ในที่สุดก็มีการทำพิธีกรรมอำพรางได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 แล้ว ไม่ต้องบอกก็รู้กันตั้งแต่ในมุ้งแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ กำกับโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.คนเดียวกัน พูดง่ายๆ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ที่เป็นหัวหน้า คสช.มีอำนาจปลดพล.อ.ประยุทธ์ที่เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.ยังคงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เหนือกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 44 ที่ คสช.ร่างขึ้นมากำหนดไว้
“มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ ในการปฏิรูปด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”
เป็นการเปลี่ยนขุมข่ายอำนาจจากนักการเมืองมาเป็นทหารที่ยึดอำนาจมาจากนักการเมืองอีกต่อหนึ่ง แล้วหลายคนก็คาดหวังว่า คณะทหารจะปฏิรูปการเมืองของเราให้ดีขึ้น ทุกคนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ทำการบ้านมาดีเตรียมการที่จะยึดอำนาจมานาน เข้าใจปัญหาของบ้านเมือง แล้วคาดกันว่าจะอยู่อำนาจใน 1 ปีแล้วเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย
แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะมีพรรคการเมืองที่ขุมข่ายทหารจัดตั้งขึ้นเข้าสู่สนามการเมืองและยังคงสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป นั่นก็คือจะสืบทอดอำนาจต่อไปด้วยขุมข่ายอำนาจของบูรพาพยัคฆ์ที่กำกับโดยพี่ใหญ่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มีฐานเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองของเนวิน ชิดชอบ ในแบบเดียวกับในอดีตที่พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ด้วยเครือข่ายทหารบวกกับนักการเมืองที่เคยอุ้มนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั่นแหละ
ว่ากันว่า ขณะนี้ผู้มีบารมีทางการเมืองเปลี่ยนจากผู้ใหญ่แห่งบ้านสี่เสามาเป็นบิ๊กป้อมพี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ หมดยุคของป๋าไปแล้ว
นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหรชื่อดังถึงกับนิมิตว่า พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ในอำนาจ 2-3 ปีขึ้นไป จนกว่าบ้านเมืองจะเข้ารูปเข้ารอย
ความเป็นไปได้ก็ใช่ว่าจะไม่มีเพราะหลังพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ผ่านไป 1 ปี ขุมกำลังทหารก็ยังแน่นปึ้กเพราะคาดการณ์กันไว้แล้วว่า ถึงตอนนั้นพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายจะมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก
แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า ผลงานของพล.อ.ประยุทธ์หนึ่งปีนับจากนี้ และความรู้สึกของประชาชนในห้วงของการสืบทอดอำนาจต่างหากว่าจะรู้สึกอย่างไร และยินยอมจะให้มีการสืบทอดอำนาจหรือไม่นั่นต่างหาก หรือพูดตรงๆ ก็คือต้องย้อนไปดูบทบาทความพยายามสืบทอดอำนาจของนายทหารในอดีตอย่างพล.อ.สุจินดา คราประยูรด้วย
บทเรียนและประวัติศาสตร์ย่อมเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ไม่เคยมีอำนาจไหนที่ใช้เกินขอบเขตแล้วจะทัดทานพลังของประชาชนได้
ส่วนประชาชนที่เป็นกบเลือกนาย ซึ่งเคยคาดหวังเอาว่า ทหารจะเข้ามารับงานปฏิรูปทางการเมืองตามข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชน จะจัดการกับระบอบทักษิณ ถึงวันนี้ก็คงจะรู้แล้วว่า ทหารที่เข้ามาสู่อำนาจไม่ได้เป็นพวกของใครเท่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะจัดการกับระบอบทักษิณ เพียงแต่อ้างว่าเข้ามาเพื่อยับยั้งความขัดแย้งของคนในชาติเท่านั้นเอง มองว่าประชาชนทั้งสองฝ่ายที่เลือกข้างการเมืองล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของชาติ
ทักษิณเองเมื่อไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไรก็เลยสั่งให้ลิ่วล้อนิ่งสงบปล่อยให้ทหารบริหารบ้านเมืองไปไม่ขัดขวาง ไม่ต่อต้าน รอคอยวันเลือกตั้งซึ่งเชื่อมั่นว่าพรรคของตัวเองจะกลับมาสู่อำนาจอีก แม้จะต้องเจอกับพรรคทหารที่อาจจะตั้งขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจ
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์มาเป็นนายกฯ แล้ว ก็น่าจะถึงเวลาที่ประชาชนซึ่งเคยคาดหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นขอนไม้ที่ลอยมาในวันที่ประชาชนไม่สามารถโค่นล้มรัฐบาลของทักษิณได้นอกจากยืมมือทหารเข้ามาจัดการ น่าจะได้สัมผัสกับความจริงเสียทีว่า ทหารกับนักการเมืองนั้นเมื่อมีอำนาจแล้วจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ แต่ที่น่ากลัวกว่า ก็ตรงที่ทหารถือปืนอยู่ในมือด้วยและมีกองทัพหนุนหลังเป็นกำแพงเหล็ก
เห็นภาพทหารเข้าไปควบคุมการแถลงข่าวเรื่องพลังงานของวีระ สมความคิดและพวกแล้ว ก็น่าจะเห็นแล้วว่า นับต่อไปนี้บ้านเมืองจะเป็นยุคที่เข้าสู่การปิดหูปิดตาปิดปากเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
เห็นภาพทหารเข้าควบคุมตัวประชาชนในภาคใต้ที่ออกมารณรงค์ปฏิรูปพลังงานแล้วก็เห็นว่า ทหารไม่ได้แยกแยะเรื่องบ้านเมืองกับเรื่องการเมือง แม้สิ่งที่ประชาชนออกมาต่อสู้จะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องการเมือง ทหารก็ไม่พร้อมจะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และไม่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองนี้ นอกจากเป็นประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของทหารเท่านั้นเอง
ก็คงต้องจับตาต่อไปว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในบทบาทของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องสื่อสารกับประชาชนมากขึ้นผ่านการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจะมีความอดทนที่จะตอบคำถามของสื่อเพื่อสื่อสารไปถึงประชาชนได้มากเพียงไหน เขาจะมีความอดทนอดกลั้นที่จะรับฟังคำถามที่อาจไม่ถูกใจหรือไม่ เขาจะใช้บทบาทของนายกรัฐมนตรีปกครองประชาชนเหมือนกับปกครองทหารใต้บังคับบัญชาหรือไม่
ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับว่า หลังจากยึดอำนาจแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลมหาประชาชนที่ออกมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต้องยอมรับความจริงด้วยว่า แรงสนับสนุนเริ่มถดถอยลงไปตามลำดับ หลังจากเห็นการใช้อำนาจและประชาชนผิดหวังที่ทหารไม่ได้มีเป้าหมายจัดการกับระบอบทักษิณอย่างที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งมโนไปเอง
1 ปีนับจากนี้จะตัดสินชะตากรรมของคนชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่า เขาจะเป็นที่รักหรือชิงชังของประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.ยังคงเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เหนือกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ที่เป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 44 ที่ คสช.ร่างขึ้นมากำหนดไว้
“มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ ในการปฏิรูปด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”
เป็นการเปลี่ยนขุมข่ายอำนาจจากนักการเมืองมาเป็นทหารที่ยึดอำนาจมาจากนักการเมืองอีกต่อหนึ่ง แล้วหลายคนก็คาดหวังว่า คณะทหารจะปฏิรูปการเมืองของเราให้ดีขึ้น ทุกคนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ทำการบ้านมาดีเตรียมการที่จะยึดอำนาจมานาน เข้าใจปัญหาของบ้านเมือง แล้วคาดกันว่าจะอยู่อำนาจใน 1 ปีแล้วเปลี่ยนผ่านบ้านเมืองไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย
แต่ก็มีการคาดการณ์กันว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะมีพรรคการเมืองที่ขุมข่ายทหารจัดตั้งขึ้นเข้าสู่สนามการเมืองและยังคงสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป นั่นก็คือจะสืบทอดอำนาจต่อไปด้วยขุมข่ายอำนาจของบูรพาพยัคฆ์ที่กำกับโดยพี่ใหญ่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มีฐานเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองของเนวิน ชิดชอบ ในแบบเดียวกับในอดีตที่พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ด้วยเครือข่ายทหารบวกกับนักการเมืองที่เคยอุ้มนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั่นแหละ
ว่ากันว่า ขณะนี้ผู้มีบารมีทางการเมืองเปลี่ยนจากผู้ใหญ่แห่งบ้านสี่เสามาเป็นบิ๊กป้อมพี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ หมดยุคของป๋าไปแล้ว
นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหรชื่อดังถึงกับนิมิตว่า พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ในอำนาจ 2-3 ปีขึ้นไป จนกว่าบ้านเมืองจะเข้ารูปเข้ารอย
ความเป็นไปได้ก็ใช่ว่าจะไม่มีเพราะหลังพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ผ่านไป 1 ปี ขุมกำลังทหารก็ยังแน่นปึ้กเพราะคาดการณ์กันไว้แล้วว่า ถึงตอนนั้นพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายจะมาเป็นผู้บัญชาการทหารบก
แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า ผลงานของพล.อ.ประยุทธ์หนึ่งปีนับจากนี้ และความรู้สึกของประชาชนในห้วงของการสืบทอดอำนาจต่างหากว่าจะรู้สึกอย่างไร และยินยอมจะให้มีการสืบทอดอำนาจหรือไม่นั่นต่างหาก หรือพูดตรงๆ ก็คือต้องย้อนไปดูบทบาทความพยายามสืบทอดอำนาจของนายทหารในอดีตอย่างพล.อ.สุจินดา คราประยูรด้วย
บทเรียนและประวัติศาสตร์ย่อมเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ไม่เคยมีอำนาจไหนที่ใช้เกินขอบเขตแล้วจะทัดทานพลังของประชาชนได้
ส่วนประชาชนที่เป็นกบเลือกนาย ซึ่งเคยคาดหวังเอาว่า ทหารจะเข้ามารับงานปฏิรูปทางการเมืองตามข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชน จะจัดการกับระบอบทักษิณ ถึงวันนี้ก็คงจะรู้แล้วว่า ทหารที่เข้ามาสู่อำนาจไม่ได้เป็นพวกของใครเท่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะจัดการกับระบอบทักษิณ เพียงแต่อ้างว่าเข้ามาเพื่อยับยั้งความขัดแย้งของคนในชาติเท่านั้นเอง มองว่าประชาชนทั้งสองฝ่ายที่เลือกข้างการเมืองล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาของชาติ
ทักษิณเองเมื่อไม่ได้รับความเดือดร้อนอะไรก็เลยสั่งให้ลิ่วล้อนิ่งสงบปล่อยให้ทหารบริหารบ้านเมืองไปไม่ขัดขวาง ไม่ต่อต้าน รอคอยวันเลือกตั้งซึ่งเชื่อมั่นว่าพรรคของตัวเองจะกลับมาสู่อำนาจอีก แม้จะต้องเจอกับพรรคทหารที่อาจจะตั้งขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจ
เมื่อพล.อ.ประยุทธ์มาเป็นนายกฯ แล้ว ก็น่าจะถึงเวลาที่ประชาชนซึ่งเคยคาดหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์เป็นขอนไม้ที่ลอยมาในวันที่ประชาชนไม่สามารถโค่นล้มรัฐบาลของทักษิณได้นอกจากยืมมือทหารเข้ามาจัดการ น่าจะได้สัมผัสกับความจริงเสียทีว่า ทหารกับนักการเมืองนั้นเมื่อมีอำนาจแล้วจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ แต่ที่น่ากลัวกว่า ก็ตรงที่ทหารถือปืนอยู่ในมือด้วยและมีกองทัพหนุนหลังเป็นกำแพงเหล็ก
เห็นภาพทหารเข้าไปควบคุมการแถลงข่าวเรื่องพลังงานของวีระ สมความคิดและพวกแล้ว ก็น่าจะเห็นแล้วว่า นับต่อไปนี้บ้านเมืองจะเป็นยุคที่เข้าสู่การปิดหูปิดตาปิดปากเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย
เห็นภาพทหารเข้าควบคุมตัวประชาชนในภาคใต้ที่ออกมารณรงค์ปฏิรูปพลังงานแล้วก็เห็นว่า ทหารไม่ได้แยกแยะเรื่องบ้านเมืองกับเรื่องการเมือง แม้สิ่งที่ประชาชนออกมาต่อสู้จะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของบ้านเมืองไม่ใช่เรื่องการเมือง ทหารก็ไม่พร้อมจะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และไม่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับบ้านเมืองนี้ นอกจากเป็นประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของทหารเท่านั้นเอง
ก็คงต้องจับตาต่อไปว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในบทบาทของนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องสื่อสารกับประชาชนมากขึ้นผ่านการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจะมีความอดทนที่จะตอบคำถามของสื่อเพื่อสื่อสารไปถึงประชาชนได้มากเพียงไหน เขาจะมีความอดทนอดกลั้นที่จะรับฟังคำถามที่อาจไม่ถูกใจหรือไม่ เขาจะใช้บทบาทของนายกรัฐมนตรีปกครองประชาชนเหมือนกับปกครองทหารใต้บังคับบัญชาหรือไม่
ไม่มีใครปฏิเสธหรอกครับว่า หลังจากยึดอำนาจแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมวลมหาประชาชนที่ออกมาขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต้องยอมรับความจริงด้วยว่า แรงสนับสนุนเริ่มถดถอยลงไปตามลำดับ หลังจากเห็นการใช้อำนาจและประชาชนผิดหวังที่ทหารไม่ได้มีเป้าหมายจัดการกับระบอบทักษิณอย่างที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งมโนไปเอง
1 ปีนับจากนี้จะตัดสินชะตากรรมของคนชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่า เขาจะเป็นที่รักหรือชิงชังของประชาชน