นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการตามนโยบายของ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งมีนโยบายให้ลดการจัดอบรมพัฒนาครูที่โรงแรม เพราะเห็นว่าไม่เกิดประโยชน์ ทั้งยังสิ้นเปลืองงบประมาณ และยังทำให้ครูต้องทิ้งห้องเรียนด้วยเพื่อไปร่วมอบรมนอกพื้นที่ด้วย โดยให้เปลี่ยนมาจัดอบรมในพื้นที่ ใช้สถานที่ในชุมชน อย่างโรงเรียน หรือวัด เป็นสถานที่จัดอบรมแทน เพราะฉะนั้น สพฐ.จึงได้คิดรูปแบบการอบรมแบบใหม่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานการอบรม (School Base Traning )
“การจับครูไปนั่งอบรมสัมมนาตามโรงแรม เป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล ต้องเป็นการอบรมที่ให้ครูได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย เพราะฉะนั้น ต่อไปจะจัดอบรมที่โรงเรียนเลย โดยใช้ศึกษานิเทศก์เป็นแกนนำในการอบรมให้ความรู้ครูแต่ละวิชา อาจมีการให้ความรู้ทางวิชาการก่อน 1-2 วัน จากนั้นก็ครูทดลองปฏิบัติจริงในห้องเรียนเลย วิธีนี้จะได้ประโยชน์แก่ครู และประหยัดงบประมาณกว่า เพราะไม่ต้องเสียเงินจัดอบรมสัมมนาครูแล้ว แต่ต้องอบรมศึกษานิเทศก์ประมาณ 5,000 คนก่อน เพื่อให้เป็นแกนนำออกไปจัดอบรมครูตามโรงเรียน” นายกมล กล่าว และว่า ในปีงบประมาณ 2558 นั้น สพฐ.ได้เตรียมงบประมาณสำหรับการอบรมครูและบุคคลากรทางการศึกษาไว้ 600-700 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนมาอบรมครูแบบ School Base Traning แล้ว สพฐ. จะเปลี่ยนเป้าหมายการอบรมโดยมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะปัจจุบันผอ.เขตฯส่วนใหญ่มุ่งแต่ทำงานบริหารงบประมาณและบุคลากรมากเกินไป , กลุ่มผอ.โรงเรียน แบ่งเป็น กลุ่มผอ.โรงเรียนมาตรฐานสูง โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนดีศรีตำบล และกลุ่มศึกษานิเทศก์
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าในการยกร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เห็นชอบให้ สพฐ.เดินหน้าปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากใกล้ครบวงรอบที่จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรฯ อีกทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ให้ความเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุง ดังนั้น ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.สัปดาห์ที่ผ่านมา สพฐ.ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งก็ได้ให้ความเห็นชอบและมอบนโยบายให้ดำเนินการได้ทันที เพราะฉะนั้น จากนี้ สพฐ.จะไปกำหนดแผนการทำงานในการปรับหลักสูตรการ คาดว่าจะต้องใช้เวลาทำงานอย่างน้อย 1 ปีเนื่องจากมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้ทำการศึกษาไว้ก่อนหน้านี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ถึง 70-80% เป็นต้น เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ จัดทำคู่มือและทดลองใช้หลักสูตรใหม่ด้วย
“สพฐ.จะตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรกเป็นคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตร มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และชุดที่ 2 คณะกรรมการระดับดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งยังไม่ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการชุดนี้ชัดเจน แต่ได้มอบให้ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ.ไปดูในเรื่องนี้ เบื้องต้น นายสุชาติ เสนอแนวคิดว่าควรจะให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชามาช่วยเสนอแนะและให้ความเห็นด้วย”นายกมล กล่าว
“การจับครูไปนั่งอบรมสัมมนาตามโรงแรม เป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้ผล ต้องเป็นการอบรมที่ให้ครูได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วย เพราะฉะนั้น ต่อไปจะจัดอบรมที่โรงเรียนเลย โดยใช้ศึกษานิเทศก์เป็นแกนนำในการอบรมให้ความรู้ครูแต่ละวิชา อาจมีการให้ความรู้ทางวิชาการก่อน 1-2 วัน จากนั้นก็ครูทดลองปฏิบัติจริงในห้องเรียนเลย วิธีนี้จะได้ประโยชน์แก่ครู และประหยัดงบประมาณกว่า เพราะไม่ต้องเสียเงินจัดอบรมสัมมนาครูแล้ว แต่ต้องอบรมศึกษานิเทศก์ประมาณ 5,000 คนก่อน เพื่อให้เป็นแกนนำออกไปจัดอบรมครูตามโรงเรียน” นายกมล กล่าว และว่า ในปีงบประมาณ 2558 นั้น สพฐ.ได้เตรียมงบประมาณสำหรับการอบรมครูและบุคคลากรทางการศึกษาไว้ 600-700 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนมาอบรมครูแบบ School Base Traning แล้ว สพฐ. จะเปลี่ยนเป้าหมายการอบรมโดยมุ่งเน้นไปที่ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ให้ได้รับการพัฒนาความรู้และการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะปัจจุบันผอ.เขตฯส่วนใหญ่มุ่งแต่ทำงานบริหารงบประมาณและบุคลากรมากเกินไป , กลุ่มผอ.โรงเรียน แบ่งเป็น กลุ่มผอ.โรงเรียนมาตรฐานสูง โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนดีศรีตำบล และกลุ่มศึกษานิเทศก์
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าในการยกร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้เห็นชอบให้ สพฐ.เดินหน้าปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากใกล้ครบวงรอบที่จะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรฯ อีกทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาสาขาวิชาต่าง ๆ ก็ให้ความเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุง ดังนั้น ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.สัปดาห์ที่ผ่านมา สพฐ.ได้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งก็ได้ให้ความเห็นชอบและมอบนโยบายให้ดำเนินการได้ทันที เพราะฉะนั้น จากนี้ สพฐ.จะไปกำหนดแผนการทำงานในการปรับหลักสูตรการ คาดว่าจะต้องใช้เวลาทำงานอย่างน้อย 1 ปีเนื่องจากมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้ทำการศึกษาไว้ก่อนหน้านี้สามารถนำมาปรับใช้ได้ถึง 70-80% เป็นต้น เมื่อทำเสร็จแล้วต้องนำไปขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ จัดทำคู่มือและทดลองใช้หลักสูตรใหม่ด้วย
“สพฐ.จะตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรกเป็นคณะกรรมการอำนวยการพัฒนาหลักสูตร มี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน และชุดที่ 2 คณะกรรมการระดับดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งยังไม่ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการชุดนี้ชัดเจน แต่ได้มอบให้ นายสุชาติ วงศ์สุวรรณ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ.ไปดูในเรื่องนี้ เบื้องต้น นายสุชาติ เสนอแนวคิดว่าควรจะให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชามาช่วยเสนอแนะและให้ความเห็นด้วย”นายกมล กล่าว