**จากไม่มีใครจับจ้องเท่าไหร่ กลับกลายมาเป็นสายล่อฟ้าเสียอย่างนั้น สำหรับ “บิ๊กกี่”พล.อ.นพดล อินทปัญญา ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่นำพลพรรคสีลายพรางในคราบ สนช. 28 ชีวิต ยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของสนช. ต่อสาธารณชน โดยอ้างว่า ตนเองไม่ใช่นักการเมือง
งานนี้จากที่หลายคนอุตส่าห์ลืมๆ กรณีสนช. บางคนยึกยักไม่อยากยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช.ในช่วงแรกๆ ของการรับตำแหน่ง จนโดยรุมจวกกันยับไปพัก คราวนี้เหมือนดันไปกระชากความสนใจให้กลับมาที่ตัวเองอีกครั้งแบบไม่เป็นเรื่อง ชนิดปลาเน่าตัวเดียวทำ สนช.องค์รวมเสียภาพลักษณ์กันหมด
แล้วไม่ใช่แค่โดนโจมตีแล้วจบๆ กันไป เพราะหากศาลปกครองตัดสินมา ให้ยกฟ้อง ซึ่งมีความเป็นไปสูงมาก เพราะศาลเองก็คงไม่อยากจะโดนสังคมโดยรวมด่าสาดเสียเทเสีย เนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องของการแสดงความบริสุทธิ์ใจ และความโปร่งใส จึงอาจทำให้ “บิ๊กกี่”กลายเป็นเป้าที่สาธารณชนอยากรู้บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมากที่สุด เมื่อมีการเปิดเผยออกมาจากป.ป.ช. ในวันที่ 3 ตุลาคม นี้
** เชื่อขนมกินได้ว่า พลันที่มีการเปิดเผยออกสู่สายตาสาธารณชน จะต้องมีรายการล้วง แคะ แกะ เกา กันแบบละเอียดยิบ โดยเฉพาะบรรดาธุรกิจต่างๆ ที่ “บิ๊กกี่”ทำ มีการหาที่มาที่ไปกันกระจาย คงต้องชี้แจงกันวุ่นไปสักพัก
ปมไม่อยากเปิดเผยขุมทรัพย์ตัวเองในครั้งนี้ นอกจากทำให้ตัวเองเป็นเป้านิ่งของสังคม ยังกระทบชิ่งไปถึงผู้มีบารมีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกด้วย เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า “บิ๊กกี่”คือ เพื่อนรักของ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งถูกจับจ้องจากสังคมตั้งแต่วันแรกที่ คสช. เข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศว่า จะเป็นสายล่อฟ้าให้กับรัฐบาลชุดนี้
เรื่องนี้ความจริงไม่น่าจะต้องลุกลามบานปลาย แถมข้อต่อสู้ของ “บิ๊กกี่”และองคาพยพที่อ้างว่าตัวเองไม่ใช่นักการเมือง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยก็ฟังไม่ขึ้น หนำซ้ำยังจิกเล็บเจ็บเนื้ออีกด้วย เพราะทำให้คนสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่อยากจะเผยแพร่ให้ประชาชนได้เห็น หากตัวเองบริสุทธิ์ใจที่จะเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ
ยังไม่นับรวมเรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งทางป.ป.ช. ก็ยืนยันแล้วว่า สนช.ทำหน้าที่เสมือน ส.ส. และส.ว. อีกทั้ง สนช.ปี 2549 ยุคที่มีปรมาจารย์ด้านกฎหมายอย่าง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็มีการยื่นเอาไว้ ดังนั้น ก็ควรจะต้องปฏิบัติให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ เหตุใดจึงจำเป็นต้องตีอกชกตัว
** หรือว่ามีอะไรปิดบังซ่อนอยู่??
กรณีที่เกิดขึ้นนอกจากจะทำให้ “บิ๊กกี่” และพวก สนช. 28 คน โดนจับตาเป็นพิเศษ ยังเป็นการเรียกความสนใจให้ทุกคนหันมาจับตาดูการทำงานของสนช. โดยรวมต่อจากนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเท่าที่ผ่านมาก็โดนค่อนแคะกันหนักถึงฝีไม้ลายมือแต่ละคน และประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ว่า สมบูรณ์แล้วหรือยัง
เพราะวัดจากเสียงสะท้อนและปฏิกิริยาที่ผ่านมา สนช. ยังเป็นในลักษณะ ความเลวไม่มี ความดีไม่ปรากฏ การพิจารณากฎหมายไม่มีความหวือหวา ส่วนใหญ่ออกไปในลูกตามน้ำกันเสียมากกว่า ไม่มีใครกล้าขัดใจฝ่ายผู้มีอำนาจ การอภิปรายเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นไปในลักษณะเหยาะแหยะ
มีที่เริ่มน่าจะตื่นเต้นเร้าใจก็ปมเห็นชอบร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ในหมวดถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีคดีความที่น่าจับจ้องใหญ่ๆ คือ คดีป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวรัชยพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และอดีตรองประธานรัฐสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. คดี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดอดีต ส.ว.บางส่วน ที่ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. และคดีป.ป.ช.ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีโครงการรับจำนำข้าว
มองกันตามเนื้อผ้าคดีใหญ่ๆ ถ้าจะวัดคะแนนในห้องประชุมสนช. ว่า เพียงพอจะถอดถอนนักการเมืองเหล่านี้หรือไม่ เรียกว่า อยู่ในลักษณะท่วมท้นที่จะทำให้บุคคลพวกนี้เว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หรือมากกว่านั้น หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จ
แต่ในทางการเมืองแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะมองจากอดีตที่ผ่านมาบรรดาส.ว.แทบไม่เคยจะถอดถอนนักการเมืองได้เลยสักราย เนื่องจากยึดธรรมเนียม เสือไม่กินเนื้อเสือ หรือบางทีก็มีรายการวิ่งล็อบบี้กันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัย ดังที่จะเห็นข่าวกันครึกโครมเวลาสภาจะยกมือโหวตเรื่องต่างๆ
อย่างกรณีการเห็นชอบข้อบังคับการประชุมสนช. ในครั้งนี้ ก็มีบางฝ่ายระแวงอยู่เหมือนกันว่า มันจะเป็นการติดดาบเพื่อสร้างอำนาจต่อรองหรือไม่ เพราะแน่นอนว่า ผู้ที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลมายังไม่อยากหมดอนาคตทางการเมือง จึงน่าจะทำทุกวิถีทาง หรือแม้แต่วิธีการที่เคยทำมาตอนเป็นรัฐสภาปกตินั่นคือ วิ่งล็อบบี้กันฝุ่นตลบ
** จึงเป็นเรื่องที่ สนช.ต้องทำให้คลีน ทำให้เห็นว่า เป็นเวอร์ชั่นใหม่ อย่าให้มีเรื่องเงินๆ ทองๆ เข้ามา ไม่เช่นนั้นวงจรอุบาทว์ ก็วนอยู่อย่างนี้
ขณะที่อีกมุมหนึ่งก็มีการมองว่า การผ่านร่างข้อบังคับการประชุมหนนี้ ก็เพื่อจ้องถล่มฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว ตั้งแต่การออกกฎหมายที่จะทำให้อีกฝั่งเสียประโยชน์ หรือหมดอนาคตทางการเมือง จนแสดงความเป็นห่วงว่า สนช. อาจกำลังเดินผิดแนวทางและเจตนารมณ์หรือไม่
เพราะหน้าที่ของ สนช.คือ การออกกฎหมายที่รัฐสภาปกติไม่สามารถออกได้ เพราะมีเงื่อนไขนานาสารพัน ขณะเดียวกัน ต้องการงัดง้างรัฐบาล และคสช. หากเห็นว่า เรื่องไหนไม่ถูกไม่ควร แต่ที่ผ่านมาโดนเหยียดหยามกันเยอะว่า เป็นเพียงลูกหาบรัฐบาลและคสช.ไล่ถล่มคนอื่น เป็นตรายาง คอยประทับสร้างความชอบธรรมให้อย่างเดียว ประเภทไฟเขียว ไม่มีไฟแดงเลย
ซึ่งก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย เพราะหากวัดกันตามโรดแมป 3 ระยะ และคำพูดของ “บิ๊กตู่” ทั้งรัฐบาล และสนช. จะมีอายุเพียงขวบปีเศษเท่านั้น ในขณะที่กฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศมีไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยฉบับ หากมัวแต่มาไล่ล่ากันอย่างเดียวก็อาจจะทำตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ได้
** ทำไมเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะถอดถอนไม่เก็บไว้รอสภาปกติมาทำหน้าที่ เพราะได้ทั้งความชอบธรรม และสง่างามกว่า สนช. ทำเองเยอะ ไม่เช่นนั้นขี้ข้าทักษิณ ก็จะไปอ้างอีกว่า โดนรังแกอยู่เรื่อย
งานนี้จากที่หลายคนอุตส่าห์ลืมๆ กรณีสนช. บางคนยึกยักไม่อยากยื่นแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช.ในช่วงแรกๆ ของการรับตำแหน่ง จนโดยรุมจวกกันยับไปพัก คราวนี้เหมือนดันไปกระชากความสนใจให้กลับมาที่ตัวเองอีกครั้งแบบไม่เป็นเรื่อง ชนิดปลาเน่าตัวเดียวทำ สนช.องค์รวมเสียภาพลักษณ์กันหมด
แล้วไม่ใช่แค่โดนโจมตีแล้วจบๆ กันไป เพราะหากศาลปกครองตัดสินมา ให้ยกฟ้อง ซึ่งมีความเป็นไปสูงมาก เพราะศาลเองก็คงไม่อยากจะโดนสังคมโดยรวมด่าสาดเสียเทเสีย เนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องของการแสดงความบริสุทธิ์ใจ และความโปร่งใส จึงอาจทำให้ “บิ๊กกี่”กลายเป็นเป้าที่สาธารณชนอยากรู้บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมากที่สุด เมื่อมีการเปิดเผยออกมาจากป.ป.ช. ในวันที่ 3 ตุลาคม นี้
** เชื่อขนมกินได้ว่า พลันที่มีการเปิดเผยออกสู่สายตาสาธารณชน จะต้องมีรายการล้วง แคะ แกะ เกา กันแบบละเอียดยิบ โดยเฉพาะบรรดาธุรกิจต่างๆ ที่ “บิ๊กกี่”ทำ มีการหาที่มาที่ไปกันกระจาย คงต้องชี้แจงกันวุ่นไปสักพัก
ปมไม่อยากเปิดเผยขุมทรัพย์ตัวเองในครั้งนี้ นอกจากทำให้ตัวเองเป็นเป้านิ่งของสังคม ยังกระทบชิ่งไปถึงผู้มีบารมีในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกด้วย เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า “บิ๊กกี่”คือ เพื่อนรักของ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งถูกจับจ้องจากสังคมตั้งแต่วันแรกที่ คสช. เข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศว่า จะเป็นสายล่อฟ้าให้กับรัฐบาลชุดนี้
เรื่องนี้ความจริงไม่น่าจะต้องลุกลามบานปลาย แถมข้อต่อสู้ของ “บิ๊กกี่”และองคาพยพที่อ้างว่าตัวเองไม่ใช่นักการเมือง จึงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยก็ฟังไม่ขึ้น หนำซ้ำยังจิกเล็บเจ็บเนื้ออีกด้วย เพราะทำให้คนสงสัยว่า เหตุใดจึงไม่อยากจะเผยแพร่ให้ประชาชนได้เห็น หากตัวเองบริสุทธิ์ใจที่จะเข้ามาทำงานเพื่อประเทศชาติ
ยังไม่นับรวมเรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งทางป.ป.ช. ก็ยืนยันแล้วว่า สนช.ทำหน้าที่เสมือน ส.ส. และส.ว. อีกทั้ง สนช.ปี 2549 ยุคที่มีปรมาจารย์ด้านกฎหมายอย่าง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็มีการยื่นเอาไว้ ดังนั้น ก็ควรจะต้องปฏิบัติให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ เหตุใดจึงจำเป็นต้องตีอกชกตัว
** หรือว่ามีอะไรปิดบังซ่อนอยู่??
กรณีที่เกิดขึ้นนอกจากจะทำให้ “บิ๊กกี่” และพวก สนช. 28 คน โดนจับตาเป็นพิเศษ ยังเป็นการเรียกความสนใจให้ทุกคนหันมาจับตาดูการทำงานของสนช. โดยรวมต่อจากนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเท่าที่ผ่านมาก็โดนค่อนแคะกันหนักถึงฝีไม้ลายมือแต่ละคน และประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ว่า สมบูรณ์แล้วหรือยัง
เพราะวัดจากเสียงสะท้อนและปฏิกิริยาที่ผ่านมา สนช. ยังเป็นในลักษณะ ความเลวไม่มี ความดีไม่ปรากฏ การพิจารณากฎหมายไม่มีความหวือหวา ส่วนใหญ่ออกไปในลูกตามน้ำกันเสียมากกว่า ไม่มีใครกล้าขัดใจฝ่ายผู้มีอำนาจ การอภิปรายเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นไปในลักษณะเหยาะแหยะ
มีที่เริ่มน่าจะตื่นเต้นเร้าใจก็ปมเห็นชอบร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ในหมวดถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีคดีความที่น่าจับจ้องใหญ่ๆ คือ คดีป.ป.ช.ชี้มูลความผิด นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวรัชยพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และอดีตรองประธานรัฐสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. คดี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดอดีต ส.ว.บางส่วน ที่ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. และคดีป.ป.ช.ชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีโครงการรับจำนำข้าว
มองกันตามเนื้อผ้าคดีใหญ่ๆ ถ้าจะวัดคะแนนในห้องประชุมสนช. ว่า เพียงพอจะถอดถอนนักการเมืองเหล่านี้หรือไม่ เรียกว่า อยู่ในลักษณะท่วมท้นที่จะทำให้บุคคลพวกนี้เว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หรือมากกว่านั้น หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จ
แต่ในทางการเมืองแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะมองจากอดีตที่ผ่านมาบรรดาส.ว.แทบไม่เคยจะถอดถอนนักการเมืองได้เลยสักราย เนื่องจากยึดธรรมเนียม เสือไม่กินเนื้อเสือ หรือบางทีก็มีรายการวิ่งล็อบบี้กันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัย ดังที่จะเห็นข่าวกันครึกโครมเวลาสภาจะยกมือโหวตเรื่องต่างๆ
อย่างกรณีการเห็นชอบข้อบังคับการประชุมสนช. ในครั้งนี้ ก็มีบางฝ่ายระแวงอยู่เหมือนกันว่า มันจะเป็นการติดดาบเพื่อสร้างอำนาจต่อรองหรือไม่ เพราะแน่นอนว่า ผู้ที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลมายังไม่อยากหมดอนาคตทางการเมือง จึงน่าจะทำทุกวิถีทาง หรือแม้แต่วิธีการที่เคยทำมาตอนเป็นรัฐสภาปกตินั่นคือ วิ่งล็อบบี้กันฝุ่นตลบ
** จึงเป็นเรื่องที่ สนช.ต้องทำให้คลีน ทำให้เห็นว่า เป็นเวอร์ชั่นใหม่ อย่าให้มีเรื่องเงินๆ ทองๆ เข้ามา ไม่เช่นนั้นวงจรอุบาทว์ ก็วนอยู่อย่างนี้
ขณะที่อีกมุมหนึ่งก็มีการมองว่า การผ่านร่างข้อบังคับการประชุมหนนี้ ก็เพื่อจ้องถล่มฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว ตั้งแต่การออกกฎหมายที่จะทำให้อีกฝั่งเสียประโยชน์ หรือหมดอนาคตทางการเมือง จนแสดงความเป็นห่วงว่า สนช. อาจกำลังเดินผิดแนวทางและเจตนารมณ์หรือไม่
เพราะหน้าที่ของ สนช.คือ การออกกฎหมายที่รัฐสภาปกติไม่สามารถออกได้ เพราะมีเงื่อนไขนานาสารพัน ขณะเดียวกัน ต้องการงัดง้างรัฐบาล และคสช. หากเห็นว่า เรื่องไหนไม่ถูกไม่ควร แต่ที่ผ่านมาโดนเหยียดหยามกันเยอะว่า เป็นเพียงลูกหาบรัฐบาลและคสช.ไล่ถล่มคนอื่น เป็นตรายาง คอยประทับสร้างความชอบธรรมให้อย่างเดียว ประเภทไฟเขียว ไม่มีไฟแดงเลย
ซึ่งก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย เพราะหากวัดกันตามโรดแมป 3 ระยะ และคำพูดของ “บิ๊กตู่” ทั้งรัฐบาล และสนช. จะมีอายุเพียงขวบปีเศษเท่านั้น ในขณะที่กฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และประเทศมีไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยฉบับ หากมัวแต่มาไล่ล่ากันอย่างเดียวก็อาจจะทำตามเป้าหมายที่วางไว้ไม่ได้
** ทำไมเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะถอดถอนไม่เก็บไว้รอสภาปกติมาทำหน้าที่ เพราะได้ทั้งความชอบธรรม และสง่างามกว่า สนช. ทำเองเยอะ ไม่เช่นนั้นขี้ข้าทักษิณ ก็จะไปอ้างอีกว่า โดนรังแกอยู่เรื่อย