แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาย้ำต้องระวังผู้ป่วยที่หายหลังยังพบเชื้อยังอยู่ในอสุจินานหลายเดือน เสี่ยงแพร่เชื้อต่อได้ เตือน สธ.ระวังกลุ่มป่วยลักลอบกินยา อมน้ำแข็ง หวังลดไข้กลับประเทศ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน และศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ ศ.นพ.ไมเคิล คาลาแฮน อาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์เวิร์ด ในฐานะแพทย์ที่ทำงานและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคติดเชื้อร้ายแรงทั่วโลก รวมทั้งเป็นหนึ่งในทีมอีโบลาในแอฟริกา ได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ไทยในการดูแลรักษาและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
โดยความรู้ใหม่ที่ ศ.นพ.ไมเคิลแนะนำคือ ประเด็นผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้วยังคงต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิต เนื่องจากในเชื้ออสุจิของผู้ชายจะยังมีเชื้ออีโบลาอยู่ ซึ่งเชื้อนี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะอยู่ในร่างกายไปอีกนานเท่าไร ซึ่งต้องระวังคือ คนกลุ่มนี้เมื่อหายแล้วมักคิดว่าตัวเองเป็นปกติ เมื่อไปมีเพศสัมพันธ์ก็อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อและระบาดขึ้นมาต่อได้ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ จึงต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง และจะมีการตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ระดับโลกในอีก 2-3 สัปดาห์นี้
สำหรับการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การระบาดนั้น สธ.จะต้องเข้มงวดมากขึ้น เพราะพบว่ามีกลุ่มที่ไม่ใช่คนท้องถิ่น เมื่อมีอาการป่วยแล้วพยายามหาทางเดินทางกลับมารักษายังประเทศของตนเอง เพราะมั่นใจในระบบสาธารณสุขในการรักษามากกว่า จึงหาทางเลี่ยงในการถูกกักตัวโดยการอมน้ำแข็ง ล้างหน้า กินยาลดไข้ เพื่อไม่ให้เครื่องเทอร์โมสแกนตรวจจับความร้อนได้
ขณะที่ สภากาชาดไทย แจ้งว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลายังคงน่าเป็นห่วง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานข้อมูลถึงวันที่ 2 พ.ย. พบมีผู้ป่วยอีโบลา รวม 13,042 ราย เสียชีวิต 4,818 ราย ทางสภากาชาดโลกจึงระดมทุนเพื่อช่วยเหลือโดยตั้งเป้าไว้ที่ 35 ล้านฟรังก์สวิส สำหรับสภากาชาดไทย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคชื่อบัญชี "พลังน้ำใจเพื่อหยุดยั้งอีโบลา" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 468-0-41667-5 ธ.กสิกรไทย สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 623-1-00234-9 และ ธ.กรุงเทพ สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 913-3-50021-6
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน และศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ ศ.นพ.ไมเคิล คาลาแฮน อาจารย์แพทย์จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์เวิร์ด ในฐานะแพทย์ที่ทำงานและประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับโรคติดเชื้อร้ายแรงทั่วโลก รวมทั้งเป็นหนึ่งในทีมอีโบลาในแอฟริกา ได้เดินทางมาประเทศไทยเมื่อ ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ไทยในการดูแลรักษาและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
โดยความรู้ใหม่ที่ ศ.นพ.ไมเคิลแนะนำคือ ประเด็นผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาแล้วยังคงต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิต เนื่องจากในเชื้ออสุจิของผู้ชายจะยังมีเชื้ออีโบลาอยู่ ซึ่งเชื้อนี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะอยู่ในร่างกายไปอีกนานเท่าไร ซึ่งต้องระวังคือ คนกลุ่มนี้เมื่อหายแล้วมักคิดว่าตัวเองเป็นปกติ เมื่อไปมีเพศสัมพันธ์ก็อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อและระบาดขึ้นมาต่อได้ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ จึงต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง และจะมีการตีพิมพ์ลงในวารสารการแพทย์ระดับโลกในอีก 2-3 สัปดาห์นี้
สำหรับการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่การระบาดนั้น สธ.จะต้องเข้มงวดมากขึ้น เพราะพบว่ามีกลุ่มที่ไม่ใช่คนท้องถิ่น เมื่อมีอาการป่วยแล้วพยายามหาทางเดินทางกลับมารักษายังประเทศของตนเอง เพราะมั่นใจในระบบสาธารณสุขในการรักษามากกว่า จึงหาทางเลี่ยงในการถูกกักตัวโดยการอมน้ำแข็ง ล้างหน้า กินยาลดไข้ เพื่อไม่ให้เครื่องเทอร์โมสแกนตรวจจับความร้อนได้
ขณะที่ สภากาชาดไทย แจ้งว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลายังคงน่าเป็นห่วง โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานข้อมูลถึงวันที่ 2 พ.ย. พบมีผู้ป่วยอีโบลา รวม 13,042 ราย เสียชีวิต 4,818 ราย ทางสภากาชาดโลกจึงระดมทุนเพื่อช่วยเหลือโดยตั้งเป้าไว้ที่ 35 ล้านฟรังก์สวิส สำหรับสภากาชาดไทย ได้เปิดบัญชีรับบริจาคชื่อบัญชี "พลังน้ำใจเพื่อหยุดยั้งอีโบลา" ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 468-0-41667-5 ธ.กสิกรไทย สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 623-1-00234-9 และ ธ.กรุงเทพ สาขา รพ.จุฬาลงกรณ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 913-3-50021-6