นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... มีบางมาตราที่ส่งผลกระทบกับ อภ. เนื่อง พ.ร.บ.ยาฉบับเดิมกำหนดชัดว่า อภ.สามารถผลิตและนำเข้ายาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่ฉบับใหม่ไม่ได้ระบุข้อยกเว้นนี้ให้ อภ.อย่างชัดเจน แต่ใช้คำว่า หน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งอาจจะมีการตีความให้สิทธิพิเศษนี้ไม่ครอบคลุมถึง อภ. อาจจะส่งผลกระทบในช่วงเวลาวิกฤตที่ อภ.จำเป็นต้องผลิตยา หรือจัดหา นำเข้ายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น น้ำเกลือ วัคซีนป้องกันโรค เป็นต้น โดยไม่ต้องอนุญาต จึงอยากให้เพิ่มนิยามให้ครอบคลุมถึง อภ.
"ยืนยันว่า อภ.ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้เอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่น เพราะที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามกติกามาตลอด มีการยื่นขออนุญาต อย. เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และขณะนี้กำลังขอยื่นจดทะเบียนอีกหลายตัว" ผอ.อภ.กล่าว
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือประเด็นร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กับ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพพ์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเสร็จแล้ว ลงวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา และได้ส่งกลับมายัง อย. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังมีความเห็นขัดแย้ง 2-3 ประเด็น จึงได้นำเรื่องเข้าหารือร่วมกับ นพ.ศิริวัฒน์ โดยสรุปว่าจะทำเรื่องถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเลื่อนกำหนดการยืนยันร่าง พ.ร.บ.ออกไปเป็น 30 วัน เพราะหากไม่ยืนยันภายใน 14 วัน จะถือว่าเห็นชอบตามการพิจารราของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ในช่วงเวลา 30 วัน จะเปิดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็น โดยเฉพาะที่มีความเห็นแย้ง โดยจะให้แสดงความเห็นมาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้ประสานไปยังผู้แทนสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนของเภสัชกรให้ดำเนินการแล้ว จากนั้นจึงจะเชิญตัวแทนกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียกับร่าง พ.ร.บ.ยามาพูดคุยหารืออีกครั้ง ซึ่งหากมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ก็จะมีการทำเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่ามีการแก้ไข จากนั้นเมื่อครบ 30 วันแล้วก็จะส่งร่าง พ.ร.บ.ยานี้ไปยังคระรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งหากมีข้อทักท้วงก็ยังสามารถแสดงความเห็นในกระบวนการดังกล่าวได้อีก
"ยืนยันว่าไม่ได้มีการลักไก่เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะมีการยกร่างและแก้ไขพ.ร.บ.ยามาตั้งแต่ปี 2542 นานกว่า 17 ปีแล้ว และมีข้อคิดเห็นขัดแย้งจน สธ.ต้องถอนเรื่องออกมาเมื่อปี 2548 เพื่อปรับปรุงและเสนอใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2549 ซึ่งในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น จึงไม่ใช่การลักไก่แต่อย่างใด" เลขาธิการ อย.กล่าวและว่า ส่วนข้อทักท้วงของ อภ.ได้นำเสนอต่อ รมว.สาะารณสุขโดยตรง ก็คงต้องนำมาพิจารณาด้วย
"ยืนยันว่า อภ.ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษนี้เอาเปรียบผู้ประกอบการรายอื่น เพราะที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามกติกามาตลอด มีการยื่นขออนุญาต อย. เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ และขณะนี้กำลังขอยื่นจดทะเบียนอีกหลายตัว" ผอ.อภ.กล่าว
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย. ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือประเด็นร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ กับ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพพ์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ. ... ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเสร็จแล้ว ลงวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา และได้ส่งกลับมายัง อย. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังมีความเห็นขัดแย้ง 2-3 ประเด็น จึงได้นำเรื่องเข้าหารือร่วมกับ นพ.ศิริวัฒน์ โดยสรุปว่าจะทำเรื่องถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเลื่อนกำหนดการยืนยันร่าง พ.ร.บ.ออกไปเป็น 30 วัน เพราะหากไม่ยืนยันภายใน 14 วัน จะถือว่าเห็นชอบตามการพิจารราของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นพ.บุญชัย กล่าวว่า ในช่วงเวลา 30 วัน จะเปิดให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็น โดยเฉพาะที่มีความเห็นแย้ง โดยจะให้แสดงความเห็นมาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการ ซึ่งได้ประสานไปยังผู้แทนสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนของเภสัชกรให้ดำเนินการแล้ว จากนั้นจึงจะเชิญตัวแทนกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสียกับร่าง พ.ร.บ.ยามาพูดคุยหารืออีกครั้ง ซึ่งหากมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ก็จะมีการทำเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่ามีการแก้ไข จากนั้นเมื่อครบ 30 วันแล้วก็จะส่งร่าง พ.ร.บ.ยานี้ไปยังคระรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาและส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งหากมีข้อทักท้วงก็ยังสามารถแสดงความเห็นในกระบวนการดังกล่าวได้อีก
"ยืนยันว่าไม่ได้มีการลักไก่เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ในช่วงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะมีการยกร่างและแก้ไขพ.ร.บ.ยามาตั้งแต่ปี 2542 นานกว่า 17 ปีแล้ว และมีข้อคิดเห็นขัดแย้งจน สธ.ต้องถอนเรื่องออกมาเมื่อปี 2548 เพื่อปรับปรุงและเสนอใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2549 ซึ่งในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น จึงไม่ใช่การลักไก่แต่อย่างใด" เลขาธิการ อย.กล่าวและว่า ส่วนข้อทักท้วงของ อภ.ได้นำเสนอต่อ รมว.สาะารณสุขโดยตรง ก็คงต้องนำมาพิจารณาด้วย