xs
xsm
sm
md
lg

ข้อมูลเพื่อการปฏิรูปพลังงานประเทศไทย

เผยแพร่:   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์


พลังงาน เป็นต้นทุนความเป็นอยู่สำหรับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าการเดินทาง เป็นต้นทุนการผลิตของระบบ ไม่ว่าด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม

แต่ด้วยโครงสร้างที่เบี่ยงเบน ทำให้คนไทยส่วนน้อย 53,818 คน (0.08%) จากคนทั้งหมด 64,871,000 คน (100%)ได้ประโยชน์

เปรียบเทียบกับคนไทยที่เหลือ 64,817,182 คน (99.92%) จากคนทั้งหมด 64,871,000 คน (100%) ที่เดือดร้อน เพราะต้องใช้น้ำมันราคาแพง

น้ำมันราคาแพง คือต้นเหตุของราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเงินเฟ้อสูงราคาน้ำมันแพง ไม่เป็นไปเพื่อคนทั้งประเทศ แต่เป็นผลประโยชน์กับคนส่วนน้อยของระบบ

หมายเหตุ : ทั้งระบบ ถ้ารวมทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูก มีเอกชนเป็นผู้ถือหุ้น 243,757 คน (รวมต่างชาติ) หรือประมาณ 0.38 เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งประเทศ หรือไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์(0.5%)ของคนทั้งประเทศ

ราคาเบนซิน 95 ย้อนหลัง

ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ปั๊ม ปตท.ย้อนหลัง 12 ปี ย้อนหลังถึงปี 2543 ช่วงแรกระหว่างปี 2543 - 2544 ราคาอยู่ระหว่างลิตรละ 15 บาท และต่ำกว่า 15 บาท ราคาเริ่มสูงขึ้นหลังปี 2544 และเคยขึ้นไปสูงกว่าลิตรละ 40 บาทในปี 2551 แล้วราคาได้ร่วงลงมาถึงระดับลิตรละ 15 บาท อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ Hamburger Crisis

ระหว่างปี 2552-2555 ไม่มีรายงานราคาเบนซิน95

ที่มา : website ของปตท.

ราคาปัจจุบัน 2556-2557 ข้อมูลนี้ย้อนหลังถึงปี 2556 ปีที่เริ่มมีการรายงานราคาเบนซิน 95 อีกครั้ง (เริ่มมีการขายเบนซินอีกครั้ง)

ดูราคาย้อนหลังได้เกือบ 2 ปี ช่วงไหนราคาต่ำ ช่วงไหนราคาสูง

เดือนสิงหาคม 2557 ก่อนที่จะมีการประกาศลดราคา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557ราคาน้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 48.75 บาทต่อลิตร แพงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันโลกที่ลดลง

ที่มา : website ของปตท.

แสดงให้เห็นกำไรสุทธิ ปตท.ระหว่างปี 2544-2554 ช่วงปี 2551 กำไรสุทธิของปตท.ตกลง เป็นผลกระทบจาก Hamburger Crisis ของโลกเช่นกัน

ภาพถ่ายปั๊มน้ำมันประเทศมาเลเซีย แสดงราคาน้ำมันเดือนสิงหาคม 2557

เบนซิน 95 ลิตรละ 2.10 ริงกิต

อัตราแลกเปลี่ยน 10.01 บาทต่อ 1 ริงกิต

ดังนั้น 2.1 ริงกิตจึงเท่ากับ 21.02 บาท (2.1 คูณด้วย 10.01) แสดงให้เห็นว่า เบนซิน 95 ที่มาเลเซียราคา 21.02 บาทต่อลิตร แต่เบนซิน 95 ของประเทศไทย ราคา 48.75 บาทต่อลิตร ราคาที่ประเทศไทยสูงกว่าของมาเลเซีย 2.31 เท่า หรือสูงกว่า 131.92 เปอร์เซ็นต์

ราคาใกล้เคียงกับชาร์ตราคาน้ำมัน ปตท.เบนซิน 95 ที่ทำไว้

ราคา ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2557

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557 ปรับลดราคาน้ำมันส่วนใหญ่ ยกเว้นดีเซล

ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2544

รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำปตท.เข้าตลาดหุ้นวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (6/12/2001) ตอนนั้น SET Index = 305

ราคาน้ำมันประเทศไทยเริ่มแพงตั้งแต่ปี 2544 (2001)

รัฐบาลทักษิณเอา ปตท.เข้าตลาดหุ้น IPO (ราคาหุ้นจอง) ราคาหุ้นละ 35 บาท

ต่อมา.. ราคาขึ้นไปสูงสุดเกือบ 450 บาท...ปัจจุบันราคาอยู่ระหว่าง 300-350 บาท ที่จองไว้มีกำไร Capital gain กว่า 10 เท่า (ไม่รวมปันผลที่ได้รับแต่ละปี)

รัฐบาลทักษิณ มีการแปรูปรัฐวิสาหกิจมากเป็นประวัติการณ์ PTT (ปตท.) AOT (การท่าอากาศสนามบินสุวรรณภูมิ) TOP (ไทยออยล์) และ MCOT (อสมท)

ตอนหาเสียงพ.ต.ท.ทักษิณบอกว่าจะเข้าไปยกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ

แต่ตรงกันข้าม แบบหน้ามือเป็นหลังมือ

เมื่อได้เป็นรัฐบาล กลับมีการแก้ไขกฎหมาย ออกกฎหมาย ให้มีการขายสมบัติชาติมากขึ้นไปอีกได้มีการยกเลิกกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และจัดทำกฎหมายฉบับใหม่ คือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ขึ้นมาแทน

ราคาน้ำมันโลก

เปรียบเทียบราคาน้ำมันประเทศต่างๆ ทั่วโลก ข้อมูลของปี 2012 (2555)

10 ประเทศที่ราคาน้ำมันแพงที่สุดของประเทศนอร์เวย์ราคาสูงที่สุดในโลก

10 ประเทศที่ราคาน้ำมันถูกที่สุดน้ำมันประเทศเวเนซุเอลา ราคาต่ำที่สุดในโลก

ราคาน้ำมันประเทศสิงคโปร์สูงที่สุดในอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศไทย

ราคาน้ำมันของประเทศไทยอยู่ที่ลำดับที่ 47 ของโลก (4.51 USD/Gallon) แพงเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ แม้ราคาน้ำมันจะสูงกว่าประเทศไทย แต่มีประชากร 5.3 ล้านคน การบริโภคน้ำมันภายในประเทศน้อยมาก และไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม การผลิตน้ำมันของสิงคโปร์จึงเป็นไปเพื่อการส่งออก ผิดกับประเทศไทยที่มีประชากร 64.8 ล้านคน ฟิลิปปินส์มี 96.7 ล้านคน อินโดนีเซียมี 246.9 ล้านคน และมาเลเซียมี 29.2 ล้านคน ที่ในชีวิตประจำวันต้องเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ประเทศเหล่านี้มีฐานการผลิตเป็นทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงต้นทุนความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศ และต้นทุนการผลิตทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

ประเทศสิงคโปร์แม้ราคาน้ำมันจะสูงที่สุดในอาเซียน แต่ประชาชนมีความสุขมากที่สุดในอาเซียน ราคาน้ำมันที่สูงไม่ได้ก่อความเดือดร้อนให้ประชาชน ความสุขของประชาชนประเทศมาเลเซียเป็นที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ อันดับความยากลำบากอยู่ที่ลำดับที่ 28

Pain Rank ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 9 (อันดับความยากลำบากของผู้คน) ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

อุตสาหกรรมพลังงานของประเทศสิงคโปร์เป็นไปเพื่อการส่งออก

การอิงราคาน้ำมันของประเทศสิงคโปร์ เพื่อมากำหนดราคาน้ำมันของประเทศไทยจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องประเทศไทยต้องคำนึงถึงต้นทุนความเป็นอยู่ของประชาชน และต้นทุนการผลิตของระบบในประเทศ

ประเทศไทยต้องอิงราคาของประเทศที่มีการขายปลีกที่ต่ำที่สุด ราคาขายปลีกที่ต่ำที่สุดจะมาจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด

ศึกษาโครงสร้างกิจการพลังงานของประเทศที่ขายราคาน้ำมันได้ต่ำ ว่าเป็นอย่างไร และทำอย่างไรที่จะผลิตพลังงานที่ราคาต้นทุนต่ำออกมาได้ ซึ่งจะเป็นดีต่อทุกภาคส่วน

ราคาน้ำมันประเทศไทยสูงมากว่า 10 ปีแล้ว โดยเฉพาะปีหลังๆ ราคาสูงมาก เงินเฟ้อก็ขึ้นสูงตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

น้ำมันเถื่อน ภาคใต้

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันของประเทศไทยและประเทศมาเลเซียแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดตลาดมืด น้ำมันเถื่อนทางภาคใต้มาก

เปรียบเทียบโครงสร้างกิจการผลิตพลังงาน ไทย VS มาเลเซีย

ต้นทาง กลางทาง ปลายทางราคาพลังงาน

กิจการพลังงานของประเทศไทยถูกแปรรูปเข้าตลาดหุ้น ทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกต่างอยู่ในตลาดหุ้น และยังมีบริษัทลูกที่อยู่นอกตลาดด้วย บริษัทลูกนอกตลาดหลายบริษัทจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน

ตามกฎของตลาดหุ้น บริษัทที่เข้าตลาดหุ้นต้องทำกำไรให้ผู้ถือหุ้น

จากโครงสร้างที่นำเสนอ จะเห็นว่ากิจการพลังงานของประเทศไทยมีการทำกำไร 3-4 ต่อผ่านบริษัทลูกมีการทำกำไรที่ต้นทางและกลางทาง ทำให้ทุนการผลิตพลังงานของไทยสูง เมื่อถึงปลายทาง ราคาขายปลีกพลังงานจึงสูง

กิจการพลังงานของมาเลเซีย ไม่ได้แปรรูปเข้าตลาดหุ้น ไม่มีการทำกำไรผ่านบริษัทลูกหลายต่อ ต้นทุนการผลิตพลังงานของประเทศมาเลเซียจึงราคาถูก ไม่แพง ราคาน้ำมันของประเทศมาเลเซียต่ำติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการถือหุ้น ปตท.ในบริษัทลูก เป็นสัดส่วนที่สูงปตท.จึงกลายเป็นบริษัทผูกขาดกิจการพลังงานผ่านบริษัทลูก

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร บอกว่า “กำไรของ ปตท.มาจากบริษัทลูกของ ปตท.” ยืนยันชัดเจน ว่ามีการผูกขาดกิจการพลังงานผ่านบริษัทลูก ปตท.

จะให้บริษัทแม่มีกำไรเท่าใด เป็นเรื่องที่สามารถกำหนดได้ โดยกำหนดการทำกำไรไว้ที่บริษัทลูก เช่นจะซื้อน้ำมันดิบหรือแก๊สดิบจากบริษัทลูกที่ราคาเท่าใด กำหนดค่าการกลั่นหรือค่าการแยกแก๊สที่บริษัทลูกเท่าใด จะให้บริษัทลูกมีกำไรเท่าใด ย่อมได้ เงินปันผลของบริษัทลูก กลายเป็นกำไรของบริษัทแม่

ไม่ทราบใครทำภาพนี้ไว้ แต่เป็นความคิดที่ตรงกัน ว่ากิจการพลังงานของประเทศไทยมีการทำกำไรที่ต้นทาง และกลางทาง กว่าจะมาถึงปลายทาง มีการทำกำไรหลายต่อ ทำให้ราคาน้ำมันของประเทศไทยสูงกว่าที่ควรจะเป็น

ปัญหาจากการบริหารจัดการ

การทับซ้อนทางผลประโยชน์จากอำนาจหน้าที่การบริหารจัดการกิจการพลังงาน ทำให้ราคาพลังงานถูกเบี่ยงเบน

ผู้บริหารระดับสูงถูกเลิกจ้างจากบริษัทที่มีมูลค่าตลาด 3.3 หมื่นล้านบาท มาได้งานหรือถูกจ้างมาบริหารงานบริษัทที่มีมูลค่าตลาด 9.2 แสนล้านบาท ที่ใหญ่กว่าเดิมประมาณ 28 เท่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร

การสื่อสารสารที่ยากจะเข้าใจ เสนอให้แยกกิจการท่อส่งแก๊สธรรมชาติออกจาก บมจ.ปตท. ให้กระทรวงการคลังถือหุ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ 75 เปอร์เซ็นต์ หรือเสนอ คสช.ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันนอกจากจะไม่มีกฎหมายรองรับแล้ว ก็เบี่ยงเบนไปจากกลไกทางการปฏิบัติที่ควรจะเป็น

ตอบข้อข้องใจ

ถ้ากิจการพลังงานเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นราชการ ทำให้การผลิตไม่มีประสิทธิภาพ ดูตัวอย่างประเทศมาเลเซียเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นราชการ ประสิทธิภาพการผลิตสูงมาก ผลิตได้ต้นทุนต่ำกว่าประเทศไทยมาก ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันของมาเลเซีย ต่ำกว่าของประเทศไทยกว่าเท่าตัว

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ ชี้ประเด็นอาจเกิดจากมุมมองที่ต่างกัน

ประเด็นด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) การตรึงราคาทำให้รัฐสูญเสียรายได้จำนวนมากจากการลักลอบขายก๊าซออกนอกประเทศ และทำให้คนไทยใช้ก๊าซอย่างฟุ่มเฟือย

การสูงขึ้นของราคาพลังงานสามารถทำได้ หากกิจการของพลังงานเป็นรัฐวิสาหกิจ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ความสัมพันธ์ของโครงสร้างทุกวันนี้ หากมีการกำหนดราคาพลังงานให้สูงขึ้น รายได้ก็ไม่ได้เป็นของรัฐทั้งหมด แต่รายได้ที่เกิดขึ้นจะเป็นของคนส่วนน้อยและต่างชาติที่ถือหุ้นใน ปตท. 49 เปอร์เซ็นต์

ความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมกัน (Equity) ราคาก๊าซที่ต่ำเกินจริงทำให้พลังงานทางเลือกเกิดขึ้นยาก เพราะต้นทุนสูงกว่าราคาก๊าซที่ขายในประเทศ จึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซ

ราคาก๊าซที่ประชาชนใช้ไม่ได้ต่ำเกินจริง มีแต่กำหนดไว้ที่ราคาสูง ราคาที่สูงขึ้นจะตกเป็นผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย เป็นของผู้ถือหุ้น 53,818 คน (0.08%) ที่ถือหุ้นบริษัทแม่ปตท. หรือเป็นของผู้ถือหุ้นกิจการพลังงานทั้งระบบ 243,757 คน (0.38%) จากประชาชนคนไทยทั้งหมด 64.87 ล้านคน

การพัฒนาพลังงานทดแทน ต้องหาทางพัฒนาอย่างไรที่จะทำให้พลังงานทดแทนราคาถูกลง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม ไม่ใช่ไปทำให้ราคาพลังงานปัจจุบันให้สูงขึ้น เพื่อช่วยให้มีการพัฒนาพลังงานทางเลือก

ดร.เดือนเด่น พิจารณาประโยชน์ของระบบกิจการพลังงานที่ไม่ครบวงจร

ข้อมูล ความรู้เรื่องพลังงานได้มีการศึกษาติดตามกันต่อเนื่องมานับร้อยปี ดังนั้น ข้อมูล ความรู้เรื่องพลังงาน จึงไม่ใช่ปัญหาของกิจการพลังงาน ข้อมูล ด้านเทคนิค ข้อมูลด้านการผลิตก็ไม่ใช่ปัญหาเช่นกัน ชาวบ้านสามารถกลั่นพลังงานที่ใต้ทุนบ้านได้ ไม่ต่างอะไรกับกลั่นสุราของชาวบ้าน

ปัญหาเกิดจากคนส่วนน้อยคิดหาประโยชน์แบบมักง่ายจากกิจการพลังงานของประเทศ เอารัดเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ของระบบ

ประเทศไทยได้ลงทุนด้านพลังงานมาแต่แรก ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง อยู่ๆ ก็มีการฮุบกิจการเอาไปเป็นของเอกชนแบบดื้อๆ ที่ราคาต่ำเหมือนได้เปล่า แล้วก็มากำหนดเอากำไรทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทางของกิจการ ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งระบบ ทำให้ต้นทุนความเป็นอยู่ของผู้คน และต้นทุนการผลิตของระบบสูงขึ้น

ราคาพลังงานสูงเป็นมาต่อเนื่องมานานกว่า 10 ปี ประชาชนก็ต่อสู้เรื่องนี้อย่างเข้มข้น นอกจากไม่มีความก้าวหน้าของการต่อสู้แล้ว ดูเหมือนจะมีการฮุบกิจการพลังงานของระบบมากขึ้นไปอีก

การแปรรูปกิจการพลังงานเข้าตลาดหุ้น ทำให้เกิดโครงสร้างกิจการพลังงานที่เบี่ยงเบน ทำให้มีการทำกำไรหลายต่อ ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกแพง ทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงไปด้วย หรือเงินเฟ้อสูง กิจการพลังงานต้องเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ให้เป็นกำไรแก่คนส่วนน้อยของระบบ

ทางออกของการแก้ปัญหาที่ถาวร คือยุติการแปรรูปพลังงานเข้าตลาดหุ้น

**********
https://www.facebook.com/suthipong.prachayapruit

http://twitter.com/indexthai2
กำลังโหลดความคิดเห็น