นายพิษณุ สุวรรณะชฏ เอกอัครราชทูตไทยประจำย่างกุ้ง ให้สัมภาษณ์ ที่โรงแรมติงกาฮา นอปิดอร์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเเห่งชาติ (คสช.) จะเดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าจะมาเมื่อไร ทางทีมงานนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้แจ้งกรอบเวลาที่แน่นอน แต่คงไม่ใช่วันที่ 1-2 ตุลาคมนี้ ตามที่เป็นข่าว เ พราะทราบว่าช่วงเวลานั้น ท่านติดภารกิจที่ประเทศไทย เเต่คาดว่าน่าจะเป็นต้นเดือนตุลาคมนี้ เพราะตามธรรมเนียมการเยือนประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อได้เป็นรัฐบาลหลังเเถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสร็จ ก็ต้องเดินทางเยือนทันที
เมื่อถามว่า ได้วางตารางการจัดลำดับการเยือนประเทศเมียนมาร์ของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างไรบ้าง นายพิษณุ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา กำหนดการของนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางเยือนต่างประเทศ เป็นเรื่องที่ทางสถาทูตไทยในประเทศต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายในการเยือนจะได้วางกรอบคร่าวๆ ว่าเป็นความประสงค์ ของนายกรัฐมนตรี ที่จะเยือนประเทศต่างๆ เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรี ซึ่งในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีความชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี จะมาเยือนเมียนมาร์เป็นประเทศเเรก ด้วยเหตุผลที่ว่าเมียนมาร์เป็นประธานอาเซียนในปัจจุบัน และเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมเเดนติดกับประเทศไทย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในส่วนของประเทศเมียนมาร์เอง ก็มีความกระตือรือร้น ที่จะต้อนรับนายกรัฐมนตรีของไทย
นายพิษณุ กล่าวอีกว่า ส่วนโปรแกรมของรัฐมนตรีนั้น โดยเบื้องต้นการเยือนต่างประเทศของผู้นำรัฐบาล ที่พึ่งได้รับตำแหน่ง จะมีแบบเเผนกำหนดทั้งที่เป็นสากล และวิธีการของประเทศไทยเอง เช่น กรณี ประเทศเมียนมาร์ ต้องเดินทางมาที่เมืองหลวง คือ ที่เนปิดอร์ พร้อมกับเข้าเยี่ยมคาราวะประธานาธิบดี เต็งเส่ง ผู้นำสูงสุดของประเทศ รวมถึงการหารือข้อราชการที่เป็นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งจัดงานเลี้ยงรับรอง เพื่อสัมพันธไมตรี
นอกจากนี้ตนได้เตรียมการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปพบปะกับชุมชนไทย ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เพราะมีชุมชนไทยอาศัยอยู่ประมาน 2 พันคน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี และอยู่ประจำ และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือ นักธุรกิจในบริษัทใหญ่ที่ขยายกิจการมาจากประเทศไทย ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่อยู่ประจำ
"ผมเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปพบปะ และให้กำลังใจกับผู้ประกอบการไทย ในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่ต้องเข้าหาประชาชน อย่างน้อย เพื่อใช้จังหวะเเละโอกาสในการชี้เเจงนโยบายการพัฒนา และการส่งเสริมต่างๆ เพราะรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี มีความสนใจในเรื่องนี้ ส่วนจะเดินทางไปพบหมดดู อีที หรือไม่นั้น ท่านนายกฯ ไม่น่าจะมีเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดการของท่านนายกฯด้วย " นายพิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยในย่างกุ้ง ได้ร่วมมือกับนักธุรกิจไทย ตั้งเป็นสามคมธุรกิจไทยในย่างกุ้ง ซึ่งจะมีรูปแบบเป็นองค์การมีประธาน รองประธาน กรรมการ การบริหาร โดยมีธุรกิจ 6 เเบบ อาทิ ธุรกิจการบริการ ธุรกิจโทรคมนาคม ธนาคาร การก่อสร้าง การค้าการส่งออก
เมื่อถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีกำหนดจะเข้าพบ นางอองซานซูจี หรือไม่ นายพิษณุ กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการยืนยัน โดยตามหลักการเเล้ว การเยือนต่างประเทศครั้งแรกของผู้นำรัฐบาล จะเน้นหนักการเเนะนำตัว การสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนการวางพื้นฐานพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนเรื่องที่เป็นการเมืองของสองประเทศ และเป็นเรื่องภายใน ถือว่าไม่เกี่ยวข้องกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่าการเดินทางเยือนเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ อย่างมากในเรื่องการวางแนวทาง กับกระบวนการดำเนินการความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐบาลในอนาคต
"ขณะนี้พม่าอยู่ในช่วงของการปฏิรูป เปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจ บริหารจัดการต่างๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ที่ทันสมัย และเป็นสากลมากขึ้น หลายเรื่องเป็นโครงการที่มีความร่วมมืออยู่แล้ว เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ประเทศเมียนมาร์ มีความมั่นใจรัฐบาลมากขึ้น รวมถึงมั่นใจการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ที่มีความชัดเจนว่าจะดำเนิการต่อไป รวมถึงความร่วมมือด้านเศษรฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสาตร์ของทั้งสองประเทศ ที่สอดคล้องและเกื้อกูลกัน เช่น การเป็นเศรษฐกิจพิเศษ ตามเเนวชายแดน เป็นแนวทางที่ส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้นโยบายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ คือ การสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วให้เจริญงอกงามมากขึ้น การพัฒนาความสัมพันธ์ให้เป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ" นายพิษณุ กล่าว
นายพิษณุ กล่าวยืนยันอีกว่า ประเทศเมียนมาร์ มีความมั่นใจกับรัฐบาลชุดใหม่ของไทย รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ ทั้งในกรอบทวิภาคี และ บริบทความร่วมมือพหุภาคี ตลอดจนในกรอบของอาเซียน ซึ่งในขณะนี้ความสัมพันธ์ไทยกับเมียนมาร์ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขึ้นมาบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ประกาศนโยบายชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยมีความต่อเนื่องด้านนโยบาย รวมถึงโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ที่ทางรัฐบาลมีเเนวทางที่จะเดินหน้าต่อ
สำหรับเรื่องความมั่นคงของทั้งสองประเทศ เช่นเรื่องยาเสพติด ที่มีการจับกุมได้มากตามเเนวชายแดน เนื่องจากความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ในการเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ในเรื่องของเเรงงานต่างชาติ ที่มีความก้าวหน้าในทุกด้านเช่น การจดทะเบียนเเรงงาน การพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงผลพวงการพัฒนาสถานการณ์ในเมียนมาร์เอง รวมถึงการพัฒนความสัมพันธ์ไทยเช่น การส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบกลับ ซึ่งอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น โดยจะหาเเนวทางเเกัปัญหารวดเร็วชัดเจน
ส่วนปัญหาโรฮิงญา ถือเป็นเรื่องภายในเมียนมาร์ เเต่มีผลกระทบเเละถือเป็นภาระของไทย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องปัญหาโรฮิงญา ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะไทยกับเมียนมาร์เท่านั้น แต่ยังมีประเทศอื่นเกี่ยวข้องด้วยการ ดังนั้นเเก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสองประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คาดว่า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาเยือนประเทศเมียนมาร์ ภายหลังจากที่มีการประชุมคณะคสช. ที่บ้านมนังคสิลา ในวันที่ 7 ต.ค. เรียบร้อยแล้ว
เมื่อถามว่า ได้วางตารางการจัดลำดับการเยือนประเทศเมียนมาร์ของ พล.อ.ประยุทธ์ อย่างไรบ้าง นายพิษณุ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา กำหนดการของนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางเยือนต่างประเทศ เป็นเรื่องที่ทางสถาทูตไทยในประเทศต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายในการเยือนจะได้วางกรอบคร่าวๆ ว่าเป็นความประสงค์ ของนายกรัฐมนตรี ที่จะเยือนประเทศต่างๆ เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรี ซึ่งในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีความชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรี จะมาเยือนเมียนมาร์เป็นประเทศเเรก ด้วยเหตุผลที่ว่าเมียนมาร์เป็นประธานอาเซียนในปัจจุบัน และเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมเเดนติดกับประเทศไทย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในส่วนของประเทศเมียนมาร์เอง ก็มีความกระตือรือร้น ที่จะต้อนรับนายกรัฐมนตรีของไทย
นายพิษณุ กล่าวอีกว่า ส่วนโปรแกรมของรัฐมนตรีนั้น โดยเบื้องต้นการเยือนต่างประเทศของผู้นำรัฐบาล ที่พึ่งได้รับตำแหน่ง จะมีแบบเเผนกำหนดทั้งที่เป็นสากล และวิธีการของประเทศไทยเอง เช่น กรณี ประเทศเมียนมาร์ ต้องเดินทางมาที่เมืองหลวง คือ ที่เนปิดอร์ พร้อมกับเข้าเยี่ยมคาราวะประธานาธิบดี เต็งเส่ง ผู้นำสูงสุดของประเทศ รวมถึงการหารือข้อราชการที่เป็นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน พร้อมทั้งจัดงานเลี้ยงรับรอง เพื่อสัมพันธไมตรี
นอกจากนี้ตนได้เตรียมการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปพบปะกับชุมชนไทย ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เพราะมีชุมชนไทยอาศัยอยู่ประมาน 2 พันคน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอี และอยู่ประจำ และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือ นักธุรกิจในบริษัทใหญ่ที่ขยายกิจการมาจากประเทศไทย ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่อยู่ประจำ
"ผมเชื่อมั่นว่านายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปพบปะ และให้กำลังใจกับผู้ประกอบการไทย ในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่ต้องเข้าหาประชาชน อย่างน้อย เพื่อใช้จังหวะเเละโอกาสในการชี้เเจงนโยบายการพัฒนา และการส่งเสริมต่างๆ เพราะรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี มีความสนใจในเรื่องนี้ ส่วนจะเดินทางไปพบหมดดู อีที หรือไม่นั้น ท่านนายกฯ ไม่น่าจะมีเวลา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำหนดการของท่านนายกฯด้วย " นายพิษณุ กล่าว
ทั้งนี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทยในย่างกุ้ง ได้ร่วมมือกับนักธุรกิจไทย ตั้งเป็นสามคมธุรกิจไทยในย่างกุ้ง ซึ่งจะมีรูปแบบเป็นองค์การมีประธาน รองประธาน กรรมการ การบริหาร โดยมีธุรกิจ 6 เเบบ อาทิ ธุรกิจการบริการ ธุรกิจโทรคมนาคม ธนาคาร การก่อสร้าง การค้าการส่งออก
เมื่อถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีกำหนดจะเข้าพบ นางอองซานซูจี หรือไม่ นายพิษณุ กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการยืนยัน โดยตามหลักการเเล้ว การเยือนต่างประเทศครั้งแรกของผู้นำรัฐบาล จะเน้นหนักการเเนะนำตัว การสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนการวางพื้นฐานพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนเรื่องที่เป็นการเมืองของสองประเทศ และเป็นเรื่องภายใน ถือว่าไม่เกี่ยวข้องกัน
ทั้งนี้ เชื่อว่าการเดินทางเยือนเมียนมาร์ ของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ อย่างมากในเรื่องการวางแนวทาง กับกระบวนการดำเนินการความสัมพันธ์ระหว่างสองรัฐบาลในอนาคต
"ขณะนี้พม่าอยู่ในช่วงของการปฏิรูป เปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจ บริหารจัดการต่างๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ที่ทันสมัย และเป็นสากลมากขึ้น หลายเรื่องเป็นโครงการที่มีความร่วมมืออยู่แล้ว เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ประเทศเมียนมาร์ มีความมั่นใจรัฐบาลมากขึ้น รวมถึงมั่นใจการพัฒนาความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ที่มีความชัดเจนว่าจะดำเนิการต่อไป รวมถึงความร่วมมือด้านเศษรฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นไปตามนโยบาย และยุทธศาสาตร์ของทั้งสองประเทศ ที่สอดคล้องและเกื้อกูลกัน เช่น การเป็นเศรษฐกิจพิเศษ ตามเเนวชายแดน เป็นแนวทางที่ส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ให้นโยบายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ คือ การสานต่อความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้วให้เจริญงอกงามมากขึ้น การพัฒนาความสัมพันธ์ให้เป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ" นายพิษณุ กล่าว
นายพิษณุ กล่าวยืนยันอีกว่า ประเทศเมียนมาร์ มีความมั่นใจกับรัฐบาลชุดใหม่ของไทย รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับเมียนมาร์ ทั้งในกรอบทวิภาคี และ บริบทความร่วมมือพหุภาคี ตลอดจนในกรอบของอาเซียน ซึ่งในขณะนี้ความสัมพันธ์ไทยกับเมียนมาร์ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขึ้นมาบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ประกาศนโยบายชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยมีความต่อเนื่องด้านนโยบาย รวมถึงโครงการสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ที่ทางรัฐบาลมีเเนวทางที่จะเดินหน้าต่อ
สำหรับเรื่องความมั่นคงของทั้งสองประเทศ เช่นเรื่องยาเสพติด ที่มีการจับกุมได้มากตามเเนวชายแดน เนื่องจากความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ในการเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ในเรื่องของเเรงงานต่างชาติ ที่มีความก้าวหน้าในทุกด้านเช่น การจดทะเบียนเเรงงาน การพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงผลพวงการพัฒนาสถานการณ์ในเมียนมาร์เอง รวมถึงการพัฒนความสัมพันธ์ไทยเช่น การส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบกลับ ซึ่งอยู่ในกระบวนการเริ่มต้น โดยจะหาเเนวทางเเกัปัญหารวดเร็วชัดเจน
ส่วนปัญหาโรฮิงญา ถือเป็นเรื่องภายในเมียนมาร์ เเต่มีผลกระทบเเละถือเป็นภาระของไทย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องปัญหาโรฮิงญา ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะไทยกับเมียนมาร์เท่านั้น แต่ยังมีประเทศอื่นเกี่ยวข้องด้วยการ ดังนั้นเเก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างสองประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คาดว่า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาเยือนประเทศเมียนมาร์ ภายหลังจากที่มีการประชุมคณะคสช. ที่บ้านมนังคสิลา ในวันที่ 7 ต.ค. เรียบร้อยแล้ว