**ยิ่งใกล้วันพิจารณาสำนวนถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สร้างความเสียหายให้ชาติไม่แพ้พี่ชายนักโทษ ทักษิณ ชินวัตร เข้ามามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเห็นการออกอาการของบรรดาข้าทาส บริวาร มากขึ้นเรื่อยๆ
ไล่กันมาตั้งแต่การส่งทหารเลวไปด่าหน้าค่าย มาจนถึงการส่งอดีตรัฐมนตรีของตระกูลชินอย่าง นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ออกมาสร้างชุดข้อมูลเท็จ เพื่อปกปิดความผิดของตัวเองในโครงการจำนำข้าวที่เจ๊งจนเกือบต้องนำชาติไปจำนำ
**ไม่น่าเชื่อว่าคนพวกนี้จะกล้าพูดความเท็จซ้ำๆ อย่างไม่ละอายต่อบาป สะท้อนให้เห็นว่าไร้ซึ่งสำนึกผิด ชอบ ชั่ว ดี โดยสิ้นเชิง
นิวัฒน์ธำรง ออกมาตอบโต้ว่า ผลขาดทุนในโครงการจำนำข้าวไม่ถึง 7 แสนล้าน และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีหนี้จากโครงการนี้สูงถึง 8 แสนล้าน หรือ 1 ล้านล้านบาท โดยอ้างข้อมูลว่าผลต่างของรายจ่ายและรายรับด้านรายได้ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงสิ้นสุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐบาลขายข้าวได้มูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท เหลือข้าวในโกดังอีกประมาณ 18 ล้านตัน มีข้าวพร้อมขาย 10 % ข้าวที่ต้องปรับปรุง 80 % ถ้าขายคละกัน จะได้ราคาประมาณ 15,000 บาทต่อตัน ถ้าขาย 16.2 ล้านตัน คือ 90% ของ 18 ล้านตัน จะได้เงิน 2.43 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดรายได้รวม 4.8 แสนล้านบาท ในขณะที่มีการใช้เงินในโครงการรวม 8.6 แสนล้านบาท จะมีผลขาดทุนอยู่ที่ 3.8 แสนล้านบาทเท่านั้น และมีหนี้คงค้างถึง 31 ธ.ค.56 มีเงินกู้ค้างอยู่ 4.6 แสนล้านบาท
**ถ้าขายข้าวได้ตามเป้าหมายจะเหลือภาระหนี้สินเพียง 3.11 แสนล้านบาท
ข้อมูลข้างต้นคือ สิ่งที่นิวัฒน์ธำรง นำมาอ้าง ลองมาดูความจริงในการใช้จ่ายโครงการจำนำข้าวซึ่งเป็นตัวเลขของรัฐบาลเพื่อตรวจสอบคำพูดของ นิวัฒน์ธำรง ว่า ให้ความจริง หรือจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง
ประเด็นแรก นิวัฒน์ธำรงระบุว่า มีการใช้เงินโครงการจำนำข้าว 8.6 แสนล้าน มัดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำเนินโครงการนี้ขัดมติครม. ของตัวเองที่กำหนดกรอบวงเงินที่จะใช้ในโครงการนี้ไว้ที่ 5 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นสองส่วน คือจากการกู้โดยกระทรวงการคลัง 4.1 แสนล้านบาท และจากเงินหมุนเวียนของ ธ.ก.ส.อีก 9 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 5 แสนล้านบาท นี่คือความล้มเหลวแรกของการบริหารโครงการจำนำข้าว ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่า การใช้เงินในโครงการนี้ไม่เกินห้าแสนล้านบาท
ประเด็นที่สอง ที่อ้างว่าผลขาดทุนมีแค่ 3.8 แสนล้านบาท และมีหนี้คงค้างอยู่แค่ 3.11 แสนล้านบาทนั้น แสดงว่า นิวัฒน์ธำรงไม่ได้เปิดตามองข้อเท็จจริงจากตัวเลขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เลยแม้แต่น้อย เพราะตัวเลขจาก ธ.ก.ส.นั้น แตกต่างจากที่นิวัฒน์ธำรงออกมาอ้างโดยสิ้นเชิง
**ลักษณ์ วจนานวัช กรรมการผู้จัดการ ธ.ก.ส. ออกมาเปิดเผยปรากฏเป็นข่าวในวันที่ 17 กันยายน 2557 ว่า หนี้จากโครงการจำนำข้าวมีทั้งหมด 755,000 ล้านบาท เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนมีโครงการจำนำข้าว 5 หมื่นล้าน ส่วนหนี้จากโครงการจำนำข้าวอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท
คราวนี้ลองมาดูข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ จะพบว่าหนี้ธ.ก.ส. ที่รัฐค้ำประกันปี 2554 ก่อนทำโครงการจำนำข้าว ธ.ค.54 จำนวน 56,213 ล้านบาท หลังทำโครงการจำนำข้าว 55-57 มีพัฒนาการของหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ม.ค. 55 หนี้เพิ่มเป็น 76,213 ล้านบาท สิ้นธ.ค.55 ทะยานขึ้นไปจากหลักหมื่น เป็นหลักแสนอยู่ที่ 273,826 ล้านบาท พอเข้าปี 2556 เริ่มที่ ม.ค.56 ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอีกจากสองแสนกว่าล้าน เป็น 348,004 ล้านบาท และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้น ธ.ค.56 ตัวเลขหนี้ของ ธ.ก.ส. ที่รัฐค้ำประกันอยู่ที่ 451,624 ล้านบาท ในปี 2557 ยอดหนี้ ณ เดือนสิงหาคม 2557 อยู่ที่ 536,476 ล้านบาท
ประเด็นที่สาม นิวัฒน์ธำรงโทษว่า รัฐบาลประยุทธ์ มีการกู้เงินเพิ่ม 9.4 หมื่นล้านบาท หนี้ก้อนนี้ จึงไม่เกี่ยวกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว
**ไม่น่าเชื่อว่าจะหน้าด้านกล้าพูดได้ขนาดนี้ เพราะการกู้เงินในรัฐบาลประยุทธ์ 9.4 หมื่นล้านบาท ก็เพื่อมาจ่ายหนี้ให้กับชาวนาที่ทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนผูกคอตายไปเกือบ 20 คน เป็นหนี้คงค้างที่เกิดจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และกลายเป็นหนี้ของประเทศ ที่ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนเข้ามาก็ต้องชำระสะสาง แต่คนสร้างหนี้ลอยหน้าพูดว่า กูไม่เกี่ยว
ประเด็นที่สี่ นิวัฒน์ธำรง อ้างว่า ข้าวในสต๊อก 18 ล้านตัน จะขายได้ 16.2 ล้านตัน ในราคาตันละ 15,000 บาท เป็นเงิน 2.43 แสนล้านบาท จากตัวเลขของนิวัฒน์ธำรงเอง เรามาดูต้นทุนกันว่าถ้าขายในราคา 15,000 บาทต่อตัน จะมีผลขาดทุนเกิดขึ้นเท่าไหร่
รัฐบาลยิ่งลักษณ์รับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาท แต่นำมาปรับปรุงเป็นข้าวสาร มีต้นทุนอยู่ที่ 25,000 บาท เท่ากับว่าขาดทุนตันละ 1 หมื่นบาท ขายได้เงิน 2.43 แสนล้านบาท จะมีผลขาดทุน 162,000 ล้านบาท ข้าวที่ขายไม่ได้อีก 1.8 ล้านตัน เป็นเงินที่หายไปอีก 45,000 ล้านบาท เฉพาะการระบายข้าวในสต๊อกที่ค้างอยู่ตามตัวเลขของ นิวัฒน์ธำรงเองจะมีผลขาดทุนสูงถึง 207,000 ล้านบาท
ตัวเลขขาดทุนข้างต้น คิดจากฐานข้อมูลของนิวัฒน์ธำรงที่มองโลกในแง่ดีสุด ๆ ว่าข้าวที่มีอยู่ในสภาพที่สามารถขายได้ในราคา 15,000 บาท ทั้งๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งออกมาระบุว่า มีข้าวดีเหลือแค่ 10 % อีกเกือบ 80 % เสื่อมสภาพ ซึ่งแน่นอนว่า คงไม่สามารถขายได้ในราคาที่ นิวัฒน์ธรง ออกมาระบุอย่างแน่นอน
**คนไทยต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมคนโกงที่พยายามสร้างชุดข้อมูลเท็จ แหกตาประชาชน สื่อมวลชนต้องเป็นประตูกลั่นกรองข่าวสารอย่าเอาข่าวเสียจากคำโกหกของคนโกงมาเผยแพร่ จนทำให้เกิดความสับสน หรือถ้าจะอ้างว่าต้องให้ความเป็นธรรมกับคนโกงได้ชี้แจง ก็ต้องให้ข้อมูลจริงกับประชาชนในเนื้อข่าวเดียวกันด้วย
**ไม่เช่นนั้นสื่อก็จะมีสภาพเพียงแค่เครื่องมือของคนโกหกเท่านั้น
ไล่กันมาตั้งแต่การส่งทหารเลวไปด่าหน้าค่าย มาจนถึงการส่งอดีตรัฐมนตรีของตระกูลชินอย่าง นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ออกมาสร้างชุดข้อมูลเท็จ เพื่อปกปิดความผิดของตัวเองในโครงการจำนำข้าวที่เจ๊งจนเกือบต้องนำชาติไปจำนำ
**ไม่น่าเชื่อว่าคนพวกนี้จะกล้าพูดความเท็จซ้ำๆ อย่างไม่ละอายต่อบาป สะท้อนให้เห็นว่าไร้ซึ่งสำนึกผิด ชอบ ชั่ว ดี โดยสิ้นเชิง
นิวัฒน์ธำรง ออกมาตอบโต้ว่า ผลขาดทุนในโครงการจำนำข้าวไม่ถึง 7 แสนล้าน และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีหนี้จากโครงการนี้สูงถึง 8 แสนล้าน หรือ 1 ล้านล้านบาท โดยอ้างข้อมูลว่าผลต่างของรายจ่ายและรายรับด้านรายได้ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงสิ้นสุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐบาลขายข้าวได้มูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท เหลือข้าวในโกดังอีกประมาณ 18 ล้านตัน มีข้าวพร้อมขาย 10 % ข้าวที่ต้องปรับปรุง 80 % ถ้าขายคละกัน จะได้ราคาประมาณ 15,000 บาทต่อตัน ถ้าขาย 16.2 ล้านตัน คือ 90% ของ 18 ล้านตัน จะได้เงิน 2.43 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ยอดรายได้รวม 4.8 แสนล้านบาท ในขณะที่มีการใช้เงินในโครงการรวม 8.6 แสนล้านบาท จะมีผลขาดทุนอยู่ที่ 3.8 แสนล้านบาทเท่านั้น และมีหนี้คงค้างถึง 31 ธ.ค.56 มีเงินกู้ค้างอยู่ 4.6 แสนล้านบาท
**ถ้าขายข้าวได้ตามเป้าหมายจะเหลือภาระหนี้สินเพียง 3.11 แสนล้านบาท
ข้อมูลข้างต้นคือ สิ่งที่นิวัฒน์ธำรง นำมาอ้าง ลองมาดูความจริงในการใช้จ่ายโครงการจำนำข้าวซึ่งเป็นตัวเลขของรัฐบาลเพื่อตรวจสอบคำพูดของ นิวัฒน์ธำรง ว่า ให้ความจริง หรือจงใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง
ประเด็นแรก นิวัฒน์ธำรงระบุว่า มีการใช้เงินโครงการจำนำข้าว 8.6 แสนล้าน มัดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำเนินโครงการนี้ขัดมติครม. ของตัวเองที่กำหนดกรอบวงเงินที่จะใช้ในโครงการนี้ไว้ที่ 5 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นสองส่วน คือจากการกู้โดยกระทรวงการคลัง 4.1 แสนล้านบาท และจากเงินหมุนเวียนของ ธ.ก.ส.อีก 9 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 5 แสนล้านบาท นี่คือความล้มเหลวแรกของการบริหารโครงการจำนำข้าว ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่า การใช้เงินในโครงการนี้ไม่เกินห้าแสนล้านบาท
ประเด็นที่สอง ที่อ้างว่าผลขาดทุนมีแค่ 3.8 แสนล้านบาท และมีหนี้คงค้างอยู่แค่ 3.11 แสนล้านบาทนั้น แสดงว่า นิวัฒน์ธำรงไม่ได้เปิดตามองข้อเท็จจริงจากตัวเลขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เลยแม้แต่น้อย เพราะตัวเลขจาก ธ.ก.ส.นั้น แตกต่างจากที่นิวัฒน์ธำรงออกมาอ้างโดยสิ้นเชิง
**ลักษณ์ วจนานวัช กรรมการผู้จัดการ ธ.ก.ส. ออกมาเปิดเผยปรากฏเป็นข่าวในวันที่ 17 กันยายน 2557 ว่า หนี้จากโครงการจำนำข้าวมีทั้งหมด 755,000 ล้านบาท เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนมีโครงการจำนำข้าว 5 หมื่นล้าน ส่วนหนี้จากโครงการจำนำข้าวอยู่ที่ 7 แสนล้านบาท
คราวนี้ลองมาดูข้อมูลจากสำนักบริหารหนี้สาธารณะ จะพบว่าหนี้ธ.ก.ส. ที่รัฐค้ำประกันปี 2554 ก่อนทำโครงการจำนำข้าว ธ.ค.54 จำนวน 56,213 ล้านบาท หลังทำโครงการจำนำข้าว 55-57 มีพัฒนาการของหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ม.ค. 55 หนี้เพิ่มเป็น 76,213 ล้านบาท สิ้นธ.ค.55 ทะยานขึ้นไปจากหลักหมื่น เป็นหลักแสนอยู่ที่ 273,826 ล้านบาท พอเข้าปี 2556 เริ่มที่ ม.ค.56 ยอดหนี้เพิ่มขึ้นอีกจากสองแสนกว่าล้าน เป็น 348,004 ล้านบาท และยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้น ธ.ค.56 ตัวเลขหนี้ของ ธ.ก.ส. ที่รัฐค้ำประกันอยู่ที่ 451,624 ล้านบาท ในปี 2557 ยอดหนี้ ณ เดือนสิงหาคม 2557 อยู่ที่ 536,476 ล้านบาท
ประเด็นที่สาม นิวัฒน์ธำรงโทษว่า รัฐบาลประยุทธ์ มีการกู้เงินเพิ่ม 9.4 หมื่นล้านบาท หนี้ก้อนนี้ จึงไม่เกี่ยวกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว
**ไม่น่าเชื่อว่าจะหน้าด้านกล้าพูดได้ขนาดนี้ เพราะการกู้เงินในรัฐบาลประยุทธ์ 9.4 หมื่นล้านบาท ก็เพื่อมาจ่ายหนี้ให้กับชาวนาที่ทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจนผูกคอตายไปเกือบ 20 คน เป็นหนี้คงค้างที่เกิดจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และกลายเป็นหนี้ของประเทศ ที่ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนเข้ามาก็ต้องชำระสะสาง แต่คนสร้างหนี้ลอยหน้าพูดว่า กูไม่เกี่ยว
ประเด็นที่สี่ นิวัฒน์ธำรง อ้างว่า ข้าวในสต๊อก 18 ล้านตัน จะขายได้ 16.2 ล้านตัน ในราคาตันละ 15,000 บาท เป็นเงิน 2.43 แสนล้านบาท จากตัวเลขของนิวัฒน์ธำรงเอง เรามาดูต้นทุนกันว่าถ้าขายในราคา 15,000 บาทต่อตัน จะมีผลขาดทุนเกิดขึ้นเท่าไหร่
รัฐบาลยิ่งลักษณ์รับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาท แต่นำมาปรับปรุงเป็นข้าวสาร มีต้นทุนอยู่ที่ 25,000 บาท เท่ากับว่าขาดทุนตันละ 1 หมื่นบาท ขายได้เงิน 2.43 แสนล้านบาท จะมีผลขาดทุน 162,000 ล้านบาท ข้าวที่ขายไม่ได้อีก 1.8 ล้านตัน เป็นเงินที่หายไปอีก 45,000 ล้านบาท เฉพาะการระบายข้าวในสต๊อกที่ค้างอยู่ตามตัวเลขของ นิวัฒน์ธำรงเองจะมีผลขาดทุนสูงถึง 207,000 ล้านบาท
ตัวเลขขาดทุนข้างต้น คิดจากฐานข้อมูลของนิวัฒน์ธำรงที่มองโลกในแง่ดีสุด ๆ ว่าข้าวที่มีอยู่ในสภาพที่สามารถขายได้ในราคา 15,000 บาท ทั้งๆ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งออกมาระบุว่า มีข้าวดีเหลือแค่ 10 % อีกเกือบ 80 % เสื่อมสภาพ ซึ่งแน่นอนว่า คงไม่สามารถขายได้ในราคาที่ นิวัฒน์ธรง ออกมาระบุอย่างแน่นอน
**คนไทยต้องรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมคนโกงที่พยายามสร้างชุดข้อมูลเท็จ แหกตาประชาชน สื่อมวลชนต้องเป็นประตูกลั่นกรองข่าวสารอย่าเอาข่าวเสียจากคำโกหกของคนโกงมาเผยแพร่ จนทำให้เกิดความสับสน หรือถ้าจะอ้างว่าต้องให้ความเป็นธรรมกับคนโกงได้ชี้แจง ก็ต้องให้ข้อมูลจริงกับประชาชนในเนื้อข่าวเดียวกันด้วย
**ไม่เช่นนั้นสื่อก็จะมีสภาพเพียงแค่เครื่องมือของคนโกหกเท่านั้น