ASTVผู้จัดการรายวัน- จับตากระทรวงอุตสาหกรรมถอยฉากแผน”ลอยตัวน้ำตาล” ชี้ไม่มีประโยชน์หากอินโดฯ ฟิลิปปินส์ ไม่ปลดล็อคออกจากบัญชีสินค้าอ่อนไหว ด้านชาวไร่โรงงานเตรียมถกนอกรอบ 22 ส.ค.นี้หาข้อยุติก่อนเปิดเวทีร่วมรัฐ หลังยังเห็นต่างกันหลายประเด็น
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นโยบายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังมีหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ล่าสุดฝ่ายราชการเห็นว่ายังไม่จำเป็นจะต้องเร่งรีบหากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียยังไม่ปลดสินค้าน้ำตาลทรายออกรายการสินค้าบัญชีอ่อนไหว(Sensitive List) เพราะหากไทยลอยตัวจะทำให้เสียเปรียบ 2 ประเทศดังกล่าวขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ได้มีสินค้าน้ำตาลทรายมาแข่งกับไทยอยู่แล้ว
“ อย่างไรก็ตามหลักการเห็นด้วยที่จะดึงสินค้าน้ำตาลทรายออกจากบัญชีควบคุมราคาของกระทรวงพาณิชย์เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันให้ดีขึ้นแต่ปัญหาคือ ขณะนี้โรงงานและชาวไร่อ้อยยังคงเถียงกันอยู่หลายประเด็นโดยเฉพาะเงินที่เก็บจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)เข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาล ที่ชาวไร่ต้องการให้คงไว้ แต่โรงงานไม่ต้องการให้มีและโรงงานน้ำตาลยังไม่ต้องการให้มีการกำหนดโควตาก.(น้ำตาลบริโภคในประเทศ)”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ฝ่ายราชการได้เสนอว่าการทดลองปรับโครงสร้างระยะแรกควรเริ่มจากการปรับการขึ้นงวดน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ(โควตาก.)ใหม่จากขึ้นทุกสัปดาห์เป็นเดือนละครั้ง และเห็นว่าไม่มีปัญหาก็อาจเป็น 3 เดือนครั้งหรือเฉลี่ยปีละ 4 งวดเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันของโรงงานในการขายทำราคา
และหากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ปลดสินค้าน้ำตาลออกจากบัญชีอ่อนไหวก็ให้เดินนโยบายราคาแบบกึ่งลอยตัวคือ การยังคงการเก็บ 5 บาทต่อกก.แล้วกำหนดเพดานขั้นต่ำสุดและสูงสุดไว้ซึ่งหลักการคง 5 บาทต่อกก.ไม่ได้ผิดหลัก AEC แต่อย่างใดเนื่องจากถือเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเซอร์ชาร์จเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ก็มีเช่นกัน
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยและโรงงานจะหารือรอบนอก 22 สิงหาคมนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปแนวทางปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายก่อนที่จะไปจัดเวทีสัมมนาใหญ่ร่วม 3 ฝ่ายคือรัฐ ชาวไร่และโรงงานเพื่อนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยยอมรับว่ายังมีหลายประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันส่วนของชาวไร่ยืนยันที่จะยังคงเงิน 5 บาทต่อกก.เอาไว้ และราคาควรจะเป็นกึ่งลอยตัวมีเพดานไว้ดูแล
แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลกล่าวว่า โรงงานส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะคง 5 บาทต่อกก.ไว้เนื่องจากจะเป็นการไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงให้เห็น หากจะยังคงช่วยเหลือชาวไร่อ้อยไม่ให้ได้รับผลกระทบก็น่าจะลดลงมาเป็น 1-2 บาทต่อกก.หลังจากนั้นก็อิงราคาตลาดโลก
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นโยบายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังมีหลายประเด็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ล่าสุดฝ่ายราชการเห็นว่ายังไม่จำเป็นจะต้องเร่งรีบหากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียยังไม่ปลดสินค้าน้ำตาลทรายออกรายการสินค้าบัญชีอ่อนไหว(Sensitive List) เพราะหากไทยลอยตัวจะทำให้เสียเปรียบ 2 ประเทศดังกล่าวขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ได้มีสินค้าน้ำตาลทรายมาแข่งกับไทยอยู่แล้ว
“ อย่างไรก็ตามหลักการเห็นด้วยที่จะดึงสินค้าน้ำตาลทรายออกจากบัญชีควบคุมราคาของกระทรวงพาณิชย์เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันให้ดีขึ้นแต่ปัญหาคือ ขณะนี้โรงงานและชาวไร่อ้อยยังคงเถียงกันอยู่หลายประเด็นโดยเฉพาะเงินที่เก็บจากการขึ้นราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงาน 5 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)เข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาล ที่ชาวไร่ต้องการให้คงไว้ แต่โรงงานไม่ต้องการให้มีและโรงงานน้ำตาลยังไม่ต้องการให้มีการกำหนดโควตาก.(น้ำตาลบริโภคในประเทศ)”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ฝ่ายราชการได้เสนอว่าการทดลองปรับโครงสร้างระยะแรกควรเริ่มจากการปรับการขึ้นงวดน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ(โควตาก.)ใหม่จากขึ้นทุกสัปดาห์เป็นเดือนละครั้ง และเห็นว่าไม่มีปัญหาก็อาจเป็น 3 เดือนครั้งหรือเฉลี่ยปีละ 4 งวดเพื่อเปิดให้มีการแข่งขันของโรงงานในการขายทำราคา
และหากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ปลดสินค้าน้ำตาลออกจากบัญชีอ่อนไหวก็ให้เดินนโยบายราคาแบบกึ่งลอยตัวคือ การยังคงการเก็บ 5 บาทต่อกก.แล้วกำหนดเพดานขั้นต่ำสุดและสูงสุดไว้ซึ่งหลักการคง 5 บาทต่อกก.ไม่ได้ผิดหลัก AEC แต่อย่างใดเนื่องจากถือเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเซอร์ชาร์จเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ก็มีเช่นกัน
นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยและโรงงานจะหารือรอบนอก 22 สิงหาคมนี้เพื่อให้ได้ข้อสรุปแนวทางปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายก่อนที่จะไปจัดเวทีสัมมนาใหญ่ร่วม 3 ฝ่ายคือรัฐ ชาวไร่และโรงงานเพื่อนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยยอมรับว่ายังมีหลายประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันส่วนของชาวไร่ยืนยันที่จะยังคงเงิน 5 บาทต่อกก.เอาไว้ และราคาควรจะเป็นกึ่งลอยตัวมีเพดานไว้ดูแล
แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลกล่าวว่า โรงงานส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะคง 5 บาทต่อกก.ไว้เนื่องจากจะเป็นการไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงให้เห็น หากจะยังคงช่วยเหลือชาวไร่อ้อยไม่ให้ได้รับผลกระทบก็น่าจะลดลงมาเป็น 1-2 บาทต่อกก.หลังจากนั้นก็อิงราคาตลาดโลก