ASTVผู้จัดการรายวัน - สศค.เผยแม้ระดับหนี้ครัวเรือนยังทรงตัว แต่ยังมีความน่าเป็นห่วงและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รอลุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ไม่เช่นนั้นหนี้ครัวเรือน-หนี้นอกระบบอาจจะขยายตัว เผยออมสิน-ธ.ก.ส.เร่งช่วยเหลือ พร้อมดึงรูปแบบองค์กรชุมชนที่ประสบความสำเร็จมาศึกษา
นายชนะชัย ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบานพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค. ) เปิดเผยว่า แม้ระดับหนี้ครัวเรือนยังทรงตัวในอัตราที่ลดลง แต่ยังมีความน่าเป็นห่วง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหากเศรษฐกิจไม่ดีอย่างที่คาด มีแนวโน้มที่หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบจะขยายตัวขึ้นได้ ซึ่งภาครัฐก็ไม่ได้ต้องการให้คนมีหนี้เพิ่มขึ้น
"บนสมมติฐานจีดีพีปีนี้อยู่ที่ 1.5-2% สศค.ยังคงยึดตามตัวเลขของแบงก์ชาติเป็นมาตรฐานในการติดตามไม่ให้เกิดวิกฤติที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ" นายธนะชัยกล่าว
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ต้องทำให้การเงินภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ล่าสุด กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลัก โดยทีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เตรียมเสนอตั้งคณะกรรมการองค์กรการเงินภาคประชาชน เข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้กำลัง เชิญคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมฯ กรมตำรวจ สถาบันพัฒนาชุมชน สถาบันการเงินชุมชน ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. เข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดการหนี้สินภาคประชาชน โดยจะกำหนดกรอบการทำงานและกระบวนการช่วยเหลือ ซึ่งจะตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือชุดคณะเจรจาประนอมไกล่เกลี่ยหนี้ และคณะฟื้นฟูพัฒนารายได้ของลูกหนี้
คาดว่าจะตั้งคณะกรรมการแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน และจะมีการรายงานผลต่อที่ประชุม ครม. เป็นระยะๆ ทั้งนี้ คสช. มีมติ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามแนวทางของกระทรวงการคลัง ในการดูแลปัญหาหนี้ให้ชุมชนผ่านองค์กรการเงินชุมชนให้เข้มแข็งมีศักยภาพเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้ที่ปลายเหตุ ขณะเดียวกันต้องแก้ไขหนี้ที่ต้นเหตุ. ต้องพัฒนาให้ชุมชนมีความรู้การใช้เงิน รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ได้เริ่มมีกระบวนช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ ด้วยการเปิดเป็นเค้าเตอร์รับคำปรึกษาทุกสาขาตามที่กระทรวงการคลังขอความร่วมมือตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอยู่แล้ว ปัจจุบันช่วยได้เป็นหลักแสนกว่าราย มูลค่ากว่าหลายพันล้านบาท
"ถึงขณะนี้ได้คัดเลือกองค์กรการเงินชุมชนภาคประชาชน 9 แห่ง จากทั้งหมด 40 แห่ง ที่มีข้อมูลครบถ้วนในการดูแลช่วยเหลือและบริหารหนี้สินของชุมชนได้สำเร็จ รวมถึงบทเรียนประสบการณ์มาจัดทำเป็นระบบ ให้องค์กรการเงินชุมชนอื่นใช้เป็นแนวทางแก้ไขหนี้ภาคประชาชน" นายธนะชัยกล่าว.
นายชนะชัย ประยูรสิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบานพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค. ) เปิดเผยว่า แม้ระดับหนี้ครัวเรือนยังทรงตัวในอัตราที่ลดลง แต่ยังมีความน่าเป็นห่วง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหากเศรษฐกิจไม่ดีอย่างที่คาด มีแนวโน้มที่หนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบจะขยายตัวขึ้นได้ ซึ่งภาครัฐก็ไม่ได้ต้องการให้คนมีหนี้เพิ่มขึ้น
"บนสมมติฐานจีดีพีปีนี้อยู่ที่ 1.5-2% สศค.ยังคงยึดตามตัวเลขของแบงก์ชาติเป็นมาตรฐานในการติดตามไม่ให้เกิดวิกฤติที่จะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ" นายธนะชัยกล่าว
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ต้องทำให้การเงินภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง ล่าสุด กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลัก โดยทีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เตรียมเสนอตั้งคณะกรรมการองค์กรการเงินภาคประชาชน เข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้กำลัง เชิญคณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมฯ กรมตำรวจ สถาบันพัฒนาชุมชน สถาบันการเงินชุมชน ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. เข้ามาเป็นคณะกรรมการจัดการหนี้สินภาคประชาชน โดยจะกำหนดกรอบการทำงานและกระบวนการช่วยเหลือ ซึ่งจะตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือชุดคณะเจรจาประนอมไกล่เกลี่ยหนี้ และคณะฟื้นฟูพัฒนารายได้ของลูกหนี้
คาดว่าจะตั้งคณะกรรมการแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน และจะมีการรายงานผลต่อที่ประชุม ครม. เป็นระยะๆ ทั้งนี้ คสช. มีมติ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ตามแนวทางของกระทรวงการคลัง ในการดูแลปัญหาหนี้ให้ชุมชนผ่านองค์กรการเงินชุมชนให้เข้มแข็งมีศักยภาพเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้ที่ปลายเหตุ ขณะเดียวกันต้องแก้ไขหนี้ที่ต้นเหตุ. ต้องพัฒนาให้ชุมชนมีความรู้การใช้เงิน รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ได้เริ่มมีกระบวนช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบ ด้วยการเปิดเป็นเค้าเตอร์รับคำปรึกษาทุกสาขาตามที่กระทรวงการคลังขอความร่วมมือตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาอยู่แล้ว ปัจจุบันช่วยได้เป็นหลักแสนกว่าราย มูลค่ากว่าหลายพันล้านบาท
"ถึงขณะนี้ได้คัดเลือกองค์กรการเงินชุมชนภาคประชาชน 9 แห่ง จากทั้งหมด 40 แห่ง ที่มีข้อมูลครบถ้วนในการดูแลช่วยเหลือและบริหารหนี้สินของชุมชนได้สำเร็จ รวมถึงบทเรียนประสบการณ์มาจัดทำเป็นระบบ ให้องค์กรการเงินชุมชนอื่นใช้เป็นแนวทางแก้ไขหนี้ภาคประชาชน" นายธนะชัยกล่าว.