วานนี้ (21 ส.ค.) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 1 กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้รายงานผลการจ่ายเงิน กยศ. ประจำปีการศึกษา 2557 โดยมีจำนวนผู้กู้ยืมทั้งรายเก่าและรายใหม่ทั้งหมด จำนวน 154,630 คน เป็นเงินทั้งสิ้น 972,094,401 บาท แบ่งเป็น เฉพาะผู้กู้ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่1 คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับอนุปริญญาที่ไม่ได้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน 114,738 คน จำนวนเงินกู้ยืม 712,035,581 บาท
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาผู้ค้างชำระเงินกู้ กยศ. ที่ปัจจุบันมีมากถึง 50% ของจำนวนผู้ครบกำหนดชำระหนี้ทั้งหมด จึงมีความเห็นว่า ควรจะต้องกำหนดมาตรการติดตามหนี้สินให้มีความเข้มข้นขึ้น โดยเบื้องต้นคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 1 ขอให้ธนาคารกรุงไทย จัดทำข้อมูลผู้กู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ อาทิ จำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างศึกษา จำนวนผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระ จำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย จำนวนผู้กู้ที่ปิดบัญชี เป็นต้น โดยขอให้รายงานทุกไตรมาส และให้แยกเป็นรายสถานศึกษา ซึ่งผู้แทนจาก ธ.กรุงไทย ขอเวลาในการปรับฐานข้อมูลเป็นเวลา 3 เดือน และคาดว่าจะสามารถรายงานข้อมูลได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
“เมื่อได้ข้อมูล ทางกยศ. จะมีมาตรการที่เข้มข้นกับสถานศึกษามากขึ้น โดยหากพบว่า สถานศึกษาใดมีจำนวนผู้ค้างชำระมากที่สุด ต่อไปก็จะได้รับการพิจารณาปล่อยกู้ในจำนวนที่น้อยลง ซึ่งตรงนี้เป็นมาตรการหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากองทุนให้สามารถปล่อยกู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไป กยศ.อาจจะต้องปล่อยกู้ให้ยากขึ้น และสร้างระบบการชำระเงินคืนให้ง่าย ซึ่งตรงนี้สถานศึกษาเองก็จะต้องมีมาตรการในการคัดกรองผู้กู้ พิจารณาปล่อยกู้ให้เฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นและมีฐานะยากจนจริง ๆ ส่วนกรณีที่มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่าต่อไป กยศ.จะเพิ่มมาตรการติดตามหนี้สิน หากผู้ใดไม่มาชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนด อาจจะถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สินนั้น ตนไม่ทราบรายละเอียดเรื่องดังกล่าว และที่ผ่านมากยศ. ก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้” ปลัด ศธ. กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน กยศ. ได้รายงานความคืบหน้าในการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ โดยเบื้อองจากการลงพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง พบปัญหาวงเงินจัดสรรไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้กู้ มีเสียงสะท้อน ว่าจัดสรรให้ระดับ ปวช. มากเกินไป ทั้งที่ความเป็นจริงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความต้องการมากกว่า ระบบติดตามหนี้ยังไม่เหมาะสม และ กยศ. ติดต่อประสานงานได้ยาก ซึ่งกรณีนี้ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดทำสายด่วน กยศ. เพื่อให้สามารถติดต่อประสานกับกยศ. ได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งขอให้คณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ สรุปปัญหาและอุปสรรคในการกู้ยืม และการชำระเงินทั้งหมดให้ครบ 5 ภาค และรายงานต่อที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในภาพรวมและในปี2558 จะต้องเร่งสร้างระบบบริหารจัดการ การปล่อยกู้รวมถึงระบบติดตามหนี้สินให้มีความเข้มข้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาผู้ค้างชำระเงินกู้ กยศ. ที่ปัจจุบันมีมากถึง 50% ของจำนวนผู้ครบกำหนดชำระหนี้ทั้งหมด จึงมีความเห็นว่า ควรจะต้องกำหนดมาตรการติดตามหนี้สินให้มีความเข้มข้นขึ้น โดยเบื้องต้นคณะอนุกรรมการบัญชีจ่ายที่ 1 ขอให้ธนาคารกรุงไทย จัดทำข้อมูลผู้กู้ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบ อาทิ จำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างศึกษา จำนวนผู้กู้ที่ครบกำหนดชำระ จำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี อยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย จำนวนผู้กู้ที่ปิดบัญชี เป็นต้น โดยขอให้รายงานทุกไตรมาส และให้แยกเป็นรายสถานศึกษา ซึ่งผู้แทนจาก ธ.กรุงไทย ขอเวลาในการปรับฐานข้อมูลเป็นเวลา 3 เดือน และคาดว่าจะสามารถรายงานข้อมูลได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 เป็นต้นไป
“เมื่อได้ข้อมูล ทางกยศ. จะมีมาตรการที่เข้มข้นกับสถานศึกษามากขึ้น โดยหากพบว่า สถานศึกษาใดมีจำนวนผู้ค้างชำระมากที่สุด ต่อไปก็จะได้รับการพิจารณาปล่อยกู้ในจำนวนที่น้อยลง ซึ่งตรงนี้เป็นมาตรการหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากองทุนให้สามารถปล่อยกู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไป กยศ.อาจจะต้องปล่อยกู้ให้ยากขึ้น และสร้างระบบการชำระเงินคืนให้ง่าย ซึ่งตรงนี้สถานศึกษาเองก็จะต้องมีมาตรการในการคัดกรองผู้กู้ พิจารณาปล่อยกู้ให้เฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นและมีฐานะยากจนจริง ๆ ส่วนกรณีที่มีการเผยแพร่ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่าต่อไป กยศ.จะเพิ่มมาตรการติดตามหนี้สิน หากผู้ใดไม่มาชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนด อาจจะถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สินนั้น ตนไม่ทราบรายละเอียดเรื่องดังกล่าว และที่ผ่านมากยศ. ก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้” ปลัด ศธ. กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน กยศ. ได้รายงานความคืบหน้าในการตรวจเยี่ยมสถานศึกษาใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ โดยเบื้อองจากการลงพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง พบปัญหาวงเงินจัดสรรไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้กู้ มีเสียงสะท้อน ว่าจัดสรรให้ระดับ ปวช. มากเกินไป ทั้งที่ความเป็นจริงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความต้องการมากกว่า ระบบติดตามหนี้ยังไม่เหมาะสม และ กยศ. ติดต่อประสานงานได้ยาก ซึ่งกรณีนี้ที่ประชุมเสนอให้มีการจัดทำสายด่วน กยศ. เพื่อให้สามารถติดต่อประสานกับกยศ. ได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งขอให้คณะกรรมการตรวจเยี่ยมฯ สรุปปัญหาและอุปสรรคในการกู้ยืม และการชำระเงินทั้งหมดให้ครบ 5 ภาค และรายงานต่อที่ประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในภาพรวมและในปี2558 จะต้องเร่งสร้างระบบบริหารจัดการ การปล่อยกู้รวมถึงระบบติดตามหนี้สินให้มีความเข้มข้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น