ASTVผู้จัดการรายวัน-สิ้น “ถวัลย์ ดัชนี” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ด้วยโรคตับวาย ที่ รพ.รามคำแหง ศิริอายุ 74 ปี พระราชทานน้ำหลวงอาบศพวันนี้ เหล่าศิลปินร่วมไว้อาลัย ยกย่องเชิดชูเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ ลูกชายโพสต์เฟซ "พ่อไม่ต้องกังวล พ่อไม่ได้ไปไหน ผลงานยังคงอยู่และเป็นอมตะ" เผยภาพสุดท้าย "เสี่ยบุญชัย" จองไว้แล้ว
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544 ได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันพุธที่ 3 ก.ย.2557 เวลาประมาณ 02.15 น. ด้วยโรคตับวาย ณ โรงพยาบาลรามคำแหง สิริรวมอายุ 74 ปี 11 เดือน
ทั้งนี้ ดร.ถวัลย์ ดัชนี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และความดัน เมื่อประมาณปี 2555 ได้เข้ารับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต่อมาเมื่อต้นปี 2557 ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย และในช่วงปลายเดือนมิ.ย. จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างจริงจัง จนกระทั่งพบว่าเชื้อมะเร็งลุกลามไปที่ตับและปอด มีอาการไตวาย จากนั้นอาการทรุดหนักจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
"รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สูญเสียศิลปินแห่งชาติ ผู้มีคุณูปการต่อแผ่นดิน ซึ่งได้สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์ ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังอุทิศตนส่งเสริมงานด้านศิลปะอย่างมากมาย โดยเฉพาะโครงการถ่ายทอดงานศิลป์ กับศิลปินแห่งชาติ และโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่มุ่งถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ให้แรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก เยาวชน ครูอาจารย์ และบุคลากรด้านศิลปะมาโดยตลอด ทำให้วงการศิลปะของไทยเกิดการพัฒนา และก้าวสู่สากลยิ่งขึ้น อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จึงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รักของทุกคน"นายชายกล่าว
อย่างไรก็ตาม สวธ. มีเงินสวัสดิการสำหรับศิลปินแห่งชาติที่เสียชีวิต เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และยังมีเงินในการสนับสนุนการจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท
***พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพวันนี้
ส่วนกำหนดการ จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 ก.ย.2557 เวลา 13.00 น. ณ ศาลา 1 วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการสำนักราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธี และมีกำหนดจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย.2557 เวลา 19.00น. โดยจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันพฤหัสบดีที่ 11 ก.ย.2557 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
***วัฒนธรรมยกย่องเชิดชูอาจารย์ถวัลย์
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของศิลปินแห่งชาติผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะไทย อาจารย์ถวัลย์ ได้สร้างสรรค์มรดกอันคุณค่าทางงานศิลปะที่มีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมไทยไว้ที่ บ้านดำ นางแล จ.เชียงราย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะ ที่สำคัญผลงานของท่านมีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีความเป็นสุดยอดทางด้านศิลปะ ซึ่งหาผู้เปรียบเทียบได้ยากมาก ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมจะร่วมอนุรักษ์
และสืบสานผลงานของท่านไว้ เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้ต่อไป
***เปรียบเป็นดั่งซุปเปอร์สตาร์
นายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ กล่าวว่า ตนได้ทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพี่ถวัลย์มาอย่างยาวนานได้สัมผัสชีวิต และเผชิญกับสิ่งที่ดีๆ มาด้วยกันทำให้เห็นว่า เราจะหาศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่มีจิตสาธารณะเช่นเดียวกับพี่ถวัลย์ได้ยาก ท่านเป็นซุปเปอร์สตาร์ เป็นแบบอย่างของศิลปินที่ประสบความสำเร็จ แล้วยังรู้จักที่จะแบ่งบันความรู้ ความคิด และความใส่ใจสู่ผู้อื่น ที่สำคัญ พี่ถวัลย์เป็นคนรักบ้านเกิด รักแผ่นดิน สร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม ยอมเสียเวลาอันมีค่า เพื่อเดินสายให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ โดยไม่เคยพร่ำบ่น ทั้งยังกลับกลายเป็นความภูมิใจที่ได้มีโอกาสสร้างศิลปินคนรุ่นใหม่ให้แก่แผ่นดินไทย
***ลูกชายโพสต์เฟซ"พ่อไม่ต้องกังวล"
นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชายนายถวัลย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 3 ก.ย. เพื่อกราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย ใจความว่า "พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหน พ่อจากไปแต่เพียงร่างกาย แต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณ และลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษา หลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอ และเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2557 นายดอยธิเบศร์ ก็ได้โพสต์ข้อความให้กำลังใจผู้เป็นพ่อและตัวเอง รวมไปถึงเพื่อเป็นการชี้แจงรายละเอียดให้ทุกคนได้ทราบในคราวเดียวกันถึงอาการป่วยของผู้เป็นพ่อมาแล้ว
**"บ้านดำ"ยังมีนักเที่ยวเข้าชมงานศิลปะ
รายงานจากจ.เชียงราย แจ้งว่า ที่ บ้านดำ เลขที่ 414 บ้านแม่ปูคา หมู่ 13 ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน ยังคงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนตั้งแต่เช้า แต่เจ้าหน้าที่ภายในบ้านที่ต่างเศร้าหมอง ยังคงให้นักท่องเที่ยวได้ตามปกติ และคอยดูแลภาพวาดขนาดใหญ่ยาว 3 เมตร ซึ่งเป็นภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในช่วงท้ายๆของชีวิตที่อาจารย์ถวัลย์ได้วาดขึ้น
ภาพดังกล่าวชื่อ "มารผจญ 1" และ "มารผจญ 2" จัดแสดงไว้ที่อาคารส่วนหน้าของบ้านดำ ซึ่งเป็นภาพวาดะสไตล์อาจารย์ถวัลย์ คงเอกลักษณ์ของลายเส้นและแสงเงาที่มีพลัง ภาพเป็นโทนสีแดงและเหลือง
**เผย"เสี่ยบุญชัย"จองภาพสุดท้ายไว้แล้ว
น.ส.อรทัย ขุนพิลึก เจ้าหน้าที่ดูแลบ้านดำ กล่าวว่า ทุกคนตกใจอย่างมาก ทำอะไรไม่ถูก แต่ผู้ใหญ่ย้ำให้เจ้าหน้าที่เปิดให้บริการตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนยังคงตั้งใจให้บริการ แม้จะรู้สึกเสียใจต่อการจากไปของอาจารย์ก็ตาม ทั้งนี้ก่อนที่อาจารย์จะจากไปไม่มีสิ่งบอกเหตุใดๆ เลย
"ภาพของอาจารย์ที่นำมาจัดแสดงจัดหน้าวิหารดำ คือ ภาพมารผจญ ความยาวประมาณ 3 เมตร มีผู้สั่งจองเอาไว้ คือ นายบุญชัย เบญจรงคกุล แต่ยังไม่ได้ส่งมอบ และปกติจะไม่วางเงินมัดจำ แต่เมื่ออาจารย์เสียชีวิตก่อนจึงเก็บภาพเอาไว้ต่อไป และยังมีภาพวาดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้นำออกมาจัดแสดงอีก"
**ศิษย์บอกอาจารย์อยากเผาศพที่บ้านดำ
นางบัวเขียว ตุ่นแก้ว ผู้ใกล้ชิดอาจารย์ถวัลย์ กล่าวว่า เสียใจกับการจากไปของอาจารย์ เพราะไม่เพียงแต่เป็นนายจ้างที่ดี ยังเปรียบเสมือนพ่อของทุกคน เพราะกว่า 20 ชีวิตที่อาจารย์ให้ความรักและดูแลทุกคนเหมือนคนในครอบครัว การจากไปของอาจารย์ถวัลย์ทำให้ยังไม่ทราบว่าคนในบ้านดำจะอยู่กันอย่างไรต่อไป แต่เชื่อว่าลูกอาจารย์หรือคนในบ้าน คงจะดำเนินการกิจการตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ถวัลย์ ที่ต้องการให้บ้านดำเป็นสถานที่ถ่ายทอดศิลปะ และสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด
จากการสอมถามลูกศิษย์หลายคนบอกว่า อาจารย์ถวัลย์บอกไว้ก่อนเสียชีวิตว่า ต้องการจะเผาศพตัวภายในบ้านดำ ซึ่งอาจารย์ได้สร้างสถานที่เผาศพไว้ล่วงหน้ามาหลายปีแล้ว
**ศิลปินเชียงรายขอทำแต่สิ่งดีเพื่อไว้อาลัย
นายอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ศิลปินชื่อดังชาวเชียงราย กล่าวว่า อาจารย์ถือเป็นปูชนียบุคคลของศิลปินชาวเชียงราย เพราะมีผลงานระดับโลก และทำสิ่งดีงามให้กับโลกนี้เอาไว้มาก รวมทั้งเป็นผู้วางรากฐานงานศิลปะ สั่งสอนศิลปินชาวเชียงรายทุกคนจนถือเป็นต้นแบบ หรือเหมือนพ่อด้านงานศิลปะของพวกเรา แม้แต่การก่อเกิดศิลปินชาวเชียงรายที่มีอยู่มากมายในขณะนี้ ก็ล้วนมาจากพื้นฐานที่อาจารย์ถวัลย์เป็นผู้วางเอาไว้ ซึ่งขณะนี้ทุกคนต่างตกตะลึงกับการจากไปของอาจารย์ แต่หลังจากนี้จะทำสิ่งดีๆ เพื่อไว้อาลัยให้กับอาจารย์ต่อไป
**"เฉลิมชัย"ยกย่อง"ศิลปินแห่งชาติ"ตัวจริง
นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2554 ผู้รังสรรค์ผลงานที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย กล่าวว่า การจากไปของอาจารย์ถวัลย์หรือพี่หวัน ทำให้รู้สึกสุดเสียใจ เพราะพี่หวันเป็นศิลปินแห่งชาติที่มีฝีมือสูงส่ง ยิ่งใหญ่ระดับโลกของจริง เป็นศิลปินแห่งชาติตัวจริงเสียงจริง ที่ตนและศิลปินทั้งหลายคนให้ความเคารพ ผลงานของอาจารย์ไม่ใช่มีให้เฉพาะคนไทยดูเท่านั้น แต่ให้กับคนทั้งโลก จึงถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ตนบอกได้เลยว่าคนนี้ยิ่งใหญ่จริงๆ เพราะนำผลงานทางศิลปะของตนเองไปสู่ทุกซีกโลกได้
"ผมเป็นคนที่ตามรอยเท้าของพี่หวัน เพราะผมปรารถนาตั้งแต่วัยเด็ก ที่จะเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ชีวิตผมที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ จึงพยายามเอาแบบอย่างพี่หวัน ที่ผมมีวันนี้เพราะพี่หวันนำหน้า น่าเสียดายมาก เพราะหาคนแบบนี้ได้ยากมาก"
สำหรับบ้านดำยังไม่ทราบว่าทางครอบครัวจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ทางตนและศิลปินชาวเชียงราย ยินดีจะให้การช่วยเหลือ ซึ่งบุตรชายของอาจารย์ถวัลย์ถือว่าเป็นคนเก่ง คงจะรักษาบ้านดำให้คงอยู่ต่อไปได้
***นำผลงานภาพชุดลายเส้นแสดง
นายอภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้นำผลงานภาพชุดลายเส้น ภาพเหมือนจริงใบหน้าของอาจารย์ถวัลย์ ตอนยังหนุ่มเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว วาดโดยอาจารย์ถวัลย์ เป็นงานสะสมของชาวเยอรมันที่อยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกให้ประชาชนได้รับชม ในงานนิทรรศการ “มนต์เสน่ห์ไทย : มรดก+พลังสร้างสรรค์" ณ บริเวณชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 16 พ.ย.นี้
***เปิดประวัติ "ถวัลย์ ดัชนี"
ดร.ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.ย.2482 ที่จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และ นางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี (ถึงแก่กรรม) นายสมจิตต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) และนายวสันต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางมากาเร็ต ฟันเดอร์ฮุ๊ค มีบุตร 1 คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี
ด้านการศึกษา สำเร็จปริญญาตรีบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสอนของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี สำเร็จปริญญาโท ด้านจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์และผังเมือง ปริญญาเอก ด้านอภิปรัชญา และสุนทรีย์ศาสตร์ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
ผลงานของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี สามารถนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึกและแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระ และท่วงทีที่มีชีวิตวิญญาณของความเป็นไทย ผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก เป็นผู้มีบทบาทยิ่งในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทยโดยมีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มมากมายหลายครั้งทั้งในประเทศ และต่างประเทศแถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา จนสื่อมวลชนต่างประเทศสนใจชีวิต และงานของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี จัดทำเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วโลกมากมาย และเป็นจิตรกรคนแรกที่ได้รับรางวัล วัฒนธรรมแห่งเอเชีย เมืองฟุคุโอกะ ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2544
นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี เพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยศิลปะเฉพาะด้านทัศนศิลป์ รวมทั้งได้ใช้เวลานานกว่า 25 ปี สร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ที่บ้านดำ ต.นางแล จ.เชียงราย
ดังนั้น ด้วยคุณูปการต่อวงการศิลปะของชาติ ดังกล่าวข้างต้น จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544
ดร.ถวัลย์ ดัชนี ได้อุทิศตนถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลปะแก่นักเรียน นักศึกษา ศิลปินรุ่นใหม่ เช่น โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินแห่งชาติสัญจร โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และหน่วยงานต่างๆ นับเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการบ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ให้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ทรงคุณค่าเป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544 ได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันพุธที่ 3 ก.ย.2557 เวลาประมาณ 02.15 น. ด้วยโรคตับวาย ณ โรงพยาบาลรามคำแหง สิริรวมอายุ 74 ปี 11 เดือน
ทั้งนี้ ดร.ถวัลย์ ดัชนี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และความดัน เมื่อประมาณปี 2555 ได้เข้ารับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต่อมาเมื่อต้นปี 2557 ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย และในช่วงปลายเดือนมิ.ย. จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างจริงจัง จนกระทั่งพบว่าเชื้อมะเร็งลุกลามไปที่ตับและปอด มีอาการไตวาย จากนั้นอาการทรุดหนักจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
"รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สูญเสียศิลปินแห่งชาติ ผู้มีคุณูปการต่อแผ่นดิน ซึ่งได้สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์ ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังอุทิศตนส่งเสริมงานด้านศิลปะอย่างมากมาย โดยเฉพาะโครงการถ่ายทอดงานศิลป์ กับศิลปินแห่งชาติ และโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่มุ่งถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ให้แรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก เยาวชน ครูอาจารย์ และบุคลากรด้านศิลปะมาโดยตลอด ทำให้วงการศิลปะของไทยเกิดการพัฒนา และก้าวสู่สากลยิ่งขึ้น อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จึงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รักของทุกคน"นายชายกล่าว
อย่างไรก็ตาม สวธ. มีเงินสวัสดิการสำหรับศิลปินแห่งชาติที่เสียชีวิต เพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และยังมีเงินในการสนับสนุนการจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท
***พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพวันนี้
ส่วนกำหนดการ จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 ก.ย.2557 เวลา 13.00 น. ณ ศาลา 1 วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการสำนักราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธี และมีกำหนดจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ 4-10 ก.ย.2557 เวลา 19.00น. โดยจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันพฤหัสบดีที่ 11 ก.ย.2557 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
***วัฒนธรรมยกย่องเชิดชูอาจารย์ถวัลย์
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของศิลปินแห่งชาติผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะไทย อาจารย์ถวัลย์ ได้สร้างสรรค์มรดกอันคุณค่าทางงานศิลปะที่มีความงดงามด้านสถาปัตยกรรมไทยไว้ที่ บ้านดำ นางแล จ.เชียงราย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะ ที่สำคัญผลงานของท่านมีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีความเป็นสุดยอดทางด้านศิลปะ ซึ่งหาผู้เปรียบเทียบได้ยากมาก ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรมจะร่วมอนุรักษ์
และสืบสานผลงานของท่านไว้ เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เรียนรู้ต่อไป
***เปรียบเป็นดั่งซุปเปอร์สตาร์
นายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ กล่าวว่า ตนได้ทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพี่ถวัลย์มาอย่างยาวนานได้สัมผัสชีวิต และเผชิญกับสิ่งที่ดีๆ มาด้วยกันทำให้เห็นว่า เราจะหาศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่มีจิตสาธารณะเช่นเดียวกับพี่ถวัลย์ได้ยาก ท่านเป็นซุปเปอร์สตาร์ เป็นแบบอย่างของศิลปินที่ประสบความสำเร็จ แล้วยังรู้จักที่จะแบ่งบันความรู้ ความคิด และความใส่ใจสู่ผู้อื่น ที่สำคัญ พี่ถวัลย์เป็นคนรักบ้านเกิด รักแผ่นดิน สร้างสรรค์แต่สิ่งที่ดีงาม ยอมเสียเวลาอันมีค่า เพื่อเดินสายให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ โดยไม่เคยพร่ำบ่น ทั้งยังกลับกลายเป็นความภูมิใจที่ได้มีโอกาสสร้างศิลปินคนรุ่นใหม่ให้แก่แผ่นดินไทย
***ลูกชายโพสต์เฟซ"พ่อไม่ต้องกังวล"
นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชายนายถวัลย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 3 ก.ย. เพื่อกราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย ใจความว่า "พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหน พ่อจากไปแต่เพียงร่างกาย แต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณ และลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษา หลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอ และเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 ส.ค.2557 นายดอยธิเบศร์ ก็ได้โพสต์ข้อความให้กำลังใจผู้เป็นพ่อและตัวเอง รวมไปถึงเพื่อเป็นการชี้แจงรายละเอียดให้ทุกคนได้ทราบในคราวเดียวกันถึงอาการป่วยของผู้เป็นพ่อมาแล้ว
**"บ้านดำ"ยังมีนักเที่ยวเข้าชมงานศิลปะ
รายงานจากจ.เชียงราย แจ้งว่า ที่ บ้านดำ เลขที่ 414 บ้านแม่ปูคา หมู่ 13 ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย พื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน ยังคงมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนตั้งแต่เช้า แต่เจ้าหน้าที่ภายในบ้านที่ต่างเศร้าหมอง ยังคงให้นักท่องเที่ยวได้ตามปกติ และคอยดูแลภาพวาดขนาดใหญ่ยาว 3 เมตร ซึ่งเป็นภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในช่วงท้ายๆของชีวิตที่อาจารย์ถวัลย์ได้วาดขึ้น
ภาพดังกล่าวชื่อ "มารผจญ 1" และ "มารผจญ 2" จัดแสดงไว้ที่อาคารส่วนหน้าของบ้านดำ ซึ่งเป็นภาพวาดะสไตล์อาจารย์ถวัลย์ คงเอกลักษณ์ของลายเส้นและแสงเงาที่มีพลัง ภาพเป็นโทนสีแดงและเหลือง
**เผย"เสี่ยบุญชัย"จองภาพสุดท้ายไว้แล้ว
น.ส.อรทัย ขุนพิลึก เจ้าหน้าที่ดูแลบ้านดำ กล่าวว่า ทุกคนตกใจอย่างมาก ทำอะไรไม่ถูก แต่ผู้ใหญ่ย้ำให้เจ้าหน้าที่เปิดให้บริการตามปกติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนยังคงตั้งใจให้บริการ แม้จะรู้สึกเสียใจต่อการจากไปของอาจารย์ก็ตาม ทั้งนี้ก่อนที่อาจารย์จะจากไปไม่มีสิ่งบอกเหตุใดๆ เลย
"ภาพของอาจารย์ที่นำมาจัดแสดงจัดหน้าวิหารดำ คือ ภาพมารผจญ ความยาวประมาณ 3 เมตร มีผู้สั่งจองเอาไว้ คือ นายบุญชัย เบญจรงคกุล แต่ยังไม่ได้ส่งมอบ และปกติจะไม่วางเงินมัดจำ แต่เมื่ออาจารย์เสียชีวิตก่อนจึงเก็บภาพเอาไว้ต่อไป และยังมีภาพวาดอื่นๆ ที่ยังไม่ได้นำออกมาจัดแสดงอีก"
**ศิษย์บอกอาจารย์อยากเผาศพที่บ้านดำ
นางบัวเขียว ตุ่นแก้ว ผู้ใกล้ชิดอาจารย์ถวัลย์ กล่าวว่า เสียใจกับการจากไปของอาจารย์ เพราะไม่เพียงแต่เป็นนายจ้างที่ดี ยังเปรียบเสมือนพ่อของทุกคน เพราะกว่า 20 ชีวิตที่อาจารย์ให้ความรักและดูแลทุกคนเหมือนคนในครอบครัว การจากไปของอาจารย์ถวัลย์ทำให้ยังไม่ทราบว่าคนในบ้านดำจะอยู่กันอย่างไรต่อไป แต่เชื่อว่าลูกอาจารย์หรือคนในบ้าน คงจะดำเนินการกิจการตามเจตนารมณ์ของอาจารย์ถวัลย์ ที่ต้องการให้บ้านดำเป็นสถานที่ถ่ายทอดศิลปะ และสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด
จากการสอมถามลูกศิษย์หลายคนบอกว่า อาจารย์ถวัลย์บอกไว้ก่อนเสียชีวิตว่า ต้องการจะเผาศพตัวภายในบ้านดำ ซึ่งอาจารย์ได้สร้างสถานที่เผาศพไว้ล่วงหน้ามาหลายปีแล้ว
**ศิลปินเชียงรายขอทำแต่สิ่งดีเพื่อไว้อาลัย
นายอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ศิลปินชื่อดังชาวเชียงราย กล่าวว่า อาจารย์ถือเป็นปูชนียบุคคลของศิลปินชาวเชียงราย เพราะมีผลงานระดับโลก และทำสิ่งดีงามให้กับโลกนี้เอาไว้มาก รวมทั้งเป็นผู้วางรากฐานงานศิลปะ สั่งสอนศิลปินชาวเชียงรายทุกคนจนถือเป็นต้นแบบ หรือเหมือนพ่อด้านงานศิลปะของพวกเรา แม้แต่การก่อเกิดศิลปินชาวเชียงรายที่มีอยู่มากมายในขณะนี้ ก็ล้วนมาจากพื้นฐานที่อาจารย์ถวัลย์เป็นผู้วางเอาไว้ ซึ่งขณะนี้ทุกคนต่างตกตะลึงกับการจากไปของอาจารย์ แต่หลังจากนี้จะทำสิ่งดีๆ เพื่อไว้อาลัยให้กับอาจารย์ต่อไป
**"เฉลิมชัย"ยกย่อง"ศิลปินแห่งชาติ"ตัวจริง
นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2554 ผู้รังสรรค์ผลงานที่วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย กล่าวว่า การจากไปของอาจารย์ถวัลย์หรือพี่หวัน ทำให้รู้สึกสุดเสียใจ เพราะพี่หวันเป็นศิลปินแห่งชาติที่มีฝีมือสูงส่ง ยิ่งใหญ่ระดับโลกของจริง เป็นศิลปินแห่งชาติตัวจริงเสียงจริง ที่ตนและศิลปินทั้งหลายคนให้ความเคารพ ผลงานของอาจารย์ไม่ใช่มีให้เฉพาะคนไทยดูเท่านั้น แต่ให้กับคนทั้งโลก จึงถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ตนบอกได้เลยว่าคนนี้ยิ่งใหญ่จริงๆ เพราะนำผลงานทางศิลปะของตนเองไปสู่ทุกซีกโลกได้
"ผมเป็นคนที่ตามรอยเท้าของพี่หวัน เพราะผมปรารถนาตั้งแต่วัยเด็ก ที่จะเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ชีวิตผมที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ จึงพยายามเอาแบบอย่างพี่หวัน ที่ผมมีวันนี้เพราะพี่หวันนำหน้า น่าเสียดายมาก เพราะหาคนแบบนี้ได้ยากมาก"
สำหรับบ้านดำยังไม่ทราบว่าทางครอบครัวจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ทางตนและศิลปินชาวเชียงราย ยินดีจะให้การช่วยเหลือ ซึ่งบุตรชายของอาจารย์ถวัลย์ถือว่าเป็นคนเก่ง คงจะรักษาบ้านดำให้คงอยู่ต่อไปได้
***นำผลงานภาพชุดลายเส้นแสดง
นายอภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ได้นำผลงานภาพชุดลายเส้น ภาพเหมือนจริงใบหน้าของอาจารย์ถวัลย์ ตอนยังหนุ่มเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว วาดโดยอาจารย์ถวัลย์ เป็นงานสะสมของชาวเยอรมันที่อยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกให้ประชาชนได้รับชม ในงานนิทรรศการ “มนต์เสน่ห์ไทย : มรดก+พลังสร้างสรรค์" ณ บริเวณชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 16 พ.ย.นี้
***เปิดประวัติ "ถวัลย์ ดัชนี"
ดร.ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ 27 ก.ย.2482 ที่จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และ นางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี (ถึงแก่กรรม) นายสมจิตต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) และนายวสันต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางมากาเร็ต ฟันเดอร์ฮุ๊ค มีบุตร 1 คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี
ด้านการศึกษา สำเร็จปริญญาตรีบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสอนของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี สำเร็จปริญญาโท ด้านจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์และผังเมือง ปริญญาเอก ด้านอภิปรัชญา และสุนทรีย์ศาสตร์ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
ผลงานของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี สามารถนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึกและแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระ และท่วงทีที่มีชีวิตวิญญาณของความเป็นไทย ผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก เป็นผู้มีบทบาทยิ่งในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทยโดยมีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มมากมายหลายครั้งทั้งในประเทศ และต่างประเทศแถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา จนสื่อมวลชนต่างประเทศสนใจชีวิต และงานของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี จัดทำเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วโลกมากมาย และเป็นจิตรกรคนแรกที่ได้รับรางวัล วัฒนธรรมแห่งเอเชีย เมืองฟุคุโอกะ ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2544
นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี เพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยศิลปะเฉพาะด้านทัศนศิลป์ รวมทั้งได้ใช้เวลานานกว่า 25 ปี สร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่า 100 ไร่ ที่บ้านดำ ต.นางแล จ.เชียงราย
ดังนั้น ด้วยคุณูปการต่อวงการศิลปะของชาติ ดังกล่าวข้างต้น จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544
ดร.ถวัลย์ ดัชนี ได้อุทิศตนถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลปะแก่นักเรียน นักศึกษา ศิลปินรุ่นใหม่ เช่น โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ ศิลปินแห่งชาติสัญจร โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และหน่วยงานต่างๆ นับเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการบ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ให้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ทรงคุณค่าเป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป