ชาวพุทธในประเทศไทย และในประเทศอื่นได้รับการสอนสืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันว่า พระวินัยหรือศีลของภิกษุหรือนักบวชเพศชายในพุทธศาสนา รักษาศีล 227 ข้อซึ่งมีหลักฐานปรากฏในพระวินัยปิฎกตอบว่าด้วยศีลของภิกษุหรือที่เรียกว่า ภิกขุวิภังค์ หรือมหาวิภังค์ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 กัณหาหรือ 8 หมวดดังนี้
1. ปาราชิกมี 4 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีบทลงโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องขาดจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต เปรียบได้กับโทษประหารตามกฎหมายบ้านเมือง
2. สังฆาทิเสสมี 13 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้สงฆ์ปรับให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติเปรียบได้กับโทษจำคุก
3. อนิยตมี 2 สิกขาบทมีบทปรับต่างกันดังนี้
3.1 ภิกษุนั่งลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ 1. ปาราชิกเพราะเสพเมถุน 2. อาบัติสังฆาทิเสส เพราะถูกต้องกายหญิงหรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น 3. อาบัติปาจิตตีย์เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตาสองต่อสองรับสารภาพอย่างไร ก็พึงปรับอาบัติตามที่รับสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น
3.2 ภิกษุนั่งในที่ลับหูสองต่อสอง ถ้ามีอุบาสิกาผู้มีวาจาอันเชื่อได้กล่าวว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่างคือ
3.2.1 อาบัติสังฆาทิเสส เพราะพูดเกี้ยวหญิงหรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม
3.2.2 อาบัติปาจิตตีย์ เพราะนั่งในที่ลับหูลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้าภิกษุนั้นรับสารภาพอย่างไรใน 2 อย่างพึงปรับตามนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหา
4. นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์มี 30 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องสละสิ่งของ อันเป็นต้นเหตุให้ต้องอาบัติก่อนแล้วจึงจะแสดงอาบัติได้
5. ปาจิตตีย์มี 92 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องแสดงอาบัติคือ การบอกกล่าวแก่ภิกษุด้วยกัน และสัญญาว่าจะไม่ล่วงละเมิดอีก
6. ปาฏิเทสนียะมี 4 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทให้ผู้ล่วงละเมิดต้องแสดงคืน
7. เสขิยวัตรเป็นหมวดที่ว่าด้วยวัตร และจรรยามารยาทที่ภิกษุจะต้องศึกษาในหมวดนี้ในตัวสิกขาบทแต่ละสิกขาบท มิได้กำหนดบทลงโทษไว้เหมือนหมวดอื่นๆ แต่ในตอนท้ายสิกขาบทระบุว่า ถ้าทำเข้าต้องอาบัติทุกกฎ (แปลว่า ทำชั่ว)
8. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์มี 7 อย่างคือ
8.1 สัมมุขาวินัย การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ และธรรม)
8.2 สติวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
8.3 อมูฬหวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
8.4 ปฏิญญาติกรณะ การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
8.5 เยภุยเยสิกา การระงับด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
8.6 ตัสสปาปิยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
8.7 ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วต่อกัน
ทั้งหมดรวมเป็น 227 ข้อและจาก 227 ข้อนี้จะเห็นได้ว่ามีทั้งที่เป็นข้อห้าม และข้ออนุญาต ส่วนที่เป็นข้อห้ามภิกษุใดล่วงละเมิดจะปรับอาบัติหรือลงโทษแต่ข้อห้าม ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าทำต้องทำตามที่อนุญาตไว้ ถ้าทำต่างไปจากนี้ถือว่าผิดพุทธานุญาต
ศีล 227 ข้อนี้ภิกษุสงฆ์จะต้องทำการสวดหรือท่องปากเปล่าในท่ามกลางสงฆ์เดือนละ 2 ครั้งคือวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำที่ชาวบ้านเรียกว่าวันพระใหญ่
การสวดเช่นนี้เรียกว่าสวดปาติโมกข์ และได้สวดกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แต่มาวันนี้ได้มีภิกษุรูปหนึ่งในประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นในเชิงคัดค้านจำนวนของศีลภิกษุว่า มีเพียง 150 ข้อเท่านั้นที่ปรากฏในพระบาลี ส่วนที่เหลืออีก 77 ข้อมาในชั้นอรรถา ซึ่งขัดกับเนื้อหาในพระวินัยปิฎกชัดเจน เพราะ 77 ข้อที่ถูกตัดออกไปเข้าใจว่าเป็นเสขิยวัตร 75 และอนิยต 2 ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติ และครองตนให้เหมาะแก่การเป็นสาวกของพระพุทธองค์เพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา และความเลื่อมใส
ส่วนอนิยต 2 เป็นเสมือนมาตรฐานในการสอบสวนผู้กระทำผิดที่ไม่มีความแน่นอนว่าเป็นอาบัติใดอย่างชัดเจน จึงถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ เมื่อข่าวการแสดงความคิดเห็นของภิกษุรูปนี้ซึ่งมีฐานะทางการปกครองเป็นถึงเจ้าอาวาส และแถมยังมีสมณศักดิ์เป็นพระอธิการจัดเป็นตำแหน่งที่ได้รับเพื่อเชิดชูคุณความดีอีกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่คณะสงฆ์ไทยจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นเหตุ และจัดทำสังคายนาพระวินัยเพื่อเป็นมาตรฐานในการถือปฏิบัติของพระไทยทั่วประเทศ ไม่แตกต่างและไม่ขัดแย้ง ทั้งในด้านการตีความและถือปฏิบัติอันเป็นเหตุให้มีการแยกตัวเองออกไปเป็นนานาสังวาส ดังที่เป็นอยู่อย่างน้อย 2 สำนักในขณะนี้คือ ธรรมกาย กับสันติอโศก
อีกประการหนึ่ง ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศในหลายๆ ด้าน จึงน่าจะได้ปฏิรูปวงการสงฆ์ไทยให้เข้าร่องเข้ารอย ไม่ปล่อยให้ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างสอบ ดังที่เป็นอยู่ในหลายสำนักขณะนี้
1. ปาราชิกมี 4 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีบทลงโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องขาดจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต เปรียบได้กับโทษประหารตามกฎหมายบ้านเมือง
2. สังฆาทิเสสมี 13 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้สงฆ์ปรับให้อยู่กรรม และสงฆ์เองเป็นผู้ระงับอาบัติเปรียบได้กับโทษจำคุก
3. อนิยตมี 2 สิกขาบทมีบทปรับต่างกันดังนี้
3.1 ภิกษุนั่งลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้าอุบาสิกาผู้มีวาจาควรเชื่อได้ว่า ภิกษุต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่างคือ 1. ปาราชิกเพราะเสพเมถุน 2. อาบัติสังฆาทิเสส เพราะถูกต้องกายหญิงหรือเกี้ยวหญิง เป็นต้น 3. อาบัติปาจิตตีย์เพราะนั่งในที่ลับสองต่อสองกับหญิง ถ้าภิกษุผู้นั่งในที่ลับตาสองต่อสองรับสารภาพอย่างไร ก็พึงปรับอาบัติตามที่รับสารภาพนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหานั้น
3.2 ภิกษุนั่งในที่ลับหูสองต่อสอง ถ้ามีอุบาสิกาผู้มีวาจาอันเชื่อได้กล่าวว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 อย่างคือ
3.2.1 อาบัติสังฆาทิเสส เพราะพูดเกี้ยวหญิงหรือพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยกาม
3.2.2 อาบัติปาจิตตีย์ เพราะนั่งในที่ลับหูลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้าภิกษุนั้นรับสารภาพอย่างไรใน 2 อย่างพึงปรับตามนั้น หรือปรับตามที่ถูกกล่าวหา
4. นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์มี 30 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องสละสิ่งของ อันเป็นต้นเหตุให้ต้องอาบัติก่อนแล้วจึงจะแสดงอาบัติได้
5. ปาจิตตีย์มี 92 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทมีโทษให้ผู้ล่วงละเมิดต้องแสดงอาบัติคือ การบอกกล่าวแก่ภิกษุด้วยกัน และสัญญาว่าจะไม่ล่วงละเมิดอีก
6. ปาฏิเทสนียะมี 4 สิกขาบท แต่ละสิกขาบทให้ผู้ล่วงละเมิดต้องแสดงคืน
7. เสขิยวัตรเป็นหมวดที่ว่าด้วยวัตร และจรรยามารยาทที่ภิกษุจะต้องศึกษาในหมวดนี้ในตัวสิกขาบทแต่ละสิกขาบท มิได้กำหนดบทลงโทษไว้เหมือนหมวดอื่นๆ แต่ในตอนท้ายสิกขาบทระบุว่า ถ้าทำเข้าต้องอาบัติทุกกฎ (แปลว่า ทำชั่ว)
8. ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์มี 7 อย่างคือ
8.1 สัมมุขาวินัย การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ และธรรม)
8.2 สติวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
8.3 อมูฬหวินัย การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
8.4 ปฏิญญาติกรณะ การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
8.5 เยภุยเยสิกา การระงับด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
8.6 ตัสสปาปิยสิกา การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
8.7 ติณวัตถารกะ การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วต่อกัน
ทั้งหมดรวมเป็น 227 ข้อและจาก 227 ข้อนี้จะเห็นได้ว่ามีทั้งที่เป็นข้อห้าม และข้ออนุญาต ส่วนที่เป็นข้อห้ามภิกษุใดล่วงละเมิดจะปรับอาบัติหรือลงโทษแต่ข้อห้าม ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าทำต้องทำตามที่อนุญาตไว้ ถ้าทำต่างไปจากนี้ถือว่าผิดพุทธานุญาต
ศีล 227 ข้อนี้ภิกษุสงฆ์จะต้องทำการสวดหรือท่องปากเปล่าในท่ามกลางสงฆ์เดือนละ 2 ครั้งคือวันขึ้น 15 ค่ำและแรม 15 ค่ำที่ชาวบ้านเรียกว่าวันพระใหญ่
การสวดเช่นนี้เรียกว่าสวดปาติโมกข์ และได้สวดกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แต่มาวันนี้ได้มีภิกษุรูปหนึ่งในประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นในเชิงคัดค้านจำนวนของศีลภิกษุว่า มีเพียง 150 ข้อเท่านั้นที่ปรากฏในพระบาลี ส่วนที่เหลืออีก 77 ข้อมาในชั้นอรรถา ซึ่งขัดกับเนื้อหาในพระวินัยปิฎกชัดเจน เพราะ 77 ข้อที่ถูกตัดออกไปเข้าใจว่าเป็นเสขิยวัตร 75 และอนิยต 2 ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติ และครองตนให้เหมาะแก่การเป็นสาวกของพระพุทธองค์เพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา และความเลื่อมใส
ส่วนอนิยต 2 เป็นเสมือนมาตรฐานในการสอบสวนผู้กระทำผิดที่ไม่มีความแน่นอนว่าเป็นอาบัติใดอย่างชัดเจน จึงถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ เมื่อข่าวการแสดงความคิดเห็นของภิกษุรูปนี้ซึ่งมีฐานะทางการปกครองเป็นถึงเจ้าอาวาส และแถมยังมีสมณศักดิ์เป็นพระอธิการจัดเป็นตำแหน่งที่ได้รับเพื่อเชิดชูคุณความดีอีกด้วย
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่คณะสงฆ์ไทยจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นเหตุ และจัดทำสังคายนาพระวินัยเพื่อเป็นมาตรฐานในการถือปฏิบัติของพระไทยทั่วประเทศ ไม่แตกต่างและไม่ขัดแย้ง ทั้งในด้านการตีความและถือปฏิบัติอันเป็นเหตุให้มีการแยกตัวเองออกไปเป็นนานาสังวาส ดังที่เป็นอยู่อย่างน้อย 2 สำนักในขณะนี้คือ ธรรมกาย กับสันติอโศก
อีกประการหนึ่ง ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศในหลายๆ ด้าน จึงน่าจะได้ปฏิรูปวงการสงฆ์ไทยให้เข้าร่องเข้ารอย ไม่ปล่อยให้ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างสอบ ดังที่เป็นอยู่ในหลายสำนักขณะนี้