00 ถือว่าเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงศักราชใหม่ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ไทย-กัมพูชา กลายสภาพมาเป็นหวานชื่นกันแบบทันใจ หากย้อนกลับไปไม่กี่ปี อย่างน้อยในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มี สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรองนายกฯ ด้านความมั่นคง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรมว.กลาโหม มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผบ.ทบ. เกิดสงครามชายแดน มีการสู้รบบาดเจ็บล้มตาย ความสัมพันธ์สองประเทศ ตึงเครียด แต่ผ่านมาไม่นานทุกอย่างกำลังพลิกเป็นหลังมือ ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่การรัฐประหารของ คสช.วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา เพราะหลังจากนั้น ฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ก็ส่งสัญญาณแตะมือ ฟื้นความสัมพันธ์ ประกาศไม่ยอมให้ใครใช้ดินแดนกัมพูชา ต่อต้านรัฐบาลไทยเป็นอันขาด ซึ่งก็คือ "เครือข่ายทักษิณ" ที่หลบหนีข้ามแดนไปอยู่ที่นั่น พร้อมทั้งสำทับความหมายไปถึงคนแดนไกลว่า "หวังว่า ทักษิณคงจะเข้าใจ"
00 เรื่องราวที่กำลังเปลี่ยนไปแบบนี้ มันย่อมตีความได้ว่า ผู้นำกัมพูชาที่ปกครองผูกขาดมานานกว่า 30 ปี ย่อม "มองขาด" แล้วว่าควรเดินแต้มแบบไหน มองออกว่าระบอบทักษิณ แม้จะยังไม่พังทลาย แต่ก็คงไม่รุ่งเรืองแบบเดิมแล้ว และนี่คือความหมายของการ "รักษาระยะห่าง" เอาไว้อย่างเหมาะสม อย่างน้อยก็สมควรเป็นมิตรกับไทยจะดีกว่า และยืนยันถึงท่าทีดังกล่าวอย่างรวดเร็ว หากจำกันได้ เมื่อเดือนก่อนได้ส่งลูกชาย "พล.ท.ฮุนมาเน็ต" ซึ่งเป็นรอง ผบ.ทบ. เป็นตัวแทนอำนาจ เดินทางมาพร้อมกับคณะของ "เตียบัญ" มาเยือนไทย และได้รับการต้อนรับเยี่ยงผู้นำประเทศ โดยก่อนหน้านั้น ก็สนองตอบด้วยการปล่อยตัว "วีระ สมความคิด" กลับมา
00 ล่าสุด เมื่อวันก่อน พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ แต่เข้าใจว่า เดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นการตอบแทนในฐานะผู้นำกองทัพ ฐานะ ผบ.สส. ยังไม่ได้ถวายสัตย์ฯ และรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ เป็นการนำคณะผู้นำเหล่าทัพ ทั้ง ผบ.ทร. - ผบ.ทอ. ซึ่งทุกคนล้วนเป็นรัฐมนตรีทั้งสิ้น น่าสนใจไปอีกก็คือ มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ว่าที่ ผบ.ทบ. ร่วมคณะไปด้วย เรียกว่า ที่ไปเยือนแบบ "ซุปเปอร์บิ๊ก" ก็แล้วกัน ถึงไม่ใช่ไปเยือนในฐานะรัฐบาล แต่มันก็ใกล้เคียง และให้เกียรติสูงยิ่ง เพราะเป็นการเยือน "เป็นประเทศแรก" ในอาเซียน ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่บรรยากาศชื่นมื่น ทั้ง ฮุนเซน และ เตียบัญ ถึงกับกล่าวว่า หมดห่วงเรื่องชายแดนกันเลยทีเดียว
00 แม้ว่าจะหมดห่วงเรื่องความขัดแย้ง และเรื่องปัญหาชายแดน ตามที่ เตียบัญ ยืนยัน แต่ที่น่าจับตาเป็นพิเศษ ก็คือเรื่อง "พื้นที่ในอ่าวไทย" ที่เป็นแหล่งพลังงานต่างหาก ว่าจะออกมาอย่างไร จะมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์กันแบบไหน จะเชื่อมโยงไปถึงการปฏิรูปพลังงาน และการอนุญาตสัมปทานรอบใหม่อีกด้วย นี่คือเรื่องที่ต้องติดตามกันแบบห้ามกระพริบตา !!
00 จะเรียกว่าแกว่งปากหาเรื่องย้อนเข้าตัวก็ไม่ผิดนัก กับคำพูดของ พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกฯคนสนิทของระบอบทักษิณ ที่ออกมาเรียกร้องระหว่างไปร่วมวันเกิด สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ว่าให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รีบแถลงนโยบายต่อสภาโดยเร็ว ก็ไม่รู้ว่า "ความจำเสื่อม" หรือว่าสักแต่พูดไปเรื่อยเปื่อยหรืออย่างไร จำไม่ได้หรือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้ว่าบังคับให้ต้องแถลงนโยบายตามโพย แต่คำถามก็คือ การแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี กว่าจะแถลงออกมาได้ ก็ผ่านไปเกือบ 2 ปี ความหมายก็คือ คนพวกนี้ไม่ได้เคารพในหลักการรัฐสภาอะไรหรอก เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องมือ เป็นองค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตย เท่านั้น
00 นี่ก็เช่นเดียวกัน การออกมาเคลื่อนไหวที่ส่งผ่านโซเชี่ยลฯ ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากไปเที่ยวชมตลาดน้ำแห่งหนึ่งในอยุธยา อย่างน้อยสื่อไปถึงบรรดาสาวกทั้งหลาย ไม่ให้ลืม และที่สำคัญอาจเป็นการส่งสัญญาณออกไปว่า "อย่าทิ้งกันนะ" ในยามที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลในอนาคต เนื่องจากหลายคดีกำลังงวดเข้ามา เท่าที่กระชั้นเข้ามาก็คือ คดีทุจริตจำนำข้าว ที่ใกล้ครบกำหนดชี้ขาดของอัยการสูงสุด ว่าจะสรุปฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือไม่ มันน่าหวาดเสียว !!
00 เรื่องราวที่กำลังเปลี่ยนไปแบบนี้ มันย่อมตีความได้ว่า ผู้นำกัมพูชาที่ปกครองผูกขาดมานานกว่า 30 ปี ย่อม "มองขาด" แล้วว่าควรเดินแต้มแบบไหน มองออกว่าระบอบทักษิณ แม้จะยังไม่พังทลาย แต่ก็คงไม่รุ่งเรืองแบบเดิมแล้ว และนี่คือความหมายของการ "รักษาระยะห่าง" เอาไว้อย่างเหมาะสม อย่างน้อยก็สมควรเป็นมิตรกับไทยจะดีกว่า และยืนยันถึงท่าทีดังกล่าวอย่างรวดเร็ว หากจำกันได้ เมื่อเดือนก่อนได้ส่งลูกชาย "พล.ท.ฮุนมาเน็ต" ซึ่งเป็นรอง ผบ.ทบ. เป็นตัวแทนอำนาจ เดินทางมาพร้อมกับคณะของ "เตียบัญ" มาเยือนไทย และได้รับการต้อนรับเยี่ยงผู้นำประเทศ โดยก่อนหน้านั้น ก็สนองตอบด้วยการปล่อยตัว "วีระ สมความคิด" กลับมา
00 ล่าสุด เมื่อวันก่อน พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ แต่เข้าใจว่า เดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นการตอบแทนในฐานะผู้นำกองทัพ ฐานะ ผบ.สส. ยังไม่ได้ถวายสัตย์ฯ และรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ เป็นการนำคณะผู้นำเหล่าทัพ ทั้ง ผบ.ทร. - ผบ.ทอ. ซึ่งทุกคนล้วนเป็นรัฐมนตรีทั้งสิ้น น่าสนใจไปอีกก็คือ มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ว่าที่ ผบ.ทบ. ร่วมคณะไปด้วย เรียกว่า ที่ไปเยือนแบบ "ซุปเปอร์บิ๊ก" ก็แล้วกัน ถึงไม่ใช่ไปเยือนในฐานะรัฐบาล แต่มันก็ใกล้เคียง และให้เกียรติสูงยิ่ง เพราะเป็นการเยือน "เป็นประเทศแรก" ในอาเซียน ดังนั้นอย่าได้แปลกใจที่บรรยากาศชื่นมื่น ทั้ง ฮุนเซน และ เตียบัญ ถึงกับกล่าวว่า หมดห่วงเรื่องชายแดนกันเลยทีเดียว
00 แม้ว่าจะหมดห่วงเรื่องความขัดแย้ง และเรื่องปัญหาชายแดน ตามที่ เตียบัญ ยืนยัน แต่ที่น่าจับตาเป็นพิเศษ ก็คือเรื่อง "พื้นที่ในอ่าวไทย" ที่เป็นแหล่งพลังงานต่างหาก ว่าจะออกมาอย่างไร จะมีการเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์กันแบบไหน จะเชื่อมโยงไปถึงการปฏิรูปพลังงาน และการอนุญาตสัมปทานรอบใหม่อีกด้วย นี่คือเรื่องที่ต้องติดตามกันแบบห้ามกระพริบตา !!
00 จะเรียกว่าแกว่งปากหาเรื่องย้อนเข้าตัวก็ไม่ผิดนัก กับคำพูดของ พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกฯคนสนิทของระบอบทักษิณ ที่ออกมาเรียกร้องระหว่างไปร่วมวันเกิด สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ว่าให้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รีบแถลงนโยบายต่อสภาโดยเร็ว ก็ไม่รู้ว่า "ความจำเสื่อม" หรือว่าสักแต่พูดไปเรื่อยเปื่อยหรืออย่างไร จำไม่ได้หรือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้ว่าบังคับให้ต้องแถลงนโยบายตามโพย แต่คำถามก็คือ การแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี กว่าจะแถลงออกมาได้ ก็ผ่านไปเกือบ 2 ปี ความหมายก็คือ คนพวกนี้ไม่ได้เคารพในหลักการรัฐสภาอะไรหรอก เพียงแต่ใช้เป็นเครื่องมือ เป็นองค์ประกอบของระบอบประชาธิปไตย เท่านั้น
00 นี่ก็เช่นเดียวกัน การออกมาเคลื่อนไหวที่ส่งผ่านโซเชี่ยลฯ ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากไปเที่ยวชมตลาดน้ำแห่งหนึ่งในอยุธยา อย่างน้อยสื่อไปถึงบรรดาสาวกทั้งหลาย ไม่ให้ลืม และที่สำคัญอาจเป็นการส่งสัญญาณออกไปว่า "อย่าทิ้งกันนะ" ในยามที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลในอนาคต เนื่องจากหลายคดีกำลังงวดเข้ามา เท่าที่กระชั้นเข้ามาก็คือ คดีทุจริตจำนำข้าว ที่ใกล้ครบกำหนดชี้ขาดของอัยการสูงสุด ว่าจะสรุปฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ หรือไม่ มันน่าหวาดเสียว !!