ASTVผู้จัดการรายวัน-บช.น.เข้ม จับจริงผู้ขับขี่ใช้มือถือขณะขับรถ ทั้งพูดคุย แชทไลน์ หรือดูข้อมูลอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเล่นผ่านที่ติดตั้งวางมือถือยึดติดกับพวงมาลัยรถยนต์ ก็ไม่เว้น ชี้เป็นการรบกวนสมาธิ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เจอปรับสูงสุด 1,000 บาท หากโต้เถียงจับขึ้นศาล
พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานด้านการจราจร เปิดเผยว่า ได้กำชับสั่งการตำรวจจราจร 88 สน. และจราจรกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) คุมเข้มกวดขันวินัยจราจรผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย หรือเล่นแชท เล่นไลน์ หรือดูข้อมูลอินเตอร์เน็ตในมือถือ ถือว่ามีความผิด รวมถึงการนำที่วางมือถือยึดติดกับพวงมาลัยรถยนต์ เพื่อใช้โปรแกรมแชทในขณะขับรถ เป็นการกระทำที่มีความผิดทั้งสิ้น ผู้ขับขี่ไม่สามารถกระทำได้ในขณะขับขี่รถยนต์และรถจักรยายนต์
ทั้งนี้ การกระทำตามที่กล่าวถึง เข้าข่ายความผิดใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2551 มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนขณะขับรถ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา (สมอลล์ทอล์ก) เท่านั้น โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือ หรือจับโทรศัพท์
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า การใช้ที่ตั้งมือถือที่พวงมาลัยรถ หรือสแตนดี้ เป็นการรบกวนสมาธิในการขับรถอย่างมาก เนื่องจากต้องละสายตาจากท้องถนน เพื่อพิมพ์ข้อความก็ต้องละมือข้างหนึ่งไปจากการควบคุมพวงมาลัยรถ ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับ 400-1,000 บาท แต่กรณีวางมือถือที่สแตนดี้ และเปิดลำโพงเสียงเพื่อสนทนานั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้สมอลล์ทอล์ก หากตรวจพบการกระทำความผิดดังกล่าว ตำรวจจราจรจะดำเนินการจับกุมทันที แต่หากมีกรณีโต้เถียง ผู้ทำผิดไม่ยอมรับ จะนำเรื่องไปสู่การพิจารณาบนชั้นศาล เพื่อดูหลักฐาน พยานว่ามีเจตนาเล่นโทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่
"พฤติกรรมการเล่นไลน์ เล่นแชท ในมือถือขณะขับรถ เป็นอันตรายมาก นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเป็นที่มาของการจราจรติดขัด เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิ และไม่ได้สนใจเมื่อปล่อยสัญญาณไฟเขียว ทำให้รถเคลื่อนตัวช้า ซึ่งความจริงแล้วตำรวจจราจรไม่อยากจับกุมพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความวุ่นวายบนท้องถนนมากขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน แต่ได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มองเห็นถึงความสำคัญ เพราะหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ก็จะส่งผลเสียในหลายด้าน อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อผู้ขับขี่ หรือผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันผู้ที่ขับรถ จึงควรมีจิตสำนึกในการใช้ทางสาธารณะด้วย ไม่ใช่คำนึงถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินของตนเองฝ่ายเดียว"พล.ต.ต.อดุลย์กล่าว
พล.ต.ต.อดุลย์ ยังกล่าวถึงภาพรวมการปฏิบัติมาตรการ 5 จริง จับจริง 5 จอม ในรอบครึ่งเดือนที่ผ่านมาว่า เป็นไปด้วยดี มีผลการจับกุมเป็นที่น่าพอใจ ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การกระทำความผิดข้อหาต่างๆ ในแต่ละวันลดลง โดยแต่ละ สน.ได้จัดทำข้อมูลตัวเลขการปฏิบัตินโยบาย 5 จริง และนโยบายจับจริง 5 จอมว่ามีผลดีอย่างไร รายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมชี้แจงข้อขัดข้อง อุปสรรค ปัญหา ที่เกิดขึ้นเพื่อมาแก้ไขทำให้ภาพรวมการจราจรดีขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่พอใจการทำงานของตำรวจจราจร ซึ่งกำชับให้ผู้ปฏิบัติใช้ดุลพินิจในการจับกุมให้มากที่สุด เพราะบางปัญหา เช่น จอมปาด หากไปจับปรับแล้ว ต้องมีการถอยหลัง หรือเปลี่ยนเลน จะส่งผลให้รถติดไปด้วยหรือไม่
ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรจุดทางขึ้นลงสะพานข้ามแยก 13 จุด และทางขึ้นลงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จุดสำคัญในแต่ละกองบังคับการนั้น อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา และทดลองใช้การจัดการจราจรแบบรถสวนทางในชั่วโมงเร่งด่วน อาทิ พื้นที่ บก.น.1 สะพานพระราม 8 สะพานปิ่นเกล้า สะพานกรุงธน โดยพบว่า หลังจากจัดจราจรรถวิ่งสวนทาง (รีเวิร์สเลน) ช่วงเช้า ช่วงเย็น ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สามารถร่นระยะเวลาการเดินทางรถติดสะสมได้เร็วขึ้นถึง 1 ชม. และทำให้ถนนราชวิถี ถนนราชสีมา ถนนราชดำเนิน นครสวรรค์ หลานหลวง มีสภาพการจราจรที่คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งจะนำระบบจัดการจราจรดังกล่าวเป็นแม่แบบทดลองใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานด้านการจราจร เปิดเผยว่า ได้กำชับสั่งการตำรวจจราจร 88 สน. และจราจรกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) คุมเข้มกวดขันวินัยจราจรผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย หรือเล่นแชท เล่นไลน์ หรือดูข้อมูลอินเตอร์เน็ตในมือถือ ถือว่ามีความผิด รวมถึงการนำที่วางมือถือยึดติดกับพวงมาลัยรถยนต์ เพื่อใช้โปรแกรมแชทในขณะขับรถ เป็นการกระทำที่มีความผิดทั้งสิ้น ผู้ขับขี่ไม่สามารถกระทำได้ในขณะขับขี่รถยนต์และรถจักรยายนต์
ทั้งนี้ การกระทำตามที่กล่าวถึง เข้าข่ายความผิดใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2551 มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนขณะขับรถ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา (สมอลล์ทอล์ก) เท่านั้น โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือ หรือจับโทรศัพท์
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า การใช้ที่ตั้งมือถือที่พวงมาลัยรถ หรือสแตนดี้ เป็นการรบกวนสมาธิในการขับรถอย่างมาก เนื่องจากต้องละสายตาจากท้องถนน เพื่อพิมพ์ข้อความก็ต้องละมือข้างหนึ่งไปจากการควบคุมพวงมาลัยรถ ซึ่งมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับ 400-1,000 บาท แต่กรณีวางมือถือที่สแตนดี้ และเปิดลำโพงเสียงเพื่อสนทนานั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิด ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้สมอลล์ทอล์ก หากตรวจพบการกระทำความผิดดังกล่าว ตำรวจจราจรจะดำเนินการจับกุมทันที แต่หากมีกรณีโต้เถียง ผู้ทำผิดไม่ยอมรับ จะนำเรื่องไปสู่การพิจารณาบนชั้นศาล เพื่อดูหลักฐาน พยานว่ามีเจตนาเล่นโทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่
"พฤติกรรมการเล่นไลน์ เล่นแชท ในมือถือขณะขับรถ เป็นอันตรายมาก นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ และเป็นที่มาของการจราจรติดขัด เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่มีสมาธิ และไม่ได้สนใจเมื่อปล่อยสัญญาณไฟเขียว ทำให้รถเคลื่อนตัวช้า ซึ่งความจริงแล้วตำรวจจราจรไม่อยากจับกุมพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความวุ่นวายบนท้องถนนมากขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน แต่ได้กำชับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มองเห็นถึงความสำคัญ เพราะหากไม่ดำเนินการตามกฎหมาย ก็จะส่งผลเสียในหลายด้าน อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อผู้ขับขี่ หรือผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันผู้ที่ขับรถ จึงควรมีจิตสำนึกในการใช้ทางสาธารณะด้วย ไม่ใช่คำนึงถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินของตนเองฝ่ายเดียว"พล.ต.ต.อดุลย์กล่าว
พล.ต.ต.อดุลย์ ยังกล่าวถึงภาพรวมการปฏิบัติมาตรการ 5 จริง จับจริง 5 จอม ในรอบครึ่งเดือนที่ผ่านมาว่า เป็นไปด้วยดี มีผลการจับกุมเป็นที่น่าพอใจ ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การกระทำความผิดข้อหาต่างๆ ในแต่ละวันลดลง โดยแต่ละ สน.ได้จัดทำข้อมูลตัวเลขการปฏิบัตินโยบาย 5 จริง และนโยบายจับจริง 5 จอมว่ามีผลดีอย่างไร รายงานให้ทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมชี้แจงข้อขัดข้อง อุปสรรค ปัญหา ที่เกิดขึ้นเพื่อมาแก้ไขทำให้ภาพรวมการจราจรดีขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่พอใจการทำงานของตำรวจจราจร ซึ่งกำชับให้ผู้ปฏิบัติใช้ดุลพินิจในการจับกุมให้มากที่สุด เพราะบางปัญหา เช่น จอมปาด หากไปจับปรับแล้ว ต้องมีการถอยหลัง หรือเปลี่ยนเลน จะส่งผลให้รถติดไปด้วยหรือไม่
ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรจุดทางขึ้นลงสะพานข้ามแยก 13 จุด และทางขึ้นลงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จุดสำคัญในแต่ละกองบังคับการนั้น อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหา และทดลองใช้การจัดการจราจรแบบรถสวนทางในชั่วโมงเร่งด่วน อาทิ พื้นที่ บก.น.1 สะพานพระราม 8 สะพานปิ่นเกล้า สะพานกรุงธน โดยพบว่า หลังจากจัดจราจรรถวิ่งสวนทาง (รีเวิร์สเลน) ช่วงเช้า ช่วงเย็น ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สามารถร่นระยะเวลาการเดินทางรถติดสะสมได้เร็วขึ้นถึง 1 ชม. และทำให้ถนนราชวิถี ถนนราชสีมา ถนนราชดำเนิน นครสวรรค์ หลานหลวง มีสภาพการจราจรที่คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งจะนำระบบจัดการจราจรดังกล่าวเป็นแม่แบบทดลองใช้ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป