ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินได้ฟังมาตลอดเวลานับจากที่ประเทศไทยเริ่มส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศ และในแต่ละปีประเทศไทยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ทุ่มเงินจำนวนไม่น้อยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
แต่ท่านอาจไม่เคยได้ยินได้ฟังว่าการที่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น และประเทศไทยไม่มีศักยภาพเพียงพอในอันที่จะควบคุมธุรกิจท่องเที่ยวให้อยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และประเพณีอันดีงามของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจเรียกได้ว่าการท่องเที่ยวด้อยคุณภาพ ได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมานานัปการ มีตั้งแต่แก๊งต้มตุ๋น ค้ายาเสพติดไปจนถึงอาชญากรรมทางเพศ ซึ่งมีทั้งเป็นผู้ก่อเอง และเป็นเหตุให้ผู้อื่นก่ออาชญากรรมแก่ตนเอง ดังที่เกิดขึ้นรายล่าสุดที่เกาะเต่า
นอกจากปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากนักท่องเที่ยวเอง และนักท่องเที่ยวเป็นเหตุแล้ว ยังมีปัญหาซึ่งมิได้เกิดจากนักท่องเที่ยวโดยตรง แต่สืบเนื่องจากการท่องเที่ยวได้มีการบุกรุกชายหาด ภูเขา เป็นต้น เพื่อก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ต เป็นต้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทำให้ทรัพยากรของประเทศถูกทำลาย และถูกใช้ให้หมดไปอย่างไม่คุ้มค่า และก่อนเวลาอันควร
จากปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยว และองค์กรธุรกิจอันเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวนี้เอง ประเทศไทยจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลบางที่อาจมากกว่ารายได้ ซึ่งเกิดจากการท่องเที่ยวด้วยซ้ำไป เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
จริงอยู่ประเทศไทยยังมีความจำเป็นในการหารายได้เข้าประเทศจากธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การส่งออกลดลง เช่น ในขณะนี้ยังมีความจำเป็น
แต่ไม่ว่าจะมีความจำเป็นขนาดไหน คนไทยจะต้องไม่ลืมว่าถ้าปล่อยให้การท่องเที่ยวก่อปัญหาสังคมเช่นนี้ต่อไป ประเทศไทยจะไม่มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงอย่าว่าแต่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเลย รายจ่ายที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงให้สิ่งที่ถูกทำลายไปกลับคืนมาเหมือนเดิมก็คงจะไม่มี
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลที่กำลังดำเนินการปฏิรูปประเทศอยู่ในขณะนี้ มีความเหมาะสมและน่าจะมีศักยภาพพอที่จะดำเนินการแก้ไข และวางมาตรการป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. กำหนดแนวทางการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวให้ชัดเจน โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นหลัก
2. เพื่อให้สอดคล้องกับข้อ 1 ควรฟื้นฟูประเทศและวัฒนธรรมของชาติเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากเท่าที่จะมากได้
3. ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่บุกรุกพื้นที่สาธารณะ เช่น ชายหาด และภูเขา อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4. ควบคุมและปราบปรามสถานบันเทิงที่มีพฤติกรรมส่อเค้าทำลายวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาติเพื่อเอาใจลูกค้าประเภทสุขนิยม และแสวงหาความสุขจากเนื้อหนัง รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มีการแสดงโชว์ลามกอนาจาร และมีการนำยาเสพติดมาเกี่ยวข้องด้วย
ถึงแม้ว่าในระยะแรกๆ ที่มีการเข้มงวดกวดขัน อาจทำให้มีผลกระทบกับนักท่องเที่ยว และธุรกิจเอกชนบ้าง เนื่องจากนักท่องเที่ยวประเภทสุขนิยมมาเที่ยวเพื่อหาความสุขจาก 3S คือ Sun Sound และ Sex อาจลดลงหรือหมดไป
แต่ในระยะยาวเชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาความสุขจากการเที่ยวชมความงามของธรรมชาติ เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมก็จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการท่องเที่ยวเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพอาจเข้ามาแทนทัวร์แบบสุขนิยมได้ในที่สุด
ถ้าทำได้เช่นนี้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวประเภทสุขนิยมลดลง แต่เมื่อเทียบกับรายจ่ายในการแก้ไขป้องกันปัญหาอันเกิดจากนักท่องเที่ยวโดยรวมแล้ว ก็น่าจะคุ้มกันหรือมีกำไรด้วยซ้ำ
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แสดงเจตนาดีในการปรับปรุงประเทศในหลายๆ ด้าน จะได้ให้ความสำคัญในด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกสักด้าน
แต่ท่านอาจไม่เคยได้ยินได้ฟังว่าการที่นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น และประเทศไทยไม่มีศักยภาพเพียงพอในอันที่จะควบคุมธุรกิจท่องเที่ยวให้อยู่ในกรอบแห่งกฎหมาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และประเพณีอันดีงามของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจเรียกได้ว่าการท่องเที่ยวด้อยคุณภาพ ได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมานานัปการ มีตั้งแต่แก๊งต้มตุ๋น ค้ายาเสพติดไปจนถึงอาชญากรรมทางเพศ ซึ่งมีทั้งเป็นผู้ก่อเอง และเป็นเหตุให้ผู้อื่นก่ออาชญากรรมแก่ตนเอง ดังที่เกิดขึ้นรายล่าสุดที่เกาะเต่า
นอกจากปัญหาอาชญากรรมอันเกิดจากนักท่องเที่ยวเอง และนักท่องเที่ยวเป็นเหตุแล้ว ยังมีปัญหาซึ่งมิได้เกิดจากนักท่องเที่ยวโดยตรง แต่สืบเนื่องจากการท่องเที่ยวได้มีการบุกรุกชายหาด ภูเขา เป็นต้น เพื่อก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ต เป็นต้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทำให้ทรัพยากรของประเทศถูกทำลาย และถูกใช้ให้หมดไปอย่างไม่คุ้มค่า และก่อนเวลาอันควร
จากปัญหาสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยว และองค์กรธุรกิจอันเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวนี้เอง ประเทศไทยจะต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลบางที่อาจมากกว่ารายได้ ซึ่งเกิดจากการท่องเที่ยวด้วยซ้ำไป เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
จริงอยู่ประเทศไทยยังมีความจำเป็นในการหารายได้เข้าประเทศจากธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่การส่งออกลดลง เช่น ในขณะนี้ยังมีความจำเป็น
แต่ไม่ว่าจะมีความจำเป็นขนาดไหน คนไทยจะต้องไม่ลืมว่าถ้าปล่อยให้การท่องเที่ยวก่อปัญหาสังคมเช่นนี้ต่อไป ประเทศไทยจะไม่มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวอีก และเมื่อวันนั้นมาถึงอย่าว่าแต่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเลย รายจ่ายที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงให้สิ่งที่ถูกทำลายไปกลับคืนมาเหมือนเดิมก็คงจะไม่มี
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลที่กำลังดำเนินการปฏิรูปประเทศอยู่ในขณะนี้ มีความเหมาะสมและน่าจะมีศักยภาพพอที่จะดำเนินการแก้ไข และวางมาตรการป้องกันมิให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก ซึ่งสามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. กำหนดแนวทางการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวให้ชัดเจน โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นหลัก
2. เพื่อให้สอดคล้องกับข้อ 1 ควรฟื้นฟูประเทศและวัฒนธรรมของชาติเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากเท่าที่จะมากได้
3. ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่บุกรุกพื้นที่สาธารณะ เช่น ชายหาด และภูเขา อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4. ควบคุมและปราบปรามสถานบันเทิงที่มีพฤติกรรมส่อเค้าทำลายวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาติเพื่อเอาใจลูกค้าประเภทสุขนิยม และแสวงหาความสุขจากเนื้อหนัง รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มีการแสดงโชว์ลามกอนาจาร และมีการนำยาเสพติดมาเกี่ยวข้องด้วย
ถึงแม้ว่าในระยะแรกๆ ที่มีการเข้มงวดกวดขัน อาจทำให้มีผลกระทบกับนักท่องเที่ยว และธุรกิจเอกชนบ้าง เนื่องจากนักท่องเที่ยวประเภทสุขนิยมมาเที่ยวเพื่อหาความสุขจาก 3S คือ Sun Sound และ Sex อาจลดลงหรือหมดไป
แต่ในระยะยาวเชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวประเภทแสวงหาความสุขจากการเที่ยวชมความงามของธรรมชาติ เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมก็จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการท่องเที่ยวเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพอาจเข้ามาแทนทัวร์แบบสุขนิยมได้ในที่สุด
ถ้าทำได้เช่นนี้ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากนักท่องเที่ยวประเภทสุขนิยมลดลง แต่เมื่อเทียบกับรายจ่ายในการแก้ไขป้องกันปัญหาอันเกิดจากนักท่องเที่ยวโดยรวมแล้ว ก็น่าจะคุ้มกันหรือมีกำไรด้วยซ้ำ
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่ารัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แสดงเจตนาดีในการปรับปรุงประเทศในหลายๆ ด้าน จะได้ให้ความสำคัญในด้านการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกสักด้าน