นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา 1,000 บาทต่อไร่ ซึ่งจะเริ่มจ่ายเงินให้ชาวนาได้ ตั้งแต่กลางเดือน ต.ค. เป็นต้นไป ว่า ตนเข้าใจดีว่ามาตรการที่รัฐบาลจะช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 15ไร่ ต่อครัวเรือน เป็นมาตรการเยียวยาพี่น้องชาวนา เพื่อชดเชยราคาข้าวเปลือก และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง เพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
แต่ปัญหาที่รัฐบาลต้องตระหนัก และรับฟัง โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่ภาคกลาง ที่ต้องเช่าที่นา นั่นคือ เม็ดเงินดังกล่าวอาจจะไปตกแก่เจ้าของที่ดิน รวมถึงอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น คือ การแจ้งที่นาไม่ตรงกับความจริง ดังนั้นแนวทางที่รัฐบาลควรปฏิบัติ คือ 1. การลงทะเบียนเกษตกรว่าทำนาจริง และจำนวนที่นาที่มี รัฐบาลควรแยกการลงทะเบียนชาวนาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ไม่ใช่ลงทะเบียนรวมเหมือนอดีต คือ กลุ่มแรก คือ ชาวนาที่มีที่นาเป็นของตนเอง ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่มีปัญหา เพราะทำนาเอง และที่ดินเป็นของตนเอง กลุ่มที่ 2 คือ ชาวนาที่เช่าที่นา กลุ่มดังกล่าวจะมีโอกาสมีปัญหา ถ้าหละหลวม เงินจะไปตกแก่เจ้าของที่ดิน จึงจำเป็นต้องมีมาตรการตรวจสอบเข้มงวด เพื่อให้เงินตกแก่ชาวนา และกลุ่มที่ 3 คือ ชาวนาที่ทำนาในที่สาธารณประโยชน์ และไม่มีเอกสารสิทธิ์
แนวทางที่ 2 เพื่อให้ทุกอย่างโปร่งใส และเงินตกถึงมือชาวนาจริง รัฐบาลควรมีมาตรการสุ่มตรวจ และลงโทษการทุจริตอย่างจริงจัง ถ้าสุ่มพบว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับชาวนาแจ้งเท็จ หรือเจ้าของที่ดินมาฉกฉวยประโยชน์ ถ้ารัฐบาลมีมาตรการสุ่มตรวจ และลงโทษอย่างจริงจัง จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้มาก
แนวทางที่ 3 รัฐบาลต้องตระหนักว่า การจ่ายเงินช่วยชาวนา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มาตรการระยะยาว การจัดโซนนิ่ง ซึ่งมีการพูดกันมานานโดยเฉพาะชาวนาที่มีต้นทุนทำนาสูงมากๆ แสดงว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะแก่การทำนา การจัดกลุ่มทำนาสายพันธ์ตามความต้องการตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือแม้แต่ให้โอกาสชาวนาแปรรูปขายข้าวสาร โดยใช้สหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน และรัฐบาลช่วยทำตลาด เหล่านี้คือ หน้าที่ที่รัฐบาลต้องทำควบคู่กันไป.
แต่ปัญหาที่รัฐบาลต้องตระหนัก และรับฟัง โดยเฉพาะชาวนาในพื้นที่ภาคกลาง ที่ต้องเช่าที่นา นั่นคือ เม็ดเงินดังกล่าวอาจจะไปตกแก่เจ้าของที่ดิน รวมถึงอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น คือ การแจ้งที่นาไม่ตรงกับความจริง ดังนั้นแนวทางที่รัฐบาลควรปฏิบัติ คือ 1. การลงทะเบียนเกษตกรว่าทำนาจริง และจำนวนที่นาที่มี รัฐบาลควรแยกการลงทะเบียนชาวนาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ไม่ใช่ลงทะเบียนรวมเหมือนอดีต คือ กลุ่มแรก คือ ชาวนาที่มีที่นาเป็นของตนเอง ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่มีปัญหา เพราะทำนาเอง และที่ดินเป็นของตนเอง กลุ่มที่ 2 คือ ชาวนาที่เช่าที่นา กลุ่มดังกล่าวจะมีโอกาสมีปัญหา ถ้าหละหลวม เงินจะไปตกแก่เจ้าของที่ดิน จึงจำเป็นต้องมีมาตรการตรวจสอบเข้มงวด เพื่อให้เงินตกแก่ชาวนา และกลุ่มที่ 3 คือ ชาวนาที่ทำนาในที่สาธารณประโยชน์ และไม่มีเอกสารสิทธิ์
แนวทางที่ 2 เพื่อให้ทุกอย่างโปร่งใส และเงินตกถึงมือชาวนาจริง รัฐบาลควรมีมาตรการสุ่มตรวจ และลงโทษการทุจริตอย่างจริงจัง ถ้าสุ่มพบว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมมือกับชาวนาแจ้งเท็จ หรือเจ้าของที่ดินมาฉกฉวยประโยชน์ ถ้ารัฐบาลมีมาตรการสุ่มตรวจ และลงโทษอย่างจริงจัง จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้มาก
แนวทางที่ 3 รัฐบาลต้องตระหนักว่า การจ่ายเงินช่วยชาวนา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มาตรการระยะยาว การจัดโซนนิ่ง ซึ่งมีการพูดกันมานานโดยเฉพาะชาวนาที่มีต้นทุนทำนาสูงมากๆ แสดงว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะแก่การทำนา การจัดกลุ่มทำนาสายพันธ์ตามความต้องการตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือแม้แต่ให้โอกาสชาวนาแปรรูปขายข้าวสาร โดยใช้สหกรณ์หรือวิสาหกิจชุมชน และรัฐบาลช่วยทำตลาด เหล่านี้คือ หน้าที่ที่รัฐบาลต้องทำควบคู่กันไป.