สปช.รายงานตัว 5 วัน 250 คน "พะจุณณ์" หวังสปช.แก้กฎหมาย ทำลายวงจรการฉ้อราษฎร์ บังหลวง เผย"ป๋าเปรม"ไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ "สมบัติ" หวังพรรคการเมืองปลอดนายทุน พร้อมขจัดการซื้อสิทธิ ขายเสียง "คำนูณ"เปิดไทม์ไลน์ปฏิรูป คาดรธน.ฉบับถาวรเสร็จเดือนต.ค.58 เลือกตั้งปี 59 ขณะที่โพลเชื่อว่า สปช.จะนำไปสู่การปฏิรูปราชการ-การเมือง-ศก.-สังคม ดีขึ้น โพลนิด้า สำรวจ มุมมองปชช.ปฏิรูประบบราชการ เผย ส่วนใหญ่ไม่เคยพบปัญหา รองลงมาพบขาดความรับผิดชอบ ส่วนมากค่อนข้างศรัทธาระบบราชการไทย มองภาษีที่ให้ขรก.ปฏิบัติงานคุ้มค่า มั่นใจสปช.ปฏิรูปราชการ เหตุเชื่อมั่นการทำงาน รบ.-คสช.-สปช.
เมื่อวานนี้ ( 12 ต.ค.) ที่อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้เปิดให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้เข้าแสดงตนเป็นวันที่ 5 ที่บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 สำหรับบรรยากาศในช่วงเช้า แม้ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ แต่ก็มีสมาชิก สปช. ทยอยเดินทางเข้ารายงานตัวต่อเนื่อง โดยมี พล.อ.อ.มนัส รูปขจร เดินทางรายงานตัวเป็นคนแรก ในเวลา 08.01 น. ต่อมา นายกิตติ โกสินสกุล นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ นายนิมิต สิทธิไตรย์ นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายไกรราศ แก้วดี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายปรีชา เถาทอง และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักเลขาฯ สรุปตัวเลขจำนวนสปช.ที่รายงานตัวแล้ว186 คน จากสมาชิกทั้งสิ้น 250 คน
** "พะจุณณ์" หวังปฏิรูปขจัดทุจริต
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิกสปช. กล่าวภายหลังรายงานตัวว่า ตนมีความตั้งใจเข้ามาทำงานปฏิรูปด้านกฎหมาย เพื่อทำลายวงจรการฉ้อราษฎร์ บังหลวง ให้มีบทลงโทษที่รวดเร็ว รุนแรง เพื่อสุดท้ายแล้วจะได้ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องบนท้องถนนกันอีก และมองว่าเป็นโอกาสดี ที่จะริเริ่มปฏิรูปประเทศ
ส่วนในฐานะที่เป็นนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ตินสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษนั้น พล.ร.อ.พะจุณณ์ กล่าวว่า ท่านไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เวลาเจอท่าน ก็มักจะคุยเรื่องสุขภาพมากกว่า
ส่วนกรณีการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขึ้นอยู่กับสมาชิกว่าจะส่งบุคคลใดที่เหมาะสม แต่ในส่วนของตนนั้น ยังไม่มีการทาบทาม
** พรรคการเมืองต้องปลอดนายทุน
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสปช. อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวหลังการเข้ารายงานตัวว่า การทำงานของ สปช. ทั้ง 250 คน ควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกฝ่าย เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปเกิดความสำเร็จ โดยตนอยากจะผลักดันแนวทางการปฏิรูปด้านการศึกษา กระบวนการเรียนและการสอน เพื่อยกระดับให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนแนวทางการปฏิรูปทางด้านการเมือง ต้องการทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง เป็นพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง ปลอดจากนายทุน ให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ไม่มีการซื้อเสียงเลือกตั้งในทุกระดับ โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ปัจจุบันพบว่า มีการจ่ายเงินซื้อเสียงในการเลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.- ส.ว. ส่วนการให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ตรงนี้ไม่ใช่แนวความคิดของตน ซึ่งส่วนตัว เสนอแนวคิดป๊อปปูล่าโหวต คือให้ประชาชนเลือกพรรคการเมือง ถ้าพรรคไหนได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาล แล้วให้หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี
นายสมบัติ ยังกล่าวถึง ความสนใจที่จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า อาจจะไม่รับ เนื่องจากกระบวนการที่กำหนดให้ยกร่าง มีเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งมองว่า เวลาสั้นเกินไป ดังนั้นจึงอยากเข้ามาทำงานด้านการปฏิรูปมากกว่า เมื่อถามถึงบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน สปช.มีอยู่ในใจแล้วหรือยัง นายสมบัติ กล่าวว่า ยังไม่มีใครอยู่ในใจ อีกทั้งก็ยังไม่มีใครมาพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกประธาน สปช. แต่เท่าที่เห็นชื่อที่ปรากฏตามสื่อ ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเพื่อนสมาชิกสปช. ว่าจะพิจารณาเลือกบุคคลใดเข้ามาทำหน้าที่สำคัญตรงนี้
**ใช้แนวทางพระราชดำริแก้ไฟใต้
นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ สมาชิกสปช. อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึง การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่ยากและต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการโดยน้อมนำพระราชดำริ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" มาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เป็นการเดินถูกทางแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ คนที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา จะต้องเข้าใจปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง และต้องพยายามสร้างความไว้วางใจเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทั้งไทยพุทธ และไทยมุสลิม ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
ส่วนการพูดคุยสันติภาพนั้น เห็นด้วยกับการพูดคุย แต่ไม่ควรยะระดับเป็นการเจรจา ควรคุยกับคนที่มั่นใจว่ามีอำนาจ และสามารถตกลงใจได้อย่างแท้จริง และควรพูดคุยกันเป็นการภายในให้ตกผลึก จนมีหนทางแก้ไขแล้วค่อยเปิดเผย ดังนั้นไม่ควรส่งบุคคลในระดับนโยบาย ไปเป็นตัวแทนในการพูดคุย
นายขจัดภัย กล่าวว่า ในฐานะที่เคยเป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สิ่งที่ต้องการเข้ามาปฏิรูปคือ อยากจะปฏิรูประบบราชการให้ข้าราชการปลอดจากฝ่ายการเมือง โดยเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เป็นข้าราชการที่มีคุณธรรม สุจริต โปร่งใส ซึ่งที่ผ่านมา มีข้อเสนอในเรื่องการปรับระบบราชการมากมาย แต่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจะต้องร่วมกันคิดเพื่อให้ได้แนวทางแก้ปัญหาในส่วนนี้
**"คำนูณ" เปิดตารางเวลาปฏิรูปฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสปช.ด้านกฎหมาย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว โดยระบุถึงกรอบเวลาในกระบวนการปฏิรูป ว่า นับจากวันที่ 21 ต.ค.57 เป็นต้นไป ประเทศไทย ก็จะขยับขับเคลื่อนไปตามกำหนดเวลา ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะรัฐธรรมนูญ 2557 ถือเอาวันประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก เป็นเสมือนวันเริ่มต้นนับ 1 ของตารางเวลาที่วางเอาไว้ ผมลองคำนวณโดยสังเขป ขั้นตอนจะเป็นอย่างนี้ครับ
21 ต.ค.57 ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
4 พ.ย.57 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 32 วรรคสอง)
21 ธ.ค.57 สภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 31 วรรคสาม)
23 เม.ย.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (มาตรา 34 วรรคแรก)
2 พ.ค.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประชุมเพื่อพิจารณาเสนอแนะ หรือให้ความเห็นแล้วเสร็จ (มาตรา 36 วรรคแรก)
2 มิ.ย.58 ครบกำหนดที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาจขอแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง รัฐธรรมนูญ (มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสาม)
2 ส.ค.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (มาตรา 37 วรรคแรก)
16 ส.ค.58 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ( มาตรา 37 วรรคสอง)
16 ก.ย.58 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ (มาตรา 37 วรรคสาม)
ทั้งนี้ เผื่อคลาดเคลื่อนนิดหน่อย ให้เวลาการส่งเอกสารบ้าง หักลบกับขั้นตอนที่อาจไม่ต้องใช้เต็มพิกัด รวมๆ แล้วหากไม่มีเหตุการณ์พลิกผัน ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญถาวรอีกฉบับหนึ่ง ภายในเดือนต.ค.58
แต่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เมื่อไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่จะกำหนดไว้ และระยะเวลาในการจัดทำ หรือ แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คาดว่าคงจะเป็นปี 2559 โน่น
**เชื่อสปช.ปฏิรูปราชการดีขึ้น
"นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง"มุมมองของประชาชนต่อระบบราชการ และการปฏิรูประบบราชการไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 ต.ค.57 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 1,249 ตัวอย่าง พบว่า
เรื่องปัญหาต่างๆ ของหน่วยงานราชการไทย ที่ประชาชนเคยพบเจอ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.79 ระบุว่า ยังไม่เคยพบเจอปัญหาใดๆ รองลงมา ร้อยละ 29.86 ระบุว่า ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ใส่ใจประชาชน ร้อยละ 20.18 ระบุว่า การทำงานที่ไม่มีคุณภาพ ขาดการพัฒนา ร้อยละ 15.61 ระบุว่า การทำงานไม่โปร่งใส ไม่ซื่อสัตย์และมีการคอร์รัปชัน ร้อยละ 13.45 ระบุว่า ข้าราชการไม่เป็นมิตร ทำตัวเป็นนายประชาชน ร้อยละ 12.89 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรม ใช้ระบบ เส้นสายในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 9.85 ระบุว่า การทำงานที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีการประสานงาน
เมื่อถามถึงความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อระบบราชการไทย พบว่า ร้อยละ 16.33 ระบุว่า มีความศรัทธาต่อระบบราชการไทยมาก ร้อยละ 54.12 ระบุว่า ค่อนข้างมีความศรัทธา ร้อยละ 23.54 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความศรัทธา ร้อยละ 5.13 ระบุว่าไม่มีความศรัทธาต่อระบบราชการไทยเลย และ ร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชน ต่อความสามารถของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในการปฏิรูประบบราชการไทย ร้อยละ 19.77 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 37.63 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 24.98 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 9.61 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 8.01 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจมาก ให้เหตุผลว่า มีความเชื่อมั่นต่อการบริหารของรัฐบาล คสช. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เห็นถึงความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาและปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนพูดจริง ทำจริง และที่ผ่านมามีผลงานและรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ขณะผู้ที่ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจ ถึงไม่มั่นใจเลย ให้เหตุผลว่า ระบบราชการไทยมีโครงสร้างที่ใหญ่ และสลับซับซ้อน และปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ยากเกินกว่าที่จะแก้ไข เช่น การใช้เส้นสาย หรือระบบอุปถัมภ์ การทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ อีกทั้งยังมีการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย หรือกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องของผลประโยชน์ ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการปฏิรูประบบราชการไทย
**โพลชี้การเมือง-ศก.-สังคมดีขึ้น
ด้านสวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็น กรณี"บ้านเมือง ณ วันนี้ในสายตาประชาชน" จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ จำนวน 1,459 คน ระหว่างวันที่ 7-11 ต.ค.57 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง“การเมืองไทย”ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ 87.05% อันดับ 2 ยังคงมีความขัดแย้ง ความแตกต่างทางความคิด 84.24% อันดับ 3 รัฐบาลมีนโยบายในการทำงานที่ชัดเจน ตั้งใจแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ 64.08%
2. เปรียบเทียบ“การเมืองไทย”ณ วันนี้ กับก่อนที่คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1ดีขึ้น 73.54% เพราะ การทะเลาะเบาะแว้งลดน้อยลง ไม่มีการชุมนุมประท้วง การเมืองกำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง อันดับ 2 เหมือนเดิม20.70% เพราะ ไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศ ก็ยังคงมีปัญหา มีความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง5.76%
เพราะ ปัญหาการเมืองฝังรากลึกมานาน ยากที่จะแก้ไข เป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจ ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 ค่อนข้างดีขึ้น แต่ยังเป็นห่วงเรื่องการท่องเที่ยวและการเกษตร 74.02% อันดับ 2 ค่าครองชีพสูง ของกิน ของใช้ ราคาสินค้ายังคงมีราคาแพง 73.75% อันดับ 3 ยังคงมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน 62.85%
4. เปรียบเทียบ“เศรษฐกิจ”ณ วันนี้ กับก่อนที่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1 เหมือนเดิม42.43% เพราะ เศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ยังเหมือนเดิม ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย คนไม่กล้าใช้จ่าย ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้นช 40.16% เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างจริงจัง สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุน ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 17.41% เพราะ ค่าครองชีพสูง ข้าวของแพง ยังมีหนี้สิน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ความเป็นอยู่ลำบาก ฯลฯ
5. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง“สังคมไทย”ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 มีความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น การทะเลาะเบาะแว้งน้อยลง 79.10% อันดับ 2 สภาพสังคมเสื่อมโทรม คนในสังคมขาดจิตสำนึก คุณธรรมจริยธรรมลดลง 71.83% อันดับ 3ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดยังมีอยู่มาก 66.00%
6. เปรียบเทียบ “สังคมไทย”ณ วันนี้ กับก่อนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1ดีขึ้น59.43% เพราะ ประชาชนตระหนัก ตื่นตัว เห็นแก่ส่วนร่วมมากขึ้น หวังเห็นบ้านเมืองก้าวหน้า สงบสุข ฯลฯ อันดับ 2 เหมือนเดิม30.29% เพราะ ปัญหาสังคมยังมีอยู่มาก มีการทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 10.28% เพราะ คนขาดจิตสำนึก คุณธรรมลดลง ห่างไกลศาสนา พฤติกรรมเยาวชนยังน่าเป็นห่วง ฯลฯ.
เมื่อวานนี้ ( 12 ต.ค.) ที่อาคารรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้เปิดให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้เข้าแสดงตนเป็นวันที่ 5 ที่บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 สำหรับบรรยากาศในช่วงเช้า แม้ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ แต่ก็มีสมาชิก สปช. ทยอยเดินทางเข้ารายงานตัวต่อเนื่อง โดยมี พล.อ.อ.มนัส รูปขจร เดินทางรายงานตัวเป็นคนแรก ในเวลา 08.01 น. ต่อมา นายกิตติ โกสินสกุล นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ นายนิมิต สิทธิไตรย์ นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายไกรราศ แก้วดี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นายปรีชา เถาทอง และนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักเลขาฯ สรุปตัวเลขจำนวนสปช.ที่รายงานตัวแล้ว186 คน จากสมาชิกทั้งสิ้น 250 คน
** "พะจุณณ์" หวังปฏิรูปขจัดทุจริต
พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิกสปช. กล่าวภายหลังรายงานตัวว่า ตนมีความตั้งใจเข้ามาทำงานปฏิรูปด้านกฎหมาย เพื่อทำลายวงจรการฉ้อราษฎร์ บังหลวง ให้มีบทลงโทษที่รวดเร็ว รุนแรง เพื่อสุดท้ายแล้วจะได้ไม่ต้องมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องบนท้องถนนกันอีก และมองว่าเป็นโอกาสดี ที่จะริเริ่มปฏิรูปประเทศ
ส่วนในฐานะที่เป็นนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ตินสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษนั้น พล.ร.อ.พะจุณณ์ กล่าวว่า ท่านไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เวลาเจอท่าน ก็มักจะคุยเรื่องสุขภาพมากกว่า
ส่วนกรณีการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขึ้นอยู่กับสมาชิกว่าจะส่งบุคคลใดที่เหมาะสม แต่ในส่วนของตนนั้น ยังไม่มีการทาบทาม
** พรรคการเมืองต้องปลอดนายทุน
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมาชิกสปช. อดีตอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวหลังการเข้ารายงานตัวว่า การทำงานของ สปช. ทั้ง 250 คน ควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกฝ่าย เพื่อให้กระบวนการปฏิรูปเกิดความสำเร็จ โดยตนอยากจะผลักดันแนวทางการปฏิรูปด้านการศึกษา กระบวนการเรียนและการสอน เพื่อยกระดับให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนแนวทางการปฏิรูปทางด้านการเมือง ต้องการทำให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็ง เป็นพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริง ปลอดจากนายทุน ให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ไม่มีการซื้อเสียงเลือกตั้งในทุกระดับ โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ที่ปัจจุบันพบว่า มีการจ่ายเงินซื้อเสียงในการเลือกตั้งในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ส.- ส.ว. ส่วนการให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ตรงนี้ไม่ใช่แนวความคิดของตน ซึ่งส่วนตัว เสนอแนวคิดป๊อปปูล่าโหวต คือให้ประชาชนเลือกพรรคการเมือง ถ้าพรรคไหนได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง ก็สามารถจัดตั้งรัฐบาล แล้วให้หัวหน้าพรรคการเมืองพรรคนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี
นายสมบัติ ยังกล่าวถึง ความสนใจที่จะเข้ามาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่า อาจจะไม่รับ เนื่องจากกระบวนการที่กำหนดให้ยกร่าง มีเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น ซึ่งมองว่า เวลาสั้นเกินไป ดังนั้นจึงอยากเข้ามาทำงานด้านการปฏิรูปมากกว่า เมื่อถามถึงบุคคลที่เหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน สปช.มีอยู่ในใจแล้วหรือยัง นายสมบัติ กล่าวว่า ยังไม่มีใครอยู่ในใจ อีกทั้งก็ยังไม่มีใครมาพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกประธาน สปช. แต่เท่าที่เห็นชื่อที่ปรากฏตามสื่อ ก็เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเพื่อนสมาชิกสปช. ว่าจะพิจารณาเลือกบุคคลใดเข้ามาทำหน้าที่สำคัญตรงนี้
**ใช้แนวทางพระราชดำริแก้ไฟใต้
นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ สมาชิกสปช. อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึง การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ปัญหาภาคใต้เป็นปัญหาที่ยากและต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการโดยน้อมนำพระราชดำริ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" มาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เป็นการเดินถูกทางแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ คนที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหา จะต้องเข้าใจปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง และต้องพยายามสร้างความไว้วางใจเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทั้งไทยพุทธ และไทยมุสลิม ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่
ส่วนการพูดคุยสันติภาพนั้น เห็นด้วยกับการพูดคุย แต่ไม่ควรยะระดับเป็นการเจรจา ควรคุยกับคนที่มั่นใจว่ามีอำนาจ และสามารถตกลงใจได้อย่างแท้จริง และควรพูดคุยกันเป็นการภายในให้ตกผลึก จนมีหนทางแก้ไขแล้วค่อยเปิดเผย ดังนั้นไม่ควรส่งบุคคลในระดับนโยบาย ไปเป็นตัวแทนในการพูดคุย
นายขจัดภัย กล่าวว่า ในฐานะที่เคยเป็นอดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สิ่งที่ต้องการเข้ามาปฏิรูปคือ อยากจะปฏิรูประบบราชการให้ข้าราชการปลอดจากฝ่ายการเมือง โดยเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เป็นข้าราชการที่มีคุณธรรม สุจริต โปร่งใส ซึ่งที่ผ่านมา มีข้อเสนอในเรื่องการปรับระบบราชการมากมาย แต่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ดังนั้นจะต้องร่วมกันคิดเพื่อให้ได้แนวทางแก้ปัญหาในส่วนนี้
**"คำนูณ" เปิดตารางเวลาปฏิรูปฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสปช.ด้านกฎหมาย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ส่วนตัว โดยระบุถึงกรอบเวลาในกระบวนการปฏิรูป ว่า นับจากวันที่ 21 ต.ค.57 เป็นต้นไป ประเทศไทย ก็จะขยับขับเคลื่อนไปตามกำหนดเวลา ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะรัฐธรรมนูญ 2557 ถือเอาวันประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก เป็นเสมือนวันเริ่มต้นนับ 1 ของตารางเวลาที่วางเอาไว้ ผมลองคำนวณโดยสังเขป ขั้นตอนจะเป็นอย่างนี้ครับ
21 ต.ค.57 ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรก
4 พ.ย.57 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 32 วรรคสอง)
21 ธ.ค.57 สภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 31 วรรคสาม)
23 เม.ย.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (มาตรา 34 วรรคแรก)
2 พ.ค.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ ประชุมเพื่อพิจารณาเสนอแนะ หรือให้ความเห็นแล้วเสร็จ (มาตรา 36 วรรคแรก)
2 มิ.ย.58 ครบกำหนดที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อาจขอแก้ไขเพิ่มเติม ร่าง รัฐธรรมนูญ (มาตรา 36 วรรคสอง และวรรคสาม)
2 ส.ค.58 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ (มาตรา 37 วรรคแรก)
16 ส.ค.58 สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ( มาตรา 37 วรรคสอง)
16 ก.ย.58 ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ (มาตรา 37 วรรคสาม)
ทั้งนี้ เผื่อคลาดเคลื่อนนิดหน่อย ให้เวลาการส่งเอกสารบ้าง หักลบกับขั้นตอนที่อาจไม่ต้องใช้เต็มพิกัด รวมๆ แล้วหากไม่มีเหตุการณ์พลิกผัน ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญถาวรอีกฉบับหนึ่ง ภายในเดือนต.ค.58
แต่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เมื่อไร ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่จะกำหนดไว้ และระยะเวลาในการจัดทำ หรือ แก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คาดว่าคงจะเป็นปี 2559 โน่น
**เชื่อสปช.ปฏิรูปราชการดีขึ้น
"นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง"มุมมองของประชาชนต่อระบบราชการ และการปฏิรูประบบราชการไทย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 ต.ค.57 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 1,249 ตัวอย่าง พบว่า
เรื่องปัญหาต่างๆ ของหน่วยงานราชการไทย ที่ประชาชนเคยพบเจอ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 41.79 ระบุว่า ยังไม่เคยพบเจอปัญหาใดๆ รองลงมา ร้อยละ 29.86 ระบุว่า ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่ใส่ใจประชาชน ร้อยละ 20.18 ระบุว่า การทำงานที่ไม่มีคุณภาพ ขาดการพัฒนา ร้อยละ 15.61 ระบุว่า การทำงานไม่โปร่งใส ไม่ซื่อสัตย์และมีการคอร์รัปชัน ร้อยละ 13.45 ระบุว่า ข้าราชการไม่เป็นมิตร ทำตัวเป็นนายประชาชน ร้อยละ 12.89 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรม ใช้ระบบ เส้นสายในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 9.85 ระบุว่า การทำงานที่ไม่เป็นระบบ ไม่มีการประสานงาน
เมื่อถามถึงความศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อระบบราชการไทย พบว่า ร้อยละ 16.33 ระบุว่า มีความศรัทธาต่อระบบราชการไทยมาก ร้อยละ 54.12 ระบุว่า ค่อนข้างมีความศรัทธา ร้อยละ 23.54 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความศรัทธา ร้อยละ 5.13 ระบุว่าไม่มีความศรัทธาต่อระบบราชการไทยเลย และ ร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชน ต่อความสามารถของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในการปฏิรูประบบราชการไทย ร้อยละ 19.77 ระบุว่า มั่นใจมาก ร้อยละ 37.63 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 24.98 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 9.61 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 8.01 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจถึงมั่นใจมาก ให้เหตุผลว่า มีความเชื่อมั่นต่อการบริหารของรัฐบาล คสช. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เห็นถึงความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาและปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนพูดจริง ทำจริง และที่ผ่านมามีผลงานและรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ขณะผู้ที่ระบุว่าไม่ค่อยมั่นใจ ถึงไม่มั่นใจเลย ให้เหตุผลว่า ระบบราชการไทยมีโครงสร้างที่ใหญ่ และสลับซับซ้อน และปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ยากเกินกว่าที่จะแก้ไข เช่น การใช้เส้นสาย หรือระบบอุปถัมภ์ การทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ อีกทั้งยังมีการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย หรือกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องของผลประโยชน์ ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการปฏิรูประบบราชการไทย
**โพลชี้การเมือง-ศก.-สังคมดีขึ้น
ด้านสวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็น กรณี"บ้านเมือง ณ วันนี้ในสายตาประชาชน" จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ จำนวน 1,459 คน ระหว่างวันที่ 7-11 ต.ค.57 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง“การเมืองไทย”ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ 87.05% อันดับ 2 ยังคงมีความขัดแย้ง ความแตกต่างทางความคิด 84.24% อันดับ 3 รัฐบาลมีนโยบายในการทำงานที่ชัดเจน ตั้งใจแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ 64.08%
2. เปรียบเทียบ“การเมืองไทย”ณ วันนี้ กับก่อนที่คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1ดีขึ้น 73.54% เพราะ การทะเลาะเบาะแว้งลดน้อยลง ไม่มีการชุมนุมประท้วง การเมืองกำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง อันดับ 2 เหมือนเดิม20.70% เพราะ ไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารประเทศ ก็ยังคงมีปัญหา มีความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง5.76%
เพราะ ปัญหาการเมืองฝังรากลึกมานาน ยากที่จะแก้ไข เป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ฯลฯ
3. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจ ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 ค่อนข้างดีขึ้น แต่ยังเป็นห่วงเรื่องการท่องเที่ยวและการเกษตร 74.02% อันดับ 2 ค่าครองชีพสูง ของกิน ของใช้ ราคาสินค้ายังคงมีราคาแพง 73.75% อันดับ 3 ยังคงมีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน 62.85%
4. เปรียบเทียบ“เศรษฐกิจ”ณ วันนี้ กับก่อนที่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1 เหมือนเดิม42.43% เพราะ เศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ยังเหมือนเดิม ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย คนไม่กล้าใช้จ่าย ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้นช 40.16% เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างจริงจัง สร้างความเชื่อมั่นด้านการค้าการลงทุน ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 17.41% เพราะ ค่าครองชีพสูง ข้าวของแพง ยังมีหนี้สิน รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ความเป็นอยู่ลำบาก ฯลฯ
5. ประชาชนคิดว่าสถานการณ์ทาง“สังคมไทย”ณ วันนี้ เป็นอย่างไร อันดับ 1 มีความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น การทะเลาะเบาะแว้งน้อยลง 79.10% อันดับ 2 สภาพสังคมเสื่อมโทรม คนในสังคมขาดจิตสำนึก คุณธรรมจริยธรรมลดลง 71.83% อันดับ 3ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดยังมีอยู่มาก 66.00%
6. เปรียบเทียบ “สังคมไทย”ณ วันนี้ กับก่อนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเป็นอย่างไร อันดับ 1ดีขึ้น59.43% เพราะ ประชาชนตระหนัก ตื่นตัว เห็นแก่ส่วนร่วมมากขึ้น หวังเห็นบ้านเมืองก้าวหน้า สงบสุข ฯลฯ อันดับ 2 เหมือนเดิม30.29% เพราะ ปัญหาสังคมยังมีอยู่มาก มีการทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้ง แบ่งพรรคแบ่งพวก ฯลฯ อันดับ 3 แย่ลง 10.28% เพราะ คนขาดจิตสำนึก คุณธรรมลดลง ห่างไกลศาสนา พฤติกรรมเยาวชนยังน่าเป็นห่วง ฯลฯ.