ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการจัดสรรที่ดินให้ผู้ยากไร้ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ประกาศจะเดินเท้าจากจ.เชียงใหม่เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาที่ดิน และแผนแม่บทป่าว่า ได้รับการประสานจากทางกองทัพภาค และจากทางจังหวัดเชียงใหม่แล้ว และทราบว่ามีข้อปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องที่ดินที่พี่น้องประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่ และต้องบริหารจัดการในทางข้อกฎหมาย โดยให้คนออกจากพื้นที่ เช่น พื้นที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.) เป็นต้น ดังนั้นทางจังหวัด และกองทัพภาค จึงขอให้ไปในวันที่ 13 พ.ย. คือให้ช่วยไปพูดคุยในฐานะที่เคยเป็นผู้ว่าฯเชียงใหม่
สำหรับการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า จังหวัดต้องเป็นด่านแรก เพราะเป็นหน่วยราชการที่อยู่ใกล้ปัญหาใกล้พื้นที่ที่สุด เมื่อปัญหาอะไรที่แก้ไม่สำเร็จลุล่วงได้ ควรจะปรึกษาหารือกับทางส่วนกลาง อย่าใช้ระบบราชการแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องไป แต่ควรจะต้องอาศัยในเรื่องของอัธยาศัย ไมตรีจิต เรื่องหลักรัฐศาสตร์เข้ามาผนวกกับการแก้ไขปัญหาด้วย ทั้งนี้จากที่สังเกตปัญหาที่เกิดในพื้นที่คือ ความไม่ประสานงานกันระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน เรื่องจึงเกิดความร้อนแรงขึ้น
"อยากให้การแก้ไขปัญหาเป็นของทุกภาคส่วนร่วมกัน คุยกันให้เกิดความยั่งยืนให้ได้ เพราะเป็นเรื่องการช่วยเหลือคนยากจน ผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดิน การที่จะดำรงอาชีพได้เป็นปกติสุข มีที่ดินเป็นของตนเอง และอยู่กันมานานแล้ว ก็ควรที่จะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ไม่ใช่ไปให้ความสำคัญกับคนที่เป็นนายทุน หรือผู้มีอิทธิพล เรื่องนี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไขด้วยความรอบคอบ ขอให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์รวมความสำคัญ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้" มล.ปนัดดา กล่าว
น.ส.อรนุช ศรีนนท์ ผอ.ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายหลังที่กระทรวงต่างๆ 20กระทรวง ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อร่วมประสานงานให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างให้ประชาชน ตามคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)นั้น ปรากฏว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาร้องเรียนปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่มีผู้เข้ามาร้องเรียนมากที่สุดคือ เรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับสาธารนูปโภคต่างๆ รองลงมาคือ เรื่องเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดิน เรื่องหนี้สินนอกระบบ การกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ และเรื่องยาเสพติดเป็นต้น ขณะที่กระทรวงที่รับเรื่องร้องเรียนไปดำเนินการมากที่สุดคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องจะมีการจัดหมวดหมู่ สรุปประเด็นและแนบรายละเอียดส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทุกวัน ซึ่งที่ผ่านมามีบางเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ นำเข้าหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาทิ กลุ่มผู้ค้าน้ำมัน จ.นนทบุรี ร้องเรียน อบจ.นนทบุรี เก็บภาษีน้ำมันไม่เป็นธรรม
น.ส.อรนุช กล่าวว่า พื้นที่ศูนย์บริการฯชั่วคราว ที่ใช้อยู่ขณะนี้ ยังคงต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนการการสื่อสารข้อมูลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยการนำระบบอินเตอร์เนตมาใช้ รวมถึงจัดระบบเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับเรื่องร้องเรียนมากกว่า ซึ่งในบางระทรวง เช่นกระทรวงการต่างประเทศที่ไม่ค่อยมีเรื่องร้องเรียนอาจไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่มาประจำ ซึ่งอาจใช้วิธีการระบุตัวเจ้าที่ไว้ และเมื่อกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องศูนย์บริการฯ จะเร่งประสานงานให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องดังกล่าว มารับเรื่องโดยตรง
สำหรับการทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า จังหวัดต้องเป็นด่านแรก เพราะเป็นหน่วยราชการที่อยู่ใกล้ปัญหาใกล้พื้นที่ที่สุด เมื่อปัญหาอะไรที่แก้ไม่สำเร็จลุล่วงได้ ควรจะปรึกษาหารือกับทางส่วนกลาง อย่าใช้ระบบราชการแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องไป แต่ควรจะต้องอาศัยในเรื่องของอัธยาศัย ไมตรีจิต เรื่องหลักรัฐศาสตร์เข้ามาผนวกกับการแก้ไขปัญหาด้วย ทั้งนี้จากที่สังเกตปัญหาที่เกิดในพื้นที่คือ ความไม่ประสานงานกันระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน เรื่องจึงเกิดความร้อนแรงขึ้น
"อยากให้การแก้ไขปัญหาเป็นของทุกภาคส่วนร่วมกัน คุยกันให้เกิดความยั่งยืนให้ได้ เพราะเป็นเรื่องการช่วยเหลือคนยากจน ผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดิน การที่จะดำรงอาชีพได้เป็นปกติสุข มีที่ดินเป็นของตนเอง และอยู่กันมานานแล้ว ก็ควรที่จะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ไม่ใช่ไปให้ความสำคัญกับคนที่เป็นนายทุน หรือผู้มีอิทธิพล เรื่องนี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ไขด้วยความรอบคอบ ขอให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์รวมความสำคัญ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้" มล.ปนัดดา กล่าว
น.ส.อรนุช ศรีนนท์ ผอ.ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายหลังที่กระทรวงต่างๆ 20กระทรวง ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว ที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อร่วมประสานงานให้การช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างให้ประชาชน ตามคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)นั้น ปรากฏว่า ยังมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาร้องเรียนปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่มีผู้เข้ามาร้องเรียนมากที่สุดคือ เรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับสาธารนูปโภคต่างๆ รองลงมาคือ เรื่องเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดิน เรื่องหนี้สินนอกระบบ การกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ และเรื่องยาเสพติดเป็นต้น ขณะที่กระทรวงที่รับเรื่องร้องเรียนไปดำเนินการมากที่สุดคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องจะมีการจัดหมวดหมู่ สรุปประเด็นและแนบรายละเอียดส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ ทุกวัน ซึ่งที่ผ่านมามีบางเรื่องที่ พล.อ.ประยุทธ์ นำเข้าหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาทิ กลุ่มผู้ค้าน้ำมัน จ.นนทบุรี ร้องเรียน อบจ.นนทบุรี เก็บภาษีน้ำมันไม่เป็นธรรม
น.ส.อรนุช กล่าวว่า พื้นที่ศูนย์บริการฯชั่วคราว ที่ใช้อยู่ขณะนี้ ยังคงต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนการการสื่อสารข้อมูลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยการนำระบบอินเตอร์เนตมาใช้ รวมถึงจัดระบบเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับเรื่องร้องเรียนมากกว่า ซึ่งในบางระทรวง เช่นกระทรวงการต่างประเทศที่ไม่ค่อยมีเรื่องร้องเรียนอาจไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่มาประจำ ซึ่งอาจใช้วิธีการระบุตัวเจ้าที่ไว้ และเมื่อกรณีร้องเรียนที่เกี่ยวข้องศูนย์บริการฯ จะเร่งประสานงานให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องดังกล่าว มารับเรื่องโดยตรง