กรมศิลป์ เผยแบบตราสัญลักษณ์ งาน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพฯ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ด้าน สำนักช่างสิบหมู่จัดสร้างแพะแกะสลักไม้มงคลประดับเครื่องทรง ทองคำ พลอย และนิล เตรียมทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพฯ 2 ต.ค.นี้
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ดำเนินการออกแบบตราสัญลักษณ์ การดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ทางกรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ ได้ดำเนินการจัดทำตราสัญลักษณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส พร้อมกันนี้ ได้ส่งตราสัญลักษณ์ไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์แล้ว ทางสำนักราชเลขาธิการจะพิจารณาการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ในกรณีที่มีหน่วยงานแจ้งความประสงค์ขอใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อประดับในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆต่อไป
ส่วนรายละเอียดรูปตราสัญลักษณ์ มีดังนี้ อักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. ภายในกรอบสุพรรณเบญจเพชรรัตน์ อักษร ส. สีม่วงชาดแก่ อักษร ธ. สีขาวบนพื้นสีม่วงครามอ่อน เป็นสีวันพระราชสมภพ ดวงเพชรรัตน์ 5 ดวงหมายถึง ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ อักษรนามาภิไธย ส.ธ. อยู่ภายใต้พระชฎาพระกลีบปักพระยี่ก่าทอง ไม่ประกอบพระกรรเจียกจร เบื้องหลังพระชฎามีพระบวรเศวตฉัตร (พระสัตตปฎลเศวตฉัตร) คือ ฉัตรขาว 7 ชั้น แต่ละชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวด 3 ชั้น ชั้นล่างสุด ห้อยอุบะจำปาทอง เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชกุมารีทั้งสองข้าง กรอบพระนามาภิไธย มีรูปเทพยดา พระกรหนึ่งประคองเชิญพระสัตตปฎลเศวตฉัตร พระกรหนึ่งกระชับเถาว์บัวทองไว้ ขัดพระขรรค์ ทรงเศวตพัสตราภรณ์เขียนทอง เทพยดาข้างเลข ๖ (ด้านซ้าย) ทรงพระชฎาเดินหน ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร และเทพยดาข้างเลข 0(ด้านขวา) ทรงพระชฎามหากฐิน (พระชฎาห้ายอด) ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร หมายถึง เทพยดาทรงมาบริรักษ์เฉลิมฉลองในมหามงคลกาลนี้ ให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์ ภูลพิพัฒน์พระเกียรติยศยิ่ง พ้นสิ่งสรรพทุกข์โรคอันตรายทั้งปวง
เถาว์บัวทอง หมายถึง ทรงเนาวนิเวศน์ นามว่า "สระปทุม" ใต้กรอบพระนามาภิไธย มีเลขมหามงคล ว่า ทรงพระเจริญ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา บนพื้นสีหงสบาท (ส้มอ่อนหรือสีเท้าหงส์) เป็นสีวันพฤหัสบดี ในคัมภีร์พระไสยศาสตร์ ว่าเป็นมงคลอายุของวันพระราชสมภพ ถัดลงมา มีเชิงลายถมสีหงชาด (ชมพู) เขียนอักษรไทยยอดสีทองว่า "ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ" และ "๒ เมษายน ๒๕๕๘" บนห้องลาย พื้นสีขาวถัดลงมา สะท้อนถึงทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณและการโบราณคดีทั้งปวงด้วย
นายเอนก กล่าวว่า สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรยังได้ดำเนินการแกะสลักแพะไม้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงานในวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีแนวคิดดังนี้ แพะเป็นสัตว์ประจำปีพระราชสมภพ โดยไม้มงคลที่นำมาใช้ แกะสลัก เป็นไม้สักทอง ไม้ชัยพฤกษ์ และไม้พระยางิ้วดำ ส่วนฐานใช้ไม้พยูง มีความหมายถึงการพยุงเสริมพระบารมี ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ด้านหน้าของฐานประกอบด้วยตัวอักษรฉลุโลหะ(เงินชุบทอง) คำว่า "เฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘" และดวงตราสัญลักษณ์ฉลอง 60 พรรษา ความสูงของฐาน 5 ซ.ม. เท่ากับ 5 รอบพระชนมายุ ความกว้าง และยาว ของฐานขนาด 60 ซ.ม. เท่ากับพระชนมายุ 60 พรรษา ขณะที่ส่วนเครื่องทรงของแพะ ประกอบด้วย เชือกห้อยคอ ทำด้วยทองคำ กระพวนและรัดข้อเท้าสลักดุ้นทองคำ พุ่มข้าวบิณฑ์สลักดุ้นทองคำฝังพลอยสีฟ้า ประดับในส่วนต้นขาทั้ง 4 ด้าน และดวงตาของแพะทั้ง 2 ข้าง ประดับด้วยนิล
นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ดำเนินการออกแบบตราสัญลักษณ์ การดำเนินงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ทางกรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ ได้ดำเนินการจัดทำตราสัญลักษณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งออกแบบโดยนายสมชาย ศุภลักษณ์อำไพพร นายช่างศิลปกรรมอาวุโส พร้อมกันนี้ ได้ส่งตราสัญลักษณ์ไปยังสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราสัญลักษณ์แล้ว ทางสำนักราชเลขาธิการจะพิจารณาการขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ในกรณีที่มีหน่วยงานแจ้งความประสงค์ขอใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อประดับในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆต่อไป
ส่วนรายละเอียดรูปตราสัญลักษณ์ มีดังนี้ อักษรพระนามาภิไธย ส.ธ. ภายในกรอบสุพรรณเบญจเพชรรัตน์ อักษร ส. สีม่วงชาดแก่ อักษร ธ. สีขาวบนพื้นสีม่วงครามอ่อน เป็นสีวันพระราชสมภพ ดวงเพชรรัตน์ 5 ดวงหมายถึง ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ อักษรนามาภิไธย ส.ธ. อยู่ภายใต้พระชฎาพระกลีบปักพระยี่ก่าทอง ไม่ประกอบพระกรรเจียกจร เบื้องหลังพระชฎามีพระบวรเศวตฉัตร (พระสัตตปฎลเศวตฉัตร) คือ ฉัตรขาว 7 ชั้น แต่ละชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวด 3 ชั้น ชั้นล่างสุด ห้อยอุบะจำปาทอง เป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมราชกุมารีทั้งสองข้าง กรอบพระนามาภิไธย มีรูปเทพยดา พระกรหนึ่งประคองเชิญพระสัตตปฎลเศวตฉัตร พระกรหนึ่งกระชับเถาว์บัวทองไว้ ขัดพระขรรค์ ทรงเศวตพัสตราภรณ์เขียนทอง เทพยดาข้างเลข ๖ (ด้านซ้าย) ทรงพระชฎาเดินหน ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร และเทพยดาข้างเลข 0(ด้านขวา) ทรงพระชฎามหากฐิน (พระชฎาห้ายอด) ปักพระยี่ก่าดอกไม้ทอง ทัดพระกรรเจียกจร หมายถึง เทพยดาทรงมาบริรักษ์เฉลิมฉลองในมหามงคลกาลนี้ ให้ทรงเจริญพระสิริสวัสดิ์ ภูลพิพัฒน์พระเกียรติยศยิ่ง พ้นสิ่งสรรพทุกข์โรคอันตรายทั้งปวง
เถาว์บัวทอง หมายถึง ทรงเนาวนิเวศน์ นามว่า "สระปทุม" ใต้กรอบพระนามาภิไธย มีเลขมหามงคล ว่า ทรงพระเจริญ พระชนมายุ ๖๐ พรรษา บนพื้นสีหงสบาท (ส้มอ่อนหรือสีเท้าหงส์) เป็นสีวันพฤหัสบดี ในคัมภีร์พระไสยศาสตร์ ว่าเป็นมงคลอายุของวันพระราชสมภพ ถัดลงมา มีเชิงลายถมสีหงชาด (ชมพู) เขียนอักษรไทยยอดสีทองว่า "ฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ" และ "๒ เมษายน ๒๕๕๘" บนห้องลาย พื้นสีขาวถัดลงมา สะท้อนถึงทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณและการโบราณคดีทั้งปวงด้วย
นายเอนก กล่าวว่า สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรยังได้ดำเนินการแกะสลักแพะไม้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงานในวันที่ 2 ตุลาคม 2557 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีแนวคิดดังนี้ แพะเป็นสัตว์ประจำปีพระราชสมภพ โดยไม้มงคลที่นำมาใช้ แกะสลัก เป็นไม้สักทอง ไม้ชัยพฤกษ์ และไม้พระยางิ้วดำ ส่วนฐานใช้ไม้พยูง มีความหมายถึงการพยุงเสริมพระบารมี ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ด้านหน้าของฐานประกอบด้วยตัวอักษรฉลุโลหะ(เงินชุบทอง) คำว่า "เฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๕๘" และดวงตราสัญลักษณ์ฉลอง 60 พรรษา ความสูงของฐาน 5 ซ.ม. เท่ากับ 5 รอบพระชนมายุ ความกว้าง และยาว ของฐานขนาด 60 ซ.ม. เท่ากับพระชนมายุ 60 พรรษา ขณะที่ส่วนเครื่องทรงของแพะ ประกอบด้วย เชือกห้อยคอ ทำด้วยทองคำ กระพวนและรัดข้อเท้าสลักดุ้นทองคำ พุ่มข้าวบิณฑ์สลักดุ้นทองคำฝังพลอยสีฟ้า ประดับในส่วนต้นขาทั้ง 4 ด้าน และดวงตาของแพะทั้ง 2 ข้าง ประดับด้วยนิล