องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นเกาะติดโครงการลงทุน 2.4 ล้านล้านใกล้ชิด ป้องกันไม่ให้โกงมโหฬารเหมือนในอดีต พร้อมขอรัฐบาลใหม่ลากคอพวกโกงเชือดโชว์ โดยเฉพาะจำนำข้าวที่คนอยากรู้ เตรียมดีเดย์ 6 ก.ย.นี้ จัดงานต้านคอร์รัปชั่น ดึงรัฐเอกชนร่วมพลังต้านโกงทุกรูปแบบ
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยภายหลังแถลงการจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันว่า องค์กรฯ ได้ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อพิจารณาหาผู้ที่มีความรู้ในการติดตามโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลชุดใหม่วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาทอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างและการประมูลงานโครงการลงทุนรถไฟรางคู่,รถไฟฟ้า, การสร้างสนามบินและถนนต่างๆ เพื่อไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนกับโครงการในอดีตจำนวนมากที่เกิดปัญหาการทุจริตหรือการหักค่าหัวคิวของผู้บริหารประเทศ
ทั้งนี้ ภาคเอกชน ทั้งหอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.), สมาคมธนาคารไทย, สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย รวมถึงสมาคมอื่นๆ และองค์กรภาคประชาชน ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยจะเน้นการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบและจะร่วมกันยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในเมืองไทยเหมือนในอดีตที่ผ่านมาจนสร้างความเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมาก
“องค์กรต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เร่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่มีผู้บริหารระดับสูงของประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตเพื่อลงโทษให้สาธารณชนได้รับทราบโดยเร็ว เช่น โครงการรับจำนำข้าว
ที่ประชาชนอยากทราบมากที่สุดว่ามีใครเกี่ยวข้องและมีความสูญเสียงบประมาณมากน้อยแค่ไหน โดยต้องดำเนินคดีเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง”นายประมนต์กล่าว
นายประมนต์กล่าวว่า ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ องค์กรฯ จะจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อเป็นเวทีให้ประชาชนที่ต้องการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ไร้การทุจริตคอร์รัปชัน ได้มาแสดงเจตจำนงร่วมกัน ซึ่งปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจำนวนมากในการร่วมแสดงพลังให้สังคมรับรู้ถึงการไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางในการป้องกัน แก้ไข ก่อนที่จะนำเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาต่อไป
สำหรับวันต่อต้านคอร์รัปชันในปีนี้ มีแนวคิดคือ “แฮนด์อินแฮนด์ ปฎิรูปการต่อสู้ เพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นพัฒนาการของกระแสสังคมที่เห็นว่าการจะต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันให้สำเร็จได้ผลอย่างจริงจัง จำเป็นต้องมีการปฏิรูปและบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคเอกชนและภาคราชการ ซึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเกณท์และให้บริการกับประชาชน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยภายหลังแถลงการจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันว่า องค์กรฯ ได้ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อพิจารณาหาผู้ที่มีความรู้ในการติดตามโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลชุดใหม่วงเงิน 2.4 ล้านล้านบาทอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างและการประมูลงานโครงการลงทุนรถไฟรางคู่,รถไฟฟ้า, การสร้างสนามบินและถนนต่างๆ เพื่อไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนกับโครงการในอดีตจำนวนมากที่เกิดปัญหาการทุจริตหรือการหักค่าหัวคิวของผู้บริหารประเทศ
ทั้งนี้ ภาคเอกชน ทั้งหอการค้าไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.), สมาคมธนาคารไทย, สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย รวมถึงสมาคมอื่นๆ และองค์กรภาคประชาชน ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยจะเน้นการต่อต้านการคอร์รัปชันทุกรูปแบบและจะร่วมกันยืนหยัดในการต่อสู้เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในเมืองไทยเหมือนในอดีตที่ผ่านมาจนสร้างความเสียหายแก่ประเทศเป็นอย่างมาก
“องค์กรต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เร่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่มีผู้บริหารระดับสูงของประเทศเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตเพื่อลงโทษให้สาธารณชนได้รับทราบโดยเร็ว เช่น โครงการรับจำนำข้าว
ที่ประชาชนอยากทราบมากที่สุดว่ามีใครเกี่ยวข้องและมีความสูญเสียงบประมาณมากน้อยแค่ไหน โดยต้องดำเนินคดีเพื่อไม่ให้เป็นแบบอย่าง”นายประมนต์กล่าว
นายประมนต์กล่าวว่า ในวันที่ 6 ก.ย.นี้ องค์กรฯ จะจัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อเป็นเวทีให้ประชาชนที่ต้องการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ไร้การทุจริตคอร์รัปชัน ได้มาแสดงเจตจำนงร่วมกัน ซึ่งปรากฎว่าได้รับการตอบรับจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจำนวนมากในการร่วมแสดงพลังให้สังคมรับรู้ถึงการไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางในการป้องกัน แก้ไข ก่อนที่จะนำเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาต่อไป
สำหรับวันต่อต้านคอร์รัปชันในปีนี้ มีแนวคิดคือ “แฮนด์อินแฮนด์ ปฎิรูปการต่อสู้ เพื่อชัยชนะอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นพัฒนาการของกระแสสังคมที่เห็นว่าการจะต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชันให้สำเร็จได้ผลอย่างจริงจัง จำเป็นต้องมีการปฏิรูปและบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคเอกชนและภาคราชการ ซึ่งเป็นผู้กำหนดกฎเกณท์และให้บริการกับประชาชน