นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติ (สนช.) กล่าวว่า การทำงานของสนช. ในช่วงระยะเวลา เดือนกว่าๆ ไม่มีปัญหาอะไรองค์ประชุมครบตลอด ส่วนการพิจารณาเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.งบประมาณ การแถลงนโยบาย กฎหมายเร่งด่วน ที่คสช.เสนอเข้ามาทุกอย่างผ่านไปด้วยดี
ส่วนข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ที่ประชุมสนช.ไม่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เหมือนกับช่วงที่มีรัฐบาลปกตินั้น ถือว่าเป็นธรรมดาเพราะเราไม่มีฝ่ายค้าน มีเพียงแค่ตรวจสอบให้รัดกุมเท่านั้น ขณะเดียวกันเรามีวิป ชั่วคราวที่จะคอบกำหนดขอบเขตการทำงานภายในสภา ไม่ให้ยุ่ง ก่อนเข้าประชุม จะไปคุยที่วิปเยอะ ทั้งเรื่องกฎหมาย หลักการ ต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร จะทักท้วงในวิปเยอะ ซึ่งปัญหาก็จะตกผลึกอยู่แล้ว
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่าจะแต่งตั้งสมาชิก สนช.เพิ่มนั้น ยังไม่มั่นใจเพราะเป็นหน้าที่ คสช. แต่ล่าสุดยังไม่มีการหารือกันว่าจะตั้งเพิ่มหรือไม่ หรือจะตั้งใครเข้ามาบ้าง เพราะเวลานี้การทำงานของสมาชิกที่มีอยู่จำนวน 192 คน ไม่มีผลกระทบอะไร ยังสามารถทำงานได้ แต่ถ้าต่อไปมีกฎหมายให้พิจารณาเยอะ ก็จะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญมากขึ้นต้องดูอีกที ว่าจะไหวหรือไม่ไหว แต่การทำงนตอนนี้ยังเดินหน้าได้อยู่
สำหรับการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ว่า สนช.ชุดนี้จะมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ค้างมาจากรัฐบาลชุดที่แล้วหรือไม่นั้น เบื้องต้นมีคนขอสงวนคำแปรญํญติ แต่ท่าที่คุย คาดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะภาพรวมมีการแปรญัญติในระดับหนึ่ง ก็ยังไม่มีปัญหา ทั้งนี้หากมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติหลังจากนี้ จะต้องตั้งคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบมา 1 คณะ ที่จะพิจารณาว่าเรื่องนี้ สนช.ถอดถอนได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าเรื่องที่ส่งมาจะถอดถอนหมดได้ทุกเรื่อง
ส่วนเรื่องที่ ป.ป.ช.ส่งมาแล้วนั้น ไม่จำเป็นต้องส่งมาใหม่ สามารถหยิบมาพิจารณาได้เลย เพราะตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้ให้อำนาจเราเหมือน ส.ว. อยู่แล้ว
ด้านนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาข้อบังคับการประชุม สนช. ว่าด้วยหมวดการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีการบังคับใช้อยู่นี้ ไม่ได้ให้อำนาจการถอนถอนแก่สนช. หากจะมีการแก้ไขข้อบังคับขยายอำนาจให้ตัวเอง ต้องระมัดระวังและมองว่าไม่น่ากระทำได้ และไม่ควรกระทำ แต่ที่สุดแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับการตีความข้อกฎหมาย และเรื่องของการถอนถอนนั้น ก่อนหน้านี้เป็นหน้าที่ของ ส.ว. ที่มีสมาชิกมาจากทั้งการแต่งตั้งและเลือกตั้ง ก็มีความชอบธรรมมากว่าสนช. ที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด การจะให้สนช. ที่มาจากการแต่งตั้ง ไปถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ต่างชาติอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก
นายอุดมเดช ยังได้กล่าวถึงกรณีผลสำรวจความคิดเห็นของ ศูนย์วิจัยมาหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนนิยมดีกว่าพรรคเพื่อไทย ว่า ตนยังไม่กังวลในเรื่องนี้ เพราะบรรยากาศในขณะนี้ไม่ได้ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนยังไม่มีสิทธิไปออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นยังไม่ถึงเวลาที่จะถามค่านิยมพรรคการเมือง ควรถามว่าประชาชนอยากให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย หรือให้ปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตย และเมื่อบรรยากาศในประเทศกลับมาเป็นประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง ค่อยมาถามว่า คะแนนนิยมของพรรคไหนดีกว่ากัน จะดีกว่า
สำหรับกรณีที่สมาชิกรัฐสภา 308 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 291 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มองว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ถูกฉีกไปแล้ว และอำนาจหน้าที่ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ได้ถูกฉีกไปแล้วด้วยเช่นกัน จึงไม่น่าจะมีเหลุผลในการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาถอดถอน อดีตสมาชิกรัฐสภาที่ทำการแก้ไข รธน. 2550 ได้
ขณะที่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่ สนช. จะพิจารณาข้อบังคับการประชุม สนช. ว่าด้วยหมวดการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และสนช. มาจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะไปถอดถอนคนที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่ได้ อีกทั้งในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ไม่ได้มีการเขียนเรื่องการถอนถอนไว้ชัดเจน หากยังจะเดินหน้าออกข้อบังคับดังกล่าว จะบ่งชี้ให้เห็นว่ามีความต้องการกลั่นแกล้งทางการเมืองกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เนื่องจาก สนช. มีกลุ่ม 40 ส.ว. ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากกลุ่มรัฐบาลที่ผ่านมาอยู่ และในขณะนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็อยู่ระหว่างการพิจารณากรณีที่สมาชิกรัฐสภาจำนวน 308 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว. และอาจจะมีการส่งเรื่องให้ถอดถอนได้ จึงมองว่าหากมีการเดินหน้าเรื่องดังกล่าว จะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ
"ผมว่า สนช. เอาเวลาไปออกกฎหมายที่มีความเร่งด่วน เช่น การแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และกฎหมายที่ออกในสภาปกติยาก จะดีกว่าเอาเวลามาดำเนินการเรื่องถอดถอน เพราะจะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นใหม่ได้อีก" นพ.เชิดชัย กล่าว
ส่วนข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า ที่ประชุมสนช.ไม่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เหมือนกับช่วงที่มีรัฐบาลปกตินั้น ถือว่าเป็นธรรมดาเพราะเราไม่มีฝ่ายค้าน มีเพียงแค่ตรวจสอบให้รัดกุมเท่านั้น ขณะเดียวกันเรามีวิป ชั่วคราวที่จะคอบกำหนดขอบเขตการทำงานภายในสภา ไม่ให้ยุ่ง ก่อนเข้าประชุม จะไปคุยที่วิปเยอะ ทั้งเรื่องกฎหมาย หลักการ ต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร จะทักท้วงในวิปเยอะ ซึ่งปัญหาก็จะตกผลึกอยู่แล้ว
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่าจะแต่งตั้งสมาชิก สนช.เพิ่มนั้น ยังไม่มั่นใจเพราะเป็นหน้าที่ คสช. แต่ล่าสุดยังไม่มีการหารือกันว่าจะตั้งเพิ่มหรือไม่ หรือจะตั้งใครเข้ามาบ้าง เพราะเวลานี้การทำงานของสมาชิกที่มีอยู่จำนวน 192 คน ไม่มีผลกระทบอะไร ยังสามารถทำงานได้ แต่ถ้าต่อไปมีกฎหมายให้พิจารณาเยอะ ก็จะมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญมากขึ้นต้องดูอีกที ว่าจะไหวหรือไม่ไหว แต่การทำงนตอนนี้ยังเดินหน้าได้อยู่
สำหรับการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม สนช. ว่า สนช.ชุดนี้จะมีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ค้างมาจากรัฐบาลชุดที่แล้วหรือไม่นั้น เบื้องต้นมีคนขอสงวนคำแปรญํญติ แต่ท่าที่คุย คาดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะภาพรวมมีการแปรญัญติในระดับหนึ่ง ก็ยังไม่มีปัญหา ทั้งนี้หากมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติหลังจากนี้ จะต้องตั้งคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบมา 1 คณะ ที่จะพิจารณาว่าเรื่องนี้ สนช.ถอดถอนได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าเรื่องที่ส่งมาจะถอดถอนหมดได้ทุกเรื่อง
ส่วนเรื่องที่ ป.ป.ช.ส่งมาแล้วนั้น ไม่จำเป็นต้องส่งมาใหม่ สามารถหยิบมาพิจารณาได้เลย เพราะตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวได้ให้อำนาจเราเหมือน ส.ว. อยู่แล้ว
ด้านนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาข้อบังคับการประชุม สนช. ว่าด้วยหมวดการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีการบังคับใช้อยู่นี้ ไม่ได้ให้อำนาจการถอนถอนแก่สนช. หากจะมีการแก้ไขข้อบังคับขยายอำนาจให้ตัวเอง ต้องระมัดระวังและมองว่าไม่น่ากระทำได้ และไม่ควรกระทำ แต่ที่สุดแล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับการตีความข้อกฎหมาย และเรื่องของการถอนถอนนั้น ก่อนหน้านี้เป็นหน้าที่ของ ส.ว. ที่มีสมาชิกมาจากทั้งการแต่งตั้งและเลือกตั้ง ก็มีความชอบธรรมมากว่าสนช. ที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด การจะให้สนช. ที่มาจากการแต่งตั้ง ไปถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง ต่างชาติอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก
นายอุดมเดช ยังได้กล่าวถึงกรณีผลสำรวจความคิดเห็นของ ศูนย์วิจัยมาหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนนิยมดีกว่าพรรคเพื่อไทย ว่า ตนยังไม่กังวลในเรื่องนี้ เพราะบรรยากาศในขณะนี้ไม่ได้ปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนยังไม่มีสิทธิไปออกเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นยังไม่ถึงเวลาที่จะถามค่านิยมพรรคการเมือง ควรถามว่าประชาชนอยากให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย หรือให้ปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตย และเมื่อบรรยากาศในประเทศกลับมาเป็นประชาธิปไตยแล้ว ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง ค่อยมาถามว่า คะแนนนิยมของพรรคไหนดีกว่ากัน จะดีกว่า
สำหรับกรณีที่สมาชิกรัฐสภา 308 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 291 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มองว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ถูกฉีกไปแล้ว และอำนาจหน้าที่ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ว. ในรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ได้ถูกฉีกไปแล้วด้วยเช่นกัน จึงไม่น่าจะมีเหลุผลในการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวมาถอดถอน อดีตสมาชิกรัฐสภาที่ทำการแก้ไข รธน. 2550 ได้
ขณะที่ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่ สนช. จะพิจารณาข้อบังคับการประชุม สนช. ว่าด้วยหมวดการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่าไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และสนช. มาจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว จะไปถอดถอนคนที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่ได้ อีกทั้งในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ไม่ได้มีการเขียนเรื่องการถอนถอนไว้ชัดเจน หากยังจะเดินหน้าออกข้อบังคับดังกล่าว จะบ่งชี้ให้เห็นว่ามีความต้องการกลั่นแกล้งทางการเมืองกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เนื่องจาก สนช. มีกลุ่ม 40 ส.ว. ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากกลุ่มรัฐบาลที่ผ่านมาอยู่ และในขณะนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็อยู่ระหว่างการพิจารณากรณีที่สมาชิกรัฐสภาจำนวน 308 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว. และอาจจะมีการส่งเรื่องให้ถอดถอนได้ จึงมองว่าหากมีการเดินหน้าเรื่องดังกล่าว จะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ
"ผมว่า สนช. เอาเวลาไปออกกฎหมายที่มีความเร่งด่วน เช่น การแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และกฎหมายที่ออกในสภาปกติยาก จะดีกว่าเอาเวลามาดำเนินการเรื่องถอดถอน เพราะจะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นใหม่ได้อีก" นพ.เชิดชัย กล่าว