นายกฯ หารือภาคธุรกิจญี่ปุ่น สานความร่วมมือด้านการลงทุนในไทย เน้นให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทย ขณะที่ สนช.ลาออกแล้ว 5 คน เพื่อไปเป็นรัฐมนตรี โดย"ณรงค์ชัย" นั่ง รมว.พลังงาน "รัชตะ"รมว.สาธารณสุข "กอบกาญจน์" รมว.วัฒนธรรม "อาคม"รมต.สำนักนายกฯ และ "สุรเชษฐ์" เป็นรมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ด้าน"ปนัดดา"ปัดไขก๊อก รองประธานบอร์ด อสมท.
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ ( 28 ส.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ให้การต้อนรับ และหารือกับ นายชิเงะ โนบุ นางะโมริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท Nidec Corporation ประเทศญี่ปุ่น และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการลงทุนของบีโอไอ รวมถึงคณะผู้บริหารของ กลุ่มบริษัท นิเด็ค ในประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่ที่สุดในโลก
พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณทางภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศไทย อีกทั้งไทย และญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์และช่วยเหลือกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเมื่อมีสาธารณภัย พร้อมระบุว่า ขอเวลาให้ประเทศไทยได้มีการพัฒนา และปฏิรูปตนเอง เพื่อเดินไปข้างหน้าและทัดเทียมกับประชาคมโลก ในห้วงที่ผ่านมาจากการพูดคุยกับกลุ่มธุรกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นต่างยืนยันว่า จะไม่ย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความประทับใจ และความจริงใจในฐานะมิตรประเทศ โดย คสช. ขอให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นสนับสนุนประเทศไทยในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ คสช.ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และหวังว่าจากการที่ไทยกับญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าในระดับต้นๆ ในห้วงจากนี้ไปคงจะมีการเพิ่มมูลค่าการซื้อขายต่อกัน ทั้งด้านภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม โดยขอให้ทางญี่ปุ่นได้ช่วยสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ให้กับประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้กล่าวถึง การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คาดหวังว่าภาคเอกชนญี่ปุ่นจะเพิ่มการจ้างงานในระดับหัวหน้างาน หรือด้านวิชาชีพมากขึ้นกว่าการจ้างแรงงานในระดับล่าง และขอให้ช่วยนำผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศไทยมาใช้ในธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เสนอให้มีความร่วมมือกันในการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาร่วมกันในหลายๆ ด้านหรือการให้ทุนการศึกษาในวิชาหรือสาขาอาชีพ ที่เป็นประโยชน์กับการประกอบการ ในขณะเดียวกัน คสช.จะพยายามปรับปรุงและอำนวยความสะดวกในด้านการประกอบธุรกิจ อาทิ ความรวดเร็วในด้านการติดต่อราชการ การจัดตั้งจุดบริการแบบเบ็ดเสร็จ การอำนวยความสะดวกในการออกวีซ่า และการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการลงทุน ภายใต้การให้ความสำคัญในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่น ได้พิจารณาเรื่องการจัดตั้งโรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนที่ทาง คสช. กำลังดำเนินการเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในขณะนี้ รวมทั้งเชิญชวนให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นมาจัดสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาภูมิภาคในประเทศไทย หน.คสช. ได้ย้ำว่า ความร่วมมือกันในด้านการค้าการลงทุนของไทย-ญี่ปุ่น จะเป็นในลักษณะการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พัฒนาด้วยความเท่าเทียมเสมอภาค ภายใต้ผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ส่วนประธานกลุ่มบริษัท Nidec Corporation แสดงความยินดีและประสงค์จะเพิ่มการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯในประเทศไทย พร้อมระบุว่าการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาในประเทศ รวมถึงการบ่มเพาะและสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการผลิต หรือการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีความก้าวหน้าและมั่นคง ทั้งนี้กลุ่มเครือ Nidec Corporation ยืนยันว่าจะยังคงดำเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อไป
**ญี่ปุ่นยินดีประยุทธ์เป็นนายกฯ
ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า นายชิเงะโนบุ นางะโมริ บอกว่า ยินดีที่จะลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเราก็ได้พูดถึงความต้องการของประเทศไทยในการที่จะขับเคลื่อนให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี และทำสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ และท่านจะมาลงทุนในประเทศไทยโดยไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น รวมถึงการวิจัยและพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอุสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นหลักในการผลิตมอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยนาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ได้แสดงความยินดีที่ตนได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ และตนก็ได้แสดงความยินดี ในวันคล้ายวันเกิดของ นาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ด้วย เพราะเราเป็นเพื่อนกัน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาเรามีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ความล่าช้าในการติดต่อทางราชการ ซึ่งเราจะแก้ไขปัญหาทั้งหมด เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น นอกจากนี้เราได้ปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ในทุกด้านใหม่ทั้งหมด วันนี้ก็ปรับจูนตรงกันแล้ว "ผมบอกไปว่า จะมีการลงทุนนอกเขตเศรษฐกิจ เช่น นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม ตามแนวชายแดน ชนบท เรื่องนี้ต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้มีเทคโนโลยีและแรงงาน เพื่อให้คนมีรายได้ ส่วนนักลงทุนที่มีโรงงานอยู่ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ประสบปัญหาหลายอย่างนั้น ทางเรากำลังแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องกระแสไฟฟ้า และในพื้นที่ดังกล่าว ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะมีการตั้งโรงงานเหมือนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่านาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ได้มีการสอบถามถึงการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไรเลย วันนี้เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการค้าการลงทุน ส่วนเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล เป็นเรื่องฝ่ายการเมือง แต่ท่านได้แสดงความยินดีกับคนไทย และประเทศไทย ทั้งนี้ ตนทำในนามของประเทศไทยและประชาชนคนไทย ส่วนเรื่องอื่นเป็นเรื่องภายในของเรา อย่านำมาพันกัน
ด้านชิเงะโนบุ นางะโมริ กล่าวว่า นอกเหนือจากการลงทุนที่สำคัญมากกว่านั้น คือเสถียรภาพของประเทศนั้นๆถ้าหากประเทศนั้นมีความสงบ และมีเสถียรภาพ ทางบริษัทมีความยินดีที่จะมาลงทุน
** สนช.ลาออก 5 คนไปเป็นรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นลาออก 3 คน คือนายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีต รมว.พาณิชย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ทั้งสามคนเตรียมที่จะไปรับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามที่มีกระแสข่าว ขณะที่เมื่อวานนี้ (28ส.ค.) มีสนช. ลาออกเพิ่มอีก 2 คน คือนายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) และ พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก
ทั้งนี้มีรายงานว่า นายณรงค์ชัย อัครเศรณี จะไปดำรงตำแหน่งรมว.พลังงาน นพ.รัชตะ รัชตะนายวิน ไปเป็น รมว.สาธารณะสุข นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็น รมว.วัฒนธรรม นายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ จะไปดำรงตำแหน่ง รมว.ท่องเที่ยวและ กีฬา เพราะมีความเชี่ยวด้านกีฬา และ ยังเป็น ผอ.สโมสรฟุตบอล อาร์มี ยูไนเต็ด
ด้านนายสมชาย แสวงการ ในฐานะ สนช.กล่าวว่า การที่มีสมาชิกลาสนช. ออกไปนั้น ก็ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งในที่ประชุมวิปก็ไม่ได้มีการหารือถึงเรื่องนี้ แต่เชื่อว่าทาง คสช. ก็จะต้องมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้ามาทดแทน แต่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นช่วงเวลาใด
เมื่อถามว่า บุคคลทั้ง 5 คนที่ลาออกไปนั้น น่าจะถูกทาบทามเข้าสู่ ครม.ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า จากที่ติดตามดูมา ก็เห็นมีชื่อ 2 คน ที่น่าจะอยู่ในครม.แต่ที่เหลือก็ไม่ทราบ อาจจะมีภารกิจหรืออาจจะมีตำแหน่งหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม
*** 'พรชัย'ลาออกจากบอร์ดปตท.***
รายงานข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT แจ้งว่านายพรชัย รุจิประภา กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ปตท. เนื่องจากมีภารกิจอื่น โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ในการจัดคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีชื่อนายพรชัย รุจิประภา ติดโผครม.คาดว่าจะรับตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
**"ปนัดดา"ปัดไขก๊อก บอร์ด อสมท.
จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานกรรมการบริหาร อสมท. และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก คสช. ให้กำกับดูแล บมจ.อสมท ได้ยื่นใบลาออกจาก บอร์ด อสมท. แล้ว โดยจะมีการแต่งตั้ง นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มาทำหน้าที่แทนนั้น
บ่ายวานนี้ ม.ล.ปนัดดา กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่า ตนลาออกจากรองประธานบอร์ด อสมท. เพื่อเตรียมตัวมารับตำแหน่งรัฐมนตรี ว่า ตนยังเป็นรองประธาน บอร์ด อสมท.อยู่ ตราบจนเวลานี้ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดการสับสนในข่าว เนื่องจากผู้ที่ลาออกคือ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานกรรมการบริหารอสมท.
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวที่จะไปรับตำแหน่งรัฐมนตรี จริงหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถแต่งตั้งตัวเองได้ และขอยืนยันว่าตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ ที่ดำรงอยู่ปัจจุบัน เป็นตำแหน่งเกียรติยศที่สูงยิ่งแล้ว
เมื่อถามว่า ถ้ามีผู้ใหญ่ขอร้องมา ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรี จะตัดสินใจหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ไม่ขอตอบเรื่องนี้
**คสช.เร่งแก้ปัญหาราคายางพารา
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง การแก้ปัญหายางพาราว่า จะมีมาตรการทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นนั้นจะให้เขาได้มาหาแหล่งเงินกู้ที่ต่ำ โดยรัฐบาลก็เข้าไปชดเชย ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยบ้าง ก็ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันมาเข้าโครงการนี้ เพื่อไปซื้อยางและเก็บยาง สำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำให้มีการรับซื้อยางมากขึ้น ราคายางก็จะเพิ่มด้วย
สำหรับมาตรการระยะยาวที่เรากำหนดไว้ ต่อไปก็คงจะมีการกำหนดพื้นที่ปลูกยาง การให้กระทรวงเกษตรฯ เข้าไปดูแลสวนยางให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น รวมทั้งในอนาคต อาจจะมีการตั้งสถาบันวิจัย และส่งเริ่มในเรื่องของยางพาราให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติ
เมื่อถามว่า ท่าทีที่ได้คุยกับกลุ่มเกษตรกรสวนยาง เป็นอย่างไรบ้าง พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ก็แฮปปี้กลับไปทุกคคน เพราะเมื่อเรามีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาจริง สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถพูดคุยกับพวกเขาได้ และทำความเข้าใจได้ การที่ชาวสวนยางที่มาไม่ได้มาชุมนุม แต่เขาไม่เคยพบตนก็เลยมาพบกันแล้วพูดคุยทำความเข้าใจ ซึ่งตนก็ได้แจ้งมติของคสช. ที่ได้มีการประชุมกันให้พวกเขาได้รับทราบ ซึ่งหากสัปดาห์หน้ามีเวลาก็คิดว่าจะมานั่งคุยกันอีก ใครมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมมก็มาคุยกัน
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ ( 28 ส.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ให้การต้อนรับ และหารือกับ นายชิเงะ โนบุ นางะโมริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท Nidec Corporation ประเทศญี่ปุ่น และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ด้านการลงทุนของบีโอไอ รวมถึงคณะผู้บริหารของ กลุ่มบริษัท นิเด็ค ในประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่ที่สุดในโลก
พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวขอบคุณทางภาคธุรกิจญี่ปุ่นที่ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศไทย อีกทั้งไทย และญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์และช่วยเหลือกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเมื่อมีสาธารณภัย พร้อมระบุว่า ขอเวลาให้ประเทศไทยได้มีการพัฒนา และปฏิรูปตนเอง เพื่อเดินไปข้างหน้าและทัดเทียมกับประชาคมโลก ในห้วงที่ผ่านมาจากการพูดคุยกับกลุ่มธุรกิจในหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นต่างยืนยันว่า จะไม่ย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทย ซึ่งนับเป็นความประทับใจ และความจริงใจในฐานะมิตรประเทศ โดย คสช. ขอให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นสนับสนุนประเทศไทยในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ คสช.ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และหวังว่าจากการที่ไทยกับญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าในระดับต้นๆ ในห้วงจากนี้ไปคงจะมีการเพิ่มมูลค่าการซื้อขายต่อกัน ทั้งด้านภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม โดยขอให้ทางญี่ปุ่นได้ช่วยสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ให้กับประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย
พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้กล่าวถึง การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน คาดหวังว่าภาคเอกชนญี่ปุ่นจะเพิ่มการจ้างงานในระดับหัวหน้างาน หรือด้านวิชาชีพมากขึ้นกว่าการจ้างแรงงานในระดับล่าง และขอให้ช่วยนำผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ภายในประเทศไทยมาใช้ในธุรกิจมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เสนอให้มีความร่วมมือกันในการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาร่วมกันในหลายๆ ด้านหรือการให้ทุนการศึกษาในวิชาหรือสาขาอาชีพ ที่เป็นประโยชน์กับการประกอบการ ในขณะเดียวกัน คสช.จะพยายามปรับปรุงและอำนวยความสะดวกในด้านการประกอบธุรกิจ อาทิ ความรวดเร็วในด้านการติดต่อราชการ การจัดตั้งจุดบริการแบบเบ็ดเสร็จ การอำนวยความสะดวกในการออกวีซ่า และการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ในด้านการส่งเสริมการลงทุน ภายใต้การให้ความสำคัญในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และด้านสิ่งแวดล้อม โดยขอให้ภาคธุรกิจของญี่ปุ่น ได้พิจารณาเรื่องการจัดตั้งโรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนที่ทาง คสช. กำลังดำเนินการเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในขณะนี้ รวมทั้งเชิญชวนให้ภาคธุรกิจญี่ปุ่นมาจัดสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาภูมิภาคในประเทศไทย หน.คสช. ได้ย้ำว่า ความร่วมมือกันในด้านการค้าการลงทุนของไทย-ญี่ปุ่น จะเป็นในลักษณะการสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พัฒนาด้วยความเท่าเทียมเสมอภาค ภายใต้ผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ส่วนประธานกลุ่มบริษัท Nidec Corporation แสดงความยินดีและประสงค์จะเพิ่มการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯในประเทศไทย พร้อมระบุว่าการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาในประเทศ รวมถึงการบ่มเพาะและสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการผลิต หรือการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีความก้าวหน้าและมั่นคง ทั้งนี้กลุ่มเครือ Nidec Corporation ยืนยันว่าจะยังคงดำเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อไป
**ญี่ปุ่นยินดีประยุทธ์เป็นนายกฯ
ต่อมาพล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า นายชิเงะโนบุ นางะโมริ บอกว่า ยินดีที่จะลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเราก็ได้พูดถึงความต้องการของประเทศไทยในการที่จะขับเคลื่อนให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เขายินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี และทำสิ่งที่ประเทศไทยต้องการ และท่านจะมาลงทุนในประเทศไทยโดยไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น รวมถึงการวิจัยและพัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอุสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นหลักในการผลิตมอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยนาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ได้แสดงความยินดีที่ตนได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกฯ และตนก็ได้แสดงความยินดี ในวันคล้ายวันเกิดของ นาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ด้วย เพราะเราเป็นเพื่อนกัน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาเรามีปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ความล่าช้าในการติดต่อทางราชการ ซึ่งเราจะแก้ไขปัญหาทั้งหมด เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น นอกจากนี้เราได้ปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ในทุกด้านใหม่ทั้งหมด วันนี้ก็ปรับจูนตรงกันแล้ว "ผมบอกไปว่า จะมีการลงทุนนอกเขตเศรษฐกิจ เช่น นอกเขตนิคมอุตสาหกรรม ตามแนวชายแดน ชนบท เรื่องนี้ต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้มีเทคโนโลยีและแรงงาน เพื่อให้คนมีรายได้ ส่วนนักลงทุนที่มีโรงงานอยู่ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ประสบปัญหาหลายอย่างนั้น ทางเรากำลังแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องกระแสไฟฟ้า และในพื้นที่ดังกล่าว ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะมีการตั้งโรงงานเหมือนกัน" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่านาย ชิเงะโนบุ นางะโมริ ได้มีการสอบถามถึงการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไรเลย วันนี้เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการค้าการลงทุน ส่วนเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล เป็นเรื่องฝ่ายการเมือง แต่ท่านได้แสดงความยินดีกับคนไทย และประเทศไทย ทั้งนี้ ตนทำในนามของประเทศไทยและประชาชนคนไทย ส่วนเรื่องอื่นเป็นเรื่องภายในของเรา อย่านำมาพันกัน
ด้านชิเงะโนบุ นางะโมริ กล่าวว่า นอกเหนือจากการลงทุนที่สำคัญมากกว่านั้น คือเสถียรภาพของประเทศนั้นๆถ้าหากประเทศนั้นมีความสงบ และมีเสถียรภาพ ทางบริษัทมีความยินดีที่จะมาลงทุน
** สนช.ลาออก 5 คนไปเป็นรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยื่นลาออก 3 คน คือนายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีต รมว.พาณิชย์ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ทั้งสามคนเตรียมที่จะไปรับตำแหน่งรัฐมนตรี ตามที่มีกระแสข่าว ขณะที่เมื่อวานนี้ (28ส.ค.) มีสนช. ลาออกเพิ่มอีก 2 คน คือนายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) และ พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก
ทั้งนี้มีรายงานว่า นายณรงค์ชัย อัครเศรณี จะไปดำรงตำแหน่งรมว.พลังงาน นพ.รัชตะ รัชตะนายวิน ไปเป็น รมว.สาธารณะสุข นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร เป็น รมว.วัฒนธรรม นายอาคม เติมพิทยาไพสิษฐ์ ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และพล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ จะไปดำรงตำแหน่ง รมว.ท่องเที่ยวและ กีฬา เพราะมีความเชี่ยวด้านกีฬา และ ยังเป็น ผอ.สโมสรฟุตบอล อาร์มี ยูไนเต็ด
ด้านนายสมชาย แสวงการ ในฐานะ สนช.กล่าวว่า การที่มีสมาชิกลาสนช. ออกไปนั้น ก็ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งในที่ประชุมวิปก็ไม่ได้มีการหารือถึงเรื่องนี้ แต่เชื่อว่าทาง คสช. ก็จะต้องมีการแต่งตั้งบุคคลอื่นเข้ามาทดแทน แต่ยังไม่ทราบว่าจะเป็นช่วงเวลาใด
เมื่อถามว่า บุคคลทั้ง 5 คนที่ลาออกไปนั้น น่าจะถูกทาบทามเข้าสู่ ครม.ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า จากที่ติดตามดูมา ก็เห็นมีชื่อ 2 คน ที่น่าจะอยู่ในครม.แต่ที่เหลือก็ไม่ทราบ อาจจะมีภารกิจหรืออาจจะมีตำแหน่งหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม
*** 'พรชัย'ลาออกจากบอร์ดปตท.***
รายงานข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT แจ้งว่านายพรชัย รุจิประภา กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ ได้แจ้งลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ปตท. เนื่องจากมีภารกิจอื่น โดยการลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ในการจัดคณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีชื่อนายพรชัย รุจิประภา ติดโผครม.คาดว่าจะรับตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
**"ปนัดดา"ปัดไขก๊อก บอร์ด อสมท.
จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่า พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานกรรมการบริหาร อสมท. และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก คสช. ให้กำกับดูแล บมจ.อสมท ได้ยื่นใบลาออกจาก บอร์ด อสมท. แล้ว โดยจะมีการแต่งตั้ง นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มาทำหน้าที่แทนนั้น
บ่ายวานนี้ ม.ล.ปนัดดา กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่า ตนลาออกจากรองประธานบอร์ด อสมท. เพื่อเตรียมตัวมารับตำแหน่งรัฐมนตรี ว่า ตนยังเป็นรองประธาน บอร์ด อสมท.อยู่ ตราบจนเวลานี้ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดการสับสนในข่าว เนื่องจากผู้ที่ลาออกคือ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานกรรมการบริหารอสมท.
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวที่จะไปรับตำแหน่งรัฐมนตรี จริงหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถแต่งตั้งตัวเองได้ และขอยืนยันว่าตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ ที่ดำรงอยู่ปัจจุบัน เป็นตำแหน่งเกียรติยศที่สูงยิ่งแล้ว
เมื่อถามว่า ถ้ามีผู้ใหญ่ขอร้องมา ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรี จะตัดสินใจหรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า ไม่ขอตอบเรื่องนี้
**คสช.เร่งแก้ปัญหาราคายางพารา
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึง การแก้ปัญหายางพาราว่า จะมีมาตรการทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นนั้นจะให้เขาได้มาหาแหล่งเงินกู้ที่ต่ำ โดยรัฐบาลก็เข้าไปชดเชย ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยบ้าง ก็ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันมาเข้าโครงการนี้ เพื่อไปซื้อยางและเก็บยาง สำหรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหากทำให้มีการรับซื้อยางมากขึ้น ราคายางก็จะเพิ่มด้วย
สำหรับมาตรการระยะยาวที่เรากำหนดไว้ ต่อไปก็คงจะมีการกำหนดพื้นที่ปลูกยาง การให้กระทรวงเกษตรฯ เข้าไปดูแลสวนยางให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น รวมทั้งในอนาคต อาจจะมีการตั้งสถาบันวิจัย และส่งเริ่มในเรื่องของยางพาราให้มีมาตรฐานระดับนานาชาติ
เมื่อถามว่า ท่าทีที่ได้คุยกับกลุ่มเกษตรกรสวนยาง เป็นอย่างไรบ้าง พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ก็แฮปปี้กลับไปทุกคคน เพราะเมื่อเรามีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาจริง สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถพูดคุยกับพวกเขาได้ และทำความเข้าใจได้ การที่ชาวสวนยางที่มาไม่ได้มาชุมนุม แต่เขาไม่เคยพบตนก็เลยมาพบกันแล้วพูดคุยทำความเข้าใจ ซึ่งตนก็ได้แจ้งมติของคสช. ที่ได้มีการประชุมกันให้พวกเขาได้รับทราบ ซึ่งหากสัปดาห์หน้ามีเวลาก็คิดว่าจะมานั่งคุยกันอีก ใครมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมมก็มาคุยกัน