ศิริราชขออุบความสำเร็จ การผลิตแอนติบอดีรักษา "อีโบลา" ระบุศึกษามายาวนาน ยันไม่ได้นำเชื้อที่มีการระบาดเข้าประเทศมา ใช้ไวรัสกลุ่มเดียวกันเท่านั้นศึกษา ขณะที่ หน.ภาควิชาจุลชีววิทยา ศิริราชโพสต์เฟซบุ๊กยันแถลงข่าวผลิตแอนติบอดีรักษาอีโบลา ไม่ใช่การค้นพบยารักษาโรค แต่พบแอนติบอดีเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อไป รอติดตามรายละเอียดแถลงข่าว 2 ต.ค.ด้าน"หมอรัชตะ" จ่อชงแผนควบคุมโรคอีโบลา ทั้งระดุมทุน เวชภัณฑ์ กำลังคน ช่วยเหลือประเทศระบาดต้นทางต่อ ครม. หลังนานาชาติเร่งระดมให้ความช่วยเหลือ เหตุบุคลากรไม่เพียงพอ
วานนี้ (29 ก.ย.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการแถลงข่าว "ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ว่า เรื่องนี้ศิริราชมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งที่อยากแจ้งให้ทราบ แต่คงขอให้รายละเอียดในวันที่ 2 ต.ค.นี้ ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวไม่ได้นำเชื้อไวรัสที่กำลังระบาดเข้ามา แต่ใช้ไวรัสในกลุ่มเดียวกัน เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มนี้มีหลายตัว ซึ่งกลุ่มใหญ่จะเป็นพันธุกรรมเดียวกัน
รศ.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะผู้ร่วมแถลงข่าว กล่าวว่า ศิริราชยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลการแถลงข่าวใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างขอให้รอการแถลงข่าวในวันที่ 2 ต.ค.เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Pat Kir เพื่อชี้แจงกรณีศิริราชเตรียมแถลงข่าว "ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ในวันที่ 2 ต.ค.นี้ ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมแถลงข่าว เนื่องจากขณะนี้กำลังมีความเข้าใจผิดว่าค้นพบยารักษาโรคอีโบลา โดยมีใจความโดยสรุปว่า มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน การค้นพบครั้งนี้ตนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัย การค้นพบนี้เป็นการค้นพบแอนติบอดีเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อไป ไม่ใช่ยารักษาโรค รายละเอียดอื่น ศิริราชจะอธิบายในวันแถลงข่าว
"เรียนทุกท่านที่ได้อ่านข้อความหรือข่าวที่แชร์ต่อๆ กันไปในข่าว เกี่ยวกับเรื่องอีโบลาครับ และมีการกล่าวถึงผมด้วย ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดว่าผมค้นพบยารักษาโรคนี้ (และมีผู้ติดต่อเข้ามามากมายในเวลานี้) รวมถึงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปบ้างเกี่ยวกับการเตรียมแถลงข่าวของศิริราช ผมขออนุญาตเรียนชี้แจงทุกๆ ท่านในเบื้องต้นดังนี้ครับ 1.การค้นพบนี้ เป็นผลงานของทีมผู้วิจัยที่่มี ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา เป็นหัวหน้าทีม (ผมไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้แต่อย่างใดครับ) ผมดูแลเฉพาะส่วนการวินิจฉัยโรคเท่านั้น ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของการแถลงข่าวที่ทางศิริราชได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมแบบมาตรฐานสากลให้กับประเทศไทยหากมีผู้ป่วย (การแถลงข่าวมี 2 ส่วน) 2.การค้นพบของ ศ.ดร.วันเพ็ญ และคณะ ในครั้งนี้ เป็นการค้นพบแอนติบอดีเพื่อการพัฒนาวัคซีนต่อไป ไม่ใช่ยารักษาโรคครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางศิริราชจะเป็นผู้อธิบายในการแถลงข่าววันที่ 2 ต.ค. ต่อไปครับ จึงขอเรียนอธิบายไว้เบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับ และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจกับทีมนักวิจัยและบุคลากรที่ศิริราชครับ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำจำกัดความของ แอนติบอดี หมายถึงโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อได้รับเชื้อใดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีทั้งที่สามารถป้องกันโรคได้ และป้องกันโรคไม่ได้ โดยเป็นกระบวนการหนึ่งของภูมิต้านทานโรค ลักษณะเสมือนส่วนหนึ่งของจุลชีพต่างๆ ซึ่งแอนติบอดี มีทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้ร่างกายจดจำเชื้อชนิดนั้นๆ เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อโรค นอกจากนี้ แอนตีบอดียังหมายความรวมถึงประโยชน์ในการวินิจฉัย วิเคราะห์เชื้อทางห้องปฏิบัติการอีกด้วย
วันเดียวกัน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับประเด็นโรคติดเชื้ออีโบลานั้น เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา ตนและ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. ได้เดินทางไปร่วมประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการประชุมวาระความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก(Global Health Security Agenda : GHSA) ร่วมกับผู้นำองค์กรสุขภาพโลก และนานาชาติกว่า 30 ประเทศ ที่ทำเนียบขาว สหรัฐอเมริกา ในการเร่งพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันภาวะคุกคามจากโรคติดต่อและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมโรคอีโบลาใน 4 ประเทศแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากปัญหาในการควบคุมโรคอีโบลาคือ ยังไม่มีบุคลากรที่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่การป้องกันคือต้องไปดูแลที่ต้นตอ
"ที่ประชุมมีมติแล้วว่า สหรัฐฯ จะสร้างโรงพยาบาลภาคสนามขนาด 1,700 เตียง และทหารกว่า 3,00 นาย ในการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงอังกฤษด้วย ส่วนบางประเทศขณะนี้ได้ส่งยา เวชภัณฑ์ เงิน และกำลังคนทั้งแพทย์ พยาบาล และนักระบาดวิทยา ไปช่วยเหลือแล้ว เช่น จีน คิวบา และเยอรมนี ส่วนประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุน โดยจะนำเสนอแผนความช่วยเหลือแก่ประเทศต้นทางการระบาดของโรคแก่ ครม. พิจารณาในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยเล็งที่จะระดมเงินบริจาค เวชภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการหารือกับทางสภากาชาดไทยก่อน รวมไปถึงการขนส่งทางอากาศ และอาสาสมัครด้วย" รมว.สาธารณสุข กล่าว
วานนี้ (29 ก.ย.) ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการแถลงข่าว "ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ว่า เรื่องนี้ศิริราชมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งที่อยากแจ้งให้ทราบ แต่คงขอให้รายละเอียดในวันที่ 2 ต.ค.นี้ ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวไม่ได้นำเชื้อไวรัสที่กำลังระบาดเข้ามา แต่ใช้ไวรัสในกลุ่มเดียวกัน เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มนี้มีหลายตัว ซึ่งกลุ่มใหญ่จะเป็นพันธุกรรมเดียวกัน
รศ.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ในฐานะผู้ร่วมแถลงข่าว กล่าวว่า ศิริราชยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลการแถลงข่าวใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างขอให้รอการแถลงข่าวในวันที่ 2 ต.ค.เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Pat Kir เพื่อชี้แจงกรณีศิริราชเตรียมแถลงข่าว "ครั้งแรกของไทย ศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ” ในวันที่ 2 ต.ค.นี้ ในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมแถลงข่าว เนื่องจากขณะนี้กำลังมีความเข้าใจผิดว่าค้นพบยารักษาโรคอีโบลา โดยมีใจความโดยสรุปว่า มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน การค้นพบครั้งนี้ตนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัย การค้นพบนี้เป็นการค้นพบแอนติบอดีเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อไป ไม่ใช่ยารักษาโรค รายละเอียดอื่น ศิริราชจะอธิบายในวันแถลงข่าว
"เรียนทุกท่านที่ได้อ่านข้อความหรือข่าวที่แชร์ต่อๆ กันไปในข่าว เกี่ยวกับเรื่องอีโบลาครับ และมีการกล่าวถึงผมด้วย ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดว่าผมค้นพบยารักษาโรคนี้ (และมีผู้ติดต่อเข้ามามากมายในเวลานี้) รวมถึงมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปบ้างเกี่ยวกับการเตรียมแถลงข่าวของศิริราช ผมขออนุญาตเรียนชี้แจงทุกๆ ท่านในเบื้องต้นดังนี้ครับ 1.การค้นพบนี้ เป็นผลงานของทีมผู้วิจัยที่่มี ศ.ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา เป็นหัวหน้าทีม (ผมไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้แต่อย่างใดครับ) ผมดูแลเฉพาะส่วนการวินิจฉัยโรคเท่านั้น ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งของการแถลงข่าวที่ทางศิริราชได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมแบบมาตรฐานสากลให้กับประเทศไทยหากมีผู้ป่วย (การแถลงข่าวมี 2 ส่วน) 2.การค้นพบของ ศ.ดร.วันเพ็ญ และคณะ ในครั้งนี้ เป็นการค้นพบแอนติบอดีเพื่อการพัฒนาวัคซีนต่อไป ไม่ใช่ยารักษาโรคครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทางศิริราชจะเป็นผู้อธิบายในการแถลงข่าววันที่ 2 ต.ค. ต่อไปครับ จึงขอเรียนอธิบายไว้เบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับ และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจกับทีมนักวิจัยและบุคลากรที่ศิริราชครับ"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำจำกัดความของ แอนติบอดี หมายถึงโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อได้รับเชื้อใดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งมีทั้งที่สามารถป้องกันโรคได้ และป้องกันโรคไม่ได้ โดยเป็นกระบวนการหนึ่งของภูมิต้านทานโรค ลักษณะเสมือนส่วนหนึ่งของจุลชีพต่างๆ ซึ่งแอนติบอดี มีทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้ร่างกายจดจำเชื้อชนิดนั้นๆ เพื่อให้เกิดภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อโรค นอกจากนี้ แอนตีบอดียังหมายความรวมถึงประโยชน์ในการวินิจฉัย วิเคราะห์เชื้อทางห้องปฏิบัติการอีกด้วย
วันเดียวกัน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำหรับประเด็นโรคติดเชื้ออีโบลานั้น เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา ตนและ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. ได้เดินทางไปร่วมประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการประชุมวาระความมั่นคงด้านสุขภาพของโลก(Global Health Security Agenda : GHSA) ร่วมกับผู้นำองค์กรสุขภาพโลก และนานาชาติกว่า 30 ประเทศ ที่ทำเนียบขาว สหรัฐอเมริกา ในการเร่งพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันภาวะคุกคามจากโรคติดต่อและโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมโรคอีโบลาใน 4 ประเทศแอฟริกาตะวันตก เนื่องจากปัญหาในการควบคุมโรคอีโบลาคือ ยังไม่มีบุคลากรที่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ ทั้งๆ ที่การป้องกันคือต้องไปดูแลที่ต้นตอ
"ที่ประชุมมีมติแล้วว่า สหรัฐฯ จะสร้างโรงพยาบาลภาคสนามขนาด 1,700 เตียง และทหารกว่า 3,00 นาย ในการดูแลผู้ป่วย รวมไปถึงอังกฤษด้วย ส่วนบางประเทศขณะนี้ได้ส่งยา เวชภัณฑ์ เงิน และกำลังคนทั้งแพทย์ พยาบาล และนักระบาดวิทยา ไปช่วยเหลือแล้ว เช่น จีน คิวบา และเยอรมนี ส่วนประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุน โดยจะนำเสนอแผนความช่วยเหลือแก่ประเทศต้นทางการระบาดของโรคแก่ ครม. พิจารณาในวันที่ 1 ต.ค.นี้ โดยเล็งที่จะระดมเงินบริจาค เวชภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะต้องมีการหารือกับทางสภากาชาดไทยก่อน รวมไปถึงการขนส่งทางอากาศ และอาสาสมัครด้วย" รมว.สาธารณสุข กล่าว