ASTVผู้จัดการรายวัน-"ประสาร มฤคพิทักษ์"นำกองทัพสื่อพิสูจน์โฮมสเตย์ฉาว "ธาริต" รุกป่าที่ปากช่อง ป่าไม้เบี้ยวไม่มาตามนัด ด้านทนายเมียแจงสื่อ อ้างบ้านฉาว 2 หลังและที่ดิน เป็นของเพื่อนเมียธาริต ยันไม่ผิดเพราะทำตามกฏหมาย แจ้งป่าไม้ก่อนชิงทุบทิ้ง พร้อมนำดูซากบ้านบนเขา อดีตส.ว.จี้ป่าไม้ดำเนินคดี พร้อมส่งเรื่องให้คสช.ไล่สอบได้โฉนดมาโดยชอบหรือไม่ ด้านเลขาธิการป.ป.ท.ลงตรวจสอบบุกรุกป่าอ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พบสร้างบ้านพัก อาคารรวม 18 หลัง สั่งตรวจสอบไม่ไว้หน้า พบผิดกฏหมายดำเนินคดีทันที
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (6 ส.ค.) นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตส.ว.สรรหา และอดีตประธานอนุกรรมาธิการธรรมาภิบาลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา พร้อมคณะ และชาวอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รวมทั้งสื่อมวลชน ลงตรวจสอบพื้นที่ตรวจสอบบ้าน 2 หลังที่ปลูกอยู่บนเขา ในแนวเขตรั้วเดียวกันกับโฮมสเตย์ ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักตากอากาศหรูของนางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ ภรรยานายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เลขที่ 444 หมู่ 11 บ้านมอกระหาด ต.หนองน้ำแดง อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามที่ได้มีการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่าจะเข้าไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่างใน แต่กลับมีการชิงรื้อถอนไปก่อนในวันที่ 3-4 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาตามที่นัดไว้ มีเพียงตำรวจสภ.ปากช่อง และสภ.หนองน้ำแดง กว่า 10 นาย และปลัดอำเภอปากช่อง นำกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) 5 นายมาดูแลสงบเรียบร้อย โดยมีสัสดีอำเภอปากช่อง และกำนันตำบลหนองน้ำแดง ร่วมสังเกตการณ์
ทันทีที่คณะของนายประสารมาถึง ผู้ดูแลบ้านได้เปิดประตูทางเข้าด้านข้างโฮมสเตย์ ที่ยังติดป้าย "ที่ส่วนบุคคล ห้ามเข้า" ให้คณะสื่อมวลชนและคณะของนายประสาร เข้าไปในบริเวณพื้นที่ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักของนางวรรษมล โดยมีนายมนัส ทองศรีสมบูรณ์ ทนายความของนางวรรษมล และนางวันทนา พิพัฒน์ไชยศิริ เพื่อนสนิทของนางวรรษมลมาต้อนรับ และนำเดินตรวจดูที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของนางวรรษมลและนางวันทนา ตามที่มีข่าวว่าทำผิดกฎหมาย พร้อมนำเดินขึ้นเนินเขาเพื่อไปดูบ้านพัก 2 หลัง ที่ถูกระบุว่าบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ และได้ทำการรื้อถอนแล้ว เหลือเพียงกองปูนและเศษซากวัสดุ
ทั้งนี้ นายมนัสยังได้นำโฉนดที่ดิน หนังสือขออนุญาตเช่าที่ดินจากกรมป่าไม้ และหนังสือสำคัญที่ลงนามโดยนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เอกสารต่างๆ ของทางราชการมาแสดงให้สื่อมวลชนดู พร้อมสรุปข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ รวม 10 ข้อ ว่าที่ดินบริเวณที่เป็นข่าว (ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักของนางวรรษมล) มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง คือ โฉนดที่ดิน 3 แปลงออกตั้งแต่ปี 2530 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ต่อกันมา โดยเมื่อปี 2555 นางวรรษมลได้ซื้อที่ดินแปลงที่ 1 และ 2 ซึ่งแนวเขตที่ดินติดต่อกัน ส่วนนางวันทนาซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ได้ซื้อที่ดินแปลงที่ 3 แม้จะอยู่ติดกัน แต่มีถนนกั้นแนวเขตที่ดินชัดเจน
โดยที่ดินแปลงที่นางวันทนาซื้อมาอยู่ติดกับเขตป่าไม้ ผู้ขายที่เป็นเจ้าของเดิมได้รับอนุญาตให้เช่าพื้นที่จากกรมป่าไม้ และได้ปลูกบ้านไม้ชั้นเดียวเพื่อพักอาศัยไว้ รวมพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ระยะหลังนางวันทนา ได้ก่อสร้างเรือนรับประทานอาหารเพิ่มเติมอีก 1 หลัง รวมทั้งปรับปรุงบ้านไม้ชั้นเดียวหลังที่ 1 ส่วนถนน และรั้วลวดหนามเป็นของเดิม ไม่มีเจตนาบุกรุกแต่อย่างใด เพราะเป็นการสืบสิทธิ์จากผู้ขายที่ได้รับสิทธิ์เช่าจากกรมป่าไม้ และไม่ได้รับแจ้งว่ายกเลิกสิทธิ์นั้น
ต่อมานางวันทนาได้ทำเรื่องขอเช่าที่ดินจากกรมป่าไม้ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2556 จนเดือนก.ค.2557 กรมป่าไม้แจ้งกลับมาว่าไม่อนุญาตให้เช่าที่ดิน นางวันทนาจึงทำตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการคืนพื้นที่ให้กับกรมป่าไม้ และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 หลัง และส่งมอบคืนพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้อ.ปากช่อง
นายมนัส กล่าวย้ำว่า การรื้อถอนกระทำอย่างเปิดเผย ไม่ได้ซ่อนเร้นแต่อย่างใด ดังนั้นนางวันทนาจึงไม่ได้กระทำผิดใดๆ รวมถึงนางวรรษมลด้วย
ด้านนายประสารกล่าวว่า ที่น่าสนใจ คือ กรมป่าไม้ได้กำหนดที่จะรื้อถอนบ้าน 2 หลังวันที่ 6 ส.ค. เวลา 09.00 น. โดยแจ้งว่าจะมีกำลัง 40-50 นาย พร้อมรถยนต์และอุปกรณ์ แต่เมื่อวันที่ 3-4 ส.ค.ที่ผ่านมา กลับมีชายฉกรรจ์มาชิงรื้อบ้านไปก่อน แสดงว่าเพราะเห็นว่าผิดจึงรื้อถอน และการรื้อแสดงว่ายอมจำนนต่อหลักฐานว่าบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น กรมป่าไม้จะดำเนินคดีอย่างไร และอีกประเด็น คือ เมื่อเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว แปลว่าสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 หลังเป็นสมบัติของหลวง กรมป่าไม้ต้องรักษาการตามกฎหมายด้วยว่าการเข้ารื้อมาทำลายหลักฐานเช่นนี้ ต้องดำเนินคดีอย่างไรต่อไป หากไม่ทำแสดงว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนการที่ทนายความมาชี้แจงว่า บ้าน 2 หลังและพื้นที่บุกรุกป่าเป็นที่ของนางวันทนา ความจริงที่เห็นและปรากฏนั้นถูกล้อมรั้วไว้ในผืนเดียวกันกับบ้าน "สิริอุบล" และโฮมสเตย์ ฟีออร์เร่ ปาร์ค ของนางวรรษมลภรรยานายธาริต ซึ่งครอบคลุมทั้งที่ดินของนางวันทนาและบ้าน 2 หลังด้วย แสดงให้เห็นว่าต้องการแสดงกรรมสิทธิ์ และส่อเจตนาที่จะแสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าความผิดสำเร็จแล้ว
นายประสารกล่าวว่า ที่ดินทั้งหมดทั้งที่มีโฉนดที่ดินและไม่มีโฉนด เท่าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่าง มาตั้งแต่ปี 2509 ปรากฏว่าปี 2519 มีการออกโฉนดที่เป็นของบริษัท อุตสาหกรรมการเกษตรปากช่อง จำกัด และมีการซื้อขายกันมาเป็นทอด จนถึงนางวรรษมลภรรยานายธาริต ดังนั้น กรมที่ดินและกรมป่าไม้ต้องรับผิดชอบว่าโฉนดออกมาได้อย่างไร เพราะทับเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นอีกประเด็นว่าการได้มาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการต่อไปแล้ว
วันเดียวกัน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และนายมังกร เมี้ยนมิตร ผู้อำนวยการป้องกันและรักษาป่าจังหวัดสระบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าหรือที่ดินของรัฐ เพื่อจัดสรรขายในเขตหมู่ 10 ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พบว่ามีการปลูกบ้านพักตากอากาศและอาคารรวม 18 หลัง มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท แต่ละหลังถูกปิดใส่กุญแจ เนื่องจากผู้ครอบครองบางรายทราบล่วงหน้าว่าป.ป.ท.จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (6 ส.ค.) นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตส.ว.สรรหา และอดีตประธานอนุกรรมาธิการธรรมาภิบาลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา พร้อมคณะ และชาวอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รวมทั้งสื่อมวลชน ลงตรวจสอบพื้นที่ตรวจสอบบ้าน 2 หลังที่ปลูกอยู่บนเขา ในแนวเขตรั้วเดียวกันกับโฮมสเตย์ ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักตากอากาศหรูของนางวรรษมล เพ็งดิษฐ์ ภรรยานายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เลขที่ 444 หมู่ 11 บ้านมอกระหาด ต.หนองน้ำแดง อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตามที่ได้มีการนัดหมายกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ว่าจะเข้าไปทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 2 หลังที่บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่างใน แต่กลับมีการชิงรื้อถอนไปก่อนในวันที่ 3-4 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาตามที่นัดไว้ มีเพียงตำรวจสภ.ปากช่อง และสภ.หนองน้ำแดง กว่า 10 นาย และปลัดอำเภอปากช่อง นำกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) 5 นายมาดูแลสงบเรียบร้อย โดยมีสัสดีอำเภอปากช่อง และกำนันตำบลหนองน้ำแดง ร่วมสังเกตการณ์
ทันทีที่คณะของนายประสารมาถึง ผู้ดูแลบ้านได้เปิดประตูทางเข้าด้านข้างโฮมสเตย์ ที่ยังติดป้าย "ที่ส่วนบุคคล ห้ามเข้า" ให้คณะสื่อมวลชนและคณะของนายประสาร เข้าไปในบริเวณพื้นที่ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักของนางวรรษมล โดยมีนายมนัส ทองศรีสมบูรณ์ ทนายความของนางวรรษมล และนางวันทนา พิพัฒน์ไชยศิริ เพื่อนสนิทของนางวรรษมลมาต้อนรับ และนำเดินตรวจดูที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของนางวรรษมลและนางวันทนา ตามที่มีข่าวว่าทำผิดกฎหมาย พร้อมนำเดินขึ้นเนินเขาเพื่อไปดูบ้านพัก 2 หลัง ที่ถูกระบุว่าบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ และได้ทำการรื้อถอนแล้ว เหลือเพียงกองปูนและเศษซากวัสดุ
ทั้งนี้ นายมนัสยังได้นำโฉนดที่ดิน หนังสือขออนุญาตเช่าที่ดินจากกรมป่าไม้ และหนังสือสำคัญที่ลงนามโดยนายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เอกสารต่างๆ ของทางราชการมาแสดงให้สื่อมวลชนดู พร้อมสรุปข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ รวม 10 ข้อ ว่าที่ดินบริเวณที่เป็นข่าว (ฟีออร์เร่ ปาร์ค และบ้านพักของนางวรรษมล) มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง คือ โฉนดที่ดิน 3 แปลงออกตั้งแต่ปี 2530 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ต่อกันมา โดยเมื่อปี 2555 นางวรรษมลได้ซื้อที่ดินแปลงที่ 1 และ 2 ซึ่งแนวเขตที่ดินติดต่อกัน ส่วนนางวันทนาซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ได้ซื้อที่ดินแปลงที่ 3 แม้จะอยู่ติดกัน แต่มีถนนกั้นแนวเขตที่ดินชัดเจน
โดยที่ดินแปลงที่นางวันทนาซื้อมาอยู่ติดกับเขตป่าไม้ ผู้ขายที่เป็นเจ้าของเดิมได้รับอนุญาตให้เช่าพื้นที่จากกรมป่าไม้ และได้ปลูกบ้านไม้ชั้นเดียวเพื่อพักอาศัยไว้ รวมพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ระยะหลังนางวันทนา ได้ก่อสร้างเรือนรับประทานอาหารเพิ่มเติมอีก 1 หลัง รวมทั้งปรับปรุงบ้านไม้ชั้นเดียวหลังที่ 1 ส่วนถนน และรั้วลวดหนามเป็นของเดิม ไม่มีเจตนาบุกรุกแต่อย่างใด เพราะเป็นการสืบสิทธิ์จากผู้ขายที่ได้รับสิทธิ์เช่าจากกรมป่าไม้ และไม่ได้รับแจ้งว่ายกเลิกสิทธิ์นั้น
ต่อมานางวันทนาได้ทำเรื่องขอเช่าที่ดินจากกรมป่าไม้ตั้งแต่เดือนมิ.ย.2556 จนเดือนก.ค.2557 กรมป่าไม้แจ้งกลับมาว่าไม่อนุญาตให้เช่าที่ดิน นางวันทนาจึงทำตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการคืนพื้นที่ให้กับกรมป่าไม้ และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 หลัง และส่งมอบคืนพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้อ.ปากช่อง
นายมนัส กล่าวย้ำว่า การรื้อถอนกระทำอย่างเปิดเผย ไม่ได้ซ่อนเร้นแต่อย่างใด ดังนั้นนางวันทนาจึงไม่ได้กระทำผิดใดๆ รวมถึงนางวรรษมลด้วย
ด้านนายประสารกล่าวว่า ที่น่าสนใจ คือ กรมป่าไม้ได้กำหนดที่จะรื้อถอนบ้าน 2 หลังวันที่ 6 ส.ค. เวลา 09.00 น. โดยแจ้งว่าจะมีกำลัง 40-50 นาย พร้อมรถยนต์และอุปกรณ์ แต่เมื่อวันที่ 3-4 ส.ค.ที่ผ่านมา กลับมีชายฉกรรจ์มาชิงรื้อบ้านไปก่อน แสดงว่าเพราะเห็นว่าผิดจึงรื้อถอน และการรื้อแสดงว่ายอมจำนนต่อหลักฐานว่าบุกรุกที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น กรมป่าไม้จะดำเนินคดีอย่างไร และอีกประเด็น คือ เมื่อเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว แปลว่าสิ่งปลูกสร้างทั้ง 2 หลังเป็นสมบัติของหลวง กรมป่าไม้ต้องรักษาการตามกฎหมายด้วยว่าการเข้ารื้อมาทำลายหลักฐานเช่นนี้ ต้องดำเนินคดีอย่างไรต่อไป หากไม่ทำแสดงว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ส่วนการที่ทนายความมาชี้แจงว่า บ้าน 2 หลังและพื้นที่บุกรุกป่าเป็นที่ของนางวันทนา ความจริงที่เห็นและปรากฏนั้นถูกล้อมรั้วไว้ในผืนเดียวกันกับบ้าน "สิริอุบล" และโฮมสเตย์ ฟีออร์เร่ ปาร์ค ของนางวรรษมลภรรยานายธาริต ซึ่งครอบคลุมทั้งที่ดินของนางวันทนาและบ้าน 2 หลังด้วย แสดงให้เห็นว่าต้องการแสดงกรรมสิทธิ์ และส่อเจตนาที่จะแสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าความผิดสำเร็จแล้ว
นายประสารกล่าวว่า ที่ดินทั้งหมดทั้งที่มีโฉนดที่ดินและไม่มีโฉนด เท่าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเสียดอ้า ป่าเขานกยูง และป่าเขาอ่าง มาตั้งแต่ปี 2509 ปรากฏว่าปี 2519 มีการออกโฉนดที่เป็นของบริษัท อุตสาหกรรมการเกษตรปากช่อง จำกัด และมีการซื้อขายกันมาเป็นทอด จนถึงนางวรรษมลภรรยานายธาริต ดังนั้น กรมที่ดินและกรมป่าไม้ต้องรับผิดชอบว่าโฉนดออกมาได้อย่างไร เพราะทับเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นอีกประเด็นว่าการได้มาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการต่อไปแล้ว
วันเดียวกัน นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และนายมังกร เมี้ยนมิตร ผู้อำนวยการป้องกันและรักษาป่าจังหวัดสระบุรี พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าหรือที่ดินของรัฐ เพื่อจัดสรรขายในเขตหมู่ 10 ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พบว่ามีการปลูกบ้านพักตากอากาศและอาคารรวม 18 หลัง มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท แต่ละหลังถูกปิดใส่กุญแจ เนื่องจากผู้ครอบครองบางรายทราบล่วงหน้าว่าป.ป.ท.จะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ