วานนี้ (30ก.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ บริษัท สยาม ไวเนอรี่ จำกัด บริษัท ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮเนสซี่ (ประเทศไทย) บริษัท ที เอ พี เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด (ประเทศไทย) และ บริษัท บาคาร์ดี (ประเทศไทย) ผู้ฟ้องคดีที่ 1-5 ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา เบียร์ ไวน์ ยี่ห้อต่างๆได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รมว.สาธารณสุข และนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-3 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกฎกระทรวงที่กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ให้มีการแสดงข้อความคำเตือน ภาพประกอบ ภาพสัญลักษณ์ พิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนสินค้า พ.ศ. 2553 เพราะเห็นว่า การกำหนดข้อความและภาพแสดงในลักษณะเป็นถ้อยคำที่กล่าวหา หรือใส่ร้ายต่อสินค้า ส่งผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ส่วนที่ศาลยกฟ้อง ระบุเหตุผลว่า การที่ประกาศและกฎกระทรวงดังกล่าว ระบุให้สินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องแสดงข้อความและภาพอย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วย 1. สุราเป็นเหตุให้ก่อมะเร็งได้ 2. สุราเป็นเหตุให้เซ็กส์เสื่อม 3. สุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ 4. สุราเป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ 5. สุราทำร้ายครอบครัวและทำลายสังคมได้ นั้น ศาลเห็นว่า ข้อความคำเตือนดังกล่าว เป็นลักษณะที่ชี้ให้เห็นว่าสุราเป็นเหตุให้เกิดกรณีต่างๆได้ทั้ง 5 กรณี ไม่ได้มีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงว่า เมื่อดื่มสุราแล้ว จะต้องเกิดเหตุทั้ง 5 กรณีแต่อย่างใด สอดคล้องกับความเห็นแพทยสภา ที่ชี้แจงต่อศาลว่า ผลการศึกษาพบว่า คนที่ดื่มสุรามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น และราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ก็ให้การต่อศาลว่า สุราเป็นเหตุให้เซ็กส์เสื่อมได้จริง ส่วนข้อความที่ว่าสุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ สุราเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ และสุราทำร้ายครอบครัวทำลายสังคมได้ ก็เป็นข้อความที่รู้กันโดยทั่วไปว่า การดื่มสุรามากจนมึนเมา จะทำให้ไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะ จนอาจก่อให้เกิดเหตุต่างๆ ดังกล่าวได้ ซึ่งการกำหนดข้อความในลักษณะดังกล่าว ยังเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ เพื่อให้ผู้ดื่มสุรา ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ดื่มและสังคมโดยรวม สอดรับกับข้อยกเว้นให้โฆษณาได้ ตามมาตรา 32 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2552 ทั้งการโฆษณาดังกล่าวยังสอดคล้องกับเหตุผลในการประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติ ว่า โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพครอบครัว อุบัติเหตุ และอาชญากรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรกำหนดมาตรการดังกล่าวในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็มิได้บังคับให้ผู้ฟ้องคดีต้องแสดงข้อความคำเตือนทั้ง 5 ข้อความพร้อมกัน เพียงแต่ให้แสดงข้อความใดข้อความหนึ่งเท่านั้น ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าประกาศและกฎกระทรวงดังกล่าว ออกโดยไม่มีอำนาจและเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินเสรีภาพในการประกอบกิจการ และการแข่งขันโดยเสรีเป็นธรรมนั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 50 ได้ยอมให้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีผลในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองได้ในบางกรณี ซึ่งเมื่อพิจารณาประกาศว่า ด้วยรูปแบบและวิธีการแสดงข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553 ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออก เห็นว่า ประกาศดังกล่าว เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การคุ้มครองผู้บริโภค หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 45 และ 43บัญญัติให้ทำได้ ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 จึงไม่อาจรับฟังได้
ส่วนที่ศาลยกฟ้อง ระบุเหตุผลว่า การที่ประกาศและกฎกระทรวงดังกล่าว ระบุให้สินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องแสดงข้อความและภาพอย่างใดอย่างหนึ่งอันประกอบด้วย 1. สุราเป็นเหตุให้ก่อมะเร็งได้ 2. สุราเป็นเหตุให้เซ็กส์เสื่อม 3. สุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ 4. สุราเป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ 5. สุราทำร้ายครอบครัวและทำลายสังคมได้ นั้น ศาลเห็นว่า ข้อความคำเตือนดังกล่าว เป็นลักษณะที่ชี้ให้เห็นว่าสุราเป็นเหตุให้เกิดกรณีต่างๆได้ทั้ง 5 กรณี ไม่ได้มีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงว่า เมื่อดื่มสุราแล้ว จะต้องเกิดเหตุทั้ง 5 กรณีแต่อย่างใด สอดคล้องกับความเห็นแพทยสภา ที่ชี้แจงต่อศาลว่า ผลการศึกษาพบว่า คนที่ดื่มสุรามีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น และราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ก็ให้การต่อศาลว่า สุราเป็นเหตุให้เซ็กส์เสื่อมได้จริง ส่วนข้อความที่ว่าสุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ สุราเป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ และสุราทำร้ายครอบครัวทำลายสังคมได้ ก็เป็นข้อความที่รู้กันโดยทั่วไปว่า การดื่มสุรามากจนมึนเมา จะทำให้ไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะ จนอาจก่อให้เกิดเหตุต่างๆ ดังกล่าวได้ ซึ่งการกำหนดข้อความในลักษณะดังกล่าว ยังเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารความรู้ เพื่อให้ผู้ดื่มสุรา ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ดื่มและสังคมโดยรวม สอดรับกับข้อยกเว้นให้โฆษณาได้ ตามมาตรา 32 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2552 ทั้งการโฆษณาดังกล่าวยังสอดคล้องกับเหตุผลในการประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติ ว่า โดยที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพครอบครัว อุบัติเหตุ และอาชญากรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรกำหนดมาตรการดังกล่าวในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็มิได้บังคับให้ผู้ฟ้องคดีต้องแสดงข้อความคำเตือนทั้ง 5 ข้อความพร้อมกัน เพียงแต่ให้แสดงข้อความใดข้อความหนึ่งเท่านั้น ประกาศดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าประกาศและกฎกระทรวงดังกล่าว ออกโดยไม่มีอำนาจและเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินเสรีภาพในการประกอบกิจการ และการแข่งขันโดยเสรีเป็นธรรมนั้น เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 50 ได้ยอมให้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีผลในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองได้ในบางกรณี ซึ่งเมื่อพิจารณาประกาศว่า ด้วยรูปแบบและวิธีการแสดงข้อความคำเตือนประกอบภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2553 ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออก เห็นว่า ประกาศดังกล่าว เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การคุ้มครองผู้บริโภค หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 45 และ 43บัญญัติให้ทำได้ ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 จึงไม่อาจรับฟังได้