นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวถึงกรณี พล.อ.นพดล อินทปัญญา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง เพื่อให้ระงับการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของสมาชิก สนช. ตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยอ้างว่า สนช.ไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงไม่มีหน้าที่ยื่น และเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินว่า ส่วนตัวมองว่า เมื่อเข้าทำหน้าที่ สนช.แล้ว ก็ควรแสดงความบริสุทธิ์ใจ และดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดขึ้นมา การที่สนช.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง เหมือนพยายามปกปิดซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง หากไม่มีความพร้อมที่จะเปิดเผยทรัพย์สิน ก็ไม่ควรที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ และในความเป็นจริงคนที่จะเข้ามาเป็น สนช. หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำเป็นต้องขอยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. รวมไปถึงประกาศไม่รับเงินเดือนด้วยซ้ำ
" ทั้ง สนช.และ สปช. จะมีส่วนสำคัญในการปฏิรูปสังคมและปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ จะนำไปสู่การปฏิรูปทุกด้าน การยื่นและเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงความบริสุทธิ์ใจ และเป็นการนับหนึ่งของการปฏิรูปในเรื่องการทุจริต คอร์รัปชั่นได้ ดังนั้น สนช.หรือกระทั่งสปช. ที่กำลังจะมีการประกาศชื่อ ไม่ควรที่จะนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น หรือ ออกมาตีโพยตีพายให้สังคมเคลือบแคลงสงสัย" นายอุเทน ระบุ
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกมายืนยันว่า ไม่มีการล็อกสเปกในกระบวนการสรรหา และคัดเลือก สปช. นั้น นายอุเทน กล่าวว่า ตามที่ คสช.ได้คัดเลือกตัวบุคคลผู้ที่จะมาเป็น สปช. จนครบ 250 คนแล้ว แต่ก็เห็นว่า มีปัญหาทั้งในส่วนของผู้ที่ได้รับการคัดสรรมาทั้ง 11 กลุ่ม จำนวน 550 คน และตัวแทน 77 จังหวัด จนมีผู้ไปร้องต่อศาลให้ชะลอประกาศรายชื่อ โดยก่อนหน้านี้ ตนก็เคยระบุแล้วว่า เชื่อว่าจะมีการล็อกสเปก หรือตัวบุคคลในบางส่วน โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ร่วมกับทหาร หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจของคสช. อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น
"พล.อ.ประยุทธ์ ก็บอกเองว่า ไม่มีข้อไหนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ห้ามไม่ให้นักศึกษาวปอ. เป็น สปช. สะท้อนให้เห็นว่า หลายคนที่จะเข้ามาเป็น สปช. เคยผ่านหลักสูตรที่ว่า และอาจจะมีสายสัมพันธ์อันดีกับคนในกองทัพที่ผ่านการเรียนหลักสูตรเหล่านั้นมา ดูได้จากการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่ผ่านมา ก็โยงใยคอนเนกชั่นเหล่านี้" นายอุเทน ระบุ
นายอุเทน กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีคนรอบข้างพยายามเตือนตนว่า อย่าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ คสช. เพราะไม่มีประโยชน์ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ไม่สามารถจะทำใจนิ่งอยู่ได้ หวังว่าสิ่งที่ตนออกมาให้ข้อมูล เป็นการติเพื่อก่อ ไม่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และ คสช. ทำเสียของอย่างที่หลายฝ่ายจับจ้องมองอยู่ โดยเฉพาะในวันนี้ที่รัฐบาลและ คสช. มีอำนาจ มีเครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากร และบารมีความนิยม ไม่อยากรอจนวันที่เราต้องเห็นภาพความเสื่อมถอยของ คสช. ซึ่งประชาชนฝากความหวัง ฝากบ้านเมืองไว้ และให้โอกาสพวกท่าน มากกว่าคณะรัฐประหารชุดใดๆ จุดเริ่มต้นกระบวนการตามโรดแมป แก้ไขปัญหาประเทศของ คสช. ก็เริ่มที่การคัดสรรตัวบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนต่างๆ หากยังยึดติดกับกลุ่มคนเดิม คนหน้าเดิมๆ ก็ติดหล่มวังวนปัญหาเดิมๆ ไปตลอด
" คสช.ต้องกล้าหาญในการใช้คนมากกว่านี้ คสช. ต้องเด็ดขาด มากกว่าที่ผ่านมา อย่าใช้คน หรือข้าราชการหน้าเดิมๆ หากมีความจริงใจ ตั้งใจจริง ต่อบ้านเมืองและประชาชน โปรดระลึกไว้ด้วยว่า ที่บ้านเมืองวุ่นวาย ถอยหลัง กฎหมายมีหลายมาตรฐาน มีการทุจริตมากมาย ก็เพราะ ข้าราชการเป็นตัวเริ่ม มีพ่อค้าหน้าเดิม นักการเมืองหน้าเดิม พอใช้พวกหน้าเดิมๆ วิธีเดิมๆ ปัญหาก็เหมือนเดิม" นายอุเทน กล่าว
หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเห็นว่า คสช. พยายามเข้าไปแก้ไขสะสางปัญหาในหลายด้าน จนผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพึงพอใจในความเด็ดขาด รวดเร็วของ คสช. แต่ในความเป็นจริงอีกหลายปัญหากลับยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไปแล้วก็กลับมามีปัญหาเหมือนเดิม อาทิ การแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลขายเกินราคา คสช.ยังทำไม่ได้ ทั้งที่ คสช.กล้าฉีกรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่กล้าฉีกสัญญาของผู้ค้ารายใหญ่ หรือปัญหาปากท้องค่าครองชีพของประชาชน ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีหลายเรื่องรัฐเสียเปรียบและประชาชนเดือดร้อนจากสัญญาสัมปทาน ทั้งทางด่วนที่มีการกำหนดว่าต้องขึ้นราคาทุกกี่ปี ทั้งที่ในหลักความเป็นจริงควรที่จะลดราคาลงตามความเสื่อมสภาพไปตามวันเวลามากกว่า หรืออย่างค่าโคยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ทราบว่า มีการขยายเวลาการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทานออกไปเป็นช่วงต้นปี 58 ในระยะสั้นอาจช่วยเหลือประชาชนได้ก็จริง แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นราคา ประชาชนเดือดร้อน เอกชนได้ประโยชน์ หากยังไม่มีการเข้าไปแก้ไขสัญญาสัมปทานให้เป็นธรรม จึงอยากให้รัฐบาลและ คสช. ใช้โอกาสนี้เข้าไปพิจารณาแก้ไขเรื่องเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง
" ทั้ง สนช.และ สปช. จะมีส่วนสำคัญในการปฏิรูปสังคมและปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ จะนำไปสู่การปฏิรูปทุกด้าน การยื่นและเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงความบริสุทธิ์ใจ และเป็นการนับหนึ่งของการปฏิรูปในเรื่องการทุจริต คอร์รัปชั่นได้ ดังนั้น สนช.หรือกระทั่งสปช. ที่กำลังจะมีการประกาศชื่อ ไม่ควรที่จะนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็น หรือ ออกมาตีโพยตีพายให้สังคมเคลือบแคลงสงสัย" นายอุเทน ระบุ
ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกมายืนยันว่า ไม่มีการล็อกสเปกในกระบวนการสรรหา และคัดเลือก สปช. นั้น นายอุเทน กล่าวว่า ตามที่ คสช.ได้คัดเลือกตัวบุคคลผู้ที่จะมาเป็น สปช. จนครบ 250 คนแล้ว แต่ก็เห็นว่า มีปัญหาทั้งในส่วนของผู้ที่ได้รับการคัดสรรมาทั้ง 11 กลุ่ม จำนวน 550 คน และตัวแทน 77 จังหวัด จนมีผู้ไปร้องต่อศาลให้ชะลอประกาศรายชื่อ โดยก่อนหน้านี้ ตนก็เคยระบุแล้วว่า เชื่อว่าจะมีการล็อกสเปก หรือตัวบุคคลในบางส่วน โดยเฉพาะบรรดาผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ร่วมกับทหาร หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจของคสช. อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) ของสถาบันพระปกเกล้า เป็นต้น
"พล.อ.ประยุทธ์ ก็บอกเองว่า ไม่มีข้อไหนในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ห้ามไม่ให้นักศึกษาวปอ. เป็น สปช. สะท้อนให้เห็นว่า หลายคนที่จะเข้ามาเป็น สปช. เคยผ่านหลักสูตรที่ว่า และอาจจะมีสายสัมพันธ์อันดีกับคนในกองทัพที่ผ่านการเรียนหลักสูตรเหล่านั้นมา ดูได้จากการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงที่ผ่านมา ก็โยงใยคอนเนกชั่นเหล่านี้" นายอุเทน ระบุ
นายอุเทน กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีคนรอบข้างพยายามเตือนตนว่า อย่าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ คสช. เพราะไม่มีประโยชน์ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ไม่สามารถจะทำใจนิ่งอยู่ได้ หวังว่าสิ่งที่ตนออกมาให้ข้อมูล เป็นการติเพื่อก่อ ไม่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และ คสช. ทำเสียของอย่างที่หลายฝ่ายจับจ้องมองอยู่ โดยเฉพาะในวันนี้ที่รัฐบาลและ คสช. มีอำนาจ มีเครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากร และบารมีความนิยม ไม่อยากรอจนวันที่เราต้องเห็นภาพความเสื่อมถอยของ คสช. ซึ่งประชาชนฝากความหวัง ฝากบ้านเมืองไว้ และให้โอกาสพวกท่าน มากกว่าคณะรัฐประหารชุดใดๆ จุดเริ่มต้นกระบวนการตามโรดแมป แก้ไขปัญหาประเทศของ คสช. ก็เริ่มที่การคัดสรรตัวบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนต่างๆ หากยังยึดติดกับกลุ่มคนเดิม คนหน้าเดิมๆ ก็ติดหล่มวังวนปัญหาเดิมๆ ไปตลอด
" คสช.ต้องกล้าหาญในการใช้คนมากกว่านี้ คสช. ต้องเด็ดขาด มากกว่าที่ผ่านมา อย่าใช้คน หรือข้าราชการหน้าเดิมๆ หากมีความจริงใจ ตั้งใจจริง ต่อบ้านเมืองและประชาชน โปรดระลึกไว้ด้วยว่า ที่บ้านเมืองวุ่นวาย ถอยหลัง กฎหมายมีหลายมาตรฐาน มีการทุจริตมากมาย ก็เพราะ ข้าราชการเป็นตัวเริ่ม มีพ่อค้าหน้าเดิม นักการเมืองหน้าเดิม พอใช้พวกหน้าเดิมๆ วิธีเดิมๆ ปัญหาก็เหมือนเดิม" นายอุเทน กล่าว
หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเห็นว่า คสช. พยายามเข้าไปแก้ไขสะสางปัญหาในหลายด้าน จนผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพึงพอใจในความเด็ดขาด รวดเร็วของ คสช. แต่ในความเป็นจริงอีกหลายปัญหากลับยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไปแล้วก็กลับมามีปัญหาเหมือนเดิม อาทิ การแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลขายเกินราคา คสช.ยังทำไม่ได้ ทั้งที่ คสช.กล้าฉีกรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่กล้าฉีกสัญญาของผู้ค้ารายใหญ่ หรือปัญหาปากท้องค่าครองชีพของประชาชน ยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการเดินทาง มีหลายเรื่องรัฐเสียเปรียบและประชาชนเดือดร้อนจากสัญญาสัมปทาน ทั้งทางด่วนที่มีการกำหนดว่าต้องขึ้นราคาทุกกี่ปี ทั้งที่ในหลักความเป็นจริงควรที่จะลดราคาลงตามความเสื่อมสภาพไปตามวันเวลามากกว่า หรืออย่างค่าโคยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ทราบว่า มีการขยายเวลาการขึ้นราคาตามสัญญาสัมปทานออกไปเป็นช่วงต้นปี 58 ในระยะสั้นอาจช่วยเหลือประชาชนได้ก็จริง แต่สุดท้ายก็ต้องขึ้นราคา ประชาชนเดือดร้อน เอกชนได้ประโยชน์ หากยังไม่มีการเข้าไปแก้ไขสัญญาสัมปทานให้เป็นธรรม จึงอยากให้รัฐบาลและ คสช. ใช้โอกาสนี้เข้าไปพิจารณาแก้ไขเรื่องเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง