ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์ข้อมูลฯ ระบุอสังหาฯครึ่งปีหลังไม่โตตามคาด ฉุดตลาดทั้งปีไปไม่ถึงฝัน คอนโดฯติดลบ 10% บ้านแนวราบโต 5% ไตรมาสสุดท้ายผู้ประกอบการแข่งอัดแคมเปญหวังยอดขายกระเตื้อง เชื่อผ่าปีนี้ตลาดโตต่อเนื่องจากปัจจัยบวก ลงทุนภาครัฐ เปิดเออีซี
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมทั้งปีจะไม่เติบโตมากนัก กล่าวคือ ตลาดบ้านแนวราบแม้ที่ผ่านมาตลาดจะไม่ได้โตอย่างหวือหวาเช่นเดียวกับตลาดคอนโดมิเนียม แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ปรับตัวลดลงมากเช่นคอนโดมิเนียม ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะเติบโตประมาณ 5% ส่วนคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีสต๊อกคงเหลือในตลาดจำนวนมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทำให้ตลาดโตติดลบไม่น้อยกว่า 10% หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10,000 ยูนิต
ทั้งนี้ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงหลังการเมืองสงบในเดือนมิถุนายนยอดขายปรับตัวดีขึ้นกว่า 40-50% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นในช่วงไตรมาส 3 ตลาดได้ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวมากตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ โดยตัวเลข GDP เติบโตเพียง 1.7-1.8% เท่านั้นจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 2%
เมื่อภาวะเศรษฐกิจเติบโตเพียงเล็กน้อย ส่วนภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวก็เช่นเดียวกัน ประกอบกับการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐไม่ได้มีมาก ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจึงไม่ฟื้นตัวขึ้นตาม ในส่วนของผู้ประกอบการก็เช่นกัน รวมถึงผู้ประกอบการที่ชะลอแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป หลังภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวตามความคาดหมาย ประกอบกับหลายโครงการติดปัญหาการพิจารณา EIA ล่าช้า ผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดขายโครงการใหม่ หรือก่อสร้างโครงการได้ตามแผนที่กำหนด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ๆ ให้เลื่อนเปิดขายออกไป
แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคณะกรรมการ EIA ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยเร่งอนุมัติโครงการที่ได้ยื่นขอ EIA อยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ล่าสุดมีผู้ประกอบการแจ้งว่าได้รับการอนุมัติภายใน 1-2 สัปดาห์เท่านั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้โครงการที่อยู่อาศัยที่ค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณามากกว่า 100 โครงการของคณะกรรมการ EIA จะพิจารณาออกมาเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้การเปิดตัวโครงการใหม่ทำได้เร็วขึ้น
“ตัวชีวัดว่าอีกอย่างคือดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ พบว่า ปรับในช่วงไตรมาส 3/57 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการปรับลดลงเหลือ 54.5 จาก 56.0 ในช่วงไตรมาส 2/57 สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการคาดหวังว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้น” นายสัมมา กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 4 แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นฤดูขายที่อยู่อาศัย นอกจากนี้การที่ในช่วงต้นปีตลาดชะลอตัว ทำให้ยอดขายของหลายบริษัทไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกโปรโมชั่นแรงๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมไปถึงสถาบันการเงินที่ต้องการเพิ่มยอดปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
นายสัมมากล่าวต่อว่า หลังจากผ่านพ้นปีนี้ไปแล้วตลาดอสังหาริมทรัพย์จะโตได้ดีต่อไป โดยปริมณฑลจะยังสามารถเติบโตได้ตามการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ซึ่งหากแผนการขยาย 10 เส้นทางรถไฟฟ้าภายใน 10 ปี จะตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายไปยังชานเมืองกรุงเทพและปริมณฑล เกิดโหนดตามจุดต่างๆของปลายทางสถานีรถฟ้า อย่างไรก็ตามจะต้องมีสาธารณูปโภคอื่นๆ จะต้องรองรับด้วย
ส่วนตลาดในต่างจังหวัด จังหวัดที่หัวเมืองรองจะมีการเติบโตได้ดี อาทิ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ อยุธยา ปราจีน สงขลา และนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น นอกจากนี้ยังหวัดที่มีเศรษฐกิจออย่างอื่นซัพพอร์ต เช่นการท่องเที่ยว การค้าชายแดน นิคมอุตสาหกรรม
ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เปรียบได้กับช่วง 15 นาทีสุดท้ายของเกมส์ฟุตบอล ที่ทุกคนจะต้องเร่งทำประตู พิจารณาได้จากผู้ประกอบการต่างเร่งออกแคมเปญต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายยังเลือกที่จะจัดงานใหญ่เพื่อเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ซึ่งจะทำให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปีตลาดจะไม่เท่ากับปี 56 หรือติดลบประมาณ 5% หรือหาตลาดเติบโตขึ้นก็ทำได้เพียงเท่ากับปีที่ผ่านมา
“ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยอย่างไร โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด และหากรัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยภาคการเกษตรที่ราคาพืชผลตกต่ำ ก็จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน” นายอธิปกล่าว
นายอธิปกล่าวต่อว่า สำหรับตลาดคอนโดมิเนียมที่ผ่านมาชะลอตัวลงไปมาก ซึ่งเมืองที่มียอดขายอืดมากที่สุด ได้แก่ พัทยา ศรีราชา ตัวเมืองชลบุรี และบางแสนตามลำดับ รวมถึงภูเก็ตที่ตลาดคอนโดมิเนียมชะลอตัวอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากสินค้าในตลาดมีอยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการเตือนภัย หรือห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มในตลาดที่สินค้าอยู่ในภาวะล้นตลาด
นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมทั้งปีจะไม่เติบโตมากนัก กล่าวคือ ตลาดบ้านแนวราบแม้ที่ผ่านมาตลาดจะไม่ได้โตอย่างหวือหวาเช่นเดียวกับตลาดคอนโดมิเนียม แต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ปรับตัวลดลงมากเช่นคอนโดมิเนียม ทำให้ทั้งปีคาดว่าจะเติบโตประมาณ 5% ส่วนคอนโดมิเนียม เนื่องจากมีสต๊อกคงเหลือในตลาดจำนวนมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทำให้ตลาดโตติดลบไม่น้อยกว่า 10% หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10,000 ยูนิต
ทั้งนี้ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงหลังการเมืองสงบในเดือนมิถุนายนยอดขายปรับตัวดีขึ้นกว่า 40-50% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นในช่วงไตรมาส 3 ตลาดได้ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวมากตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้ โดยตัวเลข GDP เติบโตเพียง 1.7-1.8% เท่านั้นจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 2%
เมื่อภาวะเศรษฐกิจเติบโตเพียงเล็กน้อย ส่วนภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวก็เช่นเดียวกัน ประกอบกับการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐไม่ได้มีมาก ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจึงไม่ฟื้นตัวขึ้นตาม ในส่วนของผู้ประกอบการก็เช่นกัน รวมถึงผู้ประกอบการที่ชะลอแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป หลังภาวะเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวตามความคาดหมาย ประกอบกับหลายโครงการติดปัญหาการพิจารณา EIA ล่าช้า ผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดขายโครงการใหม่ หรือก่อสร้างโครงการได้ตามแผนที่กำหนด ทำให้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนใหม่ๆ ให้เลื่อนเปิดขายออกไป
แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันคณะกรรมการ EIA ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยเร่งอนุมัติโครงการที่ได้ยื่นขอ EIA อยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ล่าสุดมีผู้ประกอบการแจ้งว่าได้รับการอนุมัติภายใน 1-2 สัปดาห์เท่านั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้โครงการที่อยู่อาศัยที่ค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณามากกว่า 100 โครงการของคณะกรรมการ EIA จะพิจารณาออกมาเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้การเปิดตัวโครงการใหม่ทำได้เร็วขึ้น
“ตัวชีวัดว่าอีกอย่างคือดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ พบว่า ปรับในช่วงไตรมาส 3/57 ที่ผ่านมา ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการปรับลดลงเหลือ 54.5 จาก 56.0 ในช่วงไตรมาส 2/57 สะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการคาดหวังว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้น” นายสัมมา กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไตรมาส 4 แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 3 อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นฤดูขายที่อยู่อาศัย นอกจากนี้การที่ในช่วงต้นปีตลาดชะลอตัว ทำให้ยอดขายของหลายบริษัทไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ทำให้ผู้ประกอบการต้องออกโปรโมชั่นแรงๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย รวมไปถึงสถาบันการเงินที่ต้องการเพิ่มยอดปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
นายสัมมากล่าวต่อว่า หลังจากผ่านพ้นปีนี้ไปแล้วตลาดอสังหาริมทรัพย์จะโตได้ดีต่อไป โดยปริมณฑลจะยังสามารถเติบโตได้ตามการขยายตัวของระบบขนส่งมวลชนของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ซึ่งหากแผนการขยาย 10 เส้นทางรถไฟฟ้าภายใน 10 ปี จะตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายไปยังชานเมืองกรุงเทพและปริมณฑล เกิดโหนดตามจุดต่างๆของปลายทางสถานีรถฟ้า อย่างไรก็ตามจะต้องมีสาธารณูปโภคอื่นๆ จะต้องรองรับด้วย
ส่วนตลาดในต่างจังหวัด จังหวัดที่หัวเมืองรองจะมีการเติบโตได้ดี อาทิ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ อยุธยา ปราจีน สงขลา และนครศรีธรรมราช สงขลา เป็นต้น นอกจากนี้ยังหวัดที่มีเศรษฐกิจออย่างอื่นซัพพอร์ต เช่นการท่องเที่ยว การค้าชายแดน นิคมอุตสาหกรรม
ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เปรียบได้กับช่วง 15 นาทีสุดท้ายของเกมส์ฟุตบอล ที่ทุกคนจะต้องเร่งทำประตู พิจารณาได้จากผู้ประกอบการต่างเร่งออกแคมเปญต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายยังเลือกที่จะจัดงานใหญ่เพื่อเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ซึ่งจะทำให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปีตลาดจะไม่เท่ากับปี 56 หรือติดลบประมาณ 5% หรือหาตลาดเติบโตขึ้นก็ทำได้เพียงเท่ากับปีที่ผ่านมา
“ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจและการจับจ่ายใช้สอยอย่างไร โดยเฉพาะตลาดต่างจังหวัด และหากรัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยภาคการเกษตรที่ราคาพืชผลตกต่ำ ก็จะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน” นายอธิปกล่าว
นายอธิปกล่าวต่อว่า สำหรับตลาดคอนโดมิเนียมที่ผ่านมาชะลอตัวลงไปมาก ซึ่งเมืองที่มียอดขายอืดมากที่สุด ได้แก่ พัทยา ศรีราชา ตัวเมืองชลบุรี และบางแสนตามลำดับ รวมถึงภูเก็ตที่ตลาดคอนโดมิเนียมชะลอตัวอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากสินค้าในตลาดมีอยู่จำนวนมาก แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการเตือนภัย หรือห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการลงทุนเพิ่มในตลาดที่สินค้าอยู่ในภาวะล้นตลาด