**ทะลุเป้าแน่นอนกับยอดผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัดเพราะดูแล้วเป็นไปได้สูงที่ถึงวันปิดรับสมัคร 2 ก.ย. ยอดผู้ถูกส่งชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสปช. อาจเฉียดๆ 3000 รายชื่อ อย่างที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) คุยไว้
ก็เป็นอันว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไม่หน้าแหกแล้ว
แถมหากเป็นไปตามเป้าผู้สมัครสามพันชื่อ ก็ถือว่าเกินความคาดหมายที่ คสช.ตั้งเป้าไว้ ทำให้ คสช.คงใจชื้นมาได้เยอะว่าโรดแมปปฏิรูปประเทศของคสช.ไม่ล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม หลังก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การส่งชื่อโดยองค์กรนิติบุคคลต่างๆ รวมถึงการสรรหาในต่างจังหวัดไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควร
เคาะตัวเลขอัพเดตถึงวันเสาร์ที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่ 10 ของการเปิดรับสมัคร (14-23ส.ค.) มีด้วยกันทั้งสิ้น 1,907 ราย แบ่งเป็นการสมัครในส่วนกลาง 586 ราย สมัครในจังหวัด และกทม. 1,321 ราย เมื่อจำแนกตามด้านการปฏิรูป 11 ด้าน พบว่าด้านการศึกษามีผู้สมัครสูงสุด 106 ราย รองลงมาเป็นด้านสังคม 88 ราย ส่วนด้านที่ยังมีผู้สมัครน้อยที่สุดเป็นด้านพลังงาน มีผู้สมัครเพียง 20 ราย
ดูแล้ว ก็น่าเป็นห่วงจริงๆ สำหรับการสรรหา สปช.ด้านปฏิรูปพลังงาน เพราะมาจากปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กรรมการสรรหาด้านปฏิรูปพลังงานที่ประกอบด้วย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล, นายการุณ กิตติสถาพร, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช, นายบรรพต หงษ์ทอง, นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายพละ สุขเวช, นายวิเศษจูภิบาล ที่คนในสังคมโดยเฉพาะผู้ที่ติดตามเรื่องการปฏิรูปพลังงานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกันแล้ว เพราะเห็นชัดว่ากรรมการแต่ละคนก็คือตัวแทนของกลุ่มทุนพลังงาน ที่ต้องขวางการปฏิรูปแน่นอน ครั้นมาถึงเรื่องการรับสมัครว่าที่ สปช.ด้านปฏิรูปพลังงาน ก็ดูจะ วังเวงเสียเหลือเกิน
**อย่างไรก็ตาม ดูแล้วก็คาดว่ากว่าจะถึงวันปิดรับสมัคร คงมีการยื่นในส่วนของด้านปฏิรูปพลังงานกันเกิน 50 คนแน่นอน แต่ว่าจะได้รายชื่อที่มีคุณภาพเพื่อให้กรรมการสรรหาคัดเลือกกันได้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต้องว่ากันต่อไป รอให้ถึงวันปิดรับสมัครก่อนคงได้ส่องรายชื่อด้านปฏิรูปพลังงานกันให้ชัดๆสักที ว่าใครของจริง-ขอปลอม หรือแค่นอมินีกลุ่มทุนพลังงานส่งมาขวางการปฏิรูป จะได้รู้กัน
ทั้งนี้รายชื่อผู้สมัคร สปช.ตอนนี้ที่เด่นๆ คนรู้จัก ที่น่าสนใจก็มีอาทิ เช่น พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรอง ผบ.ทบ. ลูกน้องเก่า พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่พรรคเพื่อแผ่นดินส่งชิงสปช.ด้านการเมือง-นางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่กระทรวงศึกษาธิการ ส่งลงสปช.ด้านการศึกษา-มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร เสนอคุณหญิงณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกทม. ด้านการปกครองท้องถิ่น-โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เสนอ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก บุตรชาย พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก
สมชัย ศรีสุทธิยากร และ ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ ที่สำนักงานกกต.ส่งเข้าประกวดอีกหนึ่งองค์กรอิสระ คือสำนักงานป.ป.ช.ก็ส่ง สรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.
มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เสนอชื่อ สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านการศึกษาชื่อดัง ลงด้านการศึกษา-ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เสนอชื่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสรรหาในด้านอื่น ๆ สมาคมสันนิบาตสมาคมแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ นายวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตที่ปรึกษาสุเทพ เทือกสุบรรณ สมัยเป็นรองนายกฯ เข้าสรรหาในด้าน บริหารราชการแผ่นดิน
กลุ่มอดีต ส.ว.ก็มีเช่น มูลนิธิ 14 ตุลา ที่เสนอชื่อ ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีต ส.ว.สรรหา ส่วนมูลนิธิร่มฉัตรเสนอชื่อ วันชัย สอนศิริ อดีต ส.ว.สรรหา ส่วน สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ นายสดใส โรจนวิชัย หรือ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เข้ารับการสรรหาด้านสังคม
และที่กำลังจะมาสมัครก็มีอีกหลายแห่ง เช่น สมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย ที่ส่งชื่อ ปวีณา ทองสุก ฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก 2004 หรือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ส่ง ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีนิด้า กับ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีนิติศาสตร์ นิด้า
คาดว่าช่วงสัปดาห์นี้ น่าจะมีคนเด่น–คนดัง มาสมัครกันอีกเพียบแน่นอน ในส่วนขององค์กรสื่อสารมวลชน ก็พบว่า ทั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือแห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็ส่งตัวแทนไปร่วมชิงเก้าอี้ สปช. ด้านสื่อสารมวลชนเช่นกัน และคาดว่าอีกหลายองค์กร คงส่งคนไปลงสมัครสรรหา สปช.ในด้านต่างๆ กันอย่างคึกคักในช่วงท้ายๆ ก่อนปิดรับสมัคร ก็ให้จับตาดูแล้วกัน อาจมีเซอร์ไพรส์กันหลายคน
ประเด็นสำคัญของเรื่องการสรรหา สปช.โดยเฉพาะในส่วนของกรรมการที่จะมาจาก 11 กรอบ ก็คือ ต้องทำให้กระบวนการนี้ต้องโปร่งใสทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่าเล่นพรรคเล่นพวก มีการล็อกเก้าอี้ ทำโผกันไว้ล่วงหน้า จึงมีข้อเสนอไปยังกรรมการสรรหา สปช.ใน 11 คณะ รวม 77 คนตลอดจน คสช.ที่จะต้องเลือกผู้ผ่านการคัดเลือกเป็น สปช.จากกรรมการสรรหาทั้ง11 คณะ ที่ส่งมาคณะละไม่เกิน 50 ชื่อ ให้เหลือไม่เกิน 173 รายชื่อ และจากกรรมการสรรหาในระดับจังหวัด ที่จะส่งมาจังหวัดละไม่เกิน 5 รายชื่อ ให้เหลือจังหวัดละ 1 ชื่อ
**ควรต้องมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้
1. กรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะ ต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย ไม่ใช่การลงคะแนนลับเพื่อจะได้ให้รู้กันไปเลยว่า กรรมการคนไหน เลือกใคร กรรมการที่มีอยู่คณะละ 7 คน จะได้รู้กันเองในกรรมการว่ากรรมการคนไหนเลือกใคร โดยให้โหวตกันไปเรื่อยๆ จนได้ตามจำนวน คือไม่เกิน 50 รายชื่อ ซึ่งผลการลงคะแนนก็จะออกมาเองว่า กรรมการคนไหนเลือกคนกลุ่มไหนเป็นพิเศษ ไม่เลือกกลุ่มไหนเลย มันก็จะเป็นหลักฐานกันเองในกรรมการ เพื่อจะมายันกันได้ในภายหลัง อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวกรรมการเองด้วย เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น เช่น บางรายชื่อที่กรรมการส่งไป มีปัญหาเช่น ขัดคุณสมบัติ หรือพบในภายหลังว่ามีพฤติการณ์ หรือประวัติเสื่อมเสียมาก่อนกรรมการที่เลือกก็จะต้องรับผิดชอบด้วย
2. ควรต้องเปิดเผยผลการลงคะแนนด้วยในชั้นกรรมการสรรหา เพื่อให้สังคมและคนที่ลงสมัครแต่ไม่ได้รับเลือกจะได้รู้กันว่า คนที่ติดเข้ารอบไป คนไหนใครได้คะแนนเท่าไหร่ แล้วคนที่ไม่ได้เข้ารอบทำไมถึงไม่ได้เข้า คะแนนไม่ถึงหรืออย่างไร ขณะที่รายชื่อไม่น่ามีปัญหา คาดว่ายังไงก็ต้องเปิดเผยรายชื่อที่ผ่านการคัดเลือกจากกรรมการสรรหาทั้งหมดที่ส่งไปให้ คสช.แน่นอน
3. คสช.ในฐานะเป็นผู้คัดเลือก สปช.ในรอบสุดท้ายจากรายชื่อที่กรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะส่งมา และจากกรรมการสรรหาทุกจังหวัดทั่วประเทศส่งมาทางคสช.ควรต้องบอกหลักเกณฑ์ต่อสังคมด้วยว่า จะมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการคัดเลือก สปช.ให้เหลือ 250 คน ซึ่งจริงอยู่ว่ารธน.ฉบับชั่วคราว กับพระราชกฤฎีกาการสรรหา สปช.ไม่ได้ระบุเอาไว้ให้ คสช.เปิดเผย หรือบอกเรื่องนี้ต่อสังคมโดยให้เป็นสิทธิขาดของ คสช.เลย
**แต่จะดีกว่าหรือไม่ หาก คสช.จะทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ก็ควรต้องบอกหลักเกณฑ์คร่าวๆไว้ด้วย เช่น จะมีการลงคะแนนกันใน คสช.หรือไม่ ในการเลือกรายชื่อให้เหลือ 250 คน หรือว่าจะให้ พลเอกประยุทธ์ หัวหน้าคสช. กาเลือกคนเดียวเลย 250 คน ก็ควรบอกมาให้ชัดกันไปเลย
เพราะแม้ คสช. จะมีสิทธิ์เด็ดขาดในเรื่องนี้ แต่หาก คสช.ต้องการให้ สปช.เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และทำให้โปร่งใส ก็ควรต้องบอกกติกาตรงนี้มาให้ชัดด้วย ไม่ใช่นึกอยากได้ชื่อคนไหนเป็น สปช.ไม่ให้อยากให้ใครเป็น ก็เลือกเอาตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว เพราะบางทีคนที่ไม่ได้รับเลือก อาจเป็นคนที่ได้รับเลือกมาจากกรรมการสรรหาด้วยคะแนนสูงสุด ก็ได้
**ไหนๆ จะปฏิรูปกันทั้งที ก็อย่าทำอึมครึม
ก็เป็นอันว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไม่หน้าแหกแล้ว
แถมหากเป็นไปตามเป้าผู้สมัครสามพันชื่อ ก็ถือว่าเกินความคาดหมายที่ คสช.ตั้งเป้าไว้ ทำให้ คสช.คงใจชื้นมาได้เยอะว่าโรดแมปปฏิรูปประเทศของคสช.ไม่ล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม หลังก่อนหน้านี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การส่งชื่อโดยองค์กรนิติบุคคลต่างๆ รวมถึงการสรรหาในต่างจังหวัดไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควร
เคาะตัวเลขอัพเดตถึงวันเสาร์ที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่ 10 ของการเปิดรับสมัคร (14-23ส.ค.) มีด้วยกันทั้งสิ้น 1,907 ราย แบ่งเป็นการสมัครในส่วนกลาง 586 ราย สมัครในจังหวัด และกทม. 1,321 ราย เมื่อจำแนกตามด้านการปฏิรูป 11 ด้าน พบว่าด้านการศึกษามีผู้สมัครสูงสุด 106 ราย รองลงมาเป็นด้านสังคม 88 ราย ส่วนด้านที่ยังมีผู้สมัครน้อยที่สุดเป็นด้านพลังงาน มีผู้สมัครเพียง 20 ราย
ดูแล้ว ก็น่าเป็นห่วงจริงๆ สำหรับการสรรหา สปช.ด้านปฏิรูปพลังงาน เพราะมาจากปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กรรมการสรรหาด้านปฏิรูปพลังงานที่ประกอบด้วย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล, นายการุณ กิตติสถาพร, นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช, นายบรรพต หงษ์ทอง, นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์, นายพละ สุขเวช, นายวิเศษจูภิบาล ที่คนในสังคมโดยเฉพาะผู้ที่ติดตามเรื่องการปฏิรูปพลังงานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกันแล้ว เพราะเห็นชัดว่ากรรมการแต่ละคนก็คือตัวแทนของกลุ่มทุนพลังงาน ที่ต้องขวางการปฏิรูปแน่นอน ครั้นมาถึงเรื่องการรับสมัครว่าที่ สปช.ด้านปฏิรูปพลังงาน ก็ดูจะ วังเวงเสียเหลือเกิน
**อย่างไรก็ตาม ดูแล้วก็คาดว่ากว่าจะถึงวันปิดรับสมัคร คงมีการยื่นในส่วนของด้านปฏิรูปพลังงานกันเกิน 50 คนแน่นอน แต่ว่าจะได้รายชื่อที่มีคุณภาพเพื่อให้กรรมการสรรหาคัดเลือกกันได้หรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต้องว่ากันต่อไป รอให้ถึงวันปิดรับสมัครก่อนคงได้ส่องรายชื่อด้านปฏิรูปพลังงานกันให้ชัดๆสักที ว่าใครของจริง-ขอปลอม หรือแค่นอมินีกลุ่มทุนพลังงานส่งมาขวางการปฏิรูป จะได้รู้กัน
ทั้งนี้รายชื่อผู้สมัคร สปช.ตอนนี้ที่เด่นๆ คนรู้จัก ที่น่าสนใจก็มีอาทิ เช่น พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรอง ผบ.ทบ. ลูกน้องเก่า พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่พรรคเพื่อแผ่นดินส่งชิงสปช.ด้านการเมือง-นางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่กระทรวงศึกษาธิการ ส่งลงสปช.ด้านการศึกษา-มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร เสนอคุณหญิงณฐนนท ทวีสิน อดีตปลัดกทม. ด้านการปกครองท้องถิ่น-โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เสนอ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก บุตรชาย พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก
สมชัย ศรีสุทธิยากร และ ธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ ที่สำนักงานกกต.ส่งเข้าประกวดอีกหนึ่งองค์กรอิสระ คือสำนักงานป.ป.ช.ก็ส่ง สรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.
มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เสนอชื่อ สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการด้านการศึกษาชื่อดัง ลงด้านการศึกษา-ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เสนอชื่อ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าสรรหาในด้านอื่น ๆ สมาคมสันนิบาตสมาคมแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ นายวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตที่ปรึกษาสุเทพ เทือกสุบรรณ สมัยเป็นรองนายกฯ เข้าสรรหาในด้าน บริหารราชการแผ่นดิน
กลุ่มอดีต ส.ว.ก็มีเช่น มูลนิธิ 14 ตุลา ที่เสนอชื่อ ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีต ส.ว.สรรหา ส่วนมูลนิธิร่มฉัตรเสนอชื่อ วันชัย สอนศิริ อดีต ส.ว.สรรหา ส่วน สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย เสนอชื่อ นายสดใส โรจนวิชัย หรือ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เข้ารับการสรรหาด้านสังคม
และที่กำลังจะมาสมัครก็มีอีกหลายแห่ง เช่น สมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย ที่ส่งชื่อ ปวีณา ทองสุก ฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก 2004 หรือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่ส่ง ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีนิด้า กับ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีนิติศาสตร์ นิด้า
คาดว่าช่วงสัปดาห์นี้ น่าจะมีคนเด่น–คนดัง มาสมัครกันอีกเพียบแน่นอน ในส่วนขององค์กรสื่อสารมวลชน ก็พบว่า ทั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือแห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ก็ส่งตัวแทนไปร่วมชิงเก้าอี้ สปช. ด้านสื่อสารมวลชนเช่นกัน และคาดว่าอีกหลายองค์กร คงส่งคนไปลงสมัครสรรหา สปช.ในด้านต่างๆ กันอย่างคึกคักในช่วงท้ายๆ ก่อนปิดรับสมัคร ก็ให้จับตาดูแล้วกัน อาจมีเซอร์ไพรส์กันหลายคน
ประเด็นสำคัญของเรื่องการสรรหา สปช.โดยเฉพาะในส่วนของกรรมการที่จะมาจาก 11 กรอบ ก็คือ ต้องทำให้กระบวนการนี้ต้องโปร่งใสทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่าเล่นพรรคเล่นพวก มีการล็อกเก้าอี้ ทำโผกันไว้ล่วงหน้า จึงมีข้อเสนอไปยังกรรมการสรรหา สปช.ใน 11 คณะ รวม 77 คนตลอดจน คสช.ที่จะต้องเลือกผู้ผ่านการคัดเลือกเป็น สปช.จากกรรมการสรรหาทั้ง11 คณะ ที่ส่งมาคณะละไม่เกิน 50 ชื่อ ให้เหลือไม่เกิน 173 รายชื่อ และจากกรรมการสรรหาในระดับจังหวัด ที่จะส่งมาจังหวัดละไม่เกิน 5 รายชื่อ ให้เหลือจังหวัดละ 1 ชื่อ
**ควรต้องมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้
1. กรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะ ต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย ไม่ใช่การลงคะแนนลับเพื่อจะได้ให้รู้กันไปเลยว่า กรรมการคนไหน เลือกใคร กรรมการที่มีอยู่คณะละ 7 คน จะได้รู้กันเองในกรรมการว่ากรรมการคนไหนเลือกใคร โดยให้โหวตกันไปเรื่อยๆ จนได้ตามจำนวน คือไม่เกิน 50 รายชื่อ ซึ่งผลการลงคะแนนก็จะออกมาเองว่า กรรมการคนไหนเลือกคนกลุ่มไหนเป็นพิเศษ ไม่เลือกกลุ่มไหนเลย มันก็จะเป็นหลักฐานกันเองในกรรมการ เพื่อจะมายันกันได้ในภายหลัง อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวกรรมการเองด้วย เพราะหากเกิดปัญหาขึ้น เช่น บางรายชื่อที่กรรมการส่งไป มีปัญหาเช่น ขัดคุณสมบัติ หรือพบในภายหลังว่ามีพฤติการณ์ หรือประวัติเสื่อมเสียมาก่อนกรรมการที่เลือกก็จะต้องรับผิดชอบด้วย
2. ควรต้องเปิดเผยผลการลงคะแนนด้วยในชั้นกรรมการสรรหา เพื่อให้สังคมและคนที่ลงสมัครแต่ไม่ได้รับเลือกจะได้รู้กันว่า คนที่ติดเข้ารอบไป คนไหนใครได้คะแนนเท่าไหร่ แล้วคนที่ไม่ได้เข้ารอบทำไมถึงไม่ได้เข้า คะแนนไม่ถึงหรืออย่างไร ขณะที่รายชื่อไม่น่ามีปัญหา คาดว่ายังไงก็ต้องเปิดเผยรายชื่อที่ผ่านการคัดเลือกจากกรรมการสรรหาทั้งหมดที่ส่งไปให้ คสช.แน่นอน
3. คสช.ในฐานะเป็นผู้คัดเลือก สปช.ในรอบสุดท้ายจากรายชื่อที่กรรมการสรรหาทั้ง 11 คณะส่งมา และจากกรรมการสรรหาทุกจังหวัดทั่วประเทศส่งมาทางคสช.ควรต้องบอกหลักเกณฑ์ต่อสังคมด้วยว่า จะมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการคัดเลือก สปช.ให้เหลือ 250 คน ซึ่งจริงอยู่ว่ารธน.ฉบับชั่วคราว กับพระราชกฤฎีกาการสรรหา สปช.ไม่ได้ระบุเอาไว้ให้ คสช.เปิดเผย หรือบอกเรื่องนี้ต่อสังคมโดยให้เป็นสิทธิขาดของ คสช.เลย
**แต่จะดีกว่าหรือไม่ หาก คสช.จะทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ก็ควรต้องบอกหลักเกณฑ์คร่าวๆไว้ด้วย เช่น จะมีการลงคะแนนกันใน คสช.หรือไม่ ในการเลือกรายชื่อให้เหลือ 250 คน หรือว่าจะให้ พลเอกประยุทธ์ หัวหน้าคสช. กาเลือกคนเดียวเลย 250 คน ก็ควรบอกมาให้ชัดกันไปเลย
เพราะแม้ คสช. จะมีสิทธิ์เด็ดขาดในเรื่องนี้ แต่หาก คสช.ต้องการให้ สปช.เป็นเรื่องของการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และทำให้โปร่งใส ก็ควรต้องบอกกติกาตรงนี้มาให้ชัดด้วย ไม่ใช่นึกอยากได้ชื่อคนไหนเป็น สปช.ไม่ให้อยากให้ใครเป็น ก็เลือกเอาตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว เพราะบางทีคนที่ไม่ได้รับเลือก อาจเป็นคนที่ได้รับเลือกมาจากกรรมการสรรหาด้วยคะแนนสูงสุด ก็ได้
**ไหนๆ จะปฏิรูปกันทั้งที ก็อย่าทำอึมครึม