00 เชื่อว่าเวลานี้หลายคนแทบไม่ได้สนใจกับตำแหน่งประธาน และรองประธาน สนช. เพราะแน่ใจว่าคนที่ถูกดันก้นมาให้นั่งเบอร์หนึ่งคุมสภา"ท็อปบู๊ต" ก็คือ พรเพชร วิชิตชลชัย กุนซือด้านกม.ของหัวหน้าคสช. ส่วนรองก็หนีไม่พ้น สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รวมถึงตำแหน่งนายกฯ ควบหัวหน้าคสช. ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ค่อนข้างแบเบอร์แล้ว ถ้าผิดไปจากนี้สิแปลก ที่ผ่านมามีการโยนหินถามทาง จนมีเสียงตอบรับจากภายนอกกลับมา น่าชื่นใจ งานนี้ถือว่า "คุมเบ็ดเสร็จ"
00 เมื่อระดับตำแหน่งหัวๆ ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศตามโรดแมปขั้นที่สองไปสู่ขั้นที่สาม เริ่มลงตัวเป็นไปตามแผน คราวนี้ก็มาว่ากันต่อถึงระดับมือไม้ในเก้าอี้ รมต. ที่ตามข่าวบอกว่านิ่งแล้ว ก็น่าจะเป็น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ว่าที่ รมว.คมนาคม ส่วนรายอื่น ก็ยังเป็นการคาดการณ์ เช่น รายของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้า คสช. จะมานั่งรองนายกฯ ควบรมว.กลาโหม หรือเปล่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา มีแนวโน้มจะนั่ง รมว.มหาดไทย หรือ ยุติธรรม แต่ไม่ว่าจะนั่งเก้าอี้ตัวไหน ก็ต้องสำคัญลำดับต้นๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะให้จับตามือไม้ทางการเมืองในอนาคตเอาไว้ด้วย ไม่ธรรมดาแน่นอน
00 สำหรับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นาทีนี้น่าจับตาบทบาทเป็นที่สุด ในฐานะ "พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์" ถือว่า "คุมเกม" อยู่ข้างหลัง วัดกันแล้วจากเครือข่ายที่ส่งเข้ามานั่งเก้าอี้ สนช.ได้หลายคน ทั้งน้อง ทั้งญาติ ทั้งลูกน้อง ทั้งเพื่อน เรียกว่าดันเข้ามาเต็มพิกัด น่าจับตาก็คือแล้ว "พี่ใหญ่" คนนี้จะไปนั่งเก้าอี้ตัวไหนใน"ครม.ลุงตู่" แม้ว่าโดยศักดิ์ศรีและชื่อชั้นต้อง สร.1 แต่เมื่อวัดกระแสแล้ว "ไปไม่ได้" มันก็ต้องมานั่งทบทวนใหม่ ว่าลงตรงไหน ถ้าไม่คิดมาก "ประธานที่ปรึกษานายกฯ" นั่นแหละเหมาะ !!
00 ส่วนรายนี้ก็น่าแปลกใจกับผลกรุงเทพโพลล์ เมื่อวันก่อน กับบางรายชื่อที่ถูกโหวตเข้ามานั่งเก้าอี้รมต. ซึ่งรายอื่นก็พอเข้าใจได้ แต่สำหรับ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. ที่บทบาทเงียบเชียบ สังคมแทบลืมชื่อไปแล้ว ดันโผล่รับเสียงเชียร์ให้นั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหม เฉยเลย แม้ว่าของจริงยังมาไม่ถึง ยังไม่รู้จะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า แต่อย่างน้อยเมื่อมีผลโพลออกมาแบบนี้ มันก็ชื่นใจไม่ใช่หรือ
00 ชัดเจนออกมาแล้ว สำหรับพรรคการเมืองสำคัญทุกพรรคทั้ง ปชป. พรรคเพื่อไทย และล่าสุด พรรคชาติไทยฯ ต่างปฏิเสธส่งตัวแทนเข้าร่วมเสนอให้คัดเลือกเป็น สปช. ยืนยันจะขอให้ความเห็นข้างนอกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังรวมถึง กปปส. ที่มีท่าทีออกมาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหากพิจารณากันตามปกติ ก็ต้องถือว่าถูกต้องแล้ว สำหรับนักการเมืองไม่ควรเข้าไปยุ่มย่าม ควรปล่อยให้คนอื่นเขาว่ากันไป เพราะเรื่องปฏิรูป เป้าหมายสำคัญอยู่ที่การเมืองมากที่สุด แต่ที่ต้องจับตากันก็คือ ราชการ ก็มีเป้าหมายสำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน ที่ต้องปฏิรูป เพราะนี่แหละ คือ ปัญหา ไม่ใช่ทำมึน เอาแต่ ปฏิรูปคนอื่น แต่ตัวเองนั่นแหละตัวถ่วงของจริง อย่าลืมมองตัวเองด้วยล่ะ ไม่ใช่อาศัยลูกมั่วช่วงคสช.ทำเนียน ดีแต่จัดการคนอื่น
00 น่าเห็นใจตอนนี้ก็คงเป็น ปชป. เพราะดูตามอาการแล้ว มีแนวโน้มแล้วกำลังถูกผลักไปเป็นคู่กรณีอย่างชัดเจน อย่างน้อยก็เป็นอยู่ในกลุ่มต้องจัดระเบียบพร้อมกันไปด้วยกับ พรรคเพื่อไทย หากสังเกตให้ดี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรายการ "คืนความสุขให้คนไทย" ล้วนส่งสัญญาณมาที่ทั้งสองพรรคนี้เต็มๆ โดยเฉพาะเรื่องแตะเบรก อย่าเพิ่งวิจารณ์ก่อนเรือออกจากท่า ให้รอดูก่อน ขณะเดียวกันก็กวักมือเรียกให้เข้ามา "ร่วมปฏิรูป" พร้อมดักคอไว้ล่วงหน้าทำนองว่า หากไม่ร่วมแล้วจะมาโวยวายภายหลังไม่ได้นะ !!
00 ดูจากความเคลื่อนไหวมันก็เห็นแนวโน้มเป็นอย่างนั้นเสียด้วย เพราะเท่าที่มองเห็น จะพบว่าพรรคปชป. ตั้งแต่หัวขบวนอย่าง ชวน หลีกภัย ที่ออกมาสะกิดนำร่องว่า "อย่าสยบยอมผู้มีอำนาจ" จนกระทั่งมาถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ติติง กังวลกับเรื่องอำนาจของคสช.ในรธน.ฉบับชั่วคราว เรื่อง ม.44 ที่ให้อำนาจครอบจักรวาล จนถึงสายตรงคนอื่นไล่หลังกันมา เช่น นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ออกมากันเป็นแพ็กเกจ ก็น่าเห็นใจ หากแยกปชป.ออกมาจาก กปปส. ก็ต้องบอกว่า "สะเทือน" หนักไม่น้อย !!
00 เมื่อระดับตำแหน่งหัวๆ ที่มีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศตามโรดแมปขั้นที่สองไปสู่ขั้นที่สาม เริ่มลงตัวเป็นไปตามแผน คราวนี้ก็มาว่ากันต่อถึงระดับมือไม้ในเก้าอี้ รมต. ที่ตามข่าวบอกว่านิ่งแล้ว ก็น่าจะเป็น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ว่าที่ รมว.คมนาคม ส่วนรายอื่น ก็ยังเป็นการคาดการณ์ เช่น รายของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้า คสช. จะมานั่งรองนายกฯ ควบรมว.กลาโหม หรือเปล่า พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา มีแนวโน้มจะนั่ง รมว.มหาดไทย หรือ ยุติธรรม แต่ไม่ว่าจะนั่งเก้าอี้ตัวไหน ก็ต้องสำคัญลำดับต้นๆ อยู่แล้ว โดยเฉพาะให้จับตามือไม้ทางการเมืองในอนาคตเอาไว้ด้วย ไม่ธรรมดาแน่นอน
00 สำหรับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นาทีนี้น่าจับตาบทบาทเป็นที่สุด ในฐานะ "พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์" ถือว่า "คุมเกม" อยู่ข้างหลัง วัดกันแล้วจากเครือข่ายที่ส่งเข้ามานั่งเก้าอี้ สนช.ได้หลายคน ทั้งน้อง ทั้งญาติ ทั้งลูกน้อง ทั้งเพื่อน เรียกว่าดันเข้ามาเต็มพิกัด น่าจับตาก็คือแล้ว "พี่ใหญ่" คนนี้จะไปนั่งเก้าอี้ตัวไหนใน"ครม.ลุงตู่" แม้ว่าโดยศักดิ์ศรีและชื่อชั้นต้อง สร.1 แต่เมื่อวัดกระแสแล้ว "ไปไม่ได้" มันก็ต้องมานั่งทบทวนใหม่ ว่าลงตรงไหน ถ้าไม่คิดมาก "ประธานที่ปรึกษานายกฯ" นั่นแหละเหมาะ !!
00 ส่วนรายนี้ก็น่าแปลกใจกับผลกรุงเทพโพลล์ เมื่อวันก่อน กับบางรายชื่อที่ถูกโหวตเข้ามานั่งเก้าอี้รมต. ซึ่งรายอื่นก็พอเข้าใจได้ แต่สำหรับ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. ที่บทบาทเงียบเชียบ สังคมแทบลืมชื่อไปแล้ว ดันโผล่รับเสียงเชียร์ให้นั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหม เฉยเลย แม้ว่าของจริงยังมาไม่ถึง ยังไม่รู้จะเป็นแบบนั้นหรือเปล่า แต่อย่างน้อยเมื่อมีผลโพลออกมาแบบนี้ มันก็ชื่นใจไม่ใช่หรือ
00 ชัดเจนออกมาแล้ว สำหรับพรรคการเมืองสำคัญทุกพรรคทั้ง ปชป. พรรคเพื่อไทย และล่าสุด พรรคชาติไทยฯ ต่างปฏิเสธส่งตัวแทนเข้าร่วมเสนอให้คัดเลือกเป็น สปช. ยืนยันจะขอให้ความเห็นข้างนอกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังรวมถึง กปปส. ที่มีท่าทีออกมาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหากพิจารณากันตามปกติ ก็ต้องถือว่าถูกต้องแล้ว สำหรับนักการเมืองไม่ควรเข้าไปยุ่มย่าม ควรปล่อยให้คนอื่นเขาว่ากันไป เพราะเรื่องปฏิรูป เป้าหมายสำคัญอยู่ที่การเมืองมากที่สุด แต่ที่ต้องจับตากันก็คือ ราชการ ก็มีเป้าหมายสำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน ที่ต้องปฏิรูป เพราะนี่แหละ คือ ปัญหา ไม่ใช่ทำมึน เอาแต่ ปฏิรูปคนอื่น แต่ตัวเองนั่นแหละตัวถ่วงของจริง อย่าลืมมองตัวเองด้วยล่ะ ไม่ใช่อาศัยลูกมั่วช่วงคสช.ทำเนียน ดีแต่จัดการคนอื่น
00 น่าเห็นใจตอนนี้ก็คงเป็น ปชป. เพราะดูตามอาการแล้ว มีแนวโน้มแล้วกำลังถูกผลักไปเป็นคู่กรณีอย่างชัดเจน อย่างน้อยก็เป็นอยู่ในกลุ่มต้องจัดระเบียบพร้อมกันไปด้วยกับ พรรคเพื่อไทย หากสังเกตให้ดี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในรายการ "คืนความสุขให้คนไทย" ล้วนส่งสัญญาณมาที่ทั้งสองพรรคนี้เต็มๆ โดยเฉพาะเรื่องแตะเบรก อย่าเพิ่งวิจารณ์ก่อนเรือออกจากท่า ให้รอดูก่อน ขณะเดียวกันก็กวักมือเรียกให้เข้ามา "ร่วมปฏิรูป" พร้อมดักคอไว้ล่วงหน้าทำนองว่า หากไม่ร่วมแล้วจะมาโวยวายภายหลังไม่ได้นะ !!
00 ดูจากความเคลื่อนไหวมันก็เห็นแนวโน้มเป็นอย่างนั้นเสียด้วย เพราะเท่าที่มองเห็น จะพบว่าพรรคปชป. ตั้งแต่หัวขบวนอย่าง ชวน หลีกภัย ที่ออกมาสะกิดนำร่องว่า "อย่าสยบยอมผู้มีอำนาจ" จนกระทั่งมาถึง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ติติง กังวลกับเรื่องอำนาจของคสช.ในรธน.ฉบับชั่วคราว เรื่อง ม.44 ที่ให้อำนาจครอบจักรวาล จนถึงสายตรงคนอื่นไล่หลังกันมา เช่น นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ออกมากันเป็นแพ็กเกจ ก็น่าเห็นใจ หากแยกปชป.ออกมาจาก กปปส. ก็ต้องบอกว่า "สะเทือน" หนักไม่น้อย !!