พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.พูดไว้ในงานต่อต้านคอร์รัปชัน 2557 “HAND IN HAND...ปฏิรูปการต่อสู้เพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน” ว่า การแก้ปัญหาการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ และบอกวันนี้ คสช.เข้ามา 4 เดือน แบกภาระไว้เต็มบ่า แต่อย่ากังวลว่าเราจะทำได้หรือไม่ ตัวเองไม่ใช่นักการเมืองไม่จำเป็นต้องรักษาฐานเสียงที่ไหน เข้ามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เข้ามาก้าวล่วงใคร
ผมคิดว่า ประชาชนจำนวนมากก็ฝากความหวังไว้กับพล.อ.ประยุทธ์ในเรื่องปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นมากมาย เมื่อนักการเมืองเข้ามามีอำนาจผ่านการเลือกตั้ง
และเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ตั้งความหวังเป็นสัญญาประชาคมไว้เช่นนั้น สิ่งที่ผมอยากให้พล.อ.ประยุทธ์ทบทวนก็คือ การปล่อยให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลอย่างเต็มที่โดยคลายกฎเหล็กตามประกาศฉบับที่ 97 และ 103 ลงมา
แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่อาจจะบอกว่า เราจะไปเรียกหาสิทธิเสรีภาพจากรัฐบาลที่มาจากปากกระบอกปืนได้อย่างไร นี่เป็นอำนาจเผด็จการไม่ใช่อำนาจประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนอย่างเต็มที่
ผมเข้าใจนะครับว่า ยุคนี้เป็นยุคเผด็จการไม่ใช่ประชาธิปไตย
แต่ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มั่นใจว่า ตัวเองไม่ใช่นักการเมืองที่ต้องรักษาฐานเสียงหรือภาพลักษณ์ให้ดูดี รัฐบาลชุดนี้มีความโปร่งใสปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน ก็ควรจะต้องยอมรับการตรวจสอบของสื่อมวลชน เพราะถ้ารัฐบาลไม่ทุจริตแม้สื่อมวลชนจะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างไรก็ไม่สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลได้
การให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพที่จะพูด มันก็ยิ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพลักษณ์ที่แท้จริงของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น ถ้ารัฐบาลไม่ทุจริตก็จะพูดได้อย่างเต็มปากว่าไม่ทุจริต ไม่ใช่เพราะไม่มีใครกล้าพูดว่ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันเพราะรัฐบาลปิดหูปิดตาปิดปากสื่อมวลชน
อย่างน้อยการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนตรวจสอบตัวเองได้ ก็จะทำให้รัฐบาลชุดนี้ได้ชื่อว่า เป็นรัฐบาลที่มีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความโปร่งใสอย่างแท้จริง พูดง่ายๆ ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถามในฐานะนายกรัฐมนตรีที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ไม่ใช่ในฐานะองค์รัฏฐาธิปัตย์ที่มีอำนาจเหนือใครในแผ่นดินนี้
และต้องพร้อมที่จะรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนก็คือตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ และวันนี้พล.อ.ประยุทธ์คือ นายกรัฐมนตรีที่ต้องรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนด้วย ไม่ใช่แค่หัวหน้าคณะปฏิวัติที่ตัวเองมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
นอกจากต้องพร้อมจะตอบคำถามสื่อมวลชนในฐานะนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ต้องใจกว้างที่จะให้สื่อนำข่าวสารข้อเท็จจริงไปนำเสนอในสังกัดและป้อมค่ายของตัวเองด้วย พล.อ.ประยุทธ์ต้องแสดงออกมาให้สื่อเข้าใจว่า ตัวเองพร้อมที่จะตอบคำถามทุกคำถามอย่างเปิดกว้างและใจเย็น เพื่อให้สื่อกล้าที่จะตั้งคำถาม เพราะบอกตรงๆ เลยว่า ทุกวันนี้สื่อมวลชนกลัวอำนาจจากปลายกระบอกปืนของรัฐบาล ไม่กล้าพูดไม่กล้าตั้งคำถามที่ควรจะถาม พากันเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะกลัวว่าต้นสังกัดจะถูกสั่งปิดถ้านำเสนอข่าวสารที่ไม่ถูกใจของผู้มีอำนาจแม้สิ่งที่นำเสนอจะเป็นความจริงก็ตาม
สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์จะต้องทำความกระจ่างก็คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะบังคับใช้คำสั่งดังกล่าว เพราะผมเกรงว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านจะบังคับใช้ประกาศฉบับที่ 97 แบบครอบจักรวาลเพื่อจะเอาใจท่านเท่านั้นเอง
ผมยกตัวอย่างที่ฟังเผินๆ แล้วอาจจะขำแต่พอดูให้ดีแล้วก็รู้สึกว่าขมขื่นสิ้นดี
เรื่องของเรื่องคือสถานีโทรทัศน์บุญนิยมหรือเดิมคือ FMTV ได้จัดทำรายการชื่อ “3 อาชีพกู้ชาติ” แต่ถูกทหารที่ไปควบคุมสถานีสั่งให้เปลี่ยนชื่อรายการ ซึ่งคงเป็นเพราะมีคำว่า “กู้ชาติ” นั่นเอง ตลกไหมครับรายการนี้มีเนื้อหาเน้นเรื่องการจัดการขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำกสิกรรมไร้สารพิษ โดยทางสถานีบุญนิยมเชื่อว่า 3 อาชีพนี้สามารถช่วยในการกู้ชาติ กู้เศรษฐกิจของชาติได้
และเมื่อไม่นานมานี้ กสทช.ได้เรียกสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปกำชับเรื่องข้อห้ามตามประกาศ คสช.ฉบับ 97 อีกครั้ง ถึงกับพูดทำนองว่า ทุกสถานีโทรทัศน์ควรหันไปทำรายการประเภททำกับข้าวหรือชวนชิมอาหารเสียดีกว่า ซึ่งผมคิดว่า กสทช.เอาใจ คสช.จนเกินงาม เพราะจริงแล้วรัฐบาลและ คสช.ไม่น่าจะเป็นวัวสันหลังหวะที่ต้องกลัวสื่อมวลชนขนาดนั้น
แต่ กสทช.อาจจะออกนอกหน้าเอาใจ คสช.เพราะกลัวว่าอำนาจของตัวเองที่กำลังสั่นคลอนเลยต้องแสดงให้ คสช.เห็นว่าตัวเองได้ทำหน้าที่กำราบสื่ออย่างเต็มที่เพื่อเอาใจรัฐบาลและคสช.เพียงเพื่อจะรักษาอำนาจของตัวเองเอาไว้
ความจริงไม่มีใครแข็งขืนต่อประกาศฉบับนี้หรอกครับเพราะข้อห้ามในประกาศฉบับที่ 97 ใน 7 วงเล็บ ไม่ใช่เรื่องนอกเหนือไปจากที่สื่อมวลชนควรจะปฏิบัติเลยครับ
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วิดีทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุมให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
ต่อมา (3) ถูกแก้ด้วยประกาศฉบับที่ 103 ความว่า (3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ
ผมคิดว่าทั้ง 7 ข้อยกเว้นข้อ 3 ข้อเดียว เป็นเรื่องที่สื่อทั่วไปควรปฏิบัติอยู่แล้ว
แต่ที่อยากถาม คสช.คือ ข้อ (3) นั้น เมื่อพิจารณาตามตัวอักษรที่แก้ไขใหม่ตามประกาศฉบับ 103 แล้วจะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ถูกต้องไม่ใช่ข้อมูลอันเป็นเท็จ และมีเจตนาที่สุจริตแสดงว่าเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช.ได้ใช่ไหม
และข้อ 3 ในประกาศที่ 97 นั้นกำชับว่าห้ามวิจารณ์ คสช.แล้วยังระบุถึงห้ามวิจารณ์ “บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย” แต่ที่แก้ไขใหม่ตามประกาศ 103 ได้ตัดคำว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” ออกไป
นั่นแสดงว่า สื่อสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ใช่ไหมครับ เพียงแต่ต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ถ้าใช่รัฐบาลและคสช.ควรจะทำความเข้าใจต่อสาธารณชน ต่อสื่อมวลชน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะเป็นฝ่ายหยิบประกาศมาบังคับใช้กับสื่อมวลชนให้เข้าใจตรงกันว่ามีขอบเขตแค่ไหนเพียงใด
ผมว่าถ้าทำอย่างนี้ได้รัฐบาลประยุทธ์แม้ว่าจะมาจากอำนาจปากกระบอกปืน ก็จะมีความงดงามอยู่ในใจของประชาชนได้ครับ
ผมคิดว่า ประชาชนจำนวนมากก็ฝากความหวังไว้กับพล.อ.ประยุทธ์ในเรื่องปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นมากมาย เมื่อนักการเมืองเข้ามามีอำนาจผ่านการเลือกตั้ง
และเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ตั้งความหวังเป็นสัญญาประชาคมไว้เช่นนั้น สิ่งที่ผมอยากให้พล.อ.ประยุทธ์ทบทวนก็คือ การปล่อยให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลอย่างเต็มที่โดยคลายกฎเหล็กตามประกาศฉบับที่ 97 และ 103 ลงมา
แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่อาจจะบอกว่า เราจะไปเรียกหาสิทธิเสรีภาพจากรัฐบาลที่มาจากปากกระบอกปืนได้อย่างไร นี่เป็นอำนาจเผด็จการไม่ใช่อำนาจประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนอย่างเต็มที่
ผมเข้าใจนะครับว่า ยุคนี้เป็นยุคเผด็จการไม่ใช่ประชาธิปไตย
แต่ถ้าพล.อ.ประยุทธ์มั่นใจว่า ตัวเองไม่ใช่นักการเมืองที่ต้องรักษาฐานเสียงหรือภาพลักษณ์ให้ดูดี รัฐบาลชุดนี้มีความโปร่งใสปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน ก็ควรจะต้องยอมรับการตรวจสอบของสื่อมวลชน เพราะถ้ารัฐบาลไม่ทุจริตแม้สื่อมวลชนจะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างไรก็ไม่สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลได้
การให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพที่จะพูด มันก็ยิ่งจะสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพลักษณ์ที่แท้จริงของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น ถ้ารัฐบาลไม่ทุจริตก็จะพูดได้อย่างเต็มปากว่าไม่ทุจริต ไม่ใช่เพราะไม่มีใครกล้าพูดว่ารัฐบาลทุจริตคอร์รัปชันเพราะรัฐบาลปิดหูปิดตาปิดปากสื่อมวลชน
อย่างน้อยการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนตรวจสอบตัวเองได้ ก็จะทำให้รัฐบาลชุดนี้ได้ชื่อว่า เป็นรัฐบาลที่มีภาพลักษณ์ที่ดีและมีความโปร่งใสอย่างแท้จริง พูดง่ายๆ ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถามในฐานะนายกรัฐมนตรีที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ ไม่ใช่ในฐานะองค์รัฏฐาธิปัตย์ที่มีอำนาจเหนือใครในแผ่นดินนี้
และต้องพร้อมที่จะรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชน เพราะสื่อมวลชนก็คือตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ และวันนี้พล.อ.ประยุทธ์คือ นายกรัฐมนตรีที่ต้องรับฟังเสียงสะท้อนของประชาชนด้วย ไม่ใช่แค่หัวหน้าคณะปฏิวัติที่ตัวเองมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
นอกจากต้องพร้อมจะตอบคำถามสื่อมวลชนในฐานะนายกรัฐมนตรีแล้ว ก็ต้องใจกว้างที่จะให้สื่อนำข่าวสารข้อเท็จจริงไปนำเสนอในสังกัดและป้อมค่ายของตัวเองด้วย พล.อ.ประยุทธ์ต้องแสดงออกมาให้สื่อเข้าใจว่า ตัวเองพร้อมที่จะตอบคำถามทุกคำถามอย่างเปิดกว้างและใจเย็น เพื่อให้สื่อกล้าที่จะตั้งคำถาม เพราะบอกตรงๆ เลยว่า ทุกวันนี้สื่อมวลชนกลัวอำนาจจากปลายกระบอกปืนของรัฐบาล ไม่กล้าพูดไม่กล้าตั้งคำถามที่ควรจะถาม พากันเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะกลัวว่าต้นสังกัดจะถูกสั่งปิดถ้านำเสนอข่าวสารที่ไม่ถูกใจของผู้มีอำนาจแม้สิ่งที่นำเสนอจะเป็นความจริงก็ตาม
สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์จะต้องทำความกระจ่างก็คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะบังคับใช้คำสั่งดังกล่าว เพราะผมเกรงว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านจะบังคับใช้ประกาศฉบับที่ 97 แบบครอบจักรวาลเพื่อจะเอาใจท่านเท่านั้นเอง
ผมยกตัวอย่างที่ฟังเผินๆ แล้วอาจจะขำแต่พอดูให้ดีแล้วก็รู้สึกว่าขมขื่นสิ้นดี
เรื่องของเรื่องคือสถานีโทรทัศน์บุญนิยมหรือเดิมคือ FMTV ได้จัดทำรายการชื่อ “3 อาชีพกู้ชาติ” แต่ถูกทหารที่ไปควบคุมสถานีสั่งให้เปลี่ยนชื่อรายการ ซึ่งคงเป็นเพราะมีคำว่า “กู้ชาติ” นั่นเอง ตลกไหมครับรายการนี้มีเนื้อหาเน้นเรื่องการจัดการขยะ การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำกสิกรรมไร้สารพิษ โดยทางสถานีบุญนิยมเชื่อว่า 3 อาชีพนี้สามารถช่วยในการกู้ชาติ กู้เศรษฐกิจของชาติได้
และเมื่อไม่นานมานี้ กสทช.ได้เรียกสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไปกำชับเรื่องข้อห้ามตามประกาศ คสช.ฉบับ 97 อีกครั้ง ถึงกับพูดทำนองว่า ทุกสถานีโทรทัศน์ควรหันไปทำรายการประเภททำกับข้าวหรือชวนชิมอาหารเสียดีกว่า ซึ่งผมคิดว่า กสทช.เอาใจ คสช.จนเกินงาม เพราะจริงแล้วรัฐบาลและ คสช.ไม่น่าจะเป็นวัวสันหลังหวะที่ต้องกลัวสื่อมวลชนขนาดนั้น
แต่ กสทช.อาจจะออกนอกหน้าเอาใจ คสช.เพราะกลัวว่าอำนาจของตัวเองที่กำลังสั่นคลอนเลยต้องแสดงให้ คสช.เห็นว่าตัวเองได้ทำหน้าที่กำราบสื่ออย่างเต็มที่เพื่อเอาใจรัฐบาลและคสช.เพียงเพื่อจะรักษาอำนาจของตัวเองเอาไว้
ความจริงไม่มีใครแข็งขืนต่อประกาศฉบับนี้หรอกครับเพราะข้อห้ามในประกาศฉบับที่ 97 ใน 7 วงเล็บ ไม่ใช่เรื่องนอกเหนือไปจากที่สื่อมวลชนควรจะปฏิบัติเลยครับ
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วิดีทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุมให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
ต่อมา (3) ถูกแก้ด้วยประกาศฉบับที่ 103 ความว่า (3) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ
ผมคิดว่าทั้ง 7 ข้อยกเว้นข้อ 3 ข้อเดียว เป็นเรื่องที่สื่อทั่วไปควรปฏิบัติอยู่แล้ว
แต่ที่อยากถาม คสช.คือ ข้อ (3) นั้น เมื่อพิจารณาตามตัวอักษรที่แก้ไขใหม่ตามประกาศฉบับ 103 แล้วจะเห็นได้ว่า ถ้าเรามีข้อมูลที่ถูกต้องไม่ใช่ข้อมูลอันเป็นเท็จ และมีเจตนาที่สุจริตแสดงว่าเราสามารถวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของ คสช.ได้ใช่ไหม
และข้อ 3 ในประกาศที่ 97 นั้นกำชับว่าห้ามวิจารณ์ คสช.แล้วยังระบุถึงห้ามวิจารณ์ “บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย” แต่ที่แก้ไขใหม่ตามประกาศ 103 ได้ตัดคำว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้อง” ออกไป
นั่นแสดงว่า สื่อสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ใช่ไหมครับ เพียงแต่ต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ถ้าใช่รัฐบาลและคสช.ควรจะทำความเข้าใจต่อสาธารณชน ต่อสื่อมวลชน ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะเป็นฝ่ายหยิบประกาศมาบังคับใช้กับสื่อมวลชนให้เข้าใจตรงกันว่ามีขอบเขตแค่ไหนเพียงใด
ผมว่าถ้าทำอย่างนี้ได้รัฐบาลประยุทธ์แม้ว่าจะมาจากอำนาจปากกระบอกปืน ก็จะมีความงดงามอยู่ในใจของประชาชนได้ครับ