ตอนเป็นรัฐบาลใหม่ๆ หลายรัฐบาลมักจะพูดเรื่องภาษีมรดกและบางทีก็ภาษีทรัพย์สินด้วย วันแรกๆ มักจะดูขึงขัง แต่พอวันต่อมาโทนเสียงก็จะลดลงและแปรไปในทำนองว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องศึกษากันให้รอบด้าน จากนั้นความคืบหน้าก็ไปได้ช้า และในที่สุดรัฐบาลก็หมดอายุไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย
ถ้ารัฐบาล คสช.จะทำได้สำเร็จก็เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง
หลายประเทศที่ริเริ่มจัดเก็บภาษีมรดกล้วนอาศัยช่วงจังหวะเวลาที่ประเทศต้องการรายได้เพิ่ม สหรัฐฯ ใช้วิกฤตการณ์สงครามกับสเปนใน ค.ศ. 1890 ออกกฎหมายภาษีมรดก เช่นเดียวกับไต้หวันที่ใช้วิกฤตการณ์สงครามกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940 หากประเทศไทยจะใช้จังหวะเดียวกันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
ประเทศไทยเมื่อประสบวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ก็พูดเรื่องนี้กัน ถึงขนาดตั้งอนุกรรมการศึกษา
ถ้าวันนี้ตั้งใจจะทำกันจริงๆ จังๆ ไม่ต้องใช้เวลาศึกษามาก หยิบผลการศึกษาเก่าๆ มาต่อยอด แล้วรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง เอาประชาชนคนไม่มีมรดกหรือมีน้อยต่ำกว่า 50 ล้านบาทมาเป็นแนวร่วมกับรัฐบาล จะสำเร็จได้ในเร็ววันชนิดไม่ไกลเกินฝัน
หลายคนคงลืม - หรือไม่รู้ – ว่าประเทศไทยเคยเก็บภาษีมรดกมาแล้วในอดีต!
พ.ศ. 2476 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปีเดียว ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามแบบนานาอารยประเทศยุคใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ออกมาใช้บังคับ มีรูปแบบการจัดเก็บ 2 ทาง ทางหนึ่งเก็บจากกองมรดกของผู้ตาย อีกทางหนึ่งเก็บจากทายาทผู้รับมรดกแต่ละคน
เรียกว่าเก็บ 2 ทางเลย แตกต่างจากแนวโน้มวันนี้ที่มีแนวโน้มจะเก็บเฉพาะจากทายาทผู้รับมรดกแต่ละคนเท่านั้น
ในยุคกฎหมายพ.ศ. 2476 นั้น ให้เก็บจากกองมรดกที่มีจำนวนเงินหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเกินกว่า 10,000 บาทขึ้นไปในอัตราภาษีก้าวหน้า แต่เพดานอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
น่าเสียดายที่กฎหมายฉบับนี้ใช้อยู่เพียง 11 ปีก็ถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2487 เพราะแรงคัดค้านจากกลุ่มอำนาจเก่าก่อน พ.ศ. 2475 ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยุคทองของประชาธิปไตยไทย ยุคทองของแนวคิดสังคมนิยม ที่แม้แต่พรรคแนวอนุรักษนิยมอย่างประชาธิปัตย์ยังต้องประกาศตนว่าเป็นสังคมนิยมอ่อนๆ ภาษีมรดกได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางสังคมอีกครั้งหนึ่ง ถึงขนาดเสนอร่างพระราชบัญญัติผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น
แต่ที่สุดก็ตกไป เพราะเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เสียก่อน!
หรือหากจะย้อนประวัติศาสตร์ไปในยุคก่อนรัฐสมัยใหม่ กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เริ่มจัดเก็บภาษีมรดกแล้ว โดยเรียกเก็บเฉพาะทรัพย์สมบัติที่เกินกำลังของทายาทที่จะใช้สอยให้ตกเป็นของหลวงทั้งหมด ตกมาถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวงลักษณะมฤดก มาตรา 3 กำหนดให้ชายที่มีบรรดาศักดิ์เมื่อถึงแก่ความตาย ให้แบ่งมรดกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนหนึ่งให้เข้าพระคลังหลวง ส่วนหนึ่งให้แก่บิดามารดา ส่วนหนึ่งให้แก่พี่น้องลูกหลาน ส่วนสุดท้ายให้แก่ภรรยา มาตรา 34 กำหนดให้ภรรยาที่ได้รับพระราชทานเมื่อถึงแก่ความตายให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนหนึ่งให้เป็นของหลวง ส่วนหนึ่งให้เป็นของสามี และอีกส่วนหนึ่งให้เป็นของญาติ
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกทุกวันนี้ส่วนใหญ่มีการเก็บภาษีมรดก
เพียงแต่วัตถุประสงค์หลักในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อต้องการรายได้เข้ารัฐเป็นหลัก เพราะจากสถิติปรากฏว่าภาษีมรดกที่เก็บได้ในแต่ละประเทศมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของยอดรวมภาษีที่เก็บได้ทั้งหมดในแต่ละปี
ภาษีมรดกในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จึงมีไว้เป็น “เครื่องมือในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม” มากกว่า!
ไม่ใช่มีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มี
อย่างเช่นมรดกที่เป็นที่ดิน ที่บรรพบุรุษหามาได้ตั้งแต่ยังมีราคาไม่สูง ต่อเมื่อตกมาถึงทายาทรุ่นที่รับมรดกราคาสูงขึ้นมหาศาล เขาไม่มีปัญหาเสียภาษีแน่ ที่สุดก็จะต้องขายให้แก่อภิมหาเศรษฐีหรือกลุ่มทุนเพื่อเอาเงินมาจ่ายภาษีมรดกแล้วเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้ ผลลัพธ์ก็คือจะทำให้มหาเศรษฐีหรือกลุ่มทุนยิ่งมีที่ดินเพิ่มมากขึ้น
นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีความเห็นกันว่าภาษีทรัพย์สินที่จะเน้นเก็บอัตราสูงกับคนที่ถือครองที่ดินมากเกินความจำเป็นและหรือที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์จะได้ผลตรงตามเป้าหมายมากกว่า
แต่เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ภาษีมรดกก็ยังข้อดีอยู่
ศ.ประสพสุข บุญเดช อดีตประธานวุฒิสภา เมื่อตอนที่ท่านเข้าเรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ปีการศึกษา 2541-2542 ทำเอกสารวิจัยส่วนบุคคลเรื่องภาษีมรดก (Estate Tax) มีรายละเอียดกว้างขวางครอบคลุมความรู้เรื่องภาษีมรดกทั่งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อเสนอแนะพร้อมสรรพ ทั้งภาคผนวกก็มีตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ไว้ให้ศึกษาด้วย ท่านมีข้อเสนอแนะ 12 ข้อหลัก เฉพาะที่สำคัญๆ ก็อาทิ
1. ประเทศไทยควรนำระบบการจัดเก็บภาษีมรดกที่ยกเลิกไปกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยให้การกระจายภาระภาษีในสังคมมีความเป็นธรรม ลดช่องว่างในสังคม และเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาลในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
2. ไม่ควรจัดเก็บทั้งภาษีกองมรดกและภาษีการรับมรดกดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา ควรจัดเก็บเฉพาะภาษีกองมรดกอย่างเดียวเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ และไม่ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่ประชาชนมากเกินไป
3. กองมรดกซึ่งมียอดสุทธิแห่งค่าจำนวนเพียงเล็กน้อย เช่น ไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือตามจำนวนที่จะไม่กระทบถึงทายาทที่เป็นผู้เยาว์และผู้สูงอายุ ควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก
4. อัตราภาษีกองมรดกควรเป็นอัตราก้าวหน้า อัตราภาษีขั้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20
5. ทรัพย์มรดกบางประเภทควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นมูลค่าของกองมรดก เช่น ทรัพย์มรดกที่ยกให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน องค์กรการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อศาสนา ทรัพย์มรดกของบุคคลที่มีฐานะพิเศษหรือผู้ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งให้แก่ประเทศชาติ
6. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพิ่มการเรียกเก็บภาษีการให้ทรัพย์สินเป็นภาษีอีกประเภทหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้เจ้ามรดกหลีกเลี่ยงการเสียภาษีกองมรดกโดยยกทรัพย์สินให้โดยเสน่หาในระหว่างที่ตนยังมีชีวิตอยู่
7. ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าภาษีกองมรดกและภาษีการให้ทรัพย์สินมีผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมาก เฉพาะบุคคลที่ร่ำรวยมากเท่านั้นที่มีภาระ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และเป็นกระแสสังคมที่ผู้มีหน้าที่ในการตรากฎหมายไม่อาจปฏิเสธได้
เท่าที่ฟังดูแนวโน้มภาษีมรดกวันนี้ออกจะแตกต่างไปจากแนวทางที่ท่านอดีตประธานวุฒิสภาเคยเสนอไว้พอสมควร
โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าควรเก็บภาษีจากกองมรดกหรือผู้รับมรดก
ส่วนมูลค่ามรดกที่จะจัดเก็บนั้นก็ขยับขึ้นไปเป็นเฉพาะที่เกิน 50 ล้านบาท แต่อัตราก็ขยับสูงขึ้นไปเป็นร้อยละ 50
สองสามประเด็นนี้ต้องพิจารณาดูให้ดีว่าแนวทางไหนจะได้ผลตรงตามเป้าหมายมากกว่ากัน
แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาษีมรดกจะต้องมาคู่กับภาษีทรัพย์สิน
ต้องเป็นกฎหมายพวงที่คิดควบคู่กันไปตั้งแต่เริ่มต้น
ถ้ารัฐบาล คสช.จะทำได้สำเร็จก็เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง
หลายประเทศที่ริเริ่มจัดเก็บภาษีมรดกล้วนอาศัยช่วงจังหวะเวลาที่ประเทศต้องการรายได้เพิ่ม สหรัฐฯ ใช้วิกฤตการณ์สงครามกับสเปนใน ค.ศ. 1890 ออกกฎหมายภาษีมรดก เช่นเดียวกับไต้หวันที่ใช้วิกฤตการณ์สงครามกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940 หากประเทศไทยจะใช้จังหวะเดียวกันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
ประเทศไทยเมื่อประสบวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ก็พูดเรื่องนี้กัน ถึงขนาดตั้งอนุกรรมการศึกษา
ถ้าวันนี้ตั้งใจจะทำกันจริงๆ จังๆ ไม่ต้องใช้เวลาศึกษามาก หยิบผลการศึกษาเก่าๆ มาต่อยอด แล้วรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง เอาประชาชนคนไม่มีมรดกหรือมีน้อยต่ำกว่า 50 ล้านบาทมาเป็นแนวร่วมกับรัฐบาล จะสำเร็จได้ในเร็ววันชนิดไม่ไกลเกินฝัน
หลายคนคงลืม - หรือไม่รู้ – ว่าประเทศไทยเคยเก็บภาษีมรดกมาแล้วในอดีต!
พ.ศ. 2476 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปีเดียว ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตามแบบนานาอารยประเทศยุคใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ออกมาใช้บังคับ มีรูปแบบการจัดเก็บ 2 ทาง ทางหนึ่งเก็บจากกองมรดกของผู้ตาย อีกทางหนึ่งเก็บจากทายาทผู้รับมรดกแต่ละคน
เรียกว่าเก็บ 2 ทางเลย แตกต่างจากแนวโน้มวันนี้ที่มีแนวโน้มจะเก็บเฉพาะจากทายาทผู้รับมรดกแต่ละคนเท่านั้น
ในยุคกฎหมายพ.ศ. 2476 นั้น ให้เก็บจากกองมรดกที่มีจำนวนเงินหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเกินกว่า 10,000 บาทขึ้นไปในอัตราภาษีก้าวหน้า แต่เพดานอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
น่าเสียดายที่กฎหมายฉบับนี้ใช้อยู่เพียง 11 ปีก็ถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2487 เพราะแรงคัดค้านจากกลุ่มอำนาจเก่าก่อน พ.ศ. 2475 ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยุคทองของประชาธิปไตยไทย ยุคทองของแนวคิดสังคมนิยม ที่แม้แต่พรรคแนวอนุรักษนิยมอย่างประชาธิปัตย์ยังต้องประกาศตนว่าเป็นสังคมนิยมอ่อนๆ ภาษีมรดกได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางสังคมอีกครั้งหนึ่ง ถึงขนาดเสนอร่างพระราชบัญญัติผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว รอแต่เพียงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น
แต่ที่สุดก็ตกไป เพราะเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เสียก่อน!
หรือหากจะย้อนประวัติศาสตร์ไปในยุคก่อนรัฐสมัยใหม่ กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เริ่มจัดเก็บภาษีมรดกแล้ว โดยเรียกเก็บเฉพาะทรัพย์สมบัติที่เกินกำลังของทายาทที่จะใช้สอยให้ตกเป็นของหลวงทั้งหมด ตกมาถึงต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กฎหมายตราสามดวงลักษณะมฤดก มาตรา 3 กำหนดให้ชายที่มีบรรดาศักดิ์เมื่อถึงแก่ความตาย ให้แบ่งมรดกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนหนึ่งให้เข้าพระคลังหลวง ส่วนหนึ่งให้แก่บิดามารดา ส่วนหนึ่งให้แก่พี่น้องลูกหลาน ส่วนสุดท้ายให้แก่ภรรยา มาตรา 34 กำหนดให้ภรรยาที่ได้รับพระราชทานเมื่อถึงแก่ความตายให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ส่วนหนึ่งให้เป็นของหลวง ส่วนหนึ่งให้เป็นของสามี และอีกส่วนหนึ่งให้เป็นของญาติ
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกทุกวันนี้ส่วนใหญ่มีการเก็บภาษีมรดก
เพียงแต่วัตถุประสงค์หลักในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อต้องการรายได้เข้ารัฐเป็นหลัก เพราะจากสถิติปรากฏว่าภาษีมรดกที่เก็บได้ในแต่ละประเทศมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของยอดรวมภาษีที่เก็บได้ทั้งหมดในแต่ละปี
ภาษีมรดกในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จึงมีไว้เป็น “เครื่องมือในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม” มากกว่า!
ไม่ใช่มีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มี
อย่างเช่นมรดกที่เป็นที่ดิน ที่บรรพบุรุษหามาได้ตั้งแต่ยังมีราคาไม่สูง ต่อเมื่อตกมาถึงทายาทรุ่นที่รับมรดกราคาสูงขึ้นมหาศาล เขาไม่มีปัญหาเสียภาษีแน่ ที่สุดก็จะต้องขายให้แก่อภิมหาเศรษฐีหรือกลุ่มทุนเพื่อเอาเงินมาจ่ายภาษีมรดกแล้วเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้ ผลลัพธ์ก็คือจะทำให้มหาเศรษฐีหรือกลุ่มทุนยิ่งมีที่ดินเพิ่มมากขึ้น
นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มีความเห็นกันว่าภาษีทรัพย์สินที่จะเน้นเก็บอัตราสูงกับคนที่ถือครองที่ดินมากเกินความจำเป็นและหรือที่ดินที่ไม่ได้ทำประโยชน์จะได้ผลตรงตามเป้าหมายมากกว่า
แต่เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ภาษีมรดกก็ยังข้อดีอยู่
ศ.ประสพสุข บุญเดช อดีตประธานวุฒิสภา เมื่อตอนที่ท่านเข้าเรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 ปีการศึกษา 2541-2542 ทำเอกสารวิจัยส่วนบุคคลเรื่องภาษีมรดก (Estate Tax) มีรายละเอียดกว้างขวางครอบคลุมความรู้เรื่องภาษีมรดกทั่งในประเทศและต่างประเทศ มีข้อเสนอแนะพร้อมสรรพ ทั้งภาคผนวกก็มีตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ไว้ให้ศึกษาด้วย ท่านมีข้อเสนอแนะ 12 ข้อหลัก เฉพาะที่สำคัญๆ ก็อาทิ
1. ประเทศไทยควรนำระบบการจัดเก็บภาษีมรดกที่ยกเลิกไปกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยให้การกระจายภาระภาษีในสังคมมีความเป็นธรรม ลดช่องว่างในสังคม และเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาลในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
2. ไม่ควรจัดเก็บทั้งภาษีกองมรดกและภาษีการรับมรดกดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา ควรจัดเก็บเฉพาะภาษีกองมรดกอย่างเดียวเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ และไม่ก่อให้เกิดภาระภาษีแก่ประชาชนมากเกินไป
3. กองมรดกซึ่งมียอดสุทธิแห่งค่าจำนวนเพียงเล็กน้อย เช่น ไม่เกิน 10 ล้านบาท หรือตามจำนวนที่จะไม่กระทบถึงทายาทที่เป็นผู้เยาว์และผู้สูงอายุ ควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมรดก
4. อัตราภาษีกองมรดกควรเป็นอัตราก้าวหน้า อัตราภาษีขั้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20
5. ทรัพย์มรดกบางประเภทควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นมูลค่าของกองมรดก เช่น ทรัพย์มรดกที่ยกให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน องค์กรการกุศลสาธารณะ หรือเพื่อศาสนา ทรัพย์มรดกของบุคคลที่มีฐานะพิเศษหรือผู้ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งให้แก่ประเทศชาติ
6. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพิ่มการเรียกเก็บภาษีการให้ทรัพย์สินเป็นภาษีอีกประเภทหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้เจ้ามรดกหลีกเลี่ยงการเสียภาษีกองมรดกโดยยกทรัพย์สินให้โดยเสน่หาในระหว่างที่ตนยังมีชีวิตอยู่
7. ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าภาษีกองมรดกและภาษีการให้ทรัพย์สินมีผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างมาก เฉพาะบุคคลที่ร่ำรวยมากเท่านั้นที่มีภาระ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และเป็นกระแสสังคมที่ผู้มีหน้าที่ในการตรากฎหมายไม่อาจปฏิเสธได้
เท่าที่ฟังดูแนวโน้มภาษีมรดกวันนี้ออกจะแตกต่างไปจากแนวทางที่ท่านอดีตประธานวุฒิสภาเคยเสนอไว้พอสมควร
โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าควรเก็บภาษีจากกองมรดกหรือผู้รับมรดก
ส่วนมูลค่ามรดกที่จะจัดเก็บนั้นก็ขยับขึ้นไปเป็นเฉพาะที่เกิน 50 ล้านบาท แต่อัตราก็ขยับสูงขึ้นไปเป็นร้อยละ 50
สองสามประเด็นนี้ต้องพิจารณาดูให้ดีว่าแนวทางไหนจะได้ผลตรงตามเป้าหมายมากกว่ากัน
แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาษีมรดกจะต้องมาคู่กับภาษีทรัพย์สิน
ต้องเป็นกฎหมายพวงที่คิดควบคู่กันไปตั้งแต่เริ่มต้น