ชวินทร์ ลีนะบรรจง
สุวินัย ภรณวลัย
ชีวิตที่สองของ อมามิ ยุกิ (天海 祐希) นั้นเริ่มจากปี 1995 หลังจากการลาออกจากโรงละครทะกะระซึกะ
การเลิกจากนักแสดงนำบทชายหรือ ชุเอง โอโตะยะคุ (主演男役) ที่ใช้ความสามารถในการร้องเต้นมาสู่บทบาทการแสดงที่ส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาการร้องเต้นเหมือนละครเวทีที่เคยแสดง นับได้ว่าเป็นความท้าทายเพราะเป็นเสมือนต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่เช่นกัน
เธอได้รับบทนำในหนังชุดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี 1997 ในหนังเรื่องซิงเกิ้ล ออกฉายทางโทรทัศน์ช่อง 8 แต่ก็ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก
เธอต้องใช้เวลาอีก 7 ปีจึงจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นดารานำแสดงที่มีผู้คนกล่าวถึงได้อีกครั้งจากบททนายความหญิงที่ถูกหักหลังในหนังชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ลิคอนเบนโกะชิ (離婚弁護士) ในปี 2004-5 นับจากนั้นเป็นต้นมา ชีวิตเธอจึงได้แจ้งเกิดอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลงานสำคัญของเธอจึงเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละเรื่องและเป็นที่กล่าวถึงเพราะได้รับความนิยม เช่น 女王の教室 (2005) トップキャスター (2006) 演歌の女王 (2007) Around40 (2008) BOSS (2009-10) GOLD (2010) カエルの王女さま (2012) 結婚しない (2012) 女信長 (2013) 緊急取調室 (2014)
แม้ว่าจะได้แจ้งเกิดในบทของทนายความสาวมาด “แมน” ใน 離婚弁護士 แต่จำนวนผู้ชมในทั้ง 2 ภาคยังถือได้ว่าต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับ โจะโอ โนะ เคียวชิซึ (女王の教室 ) ที่ออกอากาศทางช่อง 4 ตอนแรก 2-7-2005 ที่เกือบจะชนกับตอนสุดท้ายของ ลิคอนเบนโกชิ คือ 28-6-2005 ทางช่อง 8
หนังชุดทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบจำนวนผู้ชมมากในตอนเริ่มแรกและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนตอนสุดท้ายที่เป็นตอนจบเรื่องก็จะกลับมามีมากขึ้นเท่าเดิมคล้ายดังอักษร U แต่ 女王の教室 นั้นเป็นกรณีที่พิเศษ กล่าวคือตอนแรกมีจำนวนผู้ชมร้อยละ 14 ซึ่งถือได้ว่ามาก แต่ตอนสุดท้ายกลับมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 โดยมีจำนวนผู้ชมระหว่างตอนแรกกับสุดท้ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 ขณะที่มีผู้ชมเฉลี่ย 11 ตอนถึงกว่าร้อยละ 17 เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมากเพราะในช่วงทศวรรษที่ 1990 มีหนังชุดเพียง 13 เรื่องเท่านั้นที่มีผู้ชมเกินกว่าร้อยละ 10 ขณะที่เมื่อเริ่มศตวรรษที่ 2000 นั้นมีหนังชุดเพียง 2 เรื่องเท่านั้นคือ มะรุโมะ โอคิเตะ(マルモのおきて) 11.6%23.9% เพิ่ม12.3% และ คะเซฟุ โนะ มิตะ(家政婦のミタ) 19.5%40.0% เพิ่ม 20.5% เท่านั้นที่มีผู้ชมมากกว่า
หนังชุดเรื่องนี้ได้เปลี่ยนบุคลิกของอมามิจากสาวมาดมั่นที่มักแสดงในบทตัว “ดี” มาเป็นบทครูไหว “ใจร้าย” เป็นแม่มดครูประจำชั้น ป.6 ห้อง 3 ของโรงเรียนที่ทำให้นักเรียนในห้องเสมือนหนึ่งตกอยู่ในนรกได้เลย
การเรียนการสอนของครูอะคุซึ มะยะ (阿久津 真矢) จึงผิดแปลกไปจากครูอื่นๆ ในการเลือกตัวแทนห้องจากผู้ที่สอบได้คะแนนต่ำที่สุด 2 คนที่ต้องคอยรับใช้ทั้งครูและนักเรียน หรือจากผู้ที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งครู ขณะที่ผู้ที่สอบได้คะแนนดีก็จะได้รับรางวัล เช่น การเลือกที่นั่งหรือได้ใช้ล็อกเกอร์เป็นการตอบแทนเป็นต้น
มีหนังชุดมากมายเกี่ยวกับครูและนักเรียน เช่น ครูคิมพัดจิ (金八先生) หรือ GTO ที่วิธีการนำเสนอตั้งอยู่บนหลักการของศีลธรรมและนำเอาชีวิตในโลกความเป็นจริงมาปรับใช้ โรงเรียน/มหาวิทยาลัยจึงเป็นโลกจำลอง เป็นแหล่งเตรียมคนที่มิใช่ให้เฉพาะความรู้แต่ยังเตรียมสู่โลกที่แท้จริงอีกด้วย
วิธีการเรียนการสอนของครูอะคุซึนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม เธอถอดรื้อศีลธรรมความเอื้ออาทรออกเพื่อให้นักเรียนเห็นโลกของความเป็นจริงได้อย่างแจ่มชัดมากขึ้นว่าในโลกของความเป็นจริงนั้นจะโหดร้ายอย่างไร ไม่มีที่ว่างของผู้แพ้ที่ไม่ปรับปรุงตัว กฎระเบียบไม่ได้มีไว้แก้หรืออนุโลมปรับใช้ การแข่งขันทั้งกับผู้อื่นและแม้แต่ตนเองเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะสังคมจะตอบแทนให้อภิสิทธิ์เฉพาะผู้ชนะเพียงไม่กี่คนเท่านั้น กฎของความอยู่รอดจึงเป็นสิ่งที่ครูอะคุซึสื่อถึงนักเรียนในห้องโดยแท้
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวิวาทะระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้านการนำเสนอการเรียนการสอนเช่นที่ว่านี้อย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้แต่ผู้สนับสนุนรายการหลายรายยังไม่ยินดีออกชื่อตามธรรมเนียมปฏิบัติทั้งที่จ่ายเงินค่าโฆษณาไปแล้ว
วะคะวะ คะซึฮิโกะ (遊川 和彦) ผู้เขียนบทสร้างบุคลิกของครูอะคุซึให้กับอมามิ เธอจึงเป็นปีศาจที่ไม่เคยยิ้มให้เห็นฟัน สีหน้าเรียบเฉยสายตาที่มองอย่างเย็นชา พูดแบบนิ่มๆ เหมือนไม่มีปาก แต่งกายด้วยชุดสีดำทั้งเสื้อนอกและเชิ้ตคอตั้งสูง ขณะที่เนื้อเรื่องจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ คันดะ คะซึมิ (神田和美) ที่แสดงโดย ชิดะ มิไร (志田 未来) กับเพื่อนของเธอในห้อง
อมามิจึงต้องเผชิญกับดาราเด็กอายุ 12-13 ปี อีก 24 คนที่อาจพลาดท่าเสียทีได้โดยง่ายจากการขายความน่ารักน่าสงสาร ในขณะที่ตนเองต้องเล่นบทตัว “ร้าย” แต่เธอก็พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถ เวลาสายตาเธอมองก็ดี ท่าทางการเดินก็ดี หรือการรับมือกับพ่อแม่ที่จะมา “วีน” เมื่อลูกตนเองต้องลำบากเพราะถูกทำโทษ
เมื่อโทนของหนังชุดนี้ดูไปแล้วค่อนข้างเคร่งเครียด อมามิจึงให้คนดูได้ผ่อนคลายโดยในตอนจบมีการเต้นประกอบเพลง Exit ของ วง Exile ที่นำโดยเธอและผู้แสดงอย่างสนุกสนานเพื่อลดโทนให้โหดร้ายน้อยลง ดูไปแล้วก็เป็นแนวคิดที่ไม่เลวทีเดียว
สมแล้วที่เธอจะเป็น จักรพรรดินีของห้องเรียน (女王の教室) ป. 6 ห้อง 3 ที่ไร้ซึ่งผู้ต่อต้านโดยแท้
ครูอะคุซึ ที่มา https://www.google.co.th/
ชิดะเมื่ออายุ 12 บน และอายุ 24 ล่าง ที่มา https://www.google.co.th/
คลิปแรกเป็นการตอบคำถามจากผู้แสดงร่วมว่าอะไรที่ครูอะคุซึควรแก้ไข http://www.youtube.com/watch?v=tiJCEwHqeoM
คลิปต่อไปเป็นการโปรโมตตอนสุดท้ายที่มีฉากการสำเร็จการศึกษา และฉากสุดท้ายที่คะซึมิที่เป็นนักเรียน ม.ต้นไปแล้ว (สังเกตจากเครื่องแบบที่ส่วนใหญ่จะเริ่มใส่เมื่อเริ่ม ม.ต้น)http://www.youtube.com/watch?v=we0RaX5EOmw
คลิปสุดท้ายเป็นการเต้นตอนจบในทุกตอนเพื่อผ่อนโทนหนังให้ดูเครียดน้อยลง http://www.youtube.com/watch?v=lmbF9-aTX8c
สุวินัย ภรณวลัย
ชีวิตที่สองของ อมามิ ยุกิ (天海 祐希) นั้นเริ่มจากปี 1995 หลังจากการลาออกจากโรงละครทะกะระซึกะ
การเลิกจากนักแสดงนำบทชายหรือ ชุเอง โอโตะยะคุ (主演男役) ที่ใช้ความสามารถในการร้องเต้นมาสู่บทบาทการแสดงที่ส่วนใหญ่ไม่ได้พึ่งพาการร้องเต้นเหมือนละครเวทีที่เคยแสดง นับได้ว่าเป็นความท้าทายเพราะเป็นเสมือนต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่เช่นกัน
เธอได้รับบทนำในหนังชุดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี 1997 ในหนังเรื่องซิงเกิ้ล ออกฉายทางโทรทัศน์ช่อง 8 แต่ก็ไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก
เธอต้องใช้เวลาอีก 7 ปีจึงจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นดารานำแสดงที่มีผู้คนกล่าวถึงได้อีกครั้งจากบททนายความหญิงที่ถูกหักหลังในหนังชุดทางโทรทัศน์เรื่อง ลิคอนเบนโกะชิ (離婚弁護士) ในปี 2004-5 นับจากนั้นเป็นต้นมา ชีวิตเธอจึงได้แจ้งเกิดอีกครั้งหนึ่ง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาผลงานสำคัญของเธอจึงเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละเรื่องและเป็นที่กล่าวถึงเพราะได้รับความนิยม เช่น 女王の教室 (2005) トップキャスター (2006) 演歌の女王 (2007) Around40 (2008) BOSS (2009-10) GOLD (2010) カエルの王女さま (2012) 結婚しない (2012) 女信長 (2013) 緊急取調室 (2014)
แม้ว่าจะได้แจ้งเกิดในบทของทนายความสาวมาด “แมน” ใน 離婚弁護士 แต่จำนวนผู้ชมในทั้ง 2 ภาคยังถือได้ว่าต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับ โจะโอ โนะ เคียวชิซึ (女王の教室 ) ที่ออกอากาศทางช่อง 4 ตอนแรก 2-7-2005 ที่เกือบจะชนกับตอนสุดท้ายของ ลิคอนเบนโกชิ คือ 28-6-2005 ทางช่อง 8
หนังชุดทางโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบจำนวนผู้ชมมากในตอนเริ่มแรกและลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนตอนสุดท้ายที่เป็นตอนจบเรื่องก็จะกลับมามีมากขึ้นเท่าเดิมคล้ายดังอักษร U แต่ 女王の教室 นั้นเป็นกรณีที่พิเศษ กล่าวคือตอนแรกมีจำนวนผู้ชมร้อยละ 14 ซึ่งถือได้ว่ามาก แต่ตอนสุดท้ายกลับมีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 โดยมีจำนวนผู้ชมระหว่างตอนแรกกับสุดท้ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 ขณะที่มีผู้ชมเฉลี่ย 11 ตอนถึงกว่าร้อยละ 17 เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมากเพราะในช่วงทศวรรษที่ 1990 มีหนังชุดเพียง 13 เรื่องเท่านั้นที่มีผู้ชมเกินกว่าร้อยละ 10 ขณะที่เมื่อเริ่มศตวรรษที่ 2000 นั้นมีหนังชุดเพียง 2 เรื่องเท่านั้นคือ มะรุโมะ โอคิเตะ(マルモのおきて) 11.6%23.9% เพิ่ม12.3% และ คะเซฟุ โนะ มิตะ(家政婦のミタ) 19.5%40.0% เพิ่ม 20.5% เท่านั้นที่มีผู้ชมมากกว่า
หนังชุดเรื่องนี้ได้เปลี่ยนบุคลิกของอมามิจากสาวมาดมั่นที่มักแสดงในบทตัว “ดี” มาเป็นบทครูไหว “ใจร้าย” เป็นแม่มดครูประจำชั้น ป.6 ห้อง 3 ของโรงเรียนที่ทำให้นักเรียนในห้องเสมือนหนึ่งตกอยู่ในนรกได้เลย
การเรียนการสอนของครูอะคุซึ มะยะ (阿久津 真矢) จึงผิดแปลกไปจากครูอื่นๆ ในการเลือกตัวแทนห้องจากผู้ที่สอบได้คะแนนต่ำที่สุด 2 คนที่ต้องคอยรับใช้ทั้งครูและนักเรียน หรือจากผู้ที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งครู ขณะที่ผู้ที่สอบได้คะแนนดีก็จะได้รับรางวัล เช่น การเลือกที่นั่งหรือได้ใช้ล็อกเกอร์เป็นการตอบแทนเป็นต้น
มีหนังชุดมากมายเกี่ยวกับครูและนักเรียน เช่น ครูคิมพัดจิ (金八先生) หรือ GTO ที่วิธีการนำเสนอตั้งอยู่บนหลักการของศีลธรรมและนำเอาชีวิตในโลกความเป็นจริงมาปรับใช้ โรงเรียน/มหาวิทยาลัยจึงเป็นโลกจำลอง เป็นแหล่งเตรียมคนที่มิใช่ให้เฉพาะความรู้แต่ยังเตรียมสู่โลกที่แท้จริงอีกด้วย
วิธีการเรียนการสอนของครูอะคุซึนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม เธอถอดรื้อศีลธรรมความเอื้ออาทรออกเพื่อให้นักเรียนเห็นโลกของความเป็นจริงได้อย่างแจ่มชัดมากขึ้นว่าในโลกของความเป็นจริงนั้นจะโหดร้ายอย่างไร ไม่มีที่ว่างของผู้แพ้ที่ไม่ปรับปรุงตัว กฎระเบียบไม่ได้มีไว้แก้หรืออนุโลมปรับใช้ การแข่งขันทั้งกับผู้อื่นและแม้แต่ตนเองเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพราะสังคมจะตอบแทนให้อภิสิทธิ์เฉพาะผู้ชนะเพียงไม่กี่คนเท่านั้น กฎของความอยู่รอดจึงเป็นสิ่งที่ครูอะคุซึสื่อถึงนักเรียนในห้องโดยแท้
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวิวาทะระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและคัดค้านการนำเสนอการเรียนการสอนเช่นที่ว่านี้อย่างไม่เคยมีมาก่อน แม้แต่ผู้สนับสนุนรายการหลายรายยังไม่ยินดีออกชื่อตามธรรมเนียมปฏิบัติทั้งที่จ่ายเงินค่าโฆษณาไปแล้ว
วะคะวะ คะซึฮิโกะ (遊川 和彦) ผู้เขียนบทสร้างบุคลิกของครูอะคุซึให้กับอมามิ เธอจึงเป็นปีศาจที่ไม่เคยยิ้มให้เห็นฟัน สีหน้าเรียบเฉยสายตาที่มองอย่างเย็นชา พูดแบบนิ่มๆ เหมือนไม่มีปาก แต่งกายด้วยชุดสีดำทั้งเสื้อนอกและเชิ้ตคอตั้งสูง ขณะที่เนื้อเรื่องจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ คันดะ คะซึมิ (神田和美) ที่แสดงโดย ชิดะ มิไร (志田 未来) กับเพื่อนของเธอในห้อง
อมามิจึงต้องเผชิญกับดาราเด็กอายุ 12-13 ปี อีก 24 คนที่อาจพลาดท่าเสียทีได้โดยง่ายจากการขายความน่ารักน่าสงสาร ในขณะที่ตนเองต้องเล่นบทตัว “ร้าย” แต่เธอก็พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถ เวลาสายตาเธอมองก็ดี ท่าทางการเดินก็ดี หรือการรับมือกับพ่อแม่ที่จะมา “วีน” เมื่อลูกตนเองต้องลำบากเพราะถูกทำโทษ
เมื่อโทนของหนังชุดนี้ดูไปแล้วค่อนข้างเคร่งเครียด อมามิจึงให้คนดูได้ผ่อนคลายโดยในตอนจบมีการเต้นประกอบเพลง Exit ของ วง Exile ที่นำโดยเธอและผู้แสดงอย่างสนุกสนานเพื่อลดโทนให้โหดร้ายน้อยลง ดูไปแล้วก็เป็นแนวคิดที่ไม่เลวทีเดียว
สมแล้วที่เธอจะเป็น จักรพรรดินีของห้องเรียน (女王の教室) ป. 6 ห้อง 3 ที่ไร้ซึ่งผู้ต่อต้านโดยแท้
ครูอะคุซึ ที่มา https://www.google.co.th/
ชิดะเมื่ออายุ 12 บน และอายุ 24 ล่าง ที่มา https://www.google.co.th/
คลิปแรกเป็นการตอบคำถามจากผู้แสดงร่วมว่าอะไรที่ครูอะคุซึควรแก้ไข http://www.youtube.com/watch?v=tiJCEwHqeoM
คลิปต่อไปเป็นการโปรโมตตอนสุดท้ายที่มีฉากการสำเร็จการศึกษา และฉากสุดท้ายที่คะซึมิที่เป็นนักเรียน ม.ต้นไปแล้ว (สังเกตจากเครื่องแบบที่ส่วนใหญ่จะเริ่มใส่เมื่อเริ่ม ม.ต้น)http://www.youtube.com/watch?v=we0RaX5EOmw
คลิปสุดท้ายเป็นการเต้นตอนจบในทุกตอนเพื่อผ่อนโทนหนังให้ดูเครียดน้อยลง http://www.youtube.com/watch?v=lmbF9-aTX8c