว์อื่นใดบนโลกนี้แล้ว หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยยังนิยมใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ต่อบุตรและภรรยาของตนอีกด้วย
จากเอกสารโครงการสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ซึ่งดำเนินการโดย คณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ในคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ระบุถึงข้อมูลจากเอกสาร เรื่อง 2011 - 2012 Progress of the World’s in Pursuit of Justice ว่า
“ประเทศไทยยังอยู่ในลำดับที่ 7 ใน 71 ประเทศที่กระทำความรุนแรงทางเพศต่อคู่ของตนเอง และเป็นลำดับที่ 36 ใน 75 ประเทศที่กระทำความรุนแรงทางกายต่อคู่สมรส(หรือภรรยา) ของตนเอง และเป็นลำดับที่ 2 ใน 49 ประเทศที่เชื่อว่าสามีตี(ทำร้าย)ภรรยาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้”
และในเอกสารนี้ยังได้สรุปถึงปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีไว้ว่า “ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวเป็นปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบและในสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่สถานที่สาธารณะหรือสถานบริการของรัฐหรือธุรกิจเอกชน เช่น เด็กผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและโยนลงจากรถไฟตู้นอนเพื่ออำพรางคดี(คดีน้องแก้ม) หรือข่าวที่เด็กผู้หญิงถูกคนแปลกหน้าลวงจากสถานีรถไฟฟ้าไปล่วงละเมิดทางเพศและสังหารโหดในที่เปลี่ยวรกร้าง (แสงสว่างไม่เพียงพอ) เป็นข่าวครึกโครมในหนังสือพิมพ์ระยะหนึ่ง เหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของผู้เสียหาย ยังเกิดความสูญเสียต่อชีวิต และส่งผลต่อความเป็นอยู่ความปลอดภัย และความสุขสงบของสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งมักเกิดขึ้นจากระดับน้อยก่อน เมื่อเกิดซ้ำๆ อาจเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นจนยากที่จะเยียวยาหรือแก้ไขได้ทันท่วงที การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาโดยการสังเกตของเพื่อนบ้านและชุมชนที่ไม่ละเลย เพิกเฉยเพื่อดำเนินการแทรกแซง เช่น การแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าคุ้มครองช่วยเหลือ หรือการให้คำปรึกษา จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดก่อนที่จะสายเกินไป”
นอกเหนือจากการดำเนินการข้างต้นแล้ว ผู้เขียนขอนำข้อความในบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (4) มาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ระลึกถึงความเป็นจริงที่ยังดำรงอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือ มนุษย์มีความเป็นคนและเป็นสัตว์อยู่ในตัวทุกคนแต่มีบางคนที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าเป็นคน ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องกำหนดวิธีการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าคน เพราะถ้าใช้วิธีการปกติก็คงไม่ได้ผลเช่นในอดีตที่ผ่านมา
2. ข้อมูลการใช้ความรุนแรงต่อเด็กที่เป็นสตรี: คดีข่มขืนแล้วฆ่า (ก.พ. 2556 - ก.ค. 2557)
เอกสารโครงการสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ได้อ้างข้อมูลของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุขโดยระบุว่า
“ในปี 2547 มีเด็กและสตรีที่ถูกทำร้ายและมารักษาที่โรงพยาบาลจำนวน 6,951 ราย หรือ 19 รายต่อวัน ในปี 2550 มีจำนวน 19,067 ราย หรือ 52 รายต่อวัน ในปี 2556 มีจำนวน 31,866 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 87 รายต่อวันหรือในทุก 20 นาที จะมีเด็กหรือสตรีถูกกระทำความรุนแรง 1 ราย ปี 2555 - 2556 พบว่า ผู้กระทำความรุนแรงต่อสตรีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้กระทำทั้งหมด คือ คู่สมรส รองลงมาคือ แฟน ผู้กระทำต่อเด็กส่วนใหญ่(เฉลี่ยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้กระทำต่อเด็กทั้งหมด) คือ แฟน รองลงมาคือ เพื่อน”
นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังมีการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยมที่ควรนำมากล่าวไว้ในบทความนี้ด้วยก็คือ การข่มขืนแล้วฆ่า ซึ่งเป็นการใช้ความรุนแรงที่โหดเหี้ยม (เป็นการกระทำเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน) ต่อเด็กที่เป็นสตรี โดยข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคนหายมูลนิธิกระจกเงา ได้ระบุว่า “มีเหตุข่มขืนฆาตกรรมเด็กหญิง และคดีล่อลวงเด็กไปข่มขืนในรอบ 1 ปีเศษ รวมยอด 8 ศพ (จากสถิติคดีฆ่าข่มขืนเด็กในรอบ 1 ปี ในNation TV วันที่ 8 กรกฎาคม 2557)
(1) วันที่ 5 ก.พ. 56 น้องหญิง อายุ 4 ขวบ หายตัวไปที่งานประจำปีจังหวัดเลย ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต และจับคนร้ายได้
(2)วันที่ 10 พ.ย. 56 น้องแม็กซ์ อายุ 7 ขวบ หายตัวไปที่งานบุญในวัดประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาภายหลังถูกฆาตกรรมและจับคนร้ายได้
(3) วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องการ์ตูน อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากงานคอนเสิร์ตที่ซอยแบริ่ง ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิตและจับคนร้ายได้
(4) วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องเดียร์ อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากที่พักในจังหวัดภูเก็ต ต่อมาภายหลังพบกะโหลกศีรษะและเสื้อผ้าเด็กตกอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 3 กม. สันนิษฐานว่าถูกฆาตกรรม ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
(5) วันที่ 21 มี.ค. 57 น้องจันลา อายุ 7 ขวบ หายตัวไปจากแคมป์คนงานก่อสร้างในซอยพหลโยธิน 52 ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
(6) วันที่ 27 เม.ย. 57 น้องฟ้า อายุ 13 ปี หายตัวไปจากบ้านพักโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาพบว่าถูกฆ่าข่มขืนโดยน้าเขยของเด็กเป็นผู้ก่อเหตุ
(7) วันที่ 9 พ.ค. 57 น้องเพลง อายุ 11 ปี หายตัวออกจากบ้านที่ อ.เมือง จ.ตรัง ต่อมาพบเป็นศพถูกฆ่าข่มขืน ส่วนคนร้ายเป็นคนข้างบ้าน
(8) และล่าสุด 5 ก.ค. 57 น้องแก้ม อายุ 13 ปี ถูกข่มขืน (และฆ่า-ผู้เขียน) บนรถไฟโดยเจ้าหน้าที่ของโบกี้รถไฟ ก่อนโยนน้องแก้มออกนอกขบวนรถ
เมื่อได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วจึงสรุปได้ว่า การใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการสตรี มูลนิธิ สมาคม และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันกำหนดมาตรการต่างๆ ในทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งและขจัดการกระทำต่างๆ ที่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบต่อเด็กและสตรีให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้จงได้
3. การจัดสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence”
การใช้ความรุนแรงใดๆ ตั้งแต่การทำร้ายร่างกายไปจนถึงการข่มขืนแล้วฆ่าเหยื่อโดยฆาตกรที่มีจิตใจที่โหดเหี้ยมดังคดีที่กล่าวในข้อ 2 ควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญเป็นภารกิจอันดับต้นๆ ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันกำหนดมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคม มาตรการทางการศึกษา และมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อยุติและขจัดการกระทำที่ใช้ความรุนแรง โหดร้าย และอำมหิต ดังที่กล่าวให้สูญสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้ได้อย่างเป็นการถาวร
คณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ในคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้ความรุนแรงต่างๆ ดังกล่าวต่อเด็กและสตรี จึงได้ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ“Start to Stop Violence” โดยมุ่งหวังว่าการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เกิดผลที่ตามมา(Consequences) ดังต่อไปนี้*
(1) ได้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2)ได้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(3) เกิดนวัตกรรมความร่วมมือระหว่างคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(* จากเอกสารโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ“Start to Stop Violence” ในวันที่24 พฤศจิกายน 2557)
สำหรับการจัดสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” จะมีรายการสำคัญที่น่าสนใจคือ
1) การบรรยายพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวของประเทศไทย” โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงพัฒนาสังคมฯ และ
2) การสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” โดย พล.ต.อ.ดร.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม, นางสาวอินทิรา ฉิวรัมย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, นายเฉลิมชัย ยอดมาลัย ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนางสาวนัยนา สุภาพึ่ง จากมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
4.บทสรุป
นอกจากการสัมมนาที่กล่าวแล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า รัฐบาลควรจะต้องเป็นหลักในการรณรงค์ให้คนไทยทุกคนร่วมมือกันอย่างจริงจังในการปกป้องและคุ้มครองเด็ก และสตรีไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ และจะต้องผลักดันมาตรการในการขจัดการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย เช่น การจัดอบรมให้เยาวชนได้เข้าใจในเรื่องการเคารพสิทธิ และความเท่าเทียมกันโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, การพิจารณาออกกฎหมายโดยการกำหนดวิธีการและระดับโทษที่จะได้รับจากการกระทำความผิดทางเพศหรือการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอย่างเหมาะสมกับความผิดและการจัดระบบการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงที่อาจมีการก่ออาชญากรรมหรือใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นต้น
ท้ายบทความ
ผู้เขียนขอเชิญผู้อ่านทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ณ ห้องรับรอง 1 - 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างเวลา 08.30 - 12.30 น. และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร. 02-831-9225 -6
* ต้องการสอบถาม/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกรุณาส่งมาที่ udomdee@gmail.com ขอบคุณครับ
แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์ที่เจริญกว่าสัตว์อื่นๆ ก็จริง แต่พฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์บางคนก็อาจเลวทรามต่ำช้ากว่าสัตว์อื่นใดบนโลกนี้เสียอีก นอกจากคดีน้องแก้มที่ถูกฆาตกรรมอย่างทารุณโหดร้ายโดยฆาตกรที่มีจิตใจโหดเหี้ยมต่ำช้ากว่าสัตว์อื่นใดบนโลกนี้แล้ว หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า มีคนไทยจำนวนไม่น้อยยังนิยมใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ต่อบุตรและภรรยาของตนอีกด้วย
จากเอกสารโครงการสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ซึ่งดำเนินการโดย คณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ในคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ระบุถึงข้อมูลจากเอกสาร เรื่อง 2011 - 2012 Progress of the World’s in Pursuit of Justice ว่า
“ประเทศไทยยังอยู่ในลำดับที่ 7 ใน 71 ประเทศที่กระทำความรุนแรงทางเพศต่อคู่ของตนเอง และเป็นลำดับที่ 36 ใน 75 ประเทศที่กระทำความรุนแรงทางกายต่อคู่สมรส(หรือภรรยา) ของตนเอง และเป็นลำดับที่ 2 ใน 49 ประเทศที่เชื่อว่าสามีตี(ทำร้าย)ภรรยาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้”
และในเอกสารนี้ยังได้สรุปถึงปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีไว้ว่า “ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวเป็นปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นในหลายรูปแบบและในสถานที่ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่สถานที่สาธารณะหรือสถานบริการของรัฐหรือธุรกิจเอกชน เช่น เด็กผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและโยนลงจากรถไฟตู้นอนเพื่ออำพรางคดี(คดีน้องแก้ม) หรือข่าวที่เด็กผู้หญิงถูกคนแปลกหน้าลวงจากสถานีรถไฟฟ้าไปล่วงละเมิดทางเพศและสังหารโหดในที่เปลี่ยวรกร้าง (แสงสว่างไม่เพียงพอ) เป็นข่าวครึกโครมในหนังสือพิมพ์ระยะหนึ่ง เหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวของผู้เสียหาย ยังเกิดความสูญเสียต่อชีวิต และส่งผลต่อความเป็นอยู่ความปลอดภัย และความสุขสงบของสังคมอีกด้วย นอกจากนี้ ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งมักเกิดขึ้นจากระดับน้อยก่อน เมื่อเกิดซ้ำๆ อาจเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นจนยากที่จะเยียวยาหรือแก้ไขได้ทันท่วงที การป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาโดยการสังเกตของเพื่อนบ้านและชุมชนที่ไม่ละเลย เพิกเฉยเพื่อดำเนินการแทรกแซง เช่น การแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าคุ้มครองช่วยเหลือ หรือการให้คำปรึกษา จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดก่อนที่จะสายเกินไป”
นอกเหนือจากการดำเนินการข้างต้นแล้ว ผู้เขียนขอนำข้อความในบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (4) มาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ระลึกถึงความเป็นจริงที่ยังดำรงอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือ มนุษย์มีความเป็นคนและเป็นสัตว์อยู่ในตัวทุกคนแต่มีบางคนที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าเป็นคน ด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องกำหนดวิธีการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าคน เพราะถ้าใช้วิธีการปกติก็คงไม่ได้ผลเช่นในอดีตที่ผ่านมา
2. ข้อมูลการใช้ความรุนแรงต่อเด็กที่เป็นสตรี: คดีข่มขืนแล้วฆ่า (ก.พ. 2556 - ก.ค. 2557)
เอกสารโครงการสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ได้อ้างข้อมูลของศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุขโดยระบุว่า
“ในปี 2547 มีเด็กและสตรีที่ถูกทำร้ายและมารักษาที่โรงพยาบาลจำนวน 6,951 ราย หรือ 19 รายต่อวัน ในปี 2550 มีจำนวน 19,067 ราย หรือ 52 รายต่อวัน ในปี 2556 มีจำนวน 31,866 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 87 รายต่อวันหรือในทุก 20 นาที จะมีเด็กหรือสตรีถูกกระทำความรุนแรง 1 ราย ปี 2555 - 2556 พบว่า ผู้กระทำความรุนแรงต่อสตรีประมาณครึ่งหนึ่งของผู้กระทำทั้งหมด คือ คู่สมรส รองลงมาคือ แฟน ผู้กระทำต่อเด็กส่วนใหญ่(เฉลี่ยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้กระทำต่อเด็กทั้งหมด) คือ แฟน รองลงมาคือ เพื่อน”
นอกจากที่กล่าวแล้ว ยังมีการใช้ความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยมที่ควรนำมากล่าวไว้ในบทความนี้ด้วยก็คือ การข่มขืนแล้วฆ่า ซึ่งเป็นการใช้ความรุนแรงที่โหดเหี้ยม (เป็นการกระทำเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน) ต่อเด็กที่เป็นสตรี โดยข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคนหายมูลนิธิกระจกเงา ได้ระบุว่า “มีเหตุข่มขืนฆาตกรรมเด็กหญิง และคดีล่อลวงเด็กไปข่มขืนในรอบ 1 ปีเศษ รวมยอด 8 ศพ (จากสถิติคดีฆ่าข่มขืนเด็กในรอบ 1 ปี ในNation TV วันที่ 8 กรกฎาคม 2557)
(1) วันที่ 5 ก.พ. 56 น้องหญิง อายุ 4 ขวบ หายตัวไปที่งานประจำปีจังหวัดเลย ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต และจับคนร้ายได้
(2)วันที่ 10 พ.ย. 56 น้องแม็กซ์ อายุ 7 ขวบ หายตัวไปที่งานบุญในวัดประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาภายหลังถูกฆาตกรรมและจับคนร้ายได้
(3) วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องการ์ตูน อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากงานคอนเสิร์ตที่ซอยแบริ่ง ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิตและจับคนร้ายได้
(4) วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องเดียร์ อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากที่พักในจังหวัดภูเก็ต ต่อมาภายหลังพบกะโหลกศีรษะและเสื้อผ้าเด็กตกอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 3 กม. สันนิษฐานว่าถูกฆาตกรรม ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
(5) วันที่ 21 มี.ค. 57 น้องจันลา อายุ 7 ขวบ หายตัวไปจากแคมป์คนงานก่อสร้างในซอยพหลโยธิน 52 ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
(6) วันที่ 27 เม.ย. 57 น้องฟ้า อายุ 13 ปี หายตัวไปจากบ้านพักโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาพบว่าถูกฆ่าข่มขืนโดยน้าเขยของเด็กเป็นผู้ก่อเหตุ
(7) วันที่ 9 พ.ค. 57 น้องเพลง อายุ 11 ปี หายตัวออกจากบ้านที่ อ.เมือง จ.ตรัง ต่อมาพบเป็นศพถูกฆ่าข่มขืน ส่วนคนร้ายเป็นคนข้างบ้าน
(8) และล่าสุด 5 ก.ค. 57 น้องแก้ม อายุ 13 ปี ถูกข่มขืน (และฆ่า-ผู้เขียน) บนรถไฟโดยเจ้าหน้าที่ของโบกี้รถไฟ ก่อนโยนน้องแก้มออกนอกขบวนรถ
เมื่อได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วจึงสรุปได้ว่า การใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการสตรี มูลนิธิ สมาคม และองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันกำหนดมาตรการต่างๆ ในทุกวิถีทางเพื่อหยุดยั้งและขจัดการกระทำต่างๆ ที่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบต่อเด็กและสตรีให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้จงได้
3. การจัดสัมมนา “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence”
การใช้ความรุนแรงใดๆ ตั้งแต่การทำร้ายร่างกายไปจนถึงการข่มขืนแล้วฆ่าเหยื่อโดยฆาตกรที่มีจิตใจที่โหดเหี้ยมดังคดีที่กล่าวในข้อ 2 ควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญเป็นภารกิจอันดับต้นๆ ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันกำหนดมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางสังคม มาตรการทางการศึกษา และมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อยุติและขจัดการกระทำที่ใช้ความรุนแรง โหดร้าย และอำมหิต ดังที่กล่าวให้สูญสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้ได้อย่างเป็นการถาวร
คณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ในคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การใช้ความรุนแรงต่างๆ ดังกล่าวต่อเด็กและสตรี จึงได้ร่วมกับสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ“Start to Stop Violence” โดยมุ่งหวังว่าการสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เกิดผลที่ตามมา(Consequences) ดังต่อไปนี้*
(1) ได้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2)ได้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(3) เกิดนวัตกรรมความร่วมมือระหว่างคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(* จากเอกสารโครงการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ“Start to Stop Violence” ในวันที่24 พฤศจิกายน 2557)
สำหรับการจัดสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” จะมีรายการสำคัญที่น่าสนใจคือ
1) การบรรยายพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัวของประเทศไทย” โดย นายสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงพัฒนาสังคมฯ และ
2) การสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” โดย พล.ต.อ.ดร.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม, นางสาวอินทิรา ฉิวรัมย์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, นายเฉลิมชัย ยอดมาลัย ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนางสาวนัยนา สุภาพึ่ง จากมูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร
4.บทสรุป
นอกจากการสัมมนาที่กล่าวแล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า รัฐบาลควรจะต้องเป็นหลักในการรณรงค์ให้คนไทยทุกคนร่วมมือกันอย่างจริงจังในการปกป้องและคุ้มครองเด็ก และสตรีไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ และจะต้องผลักดันมาตรการในการขจัดการใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อีกด้วย เช่น การจัดอบรมให้เยาวชนได้เข้าใจในเรื่องการเคารพสิทธิ และความเท่าเทียมกันโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, การพิจารณาออกกฎหมายโดยการกำหนดวิธีการและระดับโทษที่จะได้รับจากการกระทำความผิดทางเพศหรือการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีอย่างเหมาะสมกับความผิดและการจัดระบบการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยงที่อาจมีการก่ออาชญากรรมหรือใช้ความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นต้น
ท้ายบทความ
ผู้เขียนขอเชิญผู้อ่านทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาเรื่อง “เดินหน้า! เพื่อสังคมไทย ไร้ความรุนแรง” หรือ “Start to Stop Violence” ณ ห้องรับรอง 1 - 2 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างเวลา 08.30 - 12.30 น. และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมาธิการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร. 02-831-9225 -6
* ต้องการสอบถาม/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกรุณาส่งมาที่ udomdee@gmail.com ขอบคุณครับ