** แม้รัฐบาลยังไม่ถึงกับเป็นช่วงขาลงเสื่อมทรุด แต่ก็อยู่ในระยะกระแสนิยมตกลงอย่างเห็นได้ชัด วัดผลได้จากเสียงสะท้อนทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ล่าสุดผลสำรวจ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) ที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนเห็นอย่างไรกับทิศทางการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทย”ซึ่งในคำถามที่ว่า “อยากให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างไร” ผลสำรวจออกมาคือ ร้อยละ 64.0 อยากให้ทำงานจนกว่าประเทศจะเรียบร้อยในทุกๆด้าน โดยอาจจะมากกว่า 1 ปี
แต่คำตอบนี้เสียงหนุนให้รัฐบาลบิ๊กตู่ อยู่เกินหนึ่งปีเพื่อแก้ปัญหาประเทศ พบว่าลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 2.4 ขณะที่ ร้อยละ 36.0 อยากให้ทำงานแล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจัดให้มีการเลือกตั้ง
แรงหนุนที่ลดลงดังกล่าว เป็นดัชนีชี้วัดที่แลเห็นได้อย่างดีว่า ประชาชนเริ่มมีความรู้สึกกับรัฐบาลชุดนี้อย่างไร และผลโพลที่ออกมาลักษณะนี้ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ผสมกับเสียงบ่นจากหลายภาคส่วน ตั้งแต่นักธุรกิจชั้นนำของประเทศ จนถึงนักธุรกิจทั่วไป เลยไปถึงชนชั้นกลาง เกษตรกร คนหาเช้ากินค่ำ กับภาวะที่บอกว่า รัฐบาลยังล้มเหลวในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจที่อัดฉีดเงินเข้าระบบ 3.6 แสนล้านบาท ที่ทำผ่านการแจกเงินชาวนา-เกษตรกร พบว่ายังไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจประเทศ เห็นได้ว่า หลังโหมโฆษณาชวนเชื่อไปแล้ว แต่เงินยังไม่เข้าระบบ เลยทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องขึ้นมาได้
**จนเห็นกันหมดแล้วว่า ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ นอกจากมีปัญหาเกาเหลาของรัฐมนตรี และทีมงานรัฐมนตรีกันเอง จนไม่มีการประชุมครม.เศรษฐกิจกันแล้ว รัฐมนตรีหลายคนล้วน “ของปลอม”ทั้งสิ้น
ทุกเสียงสะท้อนดังกล่าว เชื่อว่าพลเอกประยุทธ์และแกนนำคสช.ก็รู้ดี จนมีเสียงหวดกำชับออกมาหลายรอบแล้วให้รัฐมนตรีและทีมโฆษก-ฝ่ายสารนิเทศของทุกกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงาน (ที่ไม่ค่อยมี) ออกไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น ไม่ใช่มัวแต่รอให้นายกรัฐมนตรีพูดคนเดียวได้ทุกเรื่องตั้งแต่การเมือง สังคม ความมั่นคง เศรษฐกิจ การต่างประเทศ ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ผล รัฐมนตรีหลายคนยังเป็นเสนาบดีที่โลกลืมอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
**คงเพราะด้วยเหตุนี้ ข่าวครม.ประยุทธ์ 2 ที่จะเพิ่มรัฐมนตรีกระทรวงด้านเศรษฐกิจอีก 2 คน เข้ามาเพื่อเติมเต็มโควต้าครม.ประยุทธ์ คือ อำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย -อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคประชาธิปัตย์ มาเป็นรมช.เกษตรและสหกรณ์ และ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตอธิบดีหลายกรมในกระทรวงการคลัง ลูกหม้อขนานแท้ของกระทรวงเช่นเดียวกับ สมหมาย ภาษี รมว.คลัง
การจะดึง อำนวย-วิสุทธิ์ มาตอนนี้ พูดกันตามตรง มีแต่คนบอกว่าช้าไป เพราะเห็นปลายทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้จะมีบางฝ่ายยังมองโลกสวยว่าปีหน้าเศรษฐกิจประเทศไทยจะกระเตื้องขึ้น
**ถ้าให้ดี แก้ถูกจุด มันต้องโละใหญ่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลเสียมากกว่า !
การดึง อำนวย-วิสุทธิ์ มาเป็นรัฐมนตรีตามกระแสข่าว จึงเป็นการสร้าง “ตัวช่วย” ให้มากอบกู้สถานการณ์รัฐบาลเท่านั้น ก็เฉกเช่นเดียวกับ กรณีปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เซ็นเงียบคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง “คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี”โดยระบุเหตุผลในคำสั่งดังกล่าวว่า เพื่อให้การทำงานตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี และการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบายสำคัญของรัฐบาลและ คสช. ได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และเป็นกลไกในการประสานและขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จ
เมื่อดูตามรายชื่อแล้วบางคนอาจคิดว่าเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ แต่จริงๆแล้ว มีการยืนยันว่าเป็นคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่พร้อมจะให้คำปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจ และค่อนข้างมีบทบาทพอสมควรหากคณะชุดนี้เริ่มต้นติดเครื่องทำงาน เพราะแต่ละคนธรรมดาซะที่ไหน
ไม่ว่าจะเป็นประธานคณะที่ปรึกษา คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ-รมว.คลัง ที่ตอนนี้ก็เป็นหนึ่งในคณะผู้ดำรงตำแหน่งในคสช. 15 คนด้วย , พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อนร่วมรุ่นตท. 12 กับบิ๊กตู่ ที่นั่งเป็นรองประธานคณะที่ปรึกษา
กรรมการคนอื่น ก็มี ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), สมพล เกียรติไพบูลย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่อยู่ในกลุ่มสมคิดในยุคคสช. มาตลอด , คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ และหนึ่งในแกนนำกลุ่มเครือข่ายภาคีต่อต้านคอร์รัปชัน ที่เคลื่อนไหวต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ คนแรก ๆ , นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ -นางธันยา เลาหทัย จากกระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนรายชื่ออื่นๆ ในคณะที่ปรึกษาอย่าง พันเอกนิมิตต์ สุวรรณรัฐ หลานชาย พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี-พันเอกอธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ-นางสาวรุจิรา ริมผดี -นางสาวกุลกานต์ ตันติเตมิท พวกกลุ่มนี้คงมาทำหน้าที่ในฐานะคณะทำงานในลักษณะการประสานงาน และงานด้านการเตรียมข้อมูลเป็นหลัก ตลอดจนเรียนรู้การทำงานจากผู้อาวุโส เพราะบางคนก็ช่วยงานพลเอกประยุทธ์ และ พลเอกวิลาศ อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นปกติอยู่แล้ว
**การที่บิ๊กตู่ ตั้งคณะที่ปรึกษาดังกล่าว ทำให้คนจับตามองกันมากว่าจะทำให้เกิด “เกาเหลาคู่เดิม”ระหว่าง “หม่อมอุ๋ย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กับ “สมคิด”ที่แม้ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี แต่ก็เป็นทั้งประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี-บอร์ดคสช. กลับมามีปัญหาอะไรอีกหรือไม่
หลังเคยเกิดปัญหามาแล้วตอนรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และช่วงที่ผ่านมา ก็มีข่าวความไม่ลงรอยกันของ ทีม ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกับทีมสมคิด ในรัฐบาลออกมาตลอด แม้หม่อมอุ๋ย จะยืนกรานว่าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ทำงานเข้าขากันดี แต่เมื่อการเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของหม่อมอุ๋ย กับการรันนโยบายเศรษฐกิจหลายเรื่องออกมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ
สิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เล่นบทวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเศรษฐกิจตอนอยู่ข้างเวที พอมามีอำนาจเอง กลับไม่ประสบความสำเร็จ จนมีผลต่อเรตติ้งของ พลเอกประยุทธ์ มันก็อาจทำให้ พลเอกประยุทธ์ อยู่เฉยไม่ได้ เลยคิดเพิ่มบทบาท ให้ สมคิด และทีมงาน มากขึ้นต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม มองในแง่ดี การตั้งทีมกุนซือนายกฯ ดังกล่าวของบิ๊กตู่ อย่างน้อยก็อาจทำให้ พลเอกประยุทธ์ ได้มุมคิดในการทำงานจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆมากขึ้น ทั้งการต่างประเทศ-การเงินการคลัง-ตลาดทุน –การส่งออก ที่ยังไงก็ดีกว่าจะมานั่งคุยกันเองในหมู่ทหารคสช. ที่ไม่ได้รอบรู้เรื่องเหล่านี้เท่าคนที่บิ๊กตู่ ตั้งมาคราวนี้แน่นอน แต่คำถาม คือว่า พลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีโดยเฉพาะพวกรัฐมนตรี ที่มาจากทหารทั้งหลาย พร้อมเปิดกว้างรับฟังคำปรึกษาจากคณะที่ปรึกษาชุดนี้มากแค่ไหน และเสนอไปแล้ว บิ๊กตู่ จะเอาด้วยหรือไม่ ตรงนี้คือสิ่งที่หลายคนตั้งคำถาม
**หรือจริงๆ แล้ว ที่พลเอกประยุทธ์ ตั้งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวก็เพราะเริ่มอยู่ในภาวะ ที่เริ่มเห็นแล้วว่ารัฐบาลอาจอยู่ไปได้เรื่อยๆ แต่ระยะยาว มีปัญหาแน่นอนกับการบริหารประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อาจมีปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ เลยต้องดิ้นรน หาตัวช่วยต่างๆ ให้มากขึ้นหวังประคองสถานการณ์ตอนนี้ไปก่อน ไม่ให้ทุกอย่างสายเกินแก้ ?
ล่าสุดผลสำรวจ ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล) ที่สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนเห็นอย่างไรกับทิศทางการปฏิรูปการเมืองของประเทศไทย”ซึ่งในคำถามที่ว่า “อยากให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีระยะเวลาการทำงานเป็นอย่างไร” ผลสำรวจออกมาคือ ร้อยละ 64.0 อยากให้ทำงานจนกว่าประเทศจะเรียบร้อยในทุกๆด้าน โดยอาจจะมากกว่า 1 ปี
แต่คำตอบนี้เสียงหนุนให้รัฐบาลบิ๊กตู่ อยู่เกินหนึ่งปีเพื่อแก้ปัญหาประเทศ พบว่าลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 2.4 ขณะที่ ร้อยละ 36.0 อยากให้ทำงานแล้วเสร็จภายใน 1 ปี และจัดให้มีการเลือกตั้ง
แรงหนุนที่ลดลงดังกล่าว เป็นดัชนีชี้วัดที่แลเห็นได้อย่างดีว่า ประชาชนเริ่มมีความรู้สึกกับรัฐบาลชุดนี้อย่างไร และผลโพลที่ออกมาลักษณะนี้ก็เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ผสมกับเสียงบ่นจากหลายภาคส่วน ตั้งแต่นักธุรกิจชั้นนำของประเทศ จนถึงนักธุรกิจทั่วไป เลยไปถึงชนชั้นกลาง เกษตรกร คนหาเช้ากินค่ำ กับภาวะที่บอกว่า รัฐบาลยังล้มเหลวในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจที่อัดฉีดเงินเข้าระบบ 3.6 แสนล้านบาท ที่ทำผ่านการแจกเงินชาวนา-เกษตรกร พบว่ายังไม่ตอบโจทย์เศรษฐกิจประเทศ เห็นได้ว่า หลังโหมโฆษณาชวนเชื่อไปแล้ว แต่เงินยังไม่เข้าระบบ เลยทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้องขึ้นมาได้
**จนเห็นกันหมดแล้วว่า ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ นอกจากมีปัญหาเกาเหลาของรัฐมนตรี และทีมงานรัฐมนตรีกันเอง จนไม่มีการประชุมครม.เศรษฐกิจกันแล้ว รัฐมนตรีหลายคนล้วน “ของปลอม”ทั้งสิ้น
ทุกเสียงสะท้อนดังกล่าว เชื่อว่าพลเอกประยุทธ์และแกนนำคสช.ก็รู้ดี จนมีเสียงหวดกำชับออกมาหลายรอบแล้วให้รัฐมนตรีและทีมโฆษก-ฝ่ายสารนิเทศของทุกกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงาน (ที่ไม่ค่อยมี) ออกไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น ไม่ใช่มัวแต่รอให้นายกรัฐมนตรีพูดคนเดียวได้ทุกเรื่องตั้งแต่การเมือง สังคม ความมั่นคง เศรษฐกิจ การต่างประเทศ ดูเหมือนจะไม่ค่อยได้ผล รัฐมนตรีหลายคนยังเป็นเสนาบดีที่โลกลืมอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง
**คงเพราะด้วยเหตุนี้ ข่าวครม.ประยุทธ์ 2 ที่จะเพิ่มรัฐมนตรีกระทรวงด้านเศรษฐกิจอีก 2 คน เข้ามาเพื่อเติมเต็มโควต้าครม.ประยุทธ์ คือ อำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย -อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคประชาธิปัตย์ มาเป็นรมช.เกษตรและสหกรณ์ และ วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง และอดีตอธิบดีหลายกรมในกระทรวงการคลัง ลูกหม้อขนานแท้ของกระทรวงเช่นเดียวกับ สมหมาย ภาษี รมว.คลัง
การจะดึง อำนวย-วิสุทธิ์ มาตอนนี้ พูดกันตามตรง มีแต่คนบอกว่าช้าไป เพราะเห็นปลายทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้จะมีบางฝ่ายยังมองโลกสวยว่าปีหน้าเศรษฐกิจประเทศไทยจะกระเตื้องขึ้น
**ถ้าให้ดี แก้ถูกจุด มันต้องโละใหญ่ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลเสียมากกว่า !
การดึง อำนวย-วิสุทธิ์ มาเป็นรัฐมนตรีตามกระแสข่าว จึงเป็นการสร้าง “ตัวช่วย” ให้มากอบกู้สถานการณ์รัฐบาลเท่านั้น ก็เฉกเช่นเดียวกับ กรณีปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี เซ็นเงียบคำสั่งนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง “คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี”โดยระบุเหตุผลในคำสั่งดังกล่าวว่า เพื่อให้การทำงานตามบัญชาของนายกรัฐมนตรี และการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบายสำคัญของรัฐบาลและ คสช. ได้มีการนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และเป็นกลไกในการประสานและขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จ
เมื่อดูตามรายชื่อแล้วบางคนอาจคิดว่าเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ แต่จริงๆแล้ว มีการยืนยันว่าเป็นคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่พร้อมจะให้คำปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจ และค่อนข้างมีบทบาทพอสมควรหากคณะชุดนี้เริ่มต้นติดเครื่องทำงาน เพราะแต่ละคนธรรมดาซะที่ไหน
ไม่ว่าจะเป็นประธานคณะที่ปรึกษา คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯ-รมว.คลัง ที่ตอนนี้ก็เป็นหนึ่งในคณะผู้ดำรงตำแหน่งในคสช. 15 คนด้วย , พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อนร่วมรุ่นตท. 12 กับบิ๊กตู่ ที่นั่งเป็นรองประธานคณะที่ปรึกษา
กรรมการคนอื่น ก็มี ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), สมพล เกียรติไพบูลย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ ที่อยู่ในกลุ่มสมคิดในยุคคสช. มาตลอด , คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ และหนึ่งในแกนนำกลุ่มเครือข่ายภาคีต่อต้านคอร์รัปชัน ที่เคลื่อนไหวต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ คนแรก ๆ , นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ -นางธันยา เลาหทัย จากกระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนรายชื่ออื่นๆ ในคณะที่ปรึกษาอย่าง พันเอกนิมิตต์ สุวรรณรัฐ หลานชาย พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี-พันเอกอธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ-นางสาวรุจิรา ริมผดี -นางสาวกุลกานต์ ตันติเตมิท พวกกลุ่มนี้คงมาทำหน้าที่ในฐานะคณะทำงานในลักษณะการประสานงาน และงานด้านการเตรียมข้อมูลเป็นหลัก ตลอดจนเรียนรู้การทำงานจากผู้อาวุโส เพราะบางคนก็ช่วยงานพลเอกประยุทธ์ และ พลเอกวิลาศ อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นปกติอยู่แล้ว
**การที่บิ๊กตู่ ตั้งคณะที่ปรึกษาดังกล่าว ทำให้คนจับตามองกันมากว่าจะทำให้เกิด “เกาเหลาคู่เดิม”ระหว่าง “หม่อมอุ๋ย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ กับ “สมคิด”ที่แม้ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี แต่ก็เป็นทั้งประธานคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี-บอร์ดคสช. กลับมามีปัญหาอะไรอีกหรือไม่
หลังเคยเกิดปัญหามาแล้วตอนรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และช่วงที่ผ่านมา ก็มีข่าวความไม่ลงรอยกันของ ทีม ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกับทีมสมคิด ในรัฐบาลออกมาตลอด แม้หม่อมอุ๋ย จะยืนกรานว่าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ทำงานเข้าขากันดี แต่เมื่อการเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของหม่อมอุ๋ย กับการรันนโยบายเศรษฐกิจหลายเรื่องออกมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ
สิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เล่นบทวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเศรษฐกิจตอนอยู่ข้างเวที พอมามีอำนาจเอง กลับไม่ประสบความสำเร็จ จนมีผลต่อเรตติ้งของ พลเอกประยุทธ์ มันก็อาจทำให้ พลเอกประยุทธ์ อยู่เฉยไม่ได้ เลยคิดเพิ่มบทบาท ให้ สมคิด และทีมงาน มากขึ้นต่อจากนี้
อย่างไรก็ตาม มองในแง่ดี การตั้งทีมกุนซือนายกฯ ดังกล่าวของบิ๊กตู่ อย่างน้อยก็อาจทำให้ พลเอกประยุทธ์ ได้มุมคิดในการทำงานจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆมากขึ้น ทั้งการต่างประเทศ-การเงินการคลัง-ตลาดทุน –การส่งออก ที่ยังไงก็ดีกว่าจะมานั่งคุยกันเองในหมู่ทหารคสช. ที่ไม่ได้รอบรู้เรื่องเหล่านี้เท่าคนที่บิ๊กตู่ ตั้งมาคราวนี้แน่นอน แต่คำถาม คือว่า พลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีโดยเฉพาะพวกรัฐมนตรี ที่มาจากทหารทั้งหลาย พร้อมเปิดกว้างรับฟังคำปรึกษาจากคณะที่ปรึกษาชุดนี้มากแค่ไหน และเสนอไปแล้ว บิ๊กตู่ จะเอาด้วยหรือไม่ ตรงนี้คือสิ่งที่หลายคนตั้งคำถาม
**หรือจริงๆ แล้ว ที่พลเอกประยุทธ์ ตั้งคณะที่ปรึกษาดังกล่าวก็เพราะเริ่มอยู่ในภาวะ ที่เริ่มเห็นแล้วว่ารัฐบาลอาจอยู่ไปได้เรื่อยๆ แต่ระยะยาว มีปัญหาแน่นอนกับการบริหารประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่อาจมีปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ เลยต้องดิ้นรน หาตัวช่วยต่างๆ ให้มากขึ้นหวังประคองสถานการณ์ตอนนี้ไปก่อน ไม่ให้ทุกอย่างสายเกินแก้ ?