รายงานจากรัฐสภาแจ้งว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้วางกรอบ และขั้นตอนในการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุม ในคดีที่ป.ป.ช. มีมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ในข้อหาปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยเบื้องต้นได้วางกำหนดการดังนี้
1. ประชุมนัดแรก หรือ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 พ.ย. เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดวันแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งให้พิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหา โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องยื่นคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานก่อนการประชุมนัดแรก ไม่น้อยกว่า 5 วัน
2. การประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 ธ.ค. เพื่อฟังคำแถลงเปิดสำนวนจากป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่มีการซักถาม จากนั้นที่ประชุมพิจารณาว่า ควรมีการซักถามในประเด็นใดเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม โดยคู่กรณีมีสิทธิ์ยื่นคำขอแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือต่อที่ประชุมภายใน 7 วันนับแต่วันแถลงเปิดสำนวนเสร็จสิ้น
3. การประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 17 ธ.ค. เพื่อให้คณะกรรมาธิการซักถามได้ซักถามผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. การประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 23 ธ.ค. เพื่อรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา โดยหากยื่นคำขอแถลงทั้ง 2 ฝ่าย ให้ ป.ป.ช.เป็นฝ่ายแถลงก่อน
5. การประชุมครั้งที่ 5 ในวันที่ 25 ธ.ค. เพื่อลงมติถอดถอน หรือไม่ ภายใน 3 วัน นับแต่วันแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือ วันพ้นกำหนดให้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนเป็นหนังสือ
ทั้งนี้การออกเสียงลงมติ ให้ลงคะแนนลับในคูหา โดยให้สมาชิกกากบาทในบัตรลงคะแนนว่า ถอดถอน หรือไม่ถอดถอน โดยมติในการถอดถอน จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 132 เสียง
**อ้าง "ปนัดดา" ให้ปากคำ สนช.ไม่ได้
ด้านนายนรวิชญ์ แหล่งล้า ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการต่อสู้ในชั้นการพิจารณาถอดถอน ของสนช. หลังจากมีกระแสข่าวว่า จะมีการถอดถอนในวันที่ 25 ธ.ค.ว่า ขณะนี้ทีมทนายได้ระดมกำลังคัดลอกสำนวนอย่างเต็มที่ แต่คืบหน้าไปได้น้อยมาก ซึ่งตามกำหนดจะต้องยื่นขอเพิ่มเติมพยานเอกสาร ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ แต่ปรากฏว่าตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 21 พ.ย.แทน รู้สึกบีบหัวใจมาก เพราะเวลางวดเข้ามามากขึ้น และยังไม่สามารถระบุพยานเพิ่มเติมได้ เนื่องจากยังไม่ทราบว่าป.ป.ช.ตัดพยาน ที่เราเสนอไปในระหว่างไต่สวนเป็นใครบ้าง ทั้งนี้หลังคัดสำนวนเสร็จสิ้น ทางทีมทนายจะสรุปประเด็นและหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ สนช.ให้เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาให้ข้อมูลในที่ประชุม สนช.นั้น นายนรวิชญ์ กล่าวว่า ตามข้อบังคับสนช.ไม่สามารถทำได้ เพราะถือว่าไม่เกี่ยวข้องกับสำนวน เนื่องจากข้อบังคับระบุว่า ให้ยึดตามสำนวนป.ป.ช.เท่านั้น จะขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานที่นอกเหนือจากสำนวนไมได้ เว้นแต่พยานของผู้ร้อง ที่เสนอแล้ว ป.ป.ช.ไม่รับเท่านั้น ไม่สามารถหาพยานปากใหม่มาให้การได้ ส่วนของ ป.ป.ช. ถือว่าจบแล้ว เพราะตามข้อบังคับ สนช.ให้สิทธิ์เฉพาะผู้ถูกกล่าวหา
"เท่าที่ดูข้อบังคับดังกล่าว อยากถามว่าเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาแค่ไหน เพราะเมื่อเรายื่นพยานบุคคลขอให้สอบปากคำ แต่ป.ป.ช.ตัดทิ้ง แต่ในการพิจารณาของ สนช. ระบุให้เรายื่นพยานหลักฐานเป็นเอกสาร เฉพะในส่วนที่ป.ป.ช.ไม่รับ ไม่ให้นำพยานบุคคล ฉะนั้นบุคคลที่เราอยากให้พูด จึงไม่อยู่ในสำนวนอยู่แล้ว และไม่สามารถเอาเข้าไปอยู่ในสำนวนของสนช. ด้วย ในทางคดีถือว่าไม่ค่อยจะเป็นธรรม เมื่อเทียบกับกระบวนการของศาล ซึ่งการระบุแบบนี้ ถือเป็นการบีบผู้ถูกกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นคุณยิ่งลักษณ์ หรือใครก็ตาม ผมเข้าใจว่า แม้จะมีการลอกข้อบังคับต่อๆ กันมา แต่อันไหนที่ดูแล้วในทางปฏิบัติมันไม่เป็นธรรม ก็ควรจะมีการแก้ไข" นายนรวิชญ์ กล่าว
** โวยไม่เป็นธรรม ให้เวลาน้อย
นายนรวิชญ์ กล่าวต่อว่า ตนไม่ได้ตำหนิข้อบังคับว่าไม่ให้ความเป็นธรรม แต่ถ้าใครได้ทำคดี ก็จะเห็นว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่กำหนดเวลาและขั้นตอนไว้เช่นนี้ เพียงแต่ต้องการบอกว่า ในอนาคตผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นสนช. หรือวุฒิสภา ควรแก้ไขให้มีเวลาพอสมควร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะกำหนดล็อกไว้เลยว่า 30 วัน แล้วส่งให้พิจารณา 15 วัน ขอถามว่าวันนี้มีสนช.คนไหนบ้างที่อ่านสำนวนครบทั้ง 3.870 หน้า พวกท่านอาจจะอ่านหรือไม่อ่าน หรืออ่านแค่สรุปก็ได้ แต่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องอ่านทุกหน้า เพื่อทำการต่อสู้
"ยอมรับว่ามีความกดดันจากสังคมอย่างมาก เพราะสังคมชอบพิพากษาไปก่อน เรื่องคดีบางครั้งเอาสะใจไม่ได้ แต่สังคมไทยถ้าเชียร์ฝ่ายไหน ก็จะไม่รับฟังความเห็นอีกฝ่าย ถ้าไม่ใช่พวกตัวเองก็ไม่รับฟังเลย แต่เชื่อว่า สนช. ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ คงไม่ยอมให้กระแสสังคมมาบีบได้" นายนรวิชญ์ กล่าว
**อัด "นิวัฒน์ธำรง" บิดเบือน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีต รมว.พาณิชย์ ชี้แจงการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวว่า จำนวนตัวเลขที่อนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขาดทุน 5.19 แสนล้านบาท หากได้ขายข้าว 18 ล้านตันในสต๊อก มูลค่า 220,000 ล้านบาท จะเท่ากับ 3 ปี รัฐบาลขาดทุนปีละ 1 แสนล้านบาท ว่า ส่วนตัวไม่อยากเชื่อว่าคนระดับนายนิวัฒน์ธำรง จะไม่รู้หลักการปิดบัญชีว่า เขานำข้าวในสต๊อกมาคำนวณหักลบเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญอนุกรรมการฯ ยังคำนวณราคาข้าวในสต๊อกราคาข้าวคุณภาพปกติ ถ้าคิดราคาข้าวในสต๊อกตามที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณข้าวของรัฐ ตรวจพบว่า มีข้าวเสื่อมและเหลืองเต็มไปหมด ความเสียหายและขาดทุนจะหนักกว่านี้ จึงสงสัยว่า นายนิวัฒน์ธำรง คงจะเบลอมาก ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เอาแต่ปกป้องความผิด ตนขอแนะนำให้กลับไปให้พนักงานบัญชีอธิบายให้ฟัง จะได้เข้าใจ
ส่วนกรณีที่ทีมกฏหมายเพื่อไทย ค้านข้อเสนอที่ตนขอให้ สนช. เชิญ ม.ล.ปนัดดา มาเป็นพยานให้ข้อมูลต่อที่ประชุมสนช. โดยอ้างว่าข้อบังคับการประชุมสนช.ให้นำพิจารณาได้เฉพาะที่อยู่ในสำนวนป.ป.ช. เท่านั้น นพ.วรงค์ กล่าวว่า ทีมกฎหมายคงจะดูแต่ข้อกฏหมาย ไม่สนใจข้อเท็จจริง ถ้าติดตามการตรวจโกดังของ ม.ล.ปนัดดา ทราบว่าทางป.ป.ช. ก็ได้ส่งทีมของป.ป.ช. ลงพื้นที่แบบคู่ขนาน เพื่อเก็บข้อมูลเช่นกัน จึงเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้น่าจะถูกบรรจุในสำนวนป.ป.ช.ด้วย ดังนั้นในข้อบังคับการประชุม สนช. ข้อ 154 ถ้าสนช.มีมติ ให้ซักถามผู้เกี่ยวข้อง ก็ย่อมทำได้ จึงขอยืนยันว่า ตนเป็นคนทำการบ้าน และไม่เคยมั่ว หรือแสดงว่าทีมทนายฯ พรรคเพื่อไทยคงจะกลัวผลการตรวจโกดังข้าวมาก เพราะเสียหายทั้งประเทศไม่รู้จะชี้แจงอย่าง
**"ปนัดดา"ชิ่งหวั่นเป็นเหยื่อการเมือง
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เชิญไปให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์? ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีรับจำนำข้าว ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ว่า ทราบข่าวจากสื่อมวลชน ก็ยังตกใจอยู่แล้วที่มีชื่อ เรื่องนี้แล้วแต่ผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่เรื่องที่จะมาตัดสินใจว่า จะไปพูดที่นั้น ที่นี่ เรื่องแบบนี้ทำตามอัธยาศัยตัวเองได้ที่ไหน เมื่อถามว่า ล่าสุดทางพรรคเพื่อไทย ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ถ้าเอาตนเข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องการเมือง ตนไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ขอทำหน้าที่ข้าราชการเท่านั้น ทำตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สำเร็จเรียบร้อย นั้นถือภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ ขอไม่เข้าเป็นตัวขัดแย้งอะไรทั้งสิ้น เพราะเวลานี้ดูจากหน้าหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างพูดกันไปพูดกันมา ไม่อยากให้สุดท้ายแล้วตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง
**โพลให้ตัดสินทุจริตอย่างเป็นกลาง
มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อความคืบหน้าในการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น โครงการรับจำนำข้าว
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อความคืบหน้าในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โครงการรับจำนำข้าว กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 605 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-15 พ.ย.57
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.1 ระบุ ติดตามข้อมูลสารเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 63.8 ระบุ ติดตามบ้าง และ ร้อยละ 5.1 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยปัญหาการขาดทุนในโครงการับจำนำข้าวนั้น พบว่ามากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.8 คิดว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลจะช่วยได้ ในขณะที่ ร้อยละ 23.2 คิดว่าช่วยไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 43.3 ยังรู้สึกวิตกกังวลว่า การออกพันธบัตรของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดทุนดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านอื่นๆ ของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 56.7 ระบุ ไม่รู้สึกกังวล
เมื่อสอบถามถึงผลงานของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 84.8 ระบุ ยอมรับในผลงานของรัฐบาลได้ เพราะมีความมั่นใจในรัฐบาลชุดนี้ มั่นใจในนโยบาย เชื่อมั่นในการทำงาน ได้รับรู้ได้เห็นว่าทำเพื่อประชาชน ทำตามสัญญา สามารถยุติความขัดแย้งได้ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 15.2 ระบุ ยอมรับไม่ได้ เพราะ ยังไม่เห็นความคืบหน้า แก้ไขได้ยังไม่เต็มที่ แก้ไขไม่ตรงจุด กลัวว่าจะมีผลกระทบ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีสิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเดินหน้าจัดการกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าว นั้น พบว่า ร้อยละ 81.7 ระบุ ขอให้มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง รองลงมาคือ ร้อยละ 76.2 ขอให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 71.6 ระบุอย่าให้มีอำนาจใดมาอยู่เหนือความถูกต้อง ร้อยละ 70.2 ระบุขอให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 51.1 ระบุ อย่าเกรงกลัวอิทธิพลของใคร ร้อยละ 47.3 ระบุให้เลิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง และร้อยละ 39.3 ระบุอย่าตกเป็นเครื่องมือของใคร.
1. ประชุมนัดแรก หรือ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 พ.ย. เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดวันแถลงเปิดสำนวนของคณะกรรมการป.ป.ช. และผู้ถูกกล่าวหา รวมทั้งให้พิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานของผู้ถูกกล่าวหา โดยผู้ถูกกล่าวหาจะต้องยื่นคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานก่อนการประชุมนัดแรก ไม่น้อยกว่า 5 วัน
2. การประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 ธ.ค. เพื่อฟังคำแถลงเปิดสำนวนจากป.ป.ช. และคำแถลงคัดค้านของผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่มีการซักถาม จากนั้นที่ประชุมพิจารณาว่า ควรมีการซักถามในประเด็นใดเพิ่มเติม และให้ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม โดยคู่กรณีมีสิทธิ์ยื่นคำขอแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือต่อที่ประชุมภายใน 7 วันนับแต่วันแถลงเปิดสำนวนเสร็จสิ้น
3. การประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 17 ธ.ค. เพื่อให้คณะกรรมาธิการซักถามได้ซักถามผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. การประชุมครั้งที่ 4 ในวันที่ 23 ธ.ค. เพื่อรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจา โดยหากยื่นคำขอแถลงทั้ง 2 ฝ่าย ให้ ป.ป.ช.เป็นฝ่ายแถลงก่อน
5. การประชุมครั้งที่ 5 ในวันที่ 25 ธ.ค. เพื่อลงมติถอดถอน หรือไม่ ภายใน 3 วัน นับแต่วันแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจา หรือ วันพ้นกำหนดให้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดสำนวนเป็นหนังสือ
ทั้งนี้การออกเสียงลงมติ ให้ลงคะแนนลับในคูหา โดยให้สมาชิกกากบาทในบัตรลงคะแนนว่า ถอดถอน หรือไม่ถอดถอน โดยมติในการถอดถอน จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิก สนช.เท่าที่มีอยู่ คือ 132 เสียง
**อ้าง "ปนัดดา" ให้ปากคำ สนช.ไม่ได้
ด้านนายนรวิชญ์ แหล่งล้า ทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการต่อสู้ในชั้นการพิจารณาถอดถอน ของสนช. หลังจากมีกระแสข่าวว่า จะมีการถอดถอนในวันที่ 25 ธ.ค.ว่า ขณะนี้ทีมทนายได้ระดมกำลังคัดลอกสำนวนอย่างเต็มที่ แต่คืบหน้าไปได้น้อยมาก ซึ่งตามกำหนดจะต้องยื่นขอเพิ่มเติมพยานเอกสาร ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ แต่ปรากฏว่าตรงกับวันเสาร์ ทำให้ต้องเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 21 พ.ย.แทน รู้สึกบีบหัวใจมาก เพราะเวลางวดเข้ามามากขึ้น และยังไม่สามารถระบุพยานเพิ่มเติมได้ เนื่องจากยังไม่ทราบว่าป.ป.ช.ตัดพยาน ที่เราเสนอไปในระหว่างไต่สวนเป็นใครบ้าง ทั้งนี้หลังคัดสำนวนเสร็จสิ้น ทางทีมทนายจะสรุปประเด็นและหารือกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เสนอ สนช.ให้เชิญ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาให้ข้อมูลในที่ประชุม สนช.นั้น นายนรวิชญ์ กล่าวว่า ตามข้อบังคับสนช.ไม่สามารถทำได้ เพราะถือว่าไม่เกี่ยวข้องกับสำนวน เนื่องจากข้อบังคับระบุว่า ให้ยึดตามสำนวนป.ป.ช.เท่านั้น จะขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานที่นอกเหนือจากสำนวนไมได้ เว้นแต่พยานของผู้ร้อง ที่เสนอแล้ว ป.ป.ช.ไม่รับเท่านั้น ไม่สามารถหาพยานปากใหม่มาให้การได้ ส่วนของ ป.ป.ช. ถือว่าจบแล้ว เพราะตามข้อบังคับ สนช.ให้สิทธิ์เฉพาะผู้ถูกกล่าวหา
"เท่าที่ดูข้อบังคับดังกล่าว อยากถามว่าเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาแค่ไหน เพราะเมื่อเรายื่นพยานบุคคลขอให้สอบปากคำ แต่ป.ป.ช.ตัดทิ้ง แต่ในการพิจารณาของ สนช. ระบุให้เรายื่นพยานหลักฐานเป็นเอกสาร เฉพะในส่วนที่ป.ป.ช.ไม่รับ ไม่ให้นำพยานบุคคล ฉะนั้นบุคคลที่เราอยากให้พูด จึงไม่อยู่ในสำนวนอยู่แล้ว และไม่สามารถเอาเข้าไปอยู่ในสำนวนของสนช. ด้วย ในทางคดีถือว่าไม่ค่อยจะเป็นธรรม เมื่อเทียบกับกระบวนการของศาล ซึ่งการระบุแบบนี้ ถือเป็นการบีบผู้ถูกกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นคุณยิ่งลักษณ์ หรือใครก็ตาม ผมเข้าใจว่า แม้จะมีการลอกข้อบังคับต่อๆ กันมา แต่อันไหนที่ดูแล้วในทางปฏิบัติมันไม่เป็นธรรม ก็ควรจะมีการแก้ไข" นายนรวิชญ์ กล่าว
** โวยไม่เป็นธรรม ให้เวลาน้อย
นายนรวิชญ์ กล่าวต่อว่า ตนไม่ได้ตำหนิข้อบังคับว่าไม่ให้ความเป็นธรรม แต่ถ้าใครได้ทำคดี ก็จะเห็นว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่กำหนดเวลาและขั้นตอนไว้เช่นนี้ เพียงแต่ต้องการบอกว่า ในอนาคตผู้มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นสนช. หรือวุฒิสภา ควรแก้ไขให้มีเวลาพอสมควร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะกำหนดล็อกไว้เลยว่า 30 วัน แล้วส่งให้พิจารณา 15 วัน ขอถามว่าวันนี้มีสนช.คนไหนบ้างที่อ่านสำนวนครบทั้ง 3.870 หน้า พวกท่านอาจจะอ่านหรือไม่อ่าน หรืออ่านแค่สรุปก็ได้ แต่ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องอ่านทุกหน้า เพื่อทำการต่อสู้
"ยอมรับว่ามีความกดดันจากสังคมอย่างมาก เพราะสังคมชอบพิพากษาไปก่อน เรื่องคดีบางครั้งเอาสะใจไม่ได้ แต่สังคมไทยถ้าเชียร์ฝ่ายไหน ก็จะไม่รับฟังความเห็นอีกฝ่าย ถ้าไม่ใช่พวกตัวเองก็ไม่รับฟังเลย แต่เชื่อว่า สนช. ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ คงไม่ยอมให้กระแสสังคมมาบีบได้" นายนรวิชญ์ กล่าว
**อัด "นิวัฒน์ธำรง" บิดเบือน
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีต รมว.พาณิชย์ ชี้แจงการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวว่า จำนวนตัวเลขที่อนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว สรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขาดทุน 5.19 แสนล้านบาท หากได้ขายข้าว 18 ล้านตันในสต๊อก มูลค่า 220,000 ล้านบาท จะเท่ากับ 3 ปี รัฐบาลขาดทุนปีละ 1 แสนล้านบาท ว่า ส่วนตัวไม่อยากเชื่อว่าคนระดับนายนิวัฒน์ธำรง จะไม่รู้หลักการปิดบัญชีว่า เขานำข้าวในสต๊อกมาคำนวณหักลบเรียบร้อยแล้ว ที่สำคัญอนุกรรมการฯ ยังคำนวณราคาข้าวในสต๊อกราคาข้าวคุณภาพปกติ ถ้าคิดราคาข้าวในสต๊อกตามที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณข้าวของรัฐ ตรวจพบว่า มีข้าวเสื่อมและเหลืองเต็มไปหมด ความเสียหายและขาดทุนจะหนักกว่านี้ จึงสงสัยว่า นายนิวัฒน์ธำรง คงจะเบลอมาก ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เอาแต่ปกป้องความผิด ตนขอแนะนำให้กลับไปให้พนักงานบัญชีอธิบายให้ฟัง จะได้เข้าใจ
ส่วนกรณีที่ทีมกฏหมายเพื่อไทย ค้านข้อเสนอที่ตนขอให้ สนช. เชิญ ม.ล.ปนัดดา มาเป็นพยานให้ข้อมูลต่อที่ประชุมสนช. โดยอ้างว่าข้อบังคับการประชุมสนช.ให้นำพิจารณาได้เฉพาะที่อยู่ในสำนวนป.ป.ช. เท่านั้น นพ.วรงค์ กล่าวว่า ทีมกฎหมายคงจะดูแต่ข้อกฏหมาย ไม่สนใจข้อเท็จจริง ถ้าติดตามการตรวจโกดังของ ม.ล.ปนัดดา ทราบว่าทางป.ป.ช. ก็ได้ส่งทีมของป.ป.ช. ลงพื้นที่แบบคู่ขนาน เพื่อเก็บข้อมูลเช่นกัน จึงเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้น่าจะถูกบรรจุในสำนวนป.ป.ช.ด้วย ดังนั้นในข้อบังคับการประชุม สนช. ข้อ 154 ถ้าสนช.มีมติ ให้ซักถามผู้เกี่ยวข้อง ก็ย่อมทำได้ จึงขอยืนยันว่า ตนเป็นคนทำการบ้าน และไม่เคยมั่ว หรือแสดงว่าทีมทนายฯ พรรคเพื่อไทยคงจะกลัวผลการตรวจโกดังข้าวมาก เพราะเสียหายทั้งประเทศไม่รู้จะชี้แจงอย่าง
**"ปนัดดา"ชิ่งหวั่นเป็นเหยื่อการเมือง
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เชิญไปให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์? ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีรับจำนำข้าว ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ว่า ทราบข่าวจากสื่อมวลชน ก็ยังตกใจอยู่แล้วที่มีชื่อ เรื่องนี้แล้วแต่ผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่เรื่องที่จะมาตัดสินใจว่า จะไปพูดที่นั้น ที่นี่ เรื่องแบบนี้ทำตามอัธยาศัยตัวเองได้ที่ไหน เมื่อถามว่า ล่าสุดทางพรรคเพื่อไทย ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ถ้าเอาตนเข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องการเมือง ตนไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ขอทำหน้าที่ข้าราชการเท่านั้น ทำตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สำเร็จเรียบร้อย นั้นถือภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ ขอไม่เข้าเป็นตัวขัดแย้งอะไรทั้งสิ้น เพราะเวลานี้ดูจากหน้าหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างพูดกันไปพูดกันมา ไม่อยากให้สุดท้ายแล้วตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมือง
**โพลให้ตัดสินทุจริตอย่างเป็นกลาง
มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อความคืบหน้าในการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น โครงการรับจำนำข้าว
รศ.ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล ประธานชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ มาสเตอร์โพลล์ (Master Poll) เรื่อง สำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนต่อความคืบหน้าในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โครงการรับจำนำข้าว กรณีศึกษาตัวอย่างแกนนำชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 605 ชุมชน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-15 พ.ย.57
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.1 ระบุ ติดตามข้อมูลสารเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 63.8 ระบุ ติดตามบ้าง และ ร้อยละ 5.1 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยปัญหาการขาดทุนในโครงการับจำนำข้าวนั้น พบว่ามากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 76.8 คิดว่า การออกพันธบัตรรัฐบาลจะช่วยได้ ในขณะที่ ร้อยละ 23.2 คิดว่าช่วยไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าแกนนำชุมชนร้อยละ 43.3 ยังรู้สึกวิตกกังวลว่า การออกพันธบัตรของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดทุนดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนด้านอื่นๆ ของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 56.7 ระบุ ไม่รู้สึกกังวล
เมื่อสอบถามถึงผลงานของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวในขณะนี้นั้น ผลการสำรวจพบว่า แกนนำชุมชนร้อยละ 84.8 ระบุ ยอมรับในผลงานของรัฐบาลได้ เพราะมีความมั่นใจในรัฐบาลชุดนี้ มั่นใจในนโยบาย เชื่อมั่นในการทำงาน ได้รับรู้ได้เห็นว่าทำเพื่อประชาชน ทำตามสัญญา สามารถยุติความขัดแย้งได้ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 15.2 ระบุ ยอมรับไม่ได้ เพราะ ยังไม่เห็นความคืบหน้า แก้ไขได้ยังไม่เต็มที่ แก้ไขไม่ตรงจุด กลัวว่าจะมีผลกระทบ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นกรณีสิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเดินหน้าจัดการกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าว นั้น พบว่า ร้อยละ 81.7 ระบุ ขอให้มีความเป็นกลางอย่างแท้จริง รองลงมาคือ ร้อยละ 76.2 ขอให้กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 71.6 ระบุอย่าให้มีอำนาจใดมาอยู่เหนือความถูกต้อง ร้อยละ 70.2 ระบุขอให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ร้อยละ 51.1 ระบุ อย่าเกรงกลัวอิทธิพลของใคร ร้อยละ 47.3 ระบุให้เลิกเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง และร้อยละ 39.3 ระบุอย่าตกเป็นเครื่องมือของใคร.