นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยถึงการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ว่า ขณะนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้ส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกข้าวทั้งหมดมายังศูนย์อำนวยการต่อต้านทุจริตแห่งชาติแล้ว โดยสัปดาห์หน้า จะนัดประชุมเพื่อแบ่งพื้นที่การตรวจสอบ โดยวางแนวทางให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และป.ป.ท. แยกความรับผิดชอบในการตรวจสอบเป็นรายจังหวัด เน้นลงไปตามสาขาของธ.ก.ส. เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน
ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ จะเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว เนื่องจากที่ผ่านมาพบข้อมูลการขึ้นทะเบียนอันเป็นเท็จ นำเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย หรือปลูกข้าวโพดมาขึ้นทะเบียนชาวนา เพื่อให้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือในโครงการของรัฐ โดยเป็นการใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนที่ยากต่อการตรวจสอบ เพราะข้อมูลเหล่านี้กระจายความรับผิดชอบอยู่ในหลายหน่วยงานที่ไม่เชื่อมต่อกัน หลังจากนี้จึงจำเป็นต้องตรวจสอบ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลเกษตรกรที่ชัดเจนระหว่างชาวนา ชาวไร่ และชาวสวน จากนั้นนำจำนวนที่ดินพร้อมพิกัดที่ตั้งทาบลงไปในระวางภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ โดยผู้ที่ขึ้นทะเบียนเท็จ จะต้องถูกดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด ล่าสุดศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯได้ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจสอบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
แหล่งข่าวจากศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใน จ.อุบลฯ เนื่องจากได้รับแจ้งจากสายข่าวในพื้นที่ว่า มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่นาปลูกข้าวส่อไปในทางผิดปกติ ซึ่งได้รับแจ้งว่าเป็นที่นาเกิดใหม่ จึงประสานให้เกษตรอำเภอ และเกษตรตำบลเข้าไปตรวจสอบแปลงนาทุกพื้นที่ โดยศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯจะลงพื้นที่ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดว่ารัฐบาลมีนโยบายให้ตรวจพื้นที่จริงเพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะไม่ต้องเร่งรัดจ่ายเงินช่วยเหลือจนเกิดปัญหาทุจริต
ที่ผ่านมา พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กำชับให้ศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ ตรวจสอบโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาให้เป็นโครงการนำร่องในการปราบปรามการทุจริตในโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยกลุ่มต่างๆ โดยตั้งเป้าตรวจสอบไปที่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนชาวนา ตามที่ไดรับข้อมูลจากสตง. ว่า มีการทุจริตในขั้นตอนการจดทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยนำเกษตรกรกลุ่มอื่นมาสวมสิทธิเป็นชาวนา จนทำให้จำนวนที่นาตามทะเบียนการจ่ายเงินช่วยเหลือ ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศ
**อ้างตรวจโกงข้าวติดปัญหาดีเอ็นเอ
ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ กล่าวถึงความคืบหน้า การตรวจสอบคุณภาพข้าวว่า แม้การสำรวจปริมาณข้าวคงเหลือเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่ปรากฏว่า ยังติดเรื่องการตรวจดีเอ็นเอข้าว ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำลังเร่งตรวจสอบอยู่
ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว จึงเห็นว่า ยังไม่ควรแถลงผลการตรวจสอบข้าวคงเหลืออย่างเป็นทางการ เพราะผลตรวจด้านปริมาณคงไม่เพียงพอ แต่อยากให้มีการตรวจดีเอ็นเอข้าวเสร็จสมบูรณ์ก่อน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกช่วงหนึ่ง ยังไม่ทราบกรอบเวลาที่แน่นอน เพราะต้องอาศัยความรอบคอบ ถี่ถ้วน และเมื่อผลตรวจดีเอ็นเอออกมาชัดเจน กระทรวงพาณิชย์ จะระบายข้าวออกไปได้อย่างสบายใจ
ม.ล.ปนัดดา กล่าวด้วยว่า ความสำคัญของการตรวจดีเอ็นเอข้าว เพื่อยืนยันว่า ข้าวเหล่านี้มาจากไทย หรือนำมาจากต่างประเทศ ซึ่งฝ่ายที่ดำเนินการตรวจดีเอ็นเอข้าว จะเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่ามีผู้ที่รอฟังผลการตรวจสอบ แต่นายกรัฐมนตรีต้องการให้เกิดความสมบูรณ์ครบถ้วน
เมื่อถามว่า การที่ยังต้องรอผลตรวจสอบส่วนที่เหลืออยู่ จะส่งผลให้การระบายข้าว และการส่งข้าวขายให้กับต่างประเทศยิ่งล่าช้าออกไปอีกหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรี กังวล และได้หารือกันมาก ซึ่งนายกฯ ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการแต่ก็ต้องมีความถูกต้อง รอบคอบด้วย
ทั้งนี้ ศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ จะเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว เนื่องจากที่ผ่านมาพบข้อมูลการขึ้นทะเบียนอันเป็นเท็จ นำเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย หรือปลูกข้าวโพดมาขึ้นทะเบียนชาวนา เพื่อให้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือในโครงการของรัฐ โดยเป็นการใช้สิทธิ์ซ้ำซ้อนที่ยากต่อการตรวจสอบ เพราะข้อมูลเหล่านี้กระจายความรับผิดชอบอยู่ในหลายหน่วยงานที่ไม่เชื่อมต่อกัน หลังจากนี้จึงจำเป็นต้องตรวจสอบ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลเกษตรกรที่ชัดเจนระหว่างชาวนา ชาวไร่ และชาวสวน จากนั้นนำจำนวนที่ดินพร้อมพิกัดที่ตั้งทาบลงไปในระวางภาพถ่ายแผนที่ทางอากาศ โดยผู้ที่ขึ้นทะเบียนเท็จ จะต้องถูกดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด ล่าสุดศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯได้ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ตรวจสอบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
แหล่งข่าวจากศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวใน จ.อุบลฯ เนื่องจากได้รับแจ้งจากสายข่าวในพื้นที่ว่า มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่นาปลูกข้าวส่อไปในทางผิดปกติ ซึ่งได้รับแจ้งว่าเป็นที่นาเกิดใหม่ จึงประสานให้เกษตรอำเภอ และเกษตรตำบลเข้าไปตรวจสอบแปลงนาทุกพื้นที่ โดยศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯจะลงพื้นที่ตรวจสอบซ้ำอีกครั้ง นอกจากนี้ยังได้ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดว่ารัฐบาลมีนโยบายให้ตรวจพื้นที่จริงเพื่อให้เกิดความรอบคอบ เพราะไม่ต้องเร่งรัดจ่ายเงินช่วยเหลือจนเกิดปัญหาทุจริต
ที่ผ่านมา พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กำชับให้ศูนย์ต่อต้านการทุจริตฯ ตรวจสอบโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาให้เป็นโครงการนำร่องในการปราบปรามการทุจริตในโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยกลุ่มต่างๆ โดยตั้งเป้าตรวจสอบไปที่ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนชาวนา ตามที่ไดรับข้อมูลจากสตง. ว่า มีการทุจริตในขั้นตอนการจดทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยนำเกษตรกรกลุ่มอื่นมาสวมสิทธิเป็นชาวนา จนทำให้จำนวนที่นาตามทะเบียนการจ่ายเงินช่วยเหลือ ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ปลูกข้าวของประเทศ
**อ้างตรวจโกงข้าวติดปัญหาดีเอ็นเอ
ด้าน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ กล่าวถึงความคืบหน้า การตรวจสอบคุณภาพข้าวว่า แม้การสำรวจปริมาณข้าวคงเหลือเสร็จสิ้นไปแล้ว แต่ปรากฏว่า ยังติดเรื่องการตรวจดีเอ็นเอข้าว ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำลังเร่งตรวจสอบอยู่
ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว จึงเห็นว่า ยังไม่ควรแถลงผลการตรวจสอบข้าวคงเหลืออย่างเป็นทางการ เพราะผลตรวจด้านปริมาณคงไม่เพียงพอ แต่อยากให้มีการตรวจดีเอ็นเอข้าวเสร็จสมบูรณ์ก่อน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกช่วงหนึ่ง ยังไม่ทราบกรอบเวลาที่แน่นอน เพราะต้องอาศัยความรอบคอบ ถี่ถ้วน และเมื่อผลตรวจดีเอ็นเอออกมาชัดเจน กระทรวงพาณิชย์ จะระบายข้าวออกไปได้อย่างสบายใจ
ม.ล.ปนัดดา กล่าวด้วยว่า ความสำคัญของการตรวจดีเอ็นเอข้าว เพื่อยืนยันว่า ข้าวเหล่านี้มาจากไทย หรือนำมาจากต่างประเทศ ซึ่งฝ่ายที่ดำเนินการตรวจดีเอ็นเอข้าว จะเร่งทำให้เสร็จโดยเร็ว เพราะทราบว่ามีผู้ที่รอฟังผลการตรวจสอบ แต่นายกรัฐมนตรีต้องการให้เกิดความสมบูรณ์ครบถ้วน
เมื่อถามว่า การที่ยังต้องรอผลตรวจสอบส่วนที่เหลืออยู่ จะส่งผลให้การระบายข้าว และการส่งข้าวขายให้กับต่างประเทศยิ่งล่าช้าออกไปอีกหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรี กังวล และได้หารือกันมาก ซึ่งนายกฯ ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการแต่ก็ต้องมีความถูกต้อง รอบคอบด้วย