นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเขียนข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง(TOR)ในโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGVจำนวน 3,183 คัน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ที่ใช้เวลานานกว่า 1 ปีแล้วยังไม่เสร็จ โดยครั้งแรกประกาศร่าง TOR ขึ้นเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 19-26 ก.ค. 56 และครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 19 ส.ค. –22ส.ค. 57 แต่ร่าง TOR ครั้งที่ 12 นี้ ไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้าย เพราะยังคงมีประเด็นที่ส่อว่า มีการล็อกสเปกอีก จึงจะต้องปรับแก้กันต่อไป ซึ่งเหตุที่ขสมก.ใช้เวลาจนถึงวันนี้ (นานถึง 1 ปี 2 เดือน) เขียน TOR ไม่เสร็จเพราะ ขสมก.ไม่ได้ปรับแก้ TOR ตามคำทักท้วงจากการทำประชาพิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา แต่กลับใช้วิธีปรับแก้แบบเลี่ยงบาลี หรือใช้วิธีไม่ให้ความสนใจในบางประเด็นที่ถูกทักท้วง เช่น
1. การกำหนดให้รถโดยสารธรรมดาจะต้องวิ่งรับส่งผู้โดยสารในสภาวะน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่าระดับความสูง 70 ซม.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การกำหนดคุณสมบัติของเครื่องยนต์ จะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่เคยใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมาแล้วอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ผลิตบางรายเท่านั้น เป็นผลให้เครื่องยนต์ที่มีคุณภาพ สมรรถนะดีกว่า แต่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยไม่มีสิทธิ์เข้าประมูล กรณีนี้มีการทักท้วงเช่นเดียวกัน แต่ ขสมก.ไม่ยอมแก้ไข
3. การทดสอบรถ TORกำหนดให้รถที่จะทำการทดสอบว่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนรถที่ส่งมอบ ขอเพียงเครื่องและเกียร์ เหมือนรถที่นำเข้าประมูล โดยไม่คำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ระบบรองรับน้ำหนัก และเบรก แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าต้องการทดสอบรถที่เข้าประมูล จำเป็นจะต้องทดสอบรถที่เหมือนกันหมดทุกประการ มิฉะนั้น จะไม่สามารถรู้ถึงสมรรถนะ หรือข้อบกพร่องอื่นๆ ของตัวรถ เช่น ระบบเบรก การทรงตัว ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถัง หรือแม้แต่ความยากง่ายในการขับ และควบคุมรถ เหตุที่ต้องเขียน TOR เช่นนี้ ก็เพราะต้องการเปิดช่องให้ผู้เข้าประมูลที่ใช้คัสซีรถบรรทุกดัดแปลงสามารถเข้าประมูลได้ กรณีนี้มีการทักท้วงเช่นเดียวกัน แต่ ขสมก.ไม่ยอมแก้ไข ซึ่งการปรับแก้ TOR แบบไม่ตรงไปตรงมา เป็นสาเหตุให้ ขสมก. ต้องมี TOR ถึงฉบับที่ 12 และยังจะต้องมี TOR อีกหลายฉบับ ถ้าขสมก.ยังคงใช้วิธีการเช่นนี้
"จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สภานิติบัญญัติ ทราบว่ามีเรื่องที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม จะดำเนินการทันที นั่นคือการจัดทำ TOR ด้านคมนาคมใหม่ให้มีมาตรฐาน และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงอยากให้ TOR การจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท เป็นตัวอย่างหนึ่ง คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้รถเมล์ที่ดี มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล" นายสามารถ กล่าว
1. การกำหนดให้รถโดยสารธรรมดาจะต้องวิ่งรับส่งผู้โดยสารในสภาวะน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่าระดับความสูง 70 ซม.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การกำหนดคุณสมบัติของเครื่องยนต์ จะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่เคยใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยมาแล้วอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้ผู้ผลิตบางรายเท่านั้น เป็นผลให้เครื่องยนต์ที่มีคุณภาพ สมรรถนะดีกว่า แต่ไม่เคยใช้ในประเทศไทยไม่มีสิทธิ์เข้าประมูล กรณีนี้มีการทักท้วงเช่นเดียวกัน แต่ ขสมก.ไม่ยอมแก้ไข
3. การทดสอบรถ TORกำหนดให้รถที่จะทำการทดสอบว่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนรถที่ส่งมอบ ขอเพียงเครื่องและเกียร์ เหมือนรถที่นำเข้าประมูล โดยไม่คำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ระบบรองรับน้ำหนัก และเบรก แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าต้องการทดสอบรถที่เข้าประมูล จำเป็นจะต้องทดสอบรถที่เหมือนกันหมดทุกประการ มิฉะนั้น จะไม่สามารถรู้ถึงสมรรถนะ หรือข้อบกพร่องอื่นๆ ของตัวรถ เช่น ระบบเบรก การทรงตัว ความแข็งแรงของโครงสร้างตัวถัง หรือแม้แต่ความยากง่ายในการขับ และควบคุมรถ เหตุที่ต้องเขียน TOR เช่นนี้ ก็เพราะต้องการเปิดช่องให้ผู้เข้าประมูลที่ใช้คัสซีรถบรรทุกดัดแปลงสามารถเข้าประมูลได้ กรณีนี้มีการทักท้วงเช่นเดียวกัน แต่ ขสมก.ไม่ยอมแก้ไข ซึ่งการปรับแก้ TOR แบบไม่ตรงไปตรงมา เป็นสาเหตุให้ ขสมก. ต้องมี TOR ถึงฉบับที่ 12 และยังจะต้องมี TOR อีกหลายฉบับ ถ้าขสมก.ยังคงใช้วิธีการเช่นนี้
"จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สภานิติบัญญัติ ทราบว่ามีเรื่องที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม จะดำเนินการทันที นั่นคือการจัดทำ TOR ด้านคมนาคมใหม่ให้มีมาตรฐาน และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงอยากให้ TOR การจัดซื้อรถเมล์ NGV 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท เป็นตัวอย่างหนึ่ง คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้รถเมล์ที่ดี มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล" นายสามารถ กล่าว