ASTVผู้จัดการรรายวัน – บอร์ด กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2%ต่อปีด้วยคะแนน 6 เสียง ส่วนอีก 1 เสียงแตกต่างให้ลดดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย เผยโครงการลงทุนรัฐและเศรษฐกิจโลกเพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยมากขึ้น คาดตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่า 1.5% และปีหน้าต่ำกว่า 4.8% เหตุตัวเลขส่งออกไทยดิ่งจาก 0%เป็นติดลบ
นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กนง. เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) ถือเป็นครั้งที่ 7 ของปีนี้ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2%ต่อปี ซึ่งอีก 1 เสียงที่เห็นต่างควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มองว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งกรรมการส่วนใหญ่ พร้อมทั้งกรรมการแสดงความห่วงใยปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั้งโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งยังมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ เหตุผลหลักในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คือ กรรมการมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีหน้า และปัจจุบันการผ่อนปรนนโยบายการเงินไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย สอดคล้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
นอกจากนี้มีแนวโน้มที่จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.5% และ4.8% ตามลำดับ เนื่องจากแนวโน้มส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจไทยมีการชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลกไม่ดีนักก็มีผลต่อการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของส่งออกก็มีความเป็นไปได้ส่งออกไทยต่ำกว่าประมาณการเดิม 0% อย่างไรก็ตาม รอปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเป็นทางการวันที่ 26 ธ.ค.นี้ ในรายงานนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นการประมาณการเศรษฐกิจครั้งสุดท้ายของปีนี้
“บอร์ดกนง.เห็นพ้องกับข้อมูลธปท.นำเสนอว่าเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา แต่ปีหน้าจะขาขึ้นในการฟื้นตัว ซึ่งในแง่นักลงทุนดูว่าเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่คงไม่เท่ากับที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่จนขาดความมั่นใจหรือเห็นสัญญาณเงินทุนไหลออก เพราะดูการฟื้นตัวยังเป็นไปได้เศรษฐกิจโต 4%กว่าในปี 58”
ต่อข้อซักถามที่ว่า มีโอกาสนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่มากนัก เลขานุการบอร์ดกนง. กล่าวว่า ขณะนี้นโยบายการเงินยังพอมีพื้นที่อยู่ แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งบอร์ดกนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะดำเนินนโยบายที่เหมาะสม เพื่อรักษาแรงสนับสนุนที่เพียงพอต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพ
ปัจจัยเสี่ยงน่าห่วงที่สุด คือ การลงทุนภาครัฐ โดยหากสามารถเดินหน้าได้ตามแผนกำหนดไว้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปได้ตามคาดการณ์ไว้ รวมถึงช่วยเรียกความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลายเรื่อง ทำให้ภาคเอกชนกล้าตัดสินใจมากขึ้นและมีแผนชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้การลงทุนรัฐที่ดีขึ้นก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกหรือภาคส่วนอื่นๆ ได้ทั้งหมด เพราะตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวปรับลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม บางช่วงเงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนบ้าง ซึ่งกรรมการไม่ได้กังวลมากนัก แต่ให้ธปท.ติดตามสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายในอนาคต ขณะที่เงินบาทอ่อนค่า สาเหตุหลักเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องเผชิญ และปัจจุบันเงินบาทมีการเคลื่อนไหวสอดคล้องสกุลเงินในภูมิภาค จึงต้องการให้มีการปรับตัวทางตลาดมากกว่า ธปท.จะเข้าไปดูแล.
นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในที่ประชุม กนง. เมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) ถือเป็นครั้งที่ 7 ของปีนี้ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2%ต่อปี ซึ่งอีก 1 เสียงที่เห็นต่างควรลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มองว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย อีกทั้งกรรมการส่วนใหญ่ พร้อมทั้งกรรมการแสดงความห่วงใยปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั้งโครงการลงทุนภาครัฐ ซึ่งยังมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าที่คาดไว้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ เหตุผลหลักในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ คือ กรรมการมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีหน้า และปัจจุบันการผ่อนปรนนโยบายการเงินไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย สอดคล้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว
นอกจากนี้มีแนวโน้มที่จะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.5% และ4.8% ตามลำดับ เนื่องจากแนวโน้มส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจไทยมีการชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลกไม่ดีนักก็มีผลต่อการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของส่งออกก็มีความเป็นไปได้ส่งออกไทยต่ำกว่าประมาณการเดิม 0% อย่างไรก็ตาม รอปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเป็นทางการวันที่ 26 ธ.ค.นี้ ในรายงานนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นการประมาณการเศรษฐกิจครั้งสุดท้ายของปีนี้
“บอร์ดกนง.เห็นพ้องกับข้อมูลธปท.นำเสนอว่าเศรษฐกิจต่ำกว่าที่คาดเล็กน้อยในช่วงที่ผ่านมา แต่ปีหน้าจะขาขึ้นในการฟื้นตัว ซึ่งในแง่นักลงทุนดูว่าเศรษฐกิจยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่คงไม่เท่ากับที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่จนขาดความมั่นใจหรือเห็นสัญญาณเงินทุนไหลออก เพราะดูการฟื้นตัวยังเป็นไปได้เศรษฐกิจโต 4%กว่าในปี 58”
ต่อข้อซักถามที่ว่า มีโอกาสนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่มากนัก เลขานุการบอร์ดกนง. กล่าวว่า ขณะนี้นโยบายการเงินยังพอมีพื้นที่อยู่ แต่ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป ซึ่งบอร์ดกนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะดำเนินนโยบายที่เหมาะสม เพื่อรักษาแรงสนับสนุนที่เพียงพอต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพ
ปัจจัยเสี่ยงน่าห่วงที่สุด คือ การลงทุนภาครัฐ โดยหากสามารถเดินหน้าได้ตามแผนกำหนดไว้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปได้ตามคาดการณ์ไว้ รวมถึงช่วยเรียกความเชื่อมั่นภาคเอกชนหลายเรื่อง ทำให้ภาคเอกชนกล้าตัดสินใจมากขึ้นและมีแผนชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้การลงทุนรัฐที่ดีขึ้นก็ไม่สามารถชดเชยการส่งออกหรือภาคส่วนอื่นๆ ได้ทั้งหมด เพราะตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวปรับลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม บางช่วงเงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผันผวนบ้าง ซึ่งกรรมการไม่ได้กังวลมากนัก แต่ให้ธปท.ติดตามสถานการณ์เงินทุนเคลื่อนย้ายในอนาคต ขณะที่เงินบาทอ่อนค่า สาเหตุหลักเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุล ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องเผชิญ และปัจจุบันเงินบาทมีการเคลื่อนไหวสอดคล้องสกุลเงินในภูมิภาค จึงต้องการให้มีการปรับตัวทางตลาดมากกว่า ธปท.จะเข้าไปดูแล.