นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่จะมีการเสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ (สนช.) โดยมีสาระสำคัญ คือแก้ไขจากระบบศาลเดียว เป็นระบบสองศาล ว่า ปัจจุบันเราใช้ระบบไต่สวนในคดีเลือกตั้ง หรือคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นระบบศาลเดียว ไม่ใช้วิธีการกล่าวหา และสามารถพิจารณาได้กว้างกว่า โดยศาลสามารถเรียกพยานหลักฐานมาได้เอง ไม่จำเป็นต้องคู่ความเสนอ และใช้องค์คณะของผู้พิพากษาศาลฏีกา 9 คน ทำการไต่สวน เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว หากมีการแก้ไขเป็นระบบสองศาล โดยมีศาลอุทธรณ์เข้ามา จะทำให้กระบวนการพิจารณาต้องเปลี่ยนไป เพราะต้องมีระบบการกล่าวหาเกิดขึ้น และจะส่งผลให้การพิจารณามีความล่าช้า
ส่วนที่บางคนเสนอให้กำหนดระยะเวลาการพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า การพิจารณาคดีไม่สามารถขีดเส้นตายได้ เพราะอาจมีปัจจัยอื่นแทรกระหว่างพิจารณาคดีได้ เช่น พยานตาย ต้องสืบหนาพยานใหม่ หรือถ้าไปขีดเส้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ หรือ ป.ป.ช. จะยิ่งทำให้มีปัญหาด้านความยุติธรรม เช่น มีการดึงเรื่องในช่วงแรก ๆ แล้วเร่งรัดทำในช่วงใกล้กำหนด ทำให้ขาดความรอบคอบ หรือดึงเรื่องไว้จนขาดอายุความอย่างที่เห็นกันหลายคดี
"ผมคิดว่า เราไม่ตกผลึกเรื่องนี้ จะเป็นการถอยหลังเข้าคลองมากกว่า เพราะหากใช้วิธีการกล่าวหา คนที่ทุจริตจะชอบเนื่องจากสามารถยืดยาวออกไปได้ หากจะให้ใช้ระบบไต่สวนอย่างเดียว ก็ต้องมีการเขียนด้วยว่า ในคดีที่ฎีกาอีกชั้น จะฎีกาได้เฉพาะข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีการปรับระบบใหม่อีกหลายอย่าง และองค์คณะผู้พิพากษา จะต้องเปลี่ยนไป ไม่ต้องใช้ 9 คนเหมือนเดิม เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงต้องถามคนที่มีความคิดเรื่องนี้ว่า ทำไมถึงต้องการเปลี่ยนระบบจากหนึ่งศาล ให้เป็นสองศาล ถ้าใช้ระบบสองศาลแล้วระบวิธีการพิจารณา จะเปลี่ยนหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาเปลี่ยนหรือไม่ เพราะถือเป็นผู้พิพาษาสูงสุดของประเทศแล้ว ไม่ใช่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลเด็กๆ แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์สูง พิจารณาไม่เคยพลาด เพราะวิธีพิจารณาเปิดกว้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมถึงมาเสนอแก้ไขในช่วงนี้ ทั้งที่คดีสำคัญของนักการเมืองหลายคน กำลังจะเดินเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีอาญา นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนก็สงสัยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงมันคืออะไร เราต้องดูปัญหาของประเทศ ว่าเรามีปัญหาการทุจริตสูง จึงเป็นที่มาว่า ไม่ต้องใช้ทั้ง 3 ศาลในการแก้ปัญหาทุจริต ใช้ศาลสูงศาลเดียว และเพิ่มองค์คณะผู้พิพากษา และใช้วิธีการไต่สวนเพื่อความรวดเร็ว จะสามารถแก้ปัญหาคดีทุจริตได้ จะทำให้นักการเมืองเกิดความกลัว แต่หากจะมีการแก้เป็นระบบอื่น ก็ต้องตอบคำถามกับสังคมว่า ระบบศาลเดียว ไม่ดีอย่างไร และระบบใหม่ที่จะมีขึ้น ดีกว่าอย่างไร ที่สำคัญอย่าลืมว่าเรื่องนี้พรรคเพื่อไทย เคยวิ่งเต้นให้มีการเปลี่ยนเป็นระบบสองศาลมาก่อนหน้านี้ บ่นมาตลอดว่า ระบบนี้มีศาลเดียว ไม่มีโอกาสแก้ตัว โดยอ้างประเทศอื่นไม่ทำกัน
"รัฐบาลเพื่อไทย มีการคุยกันมานานแล้วแต่ผลักดันไม่สำเร็จ ไม่ทราบว่าจะมาสำเร็จเอาในสมัย คสช. หรือไม่ ผมกังวลว่า คสช. ยังใหม่กับเรื่องเหล่านี้ ไม่ตกผลึกว่า ระบบนี้เกิดขึ้นด้วยหลักคิดอะไร ซึ่งหลักคิดก็คือ คดีนักการเมืองต้องรวดเร็ว แต่เปิดโอกาสไต่สวนโดยผู้พิพากษาอาวุโส 9 คน หากแก้เป็นระบบสองศาล จะแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย ดังนั้น คสช.จะต้องระวังอย่าไปเข้าทางคนเหล่านี้ มิเช่นนั้นสิ่งที่เราทำมาพังหมด ต้องเริ่มต้นใหม่หมด ผมรู้สึกกังวลว่า เกิดความคิดนี้มาได้อย่างไร แต่ก็ไม่กล้าจะพูดว่าพฤติกรรมนี้เป็นการซ่อนเร้นนิรโทษกรรมให้ใครบางคน หรือไม่ แต่ถ้าจะพูดแบบตรงไปตรงมาคือ นักการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้ว มีคดีที่กำลังจะขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเยอะมาก ซึ่งคนพวกนี้จะได้ประโยชน์จากการแก้ของ คสช. คือ 1. ระยะเวลาการพิจารณาจะยาวนานขึ้น 2. การไต่สวนจะเปิดโอกาสให้มีการเห็นหน้าเห็นตาผู้พิพากษาอาจจะมีการวิ่งเต้นได้ และ 3. หากศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาตัดสินในคดีต่างกัน ก็จะมีปัญหาต่อความน่าเชื่อถือของศาล ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องสองมาตรฐาน ทำให้ความศักดิ์ศิทธิ์ของระบบนี้ลดลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสถาบันตุลาการของไทย"
เมื่อถามว่า หากมีการแก้ไขสำเร็จ จะทำให้สังคมเกิดความแตกแยกขึ้นอีกครั้งหรือไม่ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าสังคมอาจจะยังไม่เข้าใจในระบบนี้เท่าไหร่ แต่เชื่อว่าประชาชนไม่พอใจแน่นอน เพราะเมื่อเริ่มต้นการปฏิรูปเขาต้องการให้ขจัดการทุจริต กระบวนการลงโทษต้องเร็วเด็ดขาด หากจะปรับใหม่ให้ยืดยาว ไม่เด็ดขาด ถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปที่ผิด คนที่มีคดีในเรื่องนี้อยู่จะได้ประโยชน์ ขณะที่ คสช. บอกว่าจะกำจัดคนทุจริต แต่กลับออกกฎหมายเปลี่ยนระบบใหม่ให้คุณกับคนเหล่านี้ หากความน่าเชื่อถือของ คสช. ถูกลดลงจากเรื่องนี้ ต่อไปเรื่องอื่นๆ ก็จะลดน้ำหนักลงไปด้วย
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า หากผู้พิพากษาเป็นต้นคิดในเรื่องนี้จริง คงเป็นเพราะถูกตำหนิจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ว่ามีศาลเดียว ไม่ได้รับความยุติธรรม แต่เราต้องดูปัญหาของประเทศว่า เราเผชิญปัญหากับการทุจริต ถือเป็นเรื่องร้ายแรงของประเทศ วิธีการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องดูแบบอย่างประเทศอื่น ตนเคยตั้งข้อสังเกตว่า เราต้องปกป้องศาล เพราะเขาไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ เมื่อถูกทำให้ถูกลดความน่าเชื่อถือ ก็ไม่สามารถออกมาแก้ตัวได้ จึงอยากเซ็ตระบบใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกด่า แต่ตนว่าระบบใหม่ออกมา อาจจะถูกด่ามากกว่าเดิมก็ได้ หาก คสช.ต้องการอย่างนั้น สนช. เองอาจจะมีบางคนกล้าลุกขึ้นอภิปราย แต่คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักการใหญ่ ๆ หรือคว่ำ ร่าง เพราะทุกคนล้วนได้รับการแต่งตั้งมาจากคสช. ทั้งสิ้น
ส่วนที่บางคนเสนอให้กำหนดระยะเวลาการพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาความล่าช้า นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า การพิจารณาคดีไม่สามารถขีดเส้นตายได้ เพราะอาจมีปัจจัยอื่นแทรกระหว่างพิจารณาคดีได้ เช่น พยานตาย ต้องสืบหนาพยานใหม่ หรือถ้าไปขีดเส้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ อัยการ หรือ ป.ป.ช. จะยิ่งทำให้มีปัญหาด้านความยุติธรรม เช่น มีการดึงเรื่องในช่วงแรก ๆ แล้วเร่งรัดทำในช่วงใกล้กำหนด ทำให้ขาดความรอบคอบ หรือดึงเรื่องไว้จนขาดอายุความอย่างที่เห็นกันหลายคดี
"ผมคิดว่า เราไม่ตกผลึกเรื่องนี้ จะเป็นการถอยหลังเข้าคลองมากกว่า เพราะหากใช้วิธีการกล่าวหา คนที่ทุจริตจะชอบเนื่องจากสามารถยืดยาวออกไปได้ หากจะให้ใช้ระบบไต่สวนอย่างเดียว ก็ต้องมีการเขียนด้วยว่า ในคดีที่ฎีกาอีกชั้น จะฎีกาได้เฉพาะข้อกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องมีการปรับระบบใหม่อีกหลายอย่าง และองค์คณะผู้พิพากษา จะต้องเปลี่ยนไป ไม่ต้องใช้ 9 คนเหมือนเดิม เพราะผ่านการกลั่นกรองมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงต้องถามคนที่มีความคิดเรื่องนี้ว่า ทำไมถึงต้องการเปลี่ยนระบบจากหนึ่งศาล ให้เป็นสองศาล ถ้าใช้ระบบสองศาลแล้วระบวิธีการพิจารณา จะเปลี่ยนหรือไม่ องค์คณะผู้พิพากษาเปลี่ยนหรือไม่ เพราะถือเป็นผู้พิพาษาสูงสุดของประเทศแล้ว ไม่ใช่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือศาลเด็กๆ แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์สูง พิจารณาไม่เคยพลาด เพราะวิธีพิจารณาเปิดกว้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตั้งข้อสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมถึงมาเสนอแก้ไขในช่วงนี้ ทั้งที่คดีสำคัญของนักการเมืองหลายคน กำลังจะเดินเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีอาญา นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนก็สงสัยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงมันคืออะไร เราต้องดูปัญหาของประเทศ ว่าเรามีปัญหาการทุจริตสูง จึงเป็นที่มาว่า ไม่ต้องใช้ทั้ง 3 ศาลในการแก้ปัญหาทุจริต ใช้ศาลสูงศาลเดียว และเพิ่มองค์คณะผู้พิพากษา และใช้วิธีการไต่สวนเพื่อความรวดเร็ว จะสามารถแก้ปัญหาคดีทุจริตได้ จะทำให้นักการเมืองเกิดความกลัว แต่หากจะมีการแก้เป็นระบบอื่น ก็ต้องตอบคำถามกับสังคมว่า ระบบศาลเดียว ไม่ดีอย่างไร และระบบใหม่ที่จะมีขึ้น ดีกว่าอย่างไร ที่สำคัญอย่าลืมว่าเรื่องนี้พรรคเพื่อไทย เคยวิ่งเต้นให้มีการเปลี่ยนเป็นระบบสองศาลมาก่อนหน้านี้ บ่นมาตลอดว่า ระบบนี้มีศาลเดียว ไม่มีโอกาสแก้ตัว โดยอ้างประเทศอื่นไม่ทำกัน
"รัฐบาลเพื่อไทย มีการคุยกันมานานแล้วแต่ผลักดันไม่สำเร็จ ไม่ทราบว่าจะมาสำเร็จเอาในสมัย คสช. หรือไม่ ผมกังวลว่า คสช. ยังใหม่กับเรื่องเหล่านี้ ไม่ตกผลึกว่า ระบบนี้เกิดขึ้นด้วยหลักคิดอะไร ซึ่งหลักคิดก็คือ คดีนักการเมืองต้องรวดเร็ว แต่เปิดโอกาสไต่สวนโดยผู้พิพากษาอาวุโส 9 คน หากแก้เป็นระบบสองศาล จะแก้ปัญหานี้ไม่ได้เลย ดังนั้น คสช.จะต้องระวังอย่าไปเข้าทางคนเหล่านี้ มิเช่นนั้นสิ่งที่เราทำมาพังหมด ต้องเริ่มต้นใหม่หมด ผมรู้สึกกังวลว่า เกิดความคิดนี้มาได้อย่างไร แต่ก็ไม่กล้าจะพูดว่าพฤติกรรมนี้เป็นการซ่อนเร้นนิรโทษกรรมให้ใครบางคน หรือไม่ แต่ถ้าจะพูดแบบตรงไปตรงมาคือ นักการเมืองในรัฐบาลชุดที่แล้ว มีคดีที่กำลังจะขึ้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเยอะมาก ซึ่งคนพวกนี้จะได้ประโยชน์จากการแก้ของ คสช. คือ 1. ระยะเวลาการพิจารณาจะยาวนานขึ้น 2. การไต่สวนจะเปิดโอกาสให้มีการเห็นหน้าเห็นตาผู้พิพากษาอาจจะมีการวิ่งเต้นได้ และ 3. หากศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาตัดสินในคดีต่างกัน ก็จะมีปัญหาต่อความน่าเชื่อถือของศาล ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องสองมาตรฐาน ทำให้ความศักดิ์ศิทธิ์ของระบบนี้ลดลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสถาบันตุลาการของไทย"
เมื่อถามว่า หากมีการแก้ไขสำเร็จ จะทำให้สังคมเกิดความแตกแยกขึ้นอีกครั้งหรือไม่ นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าสังคมอาจจะยังไม่เข้าใจในระบบนี้เท่าไหร่ แต่เชื่อว่าประชาชนไม่พอใจแน่นอน เพราะเมื่อเริ่มต้นการปฏิรูปเขาต้องการให้ขจัดการทุจริต กระบวนการลงโทษต้องเร็วเด็ดขาด หากจะปรับใหม่ให้ยืดยาว ไม่เด็ดขาด ถือเป็นการเริ่มต้นการปฏิรูปที่ผิด คนที่มีคดีในเรื่องนี้อยู่จะได้ประโยชน์ ขณะที่ คสช. บอกว่าจะกำจัดคนทุจริต แต่กลับออกกฎหมายเปลี่ยนระบบใหม่ให้คุณกับคนเหล่านี้ หากความน่าเชื่อถือของ คสช. ถูกลดลงจากเรื่องนี้ ต่อไปเรื่องอื่นๆ ก็จะลดน้ำหนักลงไปด้วย
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า หากผู้พิพากษาเป็นต้นคิดในเรื่องนี้จริง คงเป็นเพราะถูกตำหนิจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ว่ามีศาลเดียว ไม่ได้รับความยุติธรรม แต่เราต้องดูปัญหาของประเทศว่า เราเผชิญปัญหากับการทุจริต ถือเป็นเรื่องร้ายแรงของประเทศ วิธีการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องดูแบบอย่างประเทศอื่น ตนเคยตั้งข้อสังเกตว่า เราต้องปกป้องศาล เพราะเขาไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ เมื่อถูกทำให้ถูกลดความน่าเชื่อถือ ก็ไม่สามารถออกมาแก้ตัวได้ จึงอยากเซ็ตระบบใหม่ เพื่อไม่ให้ถูกด่า แต่ตนว่าระบบใหม่ออกมา อาจจะถูกด่ามากกว่าเดิมก็ได้ หาก คสช.ต้องการอย่างนั้น สนช. เองอาจจะมีบางคนกล้าลุกขึ้นอภิปราย แต่คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักการใหญ่ ๆ หรือคว่ำ ร่าง เพราะทุกคนล้วนได้รับการแต่งตั้งมาจากคสช. ทั้งสิ้น