"ประยุทธ์" ระบุคนไทยมัวแต่ทะเลากัน ทำให้ประเทศมีรายได้ต่ำ ลั่นต้องตั้งกับดัก ปรับรายได้ไปสู่ประเทศมีรายได้ระดับกลาง ด้วยการ "ลดความเหลื่อมล้ำ-สร้างอาชีพ-แก้ทุจริต" ไม่ปลื้ม "ประยุทธ์นิยม" อยากให้ใช้ "ไทยนิยม" แทน อยากตะโกน "รักประเทศ รักคนไทย" ไม่ห่วงปัญหาน้ำท่วมใต้ บอกเป็นเรื่องปกติ ของน้ำเหนือไหลบ่า มาภาคกลางแล้วลงใต้ บินถกความร่วมมือ"ไทย-พม่า-ญี่ปุ่น" วันนี้
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (8 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินผลงานของคสช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งในส่วนที่พอใจ และที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนว่า 1. เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. การบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีปัญหาเรื่องการบริหาร ทำได้ตามปกติ แต่ทั้งหมดจะต้องมีการปรับแก้ให้เป็นเชิงรุก ไม่ใช่เชิงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมาตลอด หรือใช้เงินใช้ทองมากเกินเหตุมาตลอด ทำไม่ได้ ต้องทำทั้ง 2 อย่างคู่กัน คือ การลดความเดือดร้อนโดยทันที เช่น ดูแลผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขณะนี้ก็ดูแลชาวนา ขณะเดียวกันได้สร้างความเข้มแข็งกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การจัดโซนนิ่ง ซึ่งคณะทำงานได้ทำมาตลอดช่วง 3-4 เดือน รวมไปถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน รถไฟ รถไฟฟ้า เมื่อตัดสินใจอย่างไร ก็จะมีการประกาศให้ทราบ ว่าจะทำอะไร ตอนนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่ทำกัน ตรงนี้ตนได้มอบเป็นนโยบายตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาว่า สิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยมีอะไรบ้าง จะต้องปรับรายได้ประเทศจากรายได้น้อย ไปสู่ปานกลาง วันนี้เราช้ากว่าประเทศในโลกเยอะ ประเทศรอบบ้านของเราเร็วขึ้น ภายในไม่กี่ปี เรามัวแต่ทะเลาะกันอยู่นาน เราต่อให้เขาไปแล้วหลายปี วันนี้เพิ่งเริ่มต้นจะต้องทำให้เป็นที่มีรายได้น้อย ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เขาเรียกว่า กับดัก
" ซึ่งถือเป็นความท้าทายของรัฐบาล ที่จะแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสร้างอาชีพและรายได้ ให้ความเป็นธรรม ไม่มีทุจริตผิดกฎหมาย หรือคอร์รัปชัน ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเท่ากันหมด ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่ระบบประชาธิปไตย ถ้าให้ทุกคนมีรายได้เท่ากันหมด มันก็ต้องเป็นของรัฐหมด วันนี้เป็นประชาธิปไตย ทุนมากทำมาก ทุนน้อยทำน้อย ใครไม่มีทุน ก็ต้องเข้าหาแหล่งทุน เราต้องไปดูตรงนั้น เป็นวิธีการปฏิบัติลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่เอาเงินมาแจกให้เท่ากันทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ ใครเดือดร้อนก็ต้องดูแล แต่เป็นระยะสั้นแค่ปีเดียว เช่น แค่เฉพาะนาปี ตอนนี้เลิกพูดดีกว่า คำว่าประชานิยม ถ้าไม่เสียก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเสียหาย ก็ไม่ดี" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** น้ำท่วมใต้ เพราะน้ำเหนือไหลบ่า
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ว่า ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนในพื้นที่ชินแล้ว เพราะปีหนึ่งน้ำท่วม 4 ครั้ง เพราะจากทางเหนือไหลผ่านภาคกลาง ลงสู่ใต้ เป็นอย่างนี้ตลอด แต่จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรวงรับสั่งให้ทำพื้นที่กระเพาะหมู ตลอดเส้นทางน้ำ โดยงบประมาณปี 57 ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนการลงพื้นที่พบปะประชาชนตนเองต้องไปแน่ ซึ่งฝ่ายความมั่นคงกำลังประเมินอยู่ว่าจะลงพื้นที่ไหนบ้าง และไปพื้นที่ไหนก่อน โดยจะไปเร็ว ๆ นี้
เมื่อถามว่าไม่มีประชานิยม แต่มีคนเริ่มพูดว่า มีประยุทธ์นิยม รู้สึกอย่างไร นายกฯกล่าวว่า ไม่ใช่ อย่าไปเรียกอย่างนั้น เมื่อถามต่อว่าไม่ดีใจหรือ ที่มีคนเรียกประยุทธ์นิยม นายกฯ กล่าวว่าไม่ดีใจ รวมถึงกระแสประยุทธ์ฟีเวอร์ ก็ไม่ดีใจ เพราะไข้แบบนี้เดี๋ยวก็หาย ถ้าฟีเวอร์เดี๋ยวก็หาย อยากให้เป็น ประเทศไทยนิยม นิยมประเทศไทย
** อยากตะโกน"รักประเทศไทย"
เมื่อถามว่า จะลำบากใจหรือไม่ ถ้าประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ยาวถึง 4 ปี พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แค่นี้ก็แย่พออยู่แล้ว ถามต่อว่า จะเป็นแค่ปีเดียวใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ เมื่อถามว่า ถ้าปฏิรูปสำเร็จ จะกลายเป็นประยุทธ์โมเดล หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ประยุทธ์โมเดล แต่เป็นของคนไทยทุกคน ประเทศไทยต้องเป็นไทยโมเดล ต้องมีอนาคต มีวิสัยทัศน์ มีแผนงาน มียุทธศาสตร์ ว่าเราจะไปพูดกับเขาอย่างไร ไม่ใช่พูดเสร็จ จับไม้จับมือแล้ว สวัสดี Hello How are you กลับ เราต้องพูดว่ามีอะไรที่จะไปเสนอขายเขา เปิดช่องทางให้เขามาค้าขายกับเรา ถ้าไม่พูดอย่างนี้ มันก็แค่ไปจับไม้จับมือ แล้วกลับ
เมื่อถามว่า ถ้าอยากตะโกนดังๆ ให้คนทั้งประเทศได้ยิน อยากตะโกนคำว่าอะไร นายกฯ กล่าวว่า“รักประเทศไทย รักคนไทยทุกคน” พร้อมกับกล่าวว่า วันนี้ตนบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยความโปร่งใส และจะปฏิรูปประเทศให้ได้ สร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน วางยุทธศาสตร์ประเทศระยะยาวให้ได้ มีตรงไหนที่ตนทำงานกระจ๊อก กระจิก บ้างก็ถามว่า จะทำงานอย่างไรปีเดียว บ้างก็บอกว่าจะทำทันหรือปีเดียว แล้วจะตอบตรงไหนดี ตอนนี้เอาแค่ให้ทุกคนรู้ว่า ประเทศเรามีปัญหาตรงไหนบ้าง จะได้ช่วยตน ให้กำลังใจรัฐบาลในการทำงาน
**ถกความร่วมมือ"ไทย-พม่า-ญี่ปุ่น"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการเดินทางไปเยือนเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 9-10 ต.ค.นี้ ว่าไม่ได้เป็นการผลักดันโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย แต่เป็นความร่วมมือในกรอบของอาเซียนทั้ง 3 ประเทศ ไทย พม่า ญี่ปุ่น โดยมีการพูดคุยกับรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มาพบไปแล้ว ซึ่งการลงทุนเรามีนโยบายที่ตรงกัน โดยญี่ปุ่นใช้คำว่า ไทย บวกหนึ่ง ตนก็เห็นด้วย และเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะลงทุนอะไรในอาเซียน การเข้ามาลงทุนในไทยเป็นการเริ่มต้นที่ 1 และเชื่อมต่อไป ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ได้หรือไม่ ซึ่งเขาตกลงรับไปพิจาณา ถ้าเขาลงทุนร่วมกับเรา เขาลงทุนคนเดียว เขาไม่มั่นใจ ซึ่งการเดินทางไปเยือนพม่าครั้งนี้ จะมีการหารือหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน ปัญหาชายแดน การเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน และเรื่องยาเสพติด
เมื่อถามว่า เตรียมความพร้อมอย่างไรหากทางเมียนมาร์ ถามความคืบหน้าคดีเกาะเต่า นายกฯ กล่าวว่า เราอย่าเพิ่งไประบุว่า เป็นคนของประเทศไหน เพราะเมียนมาร์ มีหลายชนชาติ ซึ่งเป็นปัญหาการเมืองภายในของเขา อยากให้บอกว่าเป็นการกระทำของแรงงานต่างด้าว เราต้องให้เกียรติทางเมียนมาร์ด้วย เขาจะเสียเกียรติภูมิ ต้องขอร้องสื่อจะไประบุอย่างนั้นไม่ได้ ทั้งนี้เราต้องแก้ที่ตัวเราก่อน ถ้าเราไปเบลมคนอื่นมาก ๆ อีกหน่อยคนก็จะไม่รักเรา ฉะนั้นเราต้องแก้ปัญหาของเราให้ได้ และประสานความร่วมมือกับเมียนมาร์ ในเรื่องแรงงานที่มาทำงานในไทยให้เป็นระบบ
เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (8 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินผลงานของคสช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งในส่วนที่พอใจ และที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนว่า 1. เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. การบริหารราชการแผ่นดินที่เป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีปัญหาเรื่องการบริหาร ทำได้ตามปกติ แต่ทั้งหมดจะต้องมีการปรับแก้ให้เป็นเชิงรุก ไม่ใช่เชิงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมาตลอด หรือใช้เงินใช้ทองมากเกินเหตุมาตลอด ทำไม่ได้ ต้องทำทั้ง 2 อย่างคู่กัน คือ การลดความเดือดร้อนโดยทันที เช่น ดูแลผู้มีรายได้น้อย ซึ่งขณะนี้ก็ดูแลชาวนา ขณะเดียวกันได้สร้างความเข้มแข็งกระบวนการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การจัดโซนนิ่ง ซึ่งคณะทำงานได้ทำมาตลอดช่วง 3-4 เดือน รวมไปถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน รถไฟ รถไฟฟ้า เมื่อตัดสินใจอย่างไร ก็จะมีการประกาศให้ทราบ ว่าจะทำอะไร ตอนนี้เป็นเรื่องของคณะกรรมการที่ทำกัน ตรงนี้ตนได้มอบเป็นนโยบายตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาว่า สิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยมีอะไรบ้าง จะต้องปรับรายได้ประเทศจากรายได้น้อย ไปสู่ปานกลาง วันนี้เราช้ากว่าประเทศในโลกเยอะ ประเทศรอบบ้านของเราเร็วขึ้น ภายในไม่กี่ปี เรามัวแต่ทะเลาะกันอยู่นาน เราต่อให้เขาไปแล้วหลายปี วันนี้เพิ่งเริ่มต้นจะต้องทำให้เป็นที่มีรายได้น้อย ไปสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เขาเรียกว่า กับดัก
" ซึ่งถือเป็นความท้าทายของรัฐบาล ที่จะแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการสร้างอาชีพและรายได้ ให้ความเป็นธรรม ไม่มีทุจริตผิดกฎหมาย หรือคอร์รัปชัน ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเท่ากันหมด ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่ระบบประชาธิปไตย ถ้าให้ทุกคนมีรายได้เท่ากันหมด มันก็ต้องเป็นของรัฐหมด วันนี้เป็นประชาธิปไตย ทุนมากทำมาก ทุนน้อยทำน้อย ใครไม่มีทุน ก็ต้องเข้าหาแหล่งทุน เราต้องไปดูตรงนั้น เป็นวิธีการปฏิบัติลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่เอาเงินมาแจกให้เท่ากันทั้งหมด เป็นไปไม่ได้ ใครเดือดร้อนก็ต้องดูแล แต่เป็นระยะสั้นแค่ปีเดียว เช่น แค่เฉพาะนาปี ตอนนี้เลิกพูดดีกว่า คำว่าประชานิยม ถ้าไม่เสียก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเสียหาย ก็ไม่ดี" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
** น้ำท่วมใต้ เพราะน้ำเหนือไหลบ่า
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึง สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ว่า ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนในพื้นที่ชินแล้ว เพราะปีหนึ่งน้ำท่วม 4 ครั้ง เพราะจากทางเหนือไหลผ่านภาคกลาง ลงสู่ใต้ เป็นอย่างนี้ตลอด แต่จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรวงรับสั่งให้ทำพื้นที่กระเพาะหมู ตลอดเส้นทางน้ำ โดยงบประมาณปี 57 ได้เริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนการลงพื้นที่พบปะประชาชนตนเองต้องไปแน่ ซึ่งฝ่ายความมั่นคงกำลังประเมินอยู่ว่าจะลงพื้นที่ไหนบ้าง และไปพื้นที่ไหนก่อน โดยจะไปเร็ว ๆ นี้
เมื่อถามว่าไม่มีประชานิยม แต่มีคนเริ่มพูดว่า มีประยุทธ์นิยม รู้สึกอย่างไร นายกฯกล่าวว่า ไม่ใช่ อย่าไปเรียกอย่างนั้น เมื่อถามต่อว่าไม่ดีใจหรือ ที่มีคนเรียกประยุทธ์นิยม นายกฯ กล่าวว่าไม่ดีใจ รวมถึงกระแสประยุทธ์ฟีเวอร์ ก็ไม่ดีใจ เพราะไข้แบบนี้เดี๋ยวก็หาย ถ้าฟีเวอร์เดี๋ยวก็หาย อยากให้เป็น ประเทศไทยนิยม นิยมประเทศไทย
** อยากตะโกน"รักประเทศไทย"
เมื่อถามว่า จะลำบากใจหรือไม่ ถ้าประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกฯ ยาวถึง 4 ปี พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แค่นี้ก็แย่พออยู่แล้ว ถามต่อว่า จะเป็นแค่ปีเดียวใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ เมื่อถามว่า ถ้าปฏิรูปสำเร็จ จะกลายเป็นประยุทธ์โมเดล หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ประยุทธ์โมเดล แต่เป็นของคนไทยทุกคน ประเทศไทยต้องเป็นไทยโมเดล ต้องมีอนาคต มีวิสัยทัศน์ มีแผนงาน มียุทธศาสตร์ ว่าเราจะไปพูดกับเขาอย่างไร ไม่ใช่พูดเสร็จ จับไม้จับมือแล้ว สวัสดี Hello How are you กลับ เราต้องพูดว่ามีอะไรที่จะไปเสนอขายเขา เปิดช่องทางให้เขามาค้าขายกับเรา ถ้าไม่พูดอย่างนี้ มันก็แค่ไปจับไม้จับมือ แล้วกลับ
เมื่อถามว่า ถ้าอยากตะโกนดังๆ ให้คนทั้งประเทศได้ยิน อยากตะโกนคำว่าอะไร นายกฯ กล่าวว่า“รักประเทศไทย รักคนไทยทุกคน” พร้อมกับกล่าวว่า วันนี้ตนบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยความโปร่งใส และจะปฏิรูปประเทศให้ได้ สร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน วางยุทธศาสตร์ประเทศระยะยาวให้ได้ มีตรงไหนที่ตนทำงานกระจ๊อก กระจิก บ้างก็ถามว่า จะทำงานอย่างไรปีเดียว บ้างก็บอกว่าจะทำทันหรือปีเดียว แล้วจะตอบตรงไหนดี ตอนนี้เอาแค่ให้ทุกคนรู้ว่า ประเทศเรามีปัญหาตรงไหนบ้าง จะได้ช่วยตน ให้กำลังใจรัฐบาลในการทำงาน
**ถกความร่วมมือ"ไทย-พม่า-ญี่ปุ่น"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงการเดินทางไปเยือนเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 9-10 ต.ค.นี้ ว่าไม่ได้เป็นการผลักดันโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย แต่เป็นความร่วมมือในกรอบของอาเซียนทั้ง 3 ประเทศ ไทย พม่า ญี่ปุ่น โดยมีการพูดคุยกับรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่มาพบไปแล้ว ซึ่งการลงทุนเรามีนโยบายที่ตรงกัน โดยญี่ปุ่นใช้คำว่า ไทย บวกหนึ่ง ตนก็เห็นด้วย และเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะลงทุนอะไรในอาเซียน การเข้ามาลงทุนในไทยเป็นการเริ่มต้นที่ 1 และเชื่อมต่อไป ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ได้หรือไม่ ซึ่งเขาตกลงรับไปพิจาณา ถ้าเขาลงทุนร่วมกับเรา เขาลงทุนคนเดียว เขาไม่มั่นใจ ซึ่งการเดินทางไปเยือนพม่าครั้งนี้ จะมีการหารือหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการค้า การลงทุน ปัญหาชายแดน การเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน และเรื่องยาเสพติด
เมื่อถามว่า เตรียมความพร้อมอย่างไรหากทางเมียนมาร์ ถามความคืบหน้าคดีเกาะเต่า นายกฯ กล่าวว่า เราอย่าเพิ่งไประบุว่า เป็นคนของประเทศไหน เพราะเมียนมาร์ มีหลายชนชาติ ซึ่งเป็นปัญหาการเมืองภายในของเขา อยากให้บอกว่าเป็นการกระทำของแรงงานต่างด้าว เราต้องให้เกียรติทางเมียนมาร์ด้วย เขาจะเสียเกียรติภูมิ ต้องขอร้องสื่อจะไประบุอย่างนั้นไม่ได้ ทั้งนี้เราต้องแก้ที่ตัวเราก่อน ถ้าเราไปเบลมคนอื่นมาก ๆ อีกหน่อยคนก็จะไม่รักเรา ฉะนั้นเราต้องแก้ปัญหาของเราให้ได้ และประสานความร่วมมือกับเมียนมาร์ ในเรื่องแรงงานที่มาทำงานในไทยให้เป็นระบบ