เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (21 ก.ย.) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะเดินทางมาพบปะเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่วัดดักคะนน ตำบลธรรมมามูล อำเภอเมืองชัยนาท เพื่อชี้แจงนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรโดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ให้การต้อนรับ พร้อมเสนอปัญหาของพี่น้องเกษตรกรหลายเรื่อง โดยเฉพาะการทำโซนนิ่งการเกษตรสมัยใหม่ ที่เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงคน และปัญหาเชิงโครงสร้างระบบชลประทาน เช่น เครื่องสูบน้ำเก่าล้าสมัย การตื้นเขินของลำคลอง โดยรัฐมนตรีทั้ง 2 รับปาก พร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มที่
นายปิติพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตพร้อมกับเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเน้นสินค้าเกษตรอินทรี ให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้นจนสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม
ขณะที่ พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า นับตั้งแต่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ มาตรการแรกที่เข้ามาช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือชาวนา เรื่องการเงินรับจำนำข้าวเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และจากนี้ไปจะดูแลให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสมโดยจะมีการรับฟังข้อเสนอแนะของเกษตรกรในพื้นที่รวมถึงพูดคุยกับผู้แทนชาวนา เช่น นายวิเชียร พวงลำเจียก นายประสิทธิ์ บุญเฉย และตัวแทนอื่นๆ ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สำหรับแนวทางที่สำคัญที่จะร่วมมือบูรณาการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานต่างๆคือ การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำชลประทาน ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเกษตร ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน พืชนอกฤดูกาล และอาชีพเสริม สนับสนุนพืชผลการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีมูลค่าสูงขึ้นด้าน ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการน้ำอีกหน้าที่หนึ่ง ขอให้หน่วยทหารและกรมชลประทาน ลอกผักตบชวาบริเวณ แม่น้ำสายหลักและเหนือเขื่อนซึ่งมีหนาแน่น เพื่อเพิ่มพื้นที่แม่น้ำลำคลองให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมชลประทานขณะนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่าตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป กรมชลประทานจะออกมาตรการขอความร่วมมือเกษตรกรให้บริหารจัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลธรรมามูล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวไรซ์เบอรรี่ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ได้แสดงข้อเสนอว่า ขอให้มีการจัดระบบบริหารจัดการน้ำ ให้เกษตรกรสามารถเริ่มฤดูการทำนาได้พร้อมกันเพื่อลดปัญหาโรคและแมลง ส่วนมาตรการกลไกด้านราคา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุน เนื่องจากเกษตรกรมีความรู้ด้านการตลาดน้อย ซึ่ง นายปิติพงศ์ ได้รับข้อเสนอและมอบหมายให้กรมชลประทาน ดำเนินการโดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีกลุ่มบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างกว้างขวางเพื่อให้การใช้นำเกิดประสิทธิผลมากขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายเรื่องค่าสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จะนำไปพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
**คุยแก้ปัญหาสินค้าเกษตรใน3-5ปี
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังถึงปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรว่า นายกรัฐมนตรี สั่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อวางยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคเกษตรครบวงจร และต้องเร่งผลักดันให้เกิดในรัฐบาลนี้ โดยจะนำเสนอ ครม.ภายในสองสัปดาห์นี้ ซึ่งต้องดูว่า ปริมาณผลผลิตข้าว และยาง ที่แท้จริงในแต่ละปีมีปริมาณเท่าไร รวมทั้งจำนวนเกษตรกรด้วย เนื่องจากที่ผ่านมามีตัวเลขแฝงจำนวนมาก ทั้งพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนครัวเรือนของเกษตรกร จากโครงการประกันราคา และโครงการรับจำนำ
"เราต้องมีฐานข้อมูลเพาะปลูก ปริมาณผลผลิตที่แน่นอนในช่วงสามปี เพื่อนำมาปรับโครงสร้างภาคเกษตรใหม่ทั้งระบบ พร้อมกับจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินไปด้วย โดยเฉพาะที่รุกพื้นที่ป่าอยู่ต้องเอาออก และที่สำคัญ ต้องลดพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากขึ้น และหันไปเพิ่มคุณภาพการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเกษตรกรทุกคนประสบความเดือดร้อนจากปัญหาผลผลิตการเกษตร ทุกตัวล้นตลาดมาตลอด ซึ่งผมเห็นปัญหานี้มานานตั้งแต่ทำงานกระทรวงนี้มา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นหนี้มากขึ้น และผมไม่เลือกนโยบายให้เกษตรกรเป็นหนี้สินอีก ที่เป็นปัญหาหนักสุดขณะนี้คือ ข้าวกับยาง ซึ่งยุทธศาสตร์นี้คาดว่า จะทำสำเร็จในระยะ 3-5 ปี จะเห็นผลชัดเจนว่าเกษตรกรสามารถอยู่ในอาชีพต่อไปได้โดยไม่พึ่งประชานิยม" นายปีติพงศ์ กล่าว
**อาจต้องจ้างให้เลิกอาชีพเกษตร
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ได้วางกรอบเบื้องต้นในการให้งบช่วยเหลือเป็น 3 ส่วน คือ 1. ช่วยเหลือในช่วงวิฤกติภัยธรรมชาติเช่นภัยแล้ง น้ำท่วม 2. งบดูแลในชีวิตประจำวัน เช่นส่งเสริมอาชีพอื่น 3. ช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชอื่น หรือ อาจให้เงินเพื่อเลิกอาชีพไปเลย เพราะทำไปก็เป็นหนี้ และรัฐไม่อยากให้เสี่ยงอีก อย่างไรก็ตาม การให้เกษตรกรเลิกอาชีพ ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเกษตรกรด้วย และหากยังอยู่ในอาชีพต่อไปได้ ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพการผลิตบางส่วน โดยใช้แนวทฤษฎีเกษตรผสมผสาน หรือปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่การแปรรูปด้วย
นายปีติพงศ์ กล่าวต่อว่า ในอนาคตเตรียมนำแผนปรับโครงสร้างการเกษตรของสหภาพยุโรปหรือ อียู มาปรับใช้กับภาคเกษตรของไทย โดยอียู ได้กำหนดเป็นนโยบายและมีกฎหมายภายในรองรับให้รัฐบาลใช้งบประมาณสนับสนุนภาคเกษตรเป็นเงินจำนวนมหาศาลในแต่ละปี โดยมีสัดส่วนจากจีดีพีภาคเกษตร มาเป็นเกณฑ์อุดหนุนเกษตรกรของเขา หากเราสามารถกำหนดมูลค่าจีดีพีภาคเกษตรทุกชนิดในแต่ละปี จะได้วงเงินช่วยเหลือที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่รัฐบาลไหนมาต้องทำต่อเนื่อง.
**รัฐดีแต่พูดไม่เห็นเป็นรูปธรรม
ด้านนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย เปิดเผยว่า ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้กำชับเรื่องลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตร แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีอะไรชัดเจน รวมถึงการลดพื้นที่ปลูกว่าจะทำแบบไหน มีระบบโซนนิ่งเท่าไหร่ในแต่ละภาค ยังไม่มีตัวเลขออกมา มีแต่กรอบกว้าง ๆ ที่กันพูดมา 10 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทำได้จริง
ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบเรื่องผลผลิต กระทรวงพาณิชย์ ดูเรื่องการขาย สองกระทรวงนี้ ยังทะเลาะกันอยู่ โยนความผิดให้กัน จริง ๆ แล้วอีกฝ่ายก็หาตลาดไม่ได้ อีกฝ่ายก็ไม่รู้ปริมาณผลผลิตที่แท้จริง ถามว่าเคยออกไปสำรวจตลาดในประเทศ และต่างประเทศบ้างไหม หรือมัวแต่นั่งประชุมกันอยู่ พอเสร็จก็กลับบ้าน ปัญหาภาคเกษตรจึงเรื้อรังอยู่อย่างนี้ ตนเคยไปต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการอย่างดีว่าไปพบผู้ใหญ่ของประเทศต่างๆ เพื่อหาตลาดส่งออกเพิ่ม แต่พอไปถึงคุยเรื่องงานนิดเดียว เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับช้อปปิ้ง กิน เที่ยว ข้าราชการไทยเป็นแบบนี้ มีนโยบายออกมา แต่ไม่ทำจริง ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ยิ่งนักการเมืองเข้ามาหาแต่ผล ประโยชน์ ยิ่งทำให้ภาคเกษตรของไทยอ่อนแอลงมาก
" ผลเสียเกิดกับเกษตรกรมาตลอด กระทรวงเกษตรฯ พูดอย่างเดียวต้องลดต้นทุน ขายขาดทุนไปปลูกอย่างอื่น ถามว่าหาตลาดรองรับได้หรือไม่ ขณะนี้ชาวนาหันไปปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ ตามที่บอกต่อๆ กันมา จะขายตันละกว่าสองหมื่นบาท แต่เมื่อปลูกจริง ไม่รู้จะไปขายใคร อย่างข้าวหอมนิล ข้าวไรส์แบรี่ ส่วนการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ข้าราชการไปทำแปลงสาธิตเล็กๆ เพียง 5 ไร่ มันไม่ได้ผลจริงๆ ต้องเป็นแปลงต้นแบบเป็นพัน ๆไร่ ทำแล้วขยายผลได้ ตอนนี้ข้าวล้นตลาดโลก เพราะประเทศต่างๆ เริ่มพัฒนาพันธุ์จนผลิตได้มาก หากเราลดพื้นที่ปลูกราคาอาจไม่ขึ้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านขายข้าวตันละ 4-5 พันบาทเท่านั้น" นายประสิทธิ์ กล่าว
นายปิติพงศ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตพร้อมกับเพิ่มมูลค่าของผลผลิตเน้นสินค้าเกษตรอินทรี ให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองมากยิ่งขึ้นจนสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม
ขณะที่ พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า นับตั้งแต่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ มาตรการแรกที่เข้ามาช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือชาวนา เรื่องการเงินรับจำนำข้าวเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และจากนี้ไปจะดูแลให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสมโดยจะมีการรับฟังข้อเสนอแนะของเกษตรกรในพื้นที่รวมถึงพูดคุยกับผู้แทนชาวนา เช่น นายวิเชียร พวงลำเจียก นายประสิทธิ์ บุญเฉย และตัวแทนอื่นๆ ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
สำหรับแนวทางที่สำคัญที่จะร่วมมือบูรณาการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานต่างๆคือ การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำชลประทาน ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเกษตร ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน พืชนอกฤดูกาล และอาชีพเสริม สนับสนุนพืชผลการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มีมูลค่าสูงขึ้นด้าน ในฐานะที่รับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการน้ำอีกหน้าที่หนึ่ง ขอให้หน่วยทหารและกรมชลประทาน ลอกผักตบชวาบริเวณ แม่น้ำสายหลักและเหนือเขื่อนซึ่งมีหนาแน่น เพื่อเพิ่มพื้นที่แม่น้ำลำคลองให้สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมชลประทานขณะนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า คาดว่าตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นไป กรมชลประทานจะออกมาตรการขอความร่วมมือเกษตรกรให้บริหารจัดการน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ ตำบลธรรมามูล ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวไรซ์เบอรรี่ ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ได้แสดงข้อเสนอว่า ขอให้มีการจัดระบบบริหารจัดการน้ำ ให้เกษตรกรสามารถเริ่มฤดูการทำนาได้พร้อมกันเพื่อลดปัญหาโรคและแมลง ส่วนมาตรการกลไกด้านราคา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุน เนื่องจากเกษตรกรมีความรู้ด้านการตลาดน้อย ซึ่ง นายปิติพงศ์ ได้รับข้อเสนอและมอบหมายให้กรมชลประทาน ดำเนินการโดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีกลุ่มบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างกว้างขวางเพื่อให้การใช้นำเกิดประสิทธิผลมากขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายเรื่องค่าสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จะนำไปพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
**คุยแก้ปัญหาสินค้าเกษตรใน3-5ปี
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังถึงปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรว่า นายกรัฐมนตรี สั่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อวางยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคเกษตรครบวงจร และต้องเร่งผลักดันให้เกิดในรัฐบาลนี้ โดยจะนำเสนอ ครม.ภายในสองสัปดาห์นี้ ซึ่งต้องดูว่า ปริมาณผลผลิตข้าว และยาง ที่แท้จริงในแต่ละปีมีปริมาณเท่าไร รวมทั้งจำนวนเกษตรกรด้วย เนื่องจากที่ผ่านมามีตัวเลขแฝงจำนวนมาก ทั้งพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนครัวเรือนของเกษตรกร จากโครงการประกันราคา และโครงการรับจำนำ
"เราต้องมีฐานข้อมูลเพาะปลูก ปริมาณผลผลิตที่แน่นอนในช่วงสามปี เพื่อนำมาปรับโครงสร้างภาคเกษตรใหม่ทั้งระบบ พร้อมกับจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินไปด้วย โดยเฉพาะที่รุกพื้นที่ป่าอยู่ต้องเอาออก และที่สำคัญ ต้องลดพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจในสัดส่วนที่มากขึ้น และหันไปเพิ่มคุณภาพการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเกษตรกรทุกคนประสบความเดือดร้อนจากปัญหาผลผลิตการเกษตร ทุกตัวล้นตลาดมาตลอด ซึ่งผมเห็นปัญหานี้มานานตั้งแต่ทำงานกระทรวงนี้มา เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นหนี้มากขึ้น และผมไม่เลือกนโยบายให้เกษตรกรเป็นหนี้สินอีก ที่เป็นปัญหาหนักสุดขณะนี้คือ ข้าวกับยาง ซึ่งยุทธศาสตร์นี้คาดว่า จะทำสำเร็จในระยะ 3-5 ปี จะเห็นผลชัดเจนว่าเกษตรกรสามารถอยู่ในอาชีพต่อไปได้โดยไม่พึ่งประชานิยม" นายปีติพงศ์ กล่าว
**อาจต้องจ้างให้เลิกอาชีพเกษตร
รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ได้วางกรอบเบื้องต้นในการให้งบช่วยเหลือเป็น 3 ส่วน คือ 1. ช่วยเหลือในช่วงวิฤกติภัยธรรมชาติเช่นภัยแล้ง น้ำท่วม 2. งบดูแลในชีวิตประจำวัน เช่นส่งเสริมอาชีพอื่น 3. ช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชอื่น หรือ อาจให้เงินเพื่อเลิกอาชีพไปเลย เพราะทำไปก็เป็นหนี้ และรัฐไม่อยากให้เสี่ยงอีก อย่างไรก็ตาม การให้เกษตรกรเลิกอาชีพ ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเกษตรกรด้วย และหากยังอยู่ในอาชีพต่อไปได้ ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพการผลิตบางส่วน โดยใช้แนวทฤษฎีเกษตรผสมผสาน หรือปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่การแปรรูปด้วย
นายปีติพงศ์ กล่าวต่อว่า ในอนาคตเตรียมนำแผนปรับโครงสร้างการเกษตรของสหภาพยุโรปหรือ อียู มาปรับใช้กับภาคเกษตรของไทย โดยอียู ได้กำหนดเป็นนโยบายและมีกฎหมายภายในรองรับให้รัฐบาลใช้งบประมาณสนับสนุนภาคเกษตรเป็นเงินจำนวนมหาศาลในแต่ละปี โดยมีสัดส่วนจากจีดีพีภาคเกษตร มาเป็นเกณฑ์อุดหนุนเกษตรกรของเขา หากเราสามารถกำหนดมูลค่าจีดีพีภาคเกษตรทุกชนิดในแต่ละปี จะได้วงเงินช่วยเหลือที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่รัฐบาลไหนมาต้องทำต่อเนื่อง.
**รัฐดีแต่พูดไม่เห็นเป็นรูปธรรม
ด้านนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย เปิดเผยว่า ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้กำชับเรื่องลดต้นทุนการผลิตภาคเกษตร แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีอะไรชัดเจน รวมถึงการลดพื้นที่ปลูกว่าจะทำแบบไหน มีระบบโซนนิ่งเท่าไหร่ในแต่ละภาค ยังไม่มีตัวเลขออกมา มีแต่กรอบกว้าง ๆ ที่กันพูดมา 10 ปีแล้ว ยังไม่มีใครทำได้จริง
ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่รับผิดชอบเรื่องผลผลิต กระทรวงพาณิชย์ ดูเรื่องการขาย สองกระทรวงนี้ ยังทะเลาะกันอยู่ โยนความผิดให้กัน จริง ๆ แล้วอีกฝ่ายก็หาตลาดไม่ได้ อีกฝ่ายก็ไม่รู้ปริมาณผลผลิตที่แท้จริง ถามว่าเคยออกไปสำรวจตลาดในประเทศ และต่างประเทศบ้างไหม หรือมัวแต่นั่งประชุมกันอยู่ พอเสร็จก็กลับบ้าน ปัญหาภาคเกษตรจึงเรื้อรังอยู่อย่างนี้ ตนเคยไปต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการอย่างดีว่าไปพบผู้ใหญ่ของประเทศต่างๆ เพื่อหาตลาดส่งออกเพิ่ม แต่พอไปถึงคุยเรื่องงานนิดเดียว เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับช้อปปิ้ง กิน เที่ยว ข้าราชการไทยเป็นแบบนี้ มีนโยบายออกมา แต่ไม่ทำจริง ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ยิ่งนักการเมืองเข้ามาหาแต่ผล ประโยชน์ ยิ่งทำให้ภาคเกษตรของไทยอ่อนแอลงมาก
" ผลเสียเกิดกับเกษตรกรมาตลอด กระทรวงเกษตรฯ พูดอย่างเดียวต้องลดต้นทุน ขายขาดทุนไปปลูกอย่างอื่น ถามว่าหาตลาดรองรับได้หรือไม่ ขณะนี้ชาวนาหันไปปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ ตามที่บอกต่อๆ กันมา จะขายตันละกว่าสองหมื่นบาท แต่เมื่อปลูกจริง ไม่รู้จะไปขายใคร อย่างข้าวหอมนิล ข้าวไรส์แบรี่ ส่วนการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ข้าราชการไปทำแปลงสาธิตเล็กๆ เพียง 5 ไร่ มันไม่ได้ผลจริงๆ ต้องเป็นแปลงต้นแบบเป็นพัน ๆไร่ ทำแล้วขยายผลได้ ตอนนี้ข้าวล้นตลาดโลก เพราะประเทศต่างๆ เริ่มพัฒนาพันธุ์จนผลิตได้มาก หากเราลดพื้นที่ปลูกราคาอาจไม่ขึ้น เพราะประเทศเพื่อนบ้านขายข้าวตันละ 4-5 พันบาทเท่านั้น" นายประสิทธิ์ กล่าว