ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เตรียมแผนรับมืออียูตัดจีเอสพีปีหน้า ดันสินค้าขายตลาดจีน ตะวันออกกลาง แอฟริกาและอาเซียนแทน ส่วนสินค้าที่ยังต้องพึ่งตลาดอียู ควรมุ่งลงทุนเพื่อนบ้านแล้วใช้สิทธิส่งออก ด้านสหรัฐฯ รอลุ้นต่ออายุจีเอสพีโครงการใหม่ พ.ย.นี้
นางดวงกมล เจียมบุตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2557 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (อียู) ได้ระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) แก่ไทย แต่ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการปรับตัว 1 ปี ทำให้ช่วงนี้สินค้าไทยยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีจนถึงสิ้นปี 2557 และหลังจากนั้นจะต้องเริ่มจ่ายภาษีที่อัตรา MFN ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปตลาดอียูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ กรมฯ ได้เตรียมแนวทางในการรับมือ โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกตลาดอื่นทดแทน เช่น จีน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียนให้มากขึ้น โดยมีแผนส่งเสริมการทำตลาดข้างต้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากผู้ประกอบการยังต้องพึ่งพาตลาดอียู ก็ควรพิจารณาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีอยู่ แล้วใช้ประโยชน์ในการส่งออก
นางดวงกมลกล่าวว่า สินค้าไทยที่จะยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีในช่วงให้ปรับตัวในปี 2557 เช่น กุ้ง จักรยาน รองเท้า ปลาหมึก เม็ดพลาสติก มอเตอร์ไฟฟ้า บอลแบริ่ง น้ำมันปาล์มดิบ ล้อรถยนต์ ทูน่ากระป๋อง โดยไตรมาสแรกปี2556 (ม.ค.-มี.ค.) การส่งออกสินค้าไทยที่ได้รับสิทธิจีเอสพีมีมูลค่า 2,789 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมีการขอใช้สิทธิดังกล่าวมูลค่ารวมเพียง 2,170 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.83% ของมูลค่าสินค้าที่ได้รับสิทธิทั้งหมด
ส่วนสินค้าที่ใช้สิทธิจีเอสพีสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ขนส่ง เลนส์แว่นตา ยางนอกรถยนต์ ถุงมือยาง และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพีเหมือนไทย ได้แก่ จีน เอกวาดอร์ และมัลดีฟส์
นางดวงกมลกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการจีเอสพีของสหรัฐฯ ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2556 ที่ผ่านมาและสหรัฐฯ ยังไม่ได้ดำเนินการต่ออายุจนถึงปัจจุบัน แต่รายงานล่าสุดทราบว่าสหรัฐฯ จะมีการพิจารณาร่างกฎหมายการต่ออายุจีเอสพีในเดือนพ.ย.2557 ซึ่งหน่วยงานภาครัฐของไทย ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ได้จัดทำข้อมูลส่งให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ที่สหรัฐฯ มีต่อไทยแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
สินค้าสำคัญของไทยที่ได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้โครงการจีเอสพีสหรัฐฯ เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มอื่นๆ เลนส์แว่นตา ชุดสายไฟ และผลไม้ปรุงรส โดยในไตรมาสแรกปี 2557 ไทยมีมูลค่าส่งออกภายใต้สิทธิจีเอสพีไปสหรัฐฯ รวม 871 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2556 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 3.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.9% จากปีก่อนหน้า แต่ยังถือว่าเป็นประเทศที่ใช้สิทธิจีเอสพีสูงเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย
นางดวงกมล เจียมบุตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2557 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (อียู) ได้ระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) แก่ไทย แต่ได้กำหนดให้มีระยะเวลาในการปรับตัว 1 ปี ทำให้ช่วงนี้สินค้าไทยยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีจนถึงสิ้นปี 2557 และหลังจากนั้นจะต้องเริ่มจ่ายภาษีที่อัตรา MFN ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2558 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปตลาดอียูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ กรมฯ ได้เตรียมแนวทางในการรับมือ โดยจะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันไปส่งออกตลาดอื่นทดแทน เช่น จีน เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอาเซียนให้มากขึ้น โดยมีแผนส่งเสริมการทำตลาดข้างต้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากผู้ประกอบการยังต้องพึ่งพาตลาดอียู ก็ควรพิจารณาการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีอยู่ แล้วใช้ประโยชน์ในการส่งออก
นางดวงกมลกล่าวว่า สินค้าไทยที่จะยังคงได้รับสิทธิจีเอสพีในช่วงให้ปรับตัวในปี 2557 เช่น กุ้ง จักรยาน รองเท้า ปลาหมึก เม็ดพลาสติก มอเตอร์ไฟฟ้า บอลแบริ่ง น้ำมันปาล์มดิบ ล้อรถยนต์ ทูน่ากระป๋อง โดยไตรมาสแรกปี2556 (ม.ค.-มี.ค.) การส่งออกสินค้าไทยที่ได้รับสิทธิจีเอสพีมีมูลค่า 2,789 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมีการขอใช้สิทธิดังกล่าวมูลค่ารวมเพียง 2,170 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.83% ของมูลค่าสินค้าที่ได้รับสิทธิทั้งหมด
ส่วนสินค้าที่ใช้สิทธิจีเอสพีสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์ขนส่ง เลนส์แว่นตา ยางนอกรถยนต์ ถุงมือยาง และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพีเหมือนไทย ได้แก่ จีน เอกวาดอร์ และมัลดีฟส์
นางดวงกมลกล่าวอีกว่า สำหรับโครงการจีเอสพีของสหรัฐฯ ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2556 ที่ผ่านมาและสหรัฐฯ ยังไม่ได้ดำเนินการต่ออายุจนถึงปัจจุบัน แต่รายงานล่าสุดทราบว่าสหรัฐฯ จะมีการพิจารณาร่างกฎหมายการต่ออายุจีเอสพีในเดือนพ.ย.2557 ซึ่งหน่วยงานภาครัฐของไทย ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ได้จัดทำข้อมูลส่งให้สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เพื่อชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ที่สหรัฐฯ มีต่อไทยแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
สินค้าสำคัญของไทยที่ได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้โครงการจีเอสพีสหรัฐฯ เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มอื่นๆ เลนส์แว่นตา ชุดสายไฟ และผลไม้ปรุงรส โดยในไตรมาสแรกปี 2557 ไทยมีมูลค่าส่งออกภายใต้สิทธิจีเอสพีไปสหรัฐฯ รวม 871 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2556 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 3.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.9% จากปีก่อนหน้า แต่ยังถือว่าเป็นประเทศที่ใช้สิทธิจีเอสพีสูงเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย