**เสียงเชียร์ของไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตแกนนำ 40 ส.ว.สมัยที่แล้ว จากเดิมที่เชียร์ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน สปช. ตั้งแต่วันแรกที่มีการโปรดเกล้าฯ สปช. ลดโทนลงมาแค่เชียร์ให้นั่ง รองประธาน สปช. มีนัยยะที่ชวนให้น่าติดตามแกะรอยยิ่ง
เพราะสอดคล้องกับกระแสข่าวลือช่วงปลายสัปดาห์ว่า เวลานี้ สปช.หลายคน ส่องชื่อดูพวกเดียวกันเองใน 250 สปช.แล้ว ก็เห็นว่าตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ น้ำหนักเริ่มเทไปที่ “ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์” อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น สปช.ด้านอื่นๆ โดยศูนย์คุณธรรม ให้เป็นเต็งหนึ่ง
จนทำให้ชื่อที่พูดถึงกันมาก่อนหน้านี้ อย่าง ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ –ชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาฯ เริ่มแผ่วปลายกันหมดแล้วทั้งสองคน อีกทั้งตัวเลือกอื่นๆ นอกจากนี้ ก็ยังไม่มีใครโดดเด่นพอจะมาเบียด อดีตอธิการบดีจุฬาฯ ได้
แถมสอดรับกับกระแสข่าวลือในหมู่ สปช.บางคนว่า เวลานี้ เริ่มมีการต่อสายพูดคุยกันเองของ สปช.บางส่วนแล้วว่า ใครเหมาะสมจะเป็นประธาน สปช. ซึ่งก็พบว่าในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีชื่อไหนถูกพูดถึงแล้วมีความโดดเด่นเท่ากับ เทียนฉาย แม้จะมี สปช.บางคน แม้แต่พวกสายนักวิชาการหรืออดีตคนจุฬาฯ บอกว่าชื่อ เทียนฉาย ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ก็ยอมรับกันว่า ก็ยังมองไม่เห็นชื่ออื่น ที่โดดเด่นมาเบียดกับ เทียนฉาย ได้เพียงพอ
ทำให้ชื่อ เทียนฉาย จนถึงปลายสัปดาห์ ยังเต็งหนึ่งอยู่ และหากจนถึงช่วงประมาณวันที่ 16-19 ต.ค. ไม่มีชื่ออื่นโดดเด่นพอ ก็น่าจะทำให้ เทียนฉาย อาจได้ลุ้นเป็นประธาน สปช. แบบหาคู่แข่งยาก คือคู่แข่ง มีแน่ แต่ว่าต้องเป็นชื่อที่พอเปิดมาแล้ว กระแสสังคมเอาด้วย ซึ่งจนถึงเวลานี้ ก็ยังไร้ชื่อคู่ชิงที่สมน้ำสมเนื้อพอ
**และไม่แน่ สุดท้าย หากกองหนุน ชัยอนันต์ ไม่ล่าถอยไปเสียก่อน การโหวตเลือกประธานสปช. ก็คงเป็นสองคนนี้คือ เทียนฉาย-ชัยอนันต์
อาจเพราะจับกระแสความเคลื่อนไหวอะไรบางอย่างได้ หรืออาจรู้ข่าววงในอะไรบางอย่าง จึงทำให้ ไพบูลย์ นิติตะวัน เลยต้องเปลี่ยนจากหนุน บวรศักดิ์ เป็นประธานสปช. มาเหลือแค่หนุนให้เป็นรองประธานสปช. สอดรับกับข่าวลือว่า บวรศักดิ์ มีลุ้นได้นั่งควบ ทั้งรองประธาน สปช. และประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร
โดยข่าวตามสื่อบางกระแสบอกว่า บวรศักดิ์ จะเป็นรองประธานสปช. คนที่หนึ่ง คือแม้อายุจะน้อยกว่า เทียนฉาย แต่ความที่เป็นอดีตอาจารย์ นิติศาสตร์ จุฬาฯ มาก่อนจึงรู้จักกับเทียนฉาย อดีตอธิการบดีจุฬาฯดี ตัว บวรศักดิ์ หากได้เป็นรองประธานสปช. ก็จะมาช่วยทำหน้าที่เป็นคล้ายๆ พี่เลี้ยงให้กับ เทียนฉาย ในเวทีสปช. เนื่องเพราะมีประสบการณ์การเมืองอะไรต่างๆ พอสมควร เช่น อดีตกรรมาธิการยกร่างรธน. ปี 40 –อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ช่วงปลายๆ ก่อนโดนรัฐประหาร –อดีต สนช. ปี 49 รวมถึงความช่ำชองด้านกฎหมาย จึงน่าจะแท็กทีมกับ ดร.เทียนฉาย ได้
ส่วนเก้าอี้ รองประธาน สปช. คนที่ 2 จะเป็นผู้หญิง ซึ่งจะทำให้ภาพสภาปฏิรูปฯ ออกมาค่อนข้างดูดี ตอนนี้ สื่อรายงานว่า แคนดิเดต ก็คือ ดร.ทัศนา บุญทอง ที่ดีกรีการศึกษา-การทำงานไม่ธรรมดา รวมถึงประสบการณ์การทำงานการเมืองด้วย เช่น เคยเป็น อดีต ส.ว.สรรหา ยุคแรก และยังเป็น อดีตรองประธานวุฒิสภาด้วย โดยเข้ามาเป็นสปช. ด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
สามชื่อนี้ แม้อาจมีพลิกผันได้ เพราะยังเหลือเวลาอีกหลายวัน กว่าจะถึงวันโหวตเลือกประธาน-รองประธานสปช. คือวันที่ 21 ต.ค.โน่นเลย ซึ่งกว่าจะไปถึงตอนนั้น อาจมีความเคลื่อนไหวบางอย่างทำให้ ชื่อตัวเต็งเปลี่ยน แต่ถึงชั่วโมงนี้ สามคนนี้ เทียนฉาย-บวรศักดิ์-ทัศนา มาแรงในช่วงออกออกสตาร์ท ของสปช. แต่จะประคองกระแสและเสียงหนุนไปจนถึงวันโหวตได้หรือไม่ ไม่กล้าฟันธง เพราะแนวโน้มอาจมี ม้าตีนปลาย โผล่มาแน่นอน เพราะข่าวก็บอกมาอีกกระแสว่า มี สปช.บางคนที่อยู่ในสายภาคประชาสังคม–เอ็นจีโอ ก็ซุ่มเช็กกระแสอยู่ อาจรอเปิดตัวขอเป็นประธาน-รองประธาน สปช.ด้วยเหมือนกัน แต่ข่าวบอกว่า สปช. ซีกดังกล่าว ขอรอดูอีกสัก 4-5 วัน คาดว่า หลัง 15 ต.ค. ที่เป็นวันสุดท้ายในการ รายงานตัวของสปช. ที่รัฐสภา ก็จะได้รู้แน่ว่า ใครบ้างจะลงชิงสมัครเป็นปธ.-รองปธ. สปช.
ทั้งนี้ ต้องยอมรับกันว่า หลังมี สปช.เกิดขึ้น และกำลังจะมี กรรมาธิการยกร่างรธน. ชื่อของ "บวรศักดิ์”ค่อนข้างโดดเด่นทีเดียว หาก บวรศักดิ์ ได้เป็นรองประธาน สปช.จริง แล้วควบประธาน กมธ.ยกร่างรธน. ถือว่าไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะถือว่ามีตำแหน่งใหญ่ในทางการเมืองเลยทีเดียว หลังเตรียมอำลาตำแหน่งเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เพราะครบวาระในช่วงกลางเดือนนี้
**จึงทำให้ มีการพูดกันถึง ขุมข่าย บวรศักดิ์ ที่อยู่ในเครือข่าย สถาบันพระปกเกล้า หรือพระปกเกล้าคอนเน็กชั่น สถาบันทางวิชาการที่อยู่กับทางรัฐสภา กันมากในช่วงนี้ หลังพบว่า ผู้บริหารของสถาบันหลายคน กำลังมีบทบาทอย่างมากทั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และใน สปช.
เมื่อไปดูรายชื่อ คณะผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องยอมรับกันเลยว่า เป็นเรื่องจริง อย่างในรายชื่อ สปช. นอกจาก บวรศักดิ์ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าแล้ว ระดับผู้บริหารของสถาบัน ก็มีชื่อเป็น สปช. กันด้วย เช่น วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า –ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา –พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาล
ส่วนกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ก็มีชื่อ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และมือกฎหมายสำคัญของรัฐบาลและ คสช.- นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่าง รธน.ปี 50 ตอนนี้ก็เป็น สนช. –วรากรณ์ สามโกเศศ ก่อนหน้านี้ก็ไปเป็นกรรมการสรรหา สปช. ด้านการศึกษา- สมชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สถาบันพระปกเกล้า ล่าสุดก็มีชื่อได้เป็น สปช. โดยเขาก็คือน้องชาย มีชัย ฤชุพันธ์ หนึ่งในบอร์ด คสช.
ขณะที่ คณะกรรมการบริหารสถาบันพระปกเกล้า ที่มี พินิจ จารุสมบัติ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ก็พบว่า นางพรรณี จารุสมบัติ อดีตนักการเมืองพรรคเพื่อแผ่นดิน น้องสาวของพินิจ จารุสมบัติ ก็ได้รับเลือกเป็น สปช. ด้านอื่นๆ นอกจากนี้ นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย กรรมการบริหารสถาบัน คนสนิท วิษณุ เครืองาม ตอนนี้ก็เป็น สนช. อีกสมัยหลังเคยเป็นมาแล้วตอนปี 49
แต่ที่มีชื่ออยู่ในบอร์ดชุดต่างๆ ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสปช.แล้ว วืดไม่ได้เป็น ก็มีเหมือนกัน เช่น ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ที่ล่าสุดออกมาโยนระเบิดใส่กลุ่มเนติบริกร ที่ทำงานให้คสช. อย่างรุนแรง จากเรื่อง สปช.นั่นเอง
แถมมีข่าวว่า ดร.เทียนฉาย ก็มีที่ทางในสถาบันพระปกเกล้าเช่นกัน คือ เป็นประธานหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า
**ขุมข่าย “บวรศักดิ์” ในสปช. –สนช. รวมถึงในรัฐบาลและคสช. ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง จึงไม่ต้องแปลกใจที่ คสช.ล็อกชื่อให้เป็นประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามข่าวที่มีมาตลอด
เพราะสอดคล้องกับกระแสข่าวลือช่วงปลายสัปดาห์ว่า เวลานี้ สปช.หลายคน ส่องชื่อดูพวกเดียวกันเองใน 250 สปช.แล้ว ก็เห็นว่าตัวเลือกที่ดีที่สุดในเวลานี้ น้ำหนักเริ่มเทไปที่ “ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์” อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น สปช.ด้านอื่นๆ โดยศูนย์คุณธรรม ให้เป็นเต็งหนึ่ง
จนทำให้ชื่อที่พูดถึงกันมาก่อนหน้านี้ อย่าง ชัยอนันต์ สมุทวณิช อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ –ชัย ชิดชอบ อดีตประธานสภาฯ เริ่มแผ่วปลายกันหมดแล้วทั้งสองคน อีกทั้งตัวเลือกอื่นๆ นอกจากนี้ ก็ยังไม่มีใครโดดเด่นพอจะมาเบียด อดีตอธิการบดีจุฬาฯ ได้
แถมสอดรับกับกระแสข่าวลือในหมู่ สปช.บางคนว่า เวลานี้ เริ่มมีการต่อสายพูดคุยกันเองของ สปช.บางส่วนแล้วว่า ใครเหมาะสมจะเป็นประธาน สปช. ซึ่งก็พบว่าในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีชื่อไหนถูกพูดถึงแล้วมีความโดดเด่นเท่ากับ เทียนฉาย แม้จะมี สปช.บางคน แม้แต่พวกสายนักวิชาการหรืออดีตคนจุฬาฯ บอกว่าชื่อ เทียนฉาย ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ก็ยอมรับกันว่า ก็ยังมองไม่เห็นชื่ออื่น ที่โดดเด่นมาเบียดกับ เทียนฉาย ได้เพียงพอ
ทำให้ชื่อ เทียนฉาย จนถึงปลายสัปดาห์ ยังเต็งหนึ่งอยู่ และหากจนถึงช่วงประมาณวันที่ 16-19 ต.ค. ไม่มีชื่ออื่นโดดเด่นพอ ก็น่าจะทำให้ เทียนฉาย อาจได้ลุ้นเป็นประธาน สปช. แบบหาคู่แข่งยาก คือคู่แข่ง มีแน่ แต่ว่าต้องเป็นชื่อที่พอเปิดมาแล้ว กระแสสังคมเอาด้วย ซึ่งจนถึงเวลานี้ ก็ยังไร้ชื่อคู่ชิงที่สมน้ำสมเนื้อพอ
**และไม่แน่ สุดท้าย หากกองหนุน ชัยอนันต์ ไม่ล่าถอยไปเสียก่อน การโหวตเลือกประธานสปช. ก็คงเป็นสองคนนี้คือ เทียนฉาย-ชัยอนันต์
อาจเพราะจับกระแสความเคลื่อนไหวอะไรบางอย่างได้ หรืออาจรู้ข่าววงในอะไรบางอย่าง จึงทำให้ ไพบูลย์ นิติตะวัน เลยต้องเปลี่ยนจากหนุน บวรศักดิ์ เป็นประธานสปช. มาเหลือแค่หนุนให้เป็นรองประธานสปช. สอดรับกับข่าวลือว่า บวรศักดิ์ มีลุ้นได้นั่งควบ ทั้งรองประธาน สปช. และประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวร
โดยข่าวตามสื่อบางกระแสบอกว่า บวรศักดิ์ จะเป็นรองประธานสปช. คนที่หนึ่ง คือแม้อายุจะน้อยกว่า เทียนฉาย แต่ความที่เป็นอดีตอาจารย์ นิติศาสตร์ จุฬาฯ มาก่อนจึงรู้จักกับเทียนฉาย อดีตอธิการบดีจุฬาฯดี ตัว บวรศักดิ์ หากได้เป็นรองประธานสปช. ก็จะมาช่วยทำหน้าที่เป็นคล้ายๆ พี่เลี้ยงให้กับ เทียนฉาย ในเวทีสปช. เนื่องเพราะมีประสบการณ์การเมืองอะไรต่างๆ พอสมควร เช่น อดีตกรรมาธิการยกร่างรธน. ปี 40 –อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ช่วงปลายๆ ก่อนโดนรัฐประหาร –อดีต สนช. ปี 49 รวมถึงความช่ำชองด้านกฎหมาย จึงน่าจะแท็กทีมกับ ดร.เทียนฉาย ได้
ส่วนเก้าอี้ รองประธาน สปช. คนที่ 2 จะเป็นผู้หญิง ซึ่งจะทำให้ภาพสภาปฏิรูปฯ ออกมาค่อนข้างดูดี ตอนนี้ สื่อรายงานว่า แคนดิเดต ก็คือ ดร.ทัศนา บุญทอง ที่ดีกรีการศึกษา-การทำงานไม่ธรรมดา รวมถึงประสบการณ์การทำงานการเมืองด้วย เช่น เคยเป็น อดีต ส.ว.สรรหา ยุคแรก และยังเป็น อดีตรองประธานวุฒิสภาด้วย โดยเข้ามาเป็นสปช. ด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
สามชื่อนี้ แม้อาจมีพลิกผันได้ เพราะยังเหลือเวลาอีกหลายวัน กว่าจะถึงวันโหวตเลือกประธาน-รองประธานสปช. คือวันที่ 21 ต.ค.โน่นเลย ซึ่งกว่าจะไปถึงตอนนั้น อาจมีความเคลื่อนไหวบางอย่างทำให้ ชื่อตัวเต็งเปลี่ยน แต่ถึงชั่วโมงนี้ สามคนนี้ เทียนฉาย-บวรศักดิ์-ทัศนา มาแรงในช่วงออกออกสตาร์ท ของสปช. แต่จะประคองกระแสและเสียงหนุนไปจนถึงวันโหวตได้หรือไม่ ไม่กล้าฟันธง เพราะแนวโน้มอาจมี ม้าตีนปลาย โผล่มาแน่นอน เพราะข่าวก็บอกมาอีกกระแสว่า มี สปช.บางคนที่อยู่ในสายภาคประชาสังคม–เอ็นจีโอ ก็ซุ่มเช็กกระแสอยู่ อาจรอเปิดตัวขอเป็นประธาน-รองประธาน สปช.ด้วยเหมือนกัน แต่ข่าวบอกว่า สปช. ซีกดังกล่าว ขอรอดูอีกสัก 4-5 วัน คาดว่า หลัง 15 ต.ค. ที่เป็นวันสุดท้ายในการ รายงานตัวของสปช. ที่รัฐสภา ก็จะได้รู้แน่ว่า ใครบ้างจะลงชิงสมัครเป็นปธ.-รองปธ. สปช.
ทั้งนี้ ต้องยอมรับกันว่า หลังมี สปช.เกิดขึ้น และกำลังจะมี กรรมาธิการยกร่างรธน. ชื่อของ "บวรศักดิ์”ค่อนข้างโดดเด่นทีเดียว หาก บวรศักดิ์ ได้เป็นรองประธาน สปช.จริง แล้วควบประธาน กมธ.ยกร่างรธน. ถือว่าไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะถือว่ามีตำแหน่งใหญ่ในทางการเมืองเลยทีเดียว หลังเตรียมอำลาตำแหน่งเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เพราะครบวาระในช่วงกลางเดือนนี้
**จึงทำให้ มีการพูดกันถึง ขุมข่าย บวรศักดิ์ ที่อยู่ในเครือข่าย สถาบันพระปกเกล้า หรือพระปกเกล้าคอนเน็กชั่น สถาบันทางวิชาการที่อยู่กับทางรัฐสภา กันมากในช่วงนี้ หลังพบว่า ผู้บริหารของสถาบันหลายคน กำลังมีบทบาทอย่างมากทั้งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และใน สปช.
เมื่อไปดูรายชื่อ คณะผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องยอมรับกันเลยว่า เป็นเรื่องจริง อย่างในรายชื่อ สปช. นอกจาก บวรศักดิ์ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าแล้ว ระดับผู้บริหารของสถาบัน ก็มีชื่อเป็น สปช. กันด้วย เช่น วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า –ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา –พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาล
ส่วนกรรมการสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่กรรมการโดยตำแหน่ง ก็มีชื่อ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ และมือกฎหมายสำคัญของรัฐบาลและ คสช.- นรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่าง รธน.ปี 50 ตอนนี้ก็เป็น สนช. –วรากรณ์ สามโกเศศ ก่อนหน้านี้ก็ไปเป็นกรรมการสรรหา สปช. ด้านการศึกษา- สมชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นทั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สถาบันพระปกเกล้า ล่าสุดก็มีชื่อได้เป็น สปช. โดยเขาก็คือน้องชาย มีชัย ฤชุพันธ์ หนึ่งในบอร์ด คสช.
ขณะที่ คณะกรรมการบริหารสถาบันพระปกเกล้า ที่มี พินิจ จารุสมบัติ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ ก็พบว่า นางพรรณี จารุสมบัติ อดีตนักการเมืองพรรคเพื่อแผ่นดิน น้องสาวของพินิจ จารุสมบัติ ก็ได้รับเลือกเป็น สปช. ด้านอื่นๆ นอกจากนี้ นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย กรรมการบริหารสถาบัน คนสนิท วิษณุ เครืองาม ตอนนี้ก็เป็น สนช. อีกสมัยหลังเคยเป็นมาแล้วตอนปี 49
แต่ที่มีชื่ออยู่ในบอร์ดชุดต่างๆ ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสปช.แล้ว วืดไม่ได้เป็น ก็มีเหมือนกัน เช่น ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง ที่ล่าสุดออกมาโยนระเบิดใส่กลุ่มเนติบริกร ที่ทำงานให้คสช. อย่างรุนแรง จากเรื่อง สปช.นั่นเอง
แถมมีข่าวว่า ดร.เทียนฉาย ก็มีที่ทางในสถาบันพระปกเกล้าเช่นกัน คือ เป็นประธานหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า
**ขุมข่าย “บวรศักดิ์” ในสปช. –สนช. รวมถึงในรัฐบาลและคสช. ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง จึงไม่ต้องแปลกใจที่ คสช.ล็อกชื่อให้เป็นประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ตามข่าวที่มีมาตลอด